ติด เครดิตบูโร คืออะไร, เครดิตบูโร คืออะไร

ติด เครดิตบูโร คืออะไร ? ติดแล้วเป็นยังไง ? ต้องทำยังไงบ้าง ?!

ติด เครดิตบูโร คืออะไร ? ติดแล้วเป็นยังไง ? ต้องทำยังไงบ้าง ?!

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยในปัจจุบัน เมื่อคนก้าวเข้าสู่วัยทำงานเรามักจะวางแผนซื้อรถ ซื้อบ้าน ซึ่งต้องใช้เงินจำนวนมาก และเริ่มมองหา “บัตรเครดิต” มาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการจับจ่ายใช้สอย ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนค่าโทรศัพท์มือถือ ผ่อนค่าประกัน ไปจนถึงการซื้อหุ้นหรือกองทุนก็สามารถทำได้ โดยใช้สิทธิประโยชน์อื่นๆ จากบัตรเครดิตให้คุ้มค่า เช่น การสะสมคะแนน แลกตั๋วเครื่องบิน และแลกบัตรกำนัลเงินสด เป็นต้น โดยอย่าลืมระวังว่าการ ติด เครดิตบูโร คืออะไร

ติด เครดิตบูโร คืออะไร, เครดิตบูโร คืออะไร
Image Credit : freepik.com

ต้องยอมรับว่าการใช้บัตรเครดิตทำให้มีความสะดวกสบายในการจับจ่ายใช้สอย ยิ่งเป็นในสังคม “ ยุคไร้เงินสด ” แบบนี้แล้ว เราสามารถใช้บัตรเครดิตในการจ่ายค่าสินค้าได้ในจำนวนหลักหน่วยไปจนถึงจำนวนหลักล้านเลยทีเดียว และยังใช้ บัตรเครดิตค้ำประกันเงินฝาก แทนการยื่นเอกสารแสดงรายได้อย่างสลิปเงินเดือน ทำให้สามารถสมัครบัตรเครดิตกันง่ายขึ้น แต่ต้องมีวินัยในการชำระหนี้ด้วยเพราะเงื่อนไขของการใช้บัตรเครดิตนั้นคือการจ่ายเงินล่วงหน้า หรืออันที่จริงแล้วเรียกว่า “หนี้บัตรเครดิต” ซึ่งถ้าสามารถชำระค่าบัตรเครดิตได้ตามระยะเวลาที่กำหนดก็จะไม่เป็นหนี้ แต่ถ้ามีการผิดนัดชำระเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ “ติดเครดิตบูโร” ได้ซึ่งมีความสำคัญกับความน่าเชื่อถือทางการเงินของเรามากๆ แต่ทว่า เครดิตบูโร คืออะไรกันนะ บทความนี้จะพาทุกคนไปหาคำตอบพร้อม ๆ กัน

[affegg id=4292]

เครดิตบูโร คืออะไร

“ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ” หรือที่รู้จักกันในชื่อว่า “เครดิตบูโร” เป็นผู้รวบรวมข้อมูลการขอสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อหรือการชำระหนี้ทั้งหมดจากสถาบันการเงินและธนาคารที่เป็นสมาชิกและเป็นผู้ที่ให้คะแนนความประพฤติแก่ผู้ชำระสินเชื่อ

หลายๆ คนคงสงสัยว่าการติดเครดิตบูโร คืออะไร เกี่ยวข้องกับเครดิตบูโรอย่างไร และถือเป็นการขึ้นบัญชีดำหรือ “Blacklist” ของเครดิตบูโรหรือไม่ และเกี่ยวกับประวัติไม่ดีในการชำระสินเชื่ออย่างไร การผิดนัดชำระหนี้บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลถือเป็นเรื่องใหญ่ สามารถเกิดผลกระทบในการขอกู้สินเชื่อในอนาคตได้หรือไม่ และมีความเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการชำระหนี้ซึ่งมีการจัดเก็บประวัติการชำระหนี้ไว้ในระบบที่เรียกว่า “เครดิตบูโร” อย่างไร ไปหาคำตอบกันค่ะ

ความสำคัญของเครดิตบูโร คืออะไร ?

ติด เครดิตบูโร คืออะไร, เครดิตบูโร คืออะไร
Image Credit : freepik.com

เครดิตบูโรไม่ได้มีความสำคัญเฉพาะกับผู้ที่ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินและธนาคารเท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญมากในระบบเศรษฐกิจระดับประเทศ เพราะสามารถเป็นตัวชี้วัดสถานภาพทางเศรษฐกิจของประชาชนและสถาณภาพของสถาบันการเงินอีกด้วย ซึ่งหมายรวมถึงผู้กู้สินเชื่อที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชน และองค์กรต่างๆ

อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า เครดิตบูโรเป็นบริษัทจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติและประวัติการชำระสินเชื่อจากสถาบันการเงินและธนาคาร ส่วนข้อมูลของเครดิตบูโรคืออะไร ?  คือประวัติการชำระสินเชื่อของผู้ขอสินเชื่อทั้งประวัติดีและไม่ดี ได้แก่ ผู้ค้างชำระหนี้ และจำนวนหนี้สินรวมของผู้ชำระหนี้  สะท้อนถึงความตั้งใจในการชำระหนี้และความน่าเชื่อถือของผู้กู้ หรือที่เรียกว่า “เครดิต (credit)” ซึ่งมีความสำคัญในการขอสินเชื่อในอนาคตและการประกอบธุรกิจ

ดังนั้น เครดิตบูโรจึงสามารถบ่งบอกถึงพฤติกรรมการก่อหนี้และการชำระหนี้ของประชาชน  สถาบันการเงินและธนาคารจึงใช้ข้อมูลเครดิตบูโรในการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ขอสินเชื่อในการอนุมัติหรือไม่อนุมัติสินเชื่อ ทำให้หลายคนเข้าใจว่ามีการติดเครดิตบูโรเป็นบัญชีดำนั่นเอง

[affegg id=4293]

การ ติด เครดิตบูโร คืออะไร ติดแล้วต้องทำยังไง ?

เนื่องจากเครดิตบูโรเป็นเพียงตัวกลางในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันการเงินและธนาคารที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีหน้ามีรายงานข้อมูลผู้ขอสินเชื่อและประวัติการชำระสินเชื่อแก่เครดิตบูโรทุกเดือนเป็นระยะเวลา 36 เดือน และมีการอัปเดตอย่างสม่ำเสมอทำให้ข้อมูลที่เกิน 36 เดือนก็จะหายไป

เครดิตบูโรจะเก็บข้อมูลเครดิตผู้ที่มีประวัติผิดนัดชำระหนี้และค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ไว้ในฐานข้อมูลต่อไปอีกไม่เกิน 3 ปี แต่ไม่มีการติดเครดิตบูโรเป็น “Blacklist” ดังนั้นการติดเครดิตบูโร คืออะไร การติดเครดิตบูโรก็คือการมีประวัติเครดิตบูโรเสียหรือเสียเครดิต ซึ่งมีผลต่อการพิจารณาอนุมัติการให้สินเชื่อจากสถาบันการเงินและธนาคารเนื่องจากเป็นผู้ที่มีความเป็นไปได้ว่าจะก่อให้เกิดหนี้เสีย

วิธีการแก้ไขการ ติด เครดิตบูโร คืออะไร

ติด เครดิตบูโร คืออะไร, เครดิตบูโร คืออะไร
Image Credit : freepik.com

หากผู้ข้อสินเชื่อมีประวัติเครดิตบูโรเสียโดยมีประวัติการผิดนัดชำระและการค้างชำระสามารถแก้ไขประวัติได้ โดย 2 วิธี คือ

1. การชำระหนี้เก่า

คือการจ่ายหนี้ค้างชำระให้เสร็จสมบูรณ์เพื่อล้างการติดเครดิต หากไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดควรเจรจาประนอมหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ เช่น การรีไฟแนนซ์ (Refinance) และการรีเทนชั่น (Retention) เป็นต้น

2. แก้ไขประวัติเครดิตใหม่

คือชำระหนี้ให้ตรงเวลาที่ผู้ให้กู้สินเชื่อกำหนด มีวินัยทางการเงินเพื่อแก้ไขการติดเครดิต และตรวจสอบบัญชีหนี้สินอยู่เสมอเพื่อตระหนักถึงการไม่สร้างหนี้เพิ่มจนเกินตัว

อย่างไรก็ดีในยุคสมัยที่สถานการณ์โลกมีความขัดแย้งกันของประเทศมหาอำนาจ ส่งผลให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอย เงินเฟ้อ และเงินบาทแข็งตัว การวางแผนทางการเงินและวินัยทางการเงินมีความสำคัญมากเพราะหากกู้สินเชื่อเกินตัวจะทำให้เกิดหนี้เสียได้ การออมเงินและการลงทุนเพื่อการเกษียณ หรือศึกษา กองทุนรวมฉบับมือใหม่ ก็จะสามารถช่วยให้สร้างความมั่นคงทางการเงินได้ในอนาคต

หวังว่าทุกคนจะได้รู้ว่าการติดเครดิตบูโร คืออะไร และจะต้องแก้ไขอย่างไร ไม่ว่าจะเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดอย่างการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 หรือสถานการณ์
อื่นๆ ที่ส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของโลกหรือระดับประเทศ เรายังคงสามารถรักษาวินัยทางการเงิน โดยการชำระหนี้ให้ตรงเวลาย่อมเกิดผลดีในระยะยาว

[affegg id=4294]

Inspire Now ! : การใช้บัตรเครดิต หากใช้อย่างถูกต้อง และมีวินัยทางการเงิน ก็จะทำให้เกิดประโยชน์กับเราได้ค่ะ เช่น สะสมแต้มเพื่อเป็นส่วนลดอื่นๆ แต่ถ้าเราไม่มีวินัยทางการเงิน หรือผิดชำระหนี้บ่อยๆ ก็จะทำให้เราเสียเครดิตได้ อีกทั้งปัจจุบันยังมีการชำระเงินต่างประเทศอย่าง วิธีใช้ paypal ที่ผูกกับบัตรเครดิต ยิ่งจะทำให้เรามีแนวโน้มก่อหนี้มากกว่าเดิม ซึ่งหากผิดนัดชำระหนี้ ก็จะส่งผลต่อการทำธุรกรรมทางการเงินอื่นๆ ในอนาคต เพราะฉะนั้นแล้ว ต้องใช้บัตรเครดิตกันให้ถูกวิธี และมีวินัยทางการเงินกันด้วย

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? รู้เรื่องเครดิตบูโรกันแล้ว ถ้าไม่อยากเสียประวัติ ก็ชำระหนี้ตามเวลากันนะคะ หรือมีวินัยทางงานเงินมากกว่าเดิม ก็จะช่วยให้ไม่เสียเครดิตได้ค่ะ ใครมีทิปส์ดีๆ เกี่ยวกับการจัดการเงินยังไง คอมเมนต์เล่าให้เราฟังด้วยนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : ncb.co.th, 1213.or.th

Featured Image Credit : freepik.com/lifeforstock

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW