วันฮาโลวีน ประวัติ เริ่มมาจากอะไร ? ทำไมใครๆ ก็ชอบเทศกาลนี้ รู้จักให้มากขึ้นก่อนไปสนุกกัน !
ต้นกำเนิด วันฮาโลวีน ประวัติ ความเป็นมาคืออะไร กิจกรรมที่ทำกันในเทศกาลนี้คืออะไร ไฮไลท์คืออะไรบ้าง ชวนรู้จักก่อนไปสนุกให้เต็มที่กัน
สภาพอากาศนั้น มีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนเราเป็นอย่างมาก ยกตัวอย่างเช่น การทำกิจกรรมกลางแจ้งต่างๆ หรืองานอีเว้นท์อื่นๆ ที่ต้องดูฟ้าฝนว่า ฝนจะตกหรือไม่ จะมีพายุหรือเปล่า เพราะถ้ามีฝนหรือมีพายุ ก็ไม่สามารถจัดกิจกรรมนั้นๆ ได้ หรือแม้แต่การทำอาชีพต่างๆ เช่น เกษตรกรที่ทำการตากผลกาแฟ ก็ต้องเช็กว่าสภาพอากาศเป็นอย่างไร เพราะถ้าฝนตกหรือมีความชื้น ก็อาจจะทำให้ผลผลิตเสียหายได้ รวมถึงอาชีพประมงหรือการเดินทางโดยเรือที่จะต้องดูสภาพอากาศเช่นเดียวกันว่าจะมาพายุรุนแรงที่เป็นอันตรายต่อการออกเรือหรือไม่ ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความสำคัญอย่างมาก แล้ว การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์อย่างไร อีกบ้าง ? มาดูกันเลยค่ะ
เมื่อพูดถึงเรื่องฟ้าฝนลมฟ้าอากาศ ก็ต้องนึกถึงกรมอุตุฯ ก่อนเป็นอันดับแรก ก่อนที่จะไปรู้จักกับองค์กรนี้ให้มากขึ้น มาดูกันก่อนว่า อุตุนิยมวิทยา คืออะไร อุตุนิยมวิทยา เป็นการศึกษาเชิงวิทยาศาสตร์ ว่าด้วยบรรยากาศของโลก โดยเน้นการพยากรณ์อากาศและกระบวนการของสภาพอากาศ ทั้งอุณหถูมิ ความกดอากาศ ไอน้ำ และองค์ประกอบต่างๆ รวมถึงปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งยังเป็นสาขาย่อยของบรรยากาศศาสตร์อีกด้วย
สำหรับการพยากรณ์อากาศแล้ว เป็นการคาดหมายสภาพลมฟ้าอากาศในอนาคต การที่จะพยากรณ์อากาศได้ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ ความรู้ความเข้าใจในปรากฏการณ์และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบรรยากาศ ประการที่สองคือ สภาวะอากาศปัจจุบัน และประการสุดท้ายคือ ความสามารถที่จะผสมผสานองค์ประกอบข้างต้นเข้าด้วยกันเพื่อคาดหมายการเปลี่ยนแปลงของบรรยากาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการพยากรณ์อากาศนั้น อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุตุนิยมวิทยา คือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการพยากรณ์อากาศ รายงานปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆ เช่น แผ่นดินไหว ความสูงของคลื่น รายงานพยากรณ์อากาศประจำวันและพยากรณ์อากาศในช่วงเวลาที่กำลังจะมาถึง รวมถึงออกประกาศเตือนต่างๆ ซึ่งมีหน่วยงานในสังกัดหลักๆ อยู่ 3 หน่วยงานดังนี้
สาเหตุที่ต้องมีการจัดตั้งกรมอุตุนิยมวิทวิทยาขึ้น ก็เพื่อปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ เฝ้าระวัง ติดตาม รายงานสภาวะอากาศ อากาศการบิน และปรากฏการร์ธรรมชาติ รวมทั้งให้ความรู้และบริการด้านอุตุนิยมวิทยาด้วยความถูกต้อง รวดเร็ว แม่นยำและทันเหตุการณ์ เพื่อประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจและสังคม เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม การพยากรอากาศมีประโยชน์อย่างไร ? ก็เพื่อการป้องกันการเกิดภัยพิบัติ ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เอกชน และหน่วยงานของรัฐจากภัยธรรมชาติต่างๆ ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
ตอนนี้ก็คงจะพอเห็นภาพกันมากขึ้นแล้วว่า การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์อย่างไร เหตุใดจึงต้องมีกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งบางคนอาจจะมีข้อสงสัยว่า แล้วนักอุตุนิยมวิทยาสามารถพยากรณ์อากาศในแต่ละช่วงได้อย่างไร ซึ่งจะมีวิธีการดังนี้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติแล้ว นักพยากรณ์อากาศมักใช้วิธีการพยากรณ์อากาศหลายวิธีร่วมกันตามความเหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการพยากรณ์ที่ถูกต้องแม่นยำที่สุดเท่าที่จะทำได้
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก หรือ World Meteorological Organization (WMO) เป็นองค์การระหว่างการรัฐบาล ซึ่งมีรัฐและดินแดนสมาชิกจำนวน 191 ราย มีหน้าที่ด้านอุตุนิยมวิทยา อุทกวิทยาเชิงปฏิบัติการ และภูมิศาสตร์กายภาพแขนงที่เกี่ยวข้อง มีสำนักงานใหญ่อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ สาเหตุที่ต้องมีต้องมีการก่อตั้งหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาระหว่างประเทศขึ้นก็เพราะว่า กระแสอากาศในโลกนั้นเคลื่อนที่ได้เป็นระยะทางหลักพนกิโลเมตร ดังนั้นการตรวจเฝ้าติดตามลมฟ้าอากาศจึงต้องทำการตรวจพร้อมกันทุกแห่งทั่วโลก เพื่อที่จะได้วิเคราะอากาศได้อย่างถูกต้อง ซึ่งการรวบรวมและกระจายผลการตรวจอากาศจำนวนมากมายนั้น จะต้องรับผิดชอบและจัดการร่วมกันในกลุ่มประเทศสมาชิก และประเทศไทยเองก็เป็นสมาชิกด้วยเช่นกัน วัตถุประสงค์ในการก่อตั้งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก มีดังนี้
ทั้งนี้ ทุกๆ วันที่ 23 มีนาคมของทุกปี จะมีการจัดเฉลิมฉลอง “วันอุตุนิยมวิทยาโลก” เพื่อให้สมาชิกแต่ละประเทศร่วมระลึกถึงการก่อตั้งองค์การสำคัญดังกล่าว ร่วมกับการจัดกิจกรรมและรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการอุตุนิยมวิทยา เนื่องจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศและน้ำโดยตรง ตามที่เราได้รู้กันแล้วว่า การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์อย่างไร ซึ่งองค์การอุตุนิยมวิทยาโลกและหน่วยงานอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติ จะร่วมกันหาวิธีป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติ รวมทั้งภัยอื่นๆ ที่เกิดขึ้นอย่างฉุกเฉินอีกด้วย และอีกหนึ่งวันสำคัญที่มีความเกี่ยวข้องกันคือ วันสิ่งแวดล้อม เนื่องจากสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ส่งผลต่อสภาพอากาศของโลกด้วยเช่นกัน
สำหรับประเทศญี่ปุ่น เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่มีสภาพอากาศแปรปรวนประเทศหนึ่ง ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เป็นเกาะและล้อมรอบด้วยทะเล ทำให้ญี่ปุ่นต้องเจอกับพายุฝน พายุไต้ฝุ่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด และภัยธรรมชาติต่างๆ ทำให้การจัดการด้านการพยากรณ์อากาศที่ญี่ปุ่นนั้นมีความแม่นยำเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้เตือนภัยทางธรรมชาติให้กับประชาชนเพื่อเป็นการเตรียมตัวรับมือกับภัยพิบัติและลดความเสียหายให้ได้มากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีเทคโนโลยีการพยากรณ์อากาศที่ทันสมัย ใช้เครื่องซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Cray XC50 ร่วมกับดาวเทียมที่จะส่งภาพอัปเดตทุกๆ 2.50 นาที ด้วยเหตุนี้ ทำให้การพยากรณ์อากาศของญี่ปุ่นมีความแม่นยำเป็นอย่างมาก ใครจะไปเที่ยวญึ่ปุ่นหน้าหนาว หรือฤดูไหนๆ ก็สามารถเช็กสภาพอากาศได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียวค่ะ
สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก ประกอบไปด้วยรัฐต่างๆ ที่มีสภาพอากาศแตกต่างกัน บางรัฐนั้นก็มีสภาพภูมิอากาศแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง จึงได้มีการใช้ระบบพยากรณ์อากาศที่เรียกว่า High – resolution ซึ่งมีการอัพเดตข้อมูลทุกๆ 1 ชั่วโมงและทำงานด้วย Supercomputer ที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งในสหรัฐมีการเก็บข้อมูลสภาพอากาศจากเรดาห์ จากสายการบิน และจากภาคพื้น ซึ่งนำมาประมวลผลและทำการพยากรณ์อากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทัพทหารเรือแห่งสหราชอาณาจักร ทำงานร่วมกับสำนักงานกรมอุตุนิยมวิทยาในประเทศโดยมีหน่วยงานสังเกตการณ์และพยากรณ์อากาศที่เชี่ยวชาญของตนเอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนกอุทกศาสตร์และอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ตรวจสอบและคาดการณ์สภาพอากาศในพื้นที่ที่ปฏิบัติงานทั่วโลก เพื่อให้พยากรณ์อากาศได้อย่างแม่นยำในส่วนของข้อมูลทางสภาพอากาศและสมุทรศาสตร์สำหรับเรือดำน้ำ เรือ และเครื่องบินของกองทัพเรือ การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์อย่างไรในส่วนนี้ ก็เพื่อที่จะได้วางแผนการออกเรือหรือการปฏิบัติงานต่างๆ ได้อย่างไม่มีติดขัดนั่นเอง ทั้งยังมีประโยชน์ต่อประชาชนอีกด้วย
สำหรับในประเทศไทย กรมอุตุนิยมวิทยา ก็ได้มีการรายงานสภาพอากาศทั้งแบบรายวัน และแบบล่วงหน้า 7 วัน เพื่อเป็นการตรวจสอบแนวโน้มสภาพอากาศในช่วงเวลาดังกล่าว พร้อมกับมีการรายงานสภาพอากาศของประเทศไทยทั้ง 4 ภาค รายงานค่าฝุ่น PM 2.5 มีบริการเตือนภัยหรือประกาศพื้นที่เสี่ยงภัยฝนตกหนัก สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศอย่างแผนที่อากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม การพยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร หรืออากาศเพื่อการบิน ก็สามารถเข้าไปดูข้อมูลในเว็บไซต์ของกรมอุตุนิยมวิทยาได้ค่ะ
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทย ถือว่าเป็นประเทศที่มีการพยากรณ์อากาศได้แม่นยำประมาณ 80% ซึ่งสาเหตุที่มีความคลาดเคลื่อนอยู่บ้าง ก็เนื่องจากสภาพภูมิประเทศและสภาพภูมิอากาศที่มีความร้อนชื้น ทั้งยังมีความแปรปรวนสูง และสาเหตุสำคัญที่ทำให้การพยากรณ์อากาศมีความคลาดเคลื่อนก็คือ เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร มีปัจจัยหลายประการ ทั้งทิศทางลม ความชื้นจากทะเล มวลอากาศ และอุณหภูมิอากาศ ทำให้พยากรณ์อากาศได้ยากกว่าประเทศเขตอบอุ่นที่มีความแปรปรวนน้อยกว่านั่นเองค่ะ
นอกจากนี้ หนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพยากรณ์อากาศแปรปรวน ที่ไม่ใช่แค่มีผลกระทบต่อประเทศไทย แต่ส่งผลกระทบต่อทั่วโลกคือ ภาวะโลกร้อนที่ทำให้สภาพอากาศมีความแปรปรวนอย่างรุนแรง ฤดูกาลมีความคลาดเคลื่อน ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติและสถิติต่างๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้ส่งผลต่อการพยากรณ์อากาศได้เช่นกัน ซึ่งภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงของโลกนั้น ไม่ใช่สิ่งไกลตัวเลย ประกอบกับการทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำให้สภาพอากาศของโลกเราเปลี่ยนแปลงไปด้วย หากมนุษย์เราหันมารักษ์โลก รักสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น ก็อาจจะทำให้โลกของเราแปรปรวนน้อยลงและเกิดภัยธรรมชาติต่างๆ อย่างเช่นน้ำท่วม อากาศไม่บริสุทธิ์ มีฝุ่นพิษ น้อยลงได้
Inspire Now ! : การพยากรณ์อากาศ มีความสำคัญกับการใช้ชีวิตของมนุษย์เราเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเรื่องธรรมดาอย่างการเตรียมตัวออกจากบ้านว่า วันนี้ควรจะพกร่มหรือเสื้อกันฝนไปหรือไม่ ไปจนถึงเรื่องยิ่งใหญ่อย่างภัยธรรมชาติและภัยพิบัติต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ซึ่งการเตือนภัยล่วงหน้าจากกรมอุตุนิยมวิทยาก็จะช่วยให้เราสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้ สามารถเอาตัวรอดและป้องกันชีวิตและทรัพย์สินตัวเองให้เกิดความเสียหายน้อยที่สุด นอกจากนี้ การพยากรณ์อากาศยังมีความสำคัญต่อการเดินทางคมนาคม ทั้งการบิน การเดินเรือ รวมถึงมีความสำคัญกับหลากหลายอาชีพ โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรมที่ผลผลิตนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศโดยตรง กล่าวได้ว่า การพยากรณ์อากาศนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์เราอย่างมากมายเลยทีเดียว |
---|
DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? ได้รู้ความสำคัญของการพยากรณ์อากาศแล้วว่ามีความสำคัญและมีประโยชน์อย่างไร การพยากรณ์อากาศมีประโยชน์ต่อมนุษย์เรามากมายเลยใช่ไหมคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : prachachat.net, springnews.co.th, arit.kpru.ac.th, tmd.go.th, public.wmo.int
Featured Image Credit : freepik.com
ต้นกำเนิด วันฮาโลวีน ประวัติ ความเป็นมาคืออะไร กิจกรรมที่ทำกันในเทศกาลนี้คืออะไร ไฮไลท์คืออะไรบ้าง ชวนรู้จักก่อนไปสนุกให้เต็มที่กัน
ชวนเช็กพลังงาน และ ดูดวง พฤศจิกายน 2567 เดือนนี้ดวงดาวบอกอะไรกับคุณบ้าง มาเช็กเป็นแนวทาง แล้วเดินหน้าใช้ชีวิตให้ดีกัน
อาโป-ณัฐวิญญ์ร่วมฉลอง ครบรอบ 77 ปี เซ็นทรัลชิดลมจัดทุกสเปซในห้างด้วยมวลดอกไม้สวยงามมีเอกลักษณ์ภายใต้คอนเซปต์ อาวองก์ การ์ดีน่า ชวนช้อปพร้อมชมดอกไม้สวย