ขนาดแอร์กับขนาดห้อง, ขนาดแอร์ btu

ขนาดแอร์กับขนาดห้อง แบบนี้ เลือกซื้อแอร์ยังไงดีนะ ?

หน้าร้อนแบบนี้หลายๆ บ้านคงอยากที่จะติดแอร์เพิ่ม หรือติดแอร์ใหม่ ด้วยเพราะแอร์เป็นตัวช่วยที่ดีที่สุดสำหรับอากาศร้อนๆ แบบนี้ บางบ้านอาจเลือกติดโซลาร์เซลล์แอร์ แต่บางบ้านก็ยังต้องการแอร์ติดในห้อง และการจะซื้อแอร์ก็ไม่ใช่ว่าเลือกซื้อแบบไหนมาติดก็ได้ เพราะต้องคำนวณให้เหมาะสมกับขนาดห้องของคุณด้วย ไม่ว่าจะเป็นห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องทำงาน ที่มีขนาดห้องที่แตกต่างกัน ก็ต้องเลือกขนาดแอร์ BTU ที่แตกต่างกันด้วยค่ะ และ ขนาดแอร์กับขนาดห้อง นั้นมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร ? ต้องเลือกอย่างไร ?  มาดูวิธีการนี้กันเลยค่ะ

ขนาดแอร์กับขนาดห้อง เลือกให้ถูก เพื่อประสิทธิภาพที่ดี

ขนาดแอร์กับขนาดห้อง, ขนาดแอร์ btu
Image Credit : freepik.com

อันดับแรก เรามารู้จักตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดของขนาดแอร์ คือ BTU (British Thermal Units) โดยจะวัดเป็น BTU/ชม. ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการทำความเย็น และถ่ายเทความร้อนออกจากห้องภายในเวลา 1 ชั่วโมง และยิ่งตัวเลข BTU เยอะ ก็แสดงว่าแอร์เครื่องนั้นสามารถทำความเย็นได้มาก โดยทั่วไปแล้ว เครื่องปรับอากาศที่ใช้กันในบ้าน ในสำนักงาน มีสามารถในการทำความเย็นตั้งแต่ 9,000 ถึง 36,000 BTU ซึ่งการพิจารณาถึงขนาดแอร์ BTU เป็นสิ่งสำคัญเมื่อคุณต้องการจะซื้อแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ เพราะแอร์ที่มียูนิตเล็กเกินไปก็จะทำให้ห้องมีความเย็นได้ยาก และถ้าหากแอร์มียูนิตที่ใหญ่เกินไป ก็จะทำให้ห้องมีความเย็นมากเกินไป และยังทำให้ห้องของคุณเย็นและชื้น รวมถึงยังเปลืองไฟอีกด้วยค่ะ ดังนั้น การเลือกขนาดแอร์กับขนาดห้องให้พอดีกัน นอกจากจะช่วยให้ห้องมีอุณหภูมิที่เหมาะสมแล้ว ยังช่วยประหยัดไฟได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ยังมีข้อควรพิจารณาอื่นๆ อีกด้วย สำหรับการเลือกขนาดแอร์กับขนาดห้อง เช่น ความสูงของเพดานห้อง แสงแดดที่ส่องถึง รวมถึงอุณหภูมิความร้อนภายในห้อง เพราะอาจจะต้องใช้พลังความเย็นมากขึ้น ดังนั้น จึงจะต้องทำการวัดขนาดห้องของคุณเพื่อเลือกแอร์ให้เหมาะสม โดยให้นำความยาว x ความกว้าง (เมตร) เพื่อได้ค่าออกมาเป็นตารางเมตร และเลือกซื้อแอร์จากวิธีดังต่อไปนี้

[affegg id=4551]

1. แอร์ที่ดีที่สุดสำหรับห้องขนาดเล็ก

สำหรับห้องนอนขนาดเล็ก ในคอนโดฯ โฮมออฟฟิศ หรือห้องพักแขกที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 9 – 23 ตารางเมตร ให้มองหาขนาดแอร์กับขนาดห้องให้เหมาะสมกัน โดยเลือกแอร์ที่มีความจุประมาณ 9,000 – 12,000 BTU

2. แอร์ที่ดีที่สุดสำหรับห้องขนาดกลาง

หากต้องการทำความเย็นให้กับห้องที่ใหญ่ขึ้น เช่น ห้องนอนขนาดใหญ่ ห้องโถง ห้องนั่งเล่น ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 23 – 32 ตารางเมตร จะต้องเลือกแอร์ขนาดกลางที่มีขนาด 16,000 – 18,000 BTU

3. แอร์ที่ดีที่สุดสำหรับห้องขนาดใหญ่

ขนาดแอร์กับขนาดห้อง, ขนาดแอร์ btu
Image Credit : freepik.com

เหมาะสำหรับห้องที่มีขนาดใหญ่ หรือห้องสำหรับครอบครัวที่มีพื้นที่ 32 – 51 ตารางเมตร ขนาดแอร์ BTU ที่เหมาะสมคือ 20,000 – 36,000 BTU โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเป็นห้องแบบเปิดโล่ง มีสิ่งของเครื่องใช้ เช่น สำนักงานขนาดเล็ก ร้านกาแฟ ร้านอาหาร หรือห้องที่มีความร้อนมาก ควรเลือกขนาดแอร์กับขนาดห้องให้เหมาะสมกันยิ่งขึ้นค่ะ

นอกจากนี้ จะต้องวัดความสูงของเพดานด้วย เพื่อใช้ในการปรับเปลี่ยนแอร์ที่จำเป็น เพราะอาจจำเป็นต้องเพิ่มแอร์อีก 1,000 BTU หากเพดานสูงเกิน 2.5 เมตร ยกตัวอย่าง ขนาดห้อง 15 ตารางเมตร ปกติจะต้องใช้แอร์ 9,000 BTU ก็ต้องเลือกซื้อแอร์ที่ 10,000 BTU แทน และต้องพิจารณาถึงตำแหน่งของห้องและประเภทของห้องด้วย เช่น หากคุณกำลังติดตั้งแอร์ในห้องครัว จำเป็นต้องเพิ่มขนาดแอร์ไปอีก 4,000 BTU เพื่อเป็นการชดเชยความร้อนที่มาจากตู้เย็นและเครื่องใช้ในครัวอื่นๆ เพื่อให้ห้องมีระดับความเย็นที่เหมาะสมนั่นเอง เช่น ห้องครัวมีขนาด 20 ตาราเมตร แทนที่จะใช้แอร์ 12,000 BTU ก็บวกเพิ่มไปอีก 4,000 = 16,000 BTU นั่นเองค่ะ

และสุดท้าย การเลือกขนาดแอร์กับขนาดห้องเราต้องคำนึงถึงความร้อนที่มาจากแสงอาทิตย์ด้วย หากห้องของคุณถูกแสงแดดในระหว่างวัน หรือบ้านอยู่ในตำแหน่งที่โดนแดดส่องมากกว่าหลังอื่น ก็จำเป็นต้องเพิ่มขนาดของแอร์ 10% และตรงกันข้าม ถ้าหากห้องของคุณมีร่มเงามาก ก็สามารถเลือกแอร์ที่มีขนาดเล็กลงได้ โดยการลดขนาดของแอร์ที่แนะนำลง 10% ค่ะ ที่สำคัญคือ เมื่อต้องการเลือกซื้อแอร์นั้น อย่าลืมหาข้อมูลเรื่องแอร์ยี่ห้อไหนประหยัดไฟด้วยนะคะ จะได้เป็นการเซฟค่าใช้จ่าย และเซฟพลังงานให้กับโลกด้วยค่ะ

[affegg id=4552]

การดูแลรักษาเครื่องปรับอากาศ

ขนาดแอร์กับขนาดห้อง, ขนาดแอร์ btu
Image Credit : freepik.com

ส่วนประกอบต่างๆ เช่น ตัวกรอง คอยล์ และบริเวณอื่นๆ ของเครื่องปรับอากาศ จำเป็นต้องบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เครื่องทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดอายุการใช้งาน การละเลยการบำรุงรักษาที่จำเป็นจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลดลงอย่างต่อเนื่อง มาดูวิธีการที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของแอร์ และดูแลรักษาให้ใช้งานได้อย่างยาวนานกันค่ะ

1. เปลี่ยนฟิลเตอร์หรือตัวกรอง

การบำรุงรักษาที่สำคัญที่สุดที่จะทำให้แอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพคือ การเปลี่ยนหรือทำความสะอาดฟิลเตอร์เป็นประจำ เพราะฟิลเตอร์ที่สกปรกและอุดตัน จะไปลดปริมาณการไหลเวียนของอากาศ และลดประสิทธิภาพการทำงานของแอร์ลงอย่างมาก ซึ่งการเปลี่ยนแผ่นกรองที่สกปรก หรือล้างทำความสะอาดเป็นประจำจะสามารถลดการใช้พลังงานของแอร์ได้ 5 – 15% เลยค่ะ

2. ทำความสะอาดคอยล์แอร์

คอยล์เย็นและคอยล์คอนเดนเซอร์ของแอร์จะกักเก็บสิ่งสกปรกตลอดเวลาที่ใช้งาน ดังนั้น การมีตัวกรองที่สะอาดจะป้องกันไม่ให้คอยล์สกปรกอย่างรวดเร็ว และสิ่งสกปรกนี้จะไปลดการไหลเวียนของอากาศ ซึ่งจะลดความสามารถในการดูดซับความร้อน ทำให้แอร์ไม่เย็น เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้ตรวจสอบคอยล์เย็นของคุณทุกปีและทำความสะอาดตามความจำเป็น

3. รักษาอุณหภูมิ

เราสามารถยืดอายุระบบแอร์ได้โดยการปิดมู่ลี่หรือม่านบังตาในระหว่างวันเพื่อไม่ให้แดดส่อง หรือติดตั้งกันสาดเพื่อป้องกันแสงแดดจากทางหน้าต่าง นอกจากนี้ ลองพิจารณาใช้แอร์ร่วมกับพัดลมตั้งพื้นหรือเพดาน เพื่อให้มีการหมุนเวียนอากาศเย็นได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

4. บำรุงรักษาประจำปี

นอกเหนือไปจากการทำความสะอาดตัวกรองแล้ว ควรต้องทำการบำรุงรักษาอื่นๆ อีก เช่น การทำความสะอาดหรือเปลี่ยนไส้กรอง การปรับและเปลี่ยนสายพานพัดลม การตรวจสอบความปลอดภัย ตรวจสอบสารทำความเย็น และตรวจสอบอุณหภูมิในการทำงาน เป็นต้น

[affegg id=4553]

Inspire Now ! : การเลือกขนาดแอร์กับขนาดห้องให้เหมาะสมกันนั้น ไม่เพียงแต่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของแอร์เท่านั้น แต่ยังช่วยให้คุณประหยัดพลังงานและเงินในกระเป๋าของคุณได้อีกด้วย รวมถึงการดูแลรักษาอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยยืดอายุการใช้งาน และทำให้แอร์ของคุณนั้นมีประสิทธิภาพในการใช้งานมากขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งนอกจากวิธีต่างๆ ที่เราแนะนำไปแล้วนั้น สาวๆ ยังสามารถล้างแอร์ด้วยตัวเอง เพื่อทำความสะอาดแอร์ให้กลับมาเย็นได้อย่างเดิมได้อีกด้วยนะคะ

DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? ได้เรียนรู้เรื่องของการเลือกซื้อแอร์กันไปแล้ว ครั้งหน้าหากต้องการซื้อแอร์ใหม่ อย่าลืมพิจารณาตามคำแนะนำของเรากันนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : carrierthailand.com, omnicalculator.com, energy.gov, thisoldhouse.com

Featured Image Credit : freepik.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW