วันฮาโลวีน ประวัติ เริ่มมาจากอะไร ? ทำไมใครๆ ก็ชอบเทศกาลนี้ รู้จักให้มากขึ้นก่อนไปสนุกกัน !
ต้นกำเนิด วันฮาโลวีน ประวัติ ความเป็นมาคืออะไร กิจกรรมที่ทำกันในเทศกาลนี้คืออะไร ไฮไลท์คืออะไรบ้าง ชวนรู้จักก่อนไปสนุกให้เต็มที่กัน
ในเดือนเมษายนนั้น มีวันสำคัญของไทยอยู่หลายวาระด้วยกัน ทั้งวันจักรี วันสงกรานต์หรือวันปีใหม่ไทย และยังมีวันสำคัญอีกวันหนึ่งที่หลายๆ คนอาจจะยังไม่ทราบกันก็คือ วันเลิกทาส นั่นเองค่ะ เนื่องด้วยการปกครองในสมัยก่อนนั้น เป็นระบอบไพร่ทาสและศักดินาที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา และตกทอดมาจนถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งได้มีการประกาศเลิกทาสโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน “พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทรศก 124” เหตุใดถึงได้มีการประกาศเลิกทาสขึ้น แล้วประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร ไปย้อนรอยประวัติศาสตร์กันค่ะ
วันเลิกทาส ตรงกับวันที่ 1 เมษายนของทุกปี เมื่อราวปี พ.ศ. 2448 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเก้าเจ้าอยู่หัว ทรงประกาศใช้ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124” เนื่องจากในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ รัชกาลที่ 3 นั้น เมืองไทยมีทาสเป็นจำนวนมากกว่าหนึ่งในสามของพลเมืองประเทศ เหตุก็เพราะว่า เมื่อพ่อแม่เป็นทาสแล้ว ลูกที่เกิดจากพ่อแม่ที่เป็นทาสก็ต้องเป็นทาสต่อไป โดยทาสนั้นจะต้องหาเงินมาไถ่ตัวเอง มิฉะนั้นแล้วก็จะต้องตกเป็นทาสไปตลอดชีวิต
และเมื่อถึงคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงครองราชย์ พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจหลายอย่าง ทั้งการจัดตั้งไปรษณีย์ไทย การเปิดทางรถไฟสายแรกของไทย ในยุคสมัยนั้น ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากโลกตะวันตกหลายๆ ด้าน ด้วยกัน พระองค์ทรงพัฒนาประเทศให้ทัดเทียมกับชนชาติอื่นๆ เพื่อป้องกันการคุกคามและยึดอำนาจจากมหาอำนาจชาติตะวันตก และ “การเลิกทาสและไพร่” เป็นหนึ่งในพระราชกรณียกิจอันสำคัญของในหลวงรัชกาลที่ 5 อันเป็นการยกเลิกระบอบการปกครองไพร่ทาสและศักดินา โดยพระองค์ทรงค่อยๆ ปรับกฎเกณฑ์เกี่ยวกับทาสและไพร่เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากทรงตระหนักดีว่าการแก้ไขสิ่งที่ทำกันมาเนิ่นนานจนกลายเป็นวิถีชีวิตนั้น จะต้องอาศัยขั้นตอน วิธีการและเวลา จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตรา “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไท” เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2417 โดยแก้พิกัดค่าตัวทาสใหม่ให้ลดค่าตัวลงตั้งแต่อายุ 8 ขวบ จนกระทั่งหมดค่าตัวเมื่ออายุ 20 ปี ครั้นอายุได้ 21 ปี ทาสผู้นั้นจะเป็นอิสระ และห้ามซื้อขายบุคคลที่มีอายุเกิน 20 ปี เป็นทาสอีก ต่อมาได้มีพระบรมราชโองการประกาศ “พระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทรศก 124” ให้ทาสทุกคนเป็นไท เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2488 โดยยุติระบบทาสในไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงถือว่าวันที่ 1 เมษายน เป็นวันเลิกทาสนั่นเองค่ะ
[affegg id=4648]
ตอนนี้เราก็ได้รู้ถึงความเป็นมาของวันเลิกทาสในไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มีใครสงสัยไหมว่า ระบบทาสนั้นมาจากไหน ? ซึ่งการปกครองที่มีทาสในสมัยอดีตไม่ได้มีเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น แต่มีอยู่ในชนชาติต่างๆ ทั่วโลก ทั้งในแถบยุโรป อเมริกา และเอเชีย เราคงเคยได้ยินเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่มีการซื้อขายทาสชนชาวแอฟริกันในทวีปอเมริกากันมาบ้าง สำหรับในประเทศไทย “หลวงวิจิตรวาทการ” ราชบัณฑิตกิตติมศักดิ์ นักปราชญ์และนักประวัติศาสตร์คนสำคัญของประเทศไทย ได้กล่าวถึงระบบไพร่ทาสและศักดินาเอาไว้ว่า กำเนิดของทาสนั้น ประเทศไทยรับเอามาจากเขมร หรืออีกนัยหนึ่งคือ มาพร้อมกับการกำเนิดขึ้นของระบอบเทวราชา ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการอธิบายเอาไว้ว่า
วัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยนั้นไม่มีทาส ในสมัยสุโขทัยไม่มีทาส แต่มีไพร่ จารึกสุโขทัยทุกแห่งเขียนว่า “ไพร่ฟ้า” หรือ “ข้าไทย” พลเมืองสมัยสุโขทัยมีสิทธิเป็นไพร่ของฟ้า ซึ่งอาจจะหมายถึงสวรรค์หรือองค์พระมหากษัตริย์โดยตรง ส่วนคำว่า “ข้า” หมายถึงคนรับใช้ ซึ่งถึงแม้จะเป็นคนรับใช้ ก็ยังมีฐานะเป็นไทย ไม่ใช่ทาส ทั้งนี้ ระบบทาสไม่ใช่วิถีของไทยมาแต่เดิม แต่เป็นสิ่งที่ไทยเอามาจากขอมพร้อมกับแบบอย่างเรื่องพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทวราชที่นำเข้ามาใช้ในสมัยอยุธยา เพราะในสมัยโบราณจนถึงยุคสมัยสุโขทัยนั้น การปกครองประชาชนเป็นระบอบพ่อปกครองลูก ซึ่งเป็นระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์กับพลเมืองมีความใกล้ชิดกันมาก จนมาถึงในสมัยอยุธยาที่มีการแบ่งชนชั้นโดยมีความเชื่อว่า พระมหากษัตริย์เป็นเทพเจ้า ทำให้การปกครองรัฐแบบครอบครัวได้หมดยุคไป และกลายเป็นระบอบข้าทาสและไพร่สืบต่อกันมาทั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงต้นรัตนโกสินทร์ จนกระทั่งได้มีพระราชบัญญัติวันเลิกทาสขึ้น
[affegg id=4649]
ทั้งนี้ ในสมัยอดีต ได้มีการแบ่งทาสออกเป็น 7 ประเภทคือ
อย่างไรก็ตาม หลวงวิจิตรวาทการได้วิเคราะห์ วิพากษ์วิจารณ์ระบอบไพร่ทาสและศักดินาโดยมุ่งไปที่เรื่องของการเกณฑ์แรงงานและระบอบเจ้าขุนมูลนาย ซึ่งก่อให้เกิดรูปแบบการปกครองที่เห็นได้อย่างชัดเจนแม้ในกระทั่งปัจจุบันก็คือ “ระบบอุปถัมภ์” ทั้งนี้ หลวงวิจิตรวาทการก็ได้ยกย่องการเลิกทาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ว่า เป็นการ “พลิกแผ่นดิน” โดยกล่าวเอาไว้ว่า การเลิกเรื่องไพร่เรื่องทาสเป็นการแก้ปัญหาแรงงานให้ชนชาติไทยได้กลับไปเป็นเสรีชน และทำให้ระบบเศรษฐกิจของปรพเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น นับตั้งแต่ได้มีการประกาศวันเลิกทาสเป็นต้นมา
สาเหตุที่ทำการเลิกทาส นอกจากจะเป็นการป้องกันการรุกรานของมหาอำนาจชนชาติตะวันตกแล้ว หนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญที่นำไปสู่การเลิกทาสคือ การทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในปี พ.ศ. 2398 ที่ทำให้ประเทศไทย หรือสยามในขณะนั้นมีการเปิดการค้าเสรีกับประเทศตะวันตก ส่งผลให้เศรษฐกิจและสังคมไทยจำต้องมีการเปลี่ยนแปลงจากการทำการเกษตรเพื่อยังชีพมาเป็นผลิตเพื่อค้าขาย จึงจำเป็นต้องมีการปฏิรูปที่ดิน และมีความต้องการด้านแรงงานเพื่อป้อนเข้าสู่ระบบการผลิต และทำการค้าขายกับต่างชาติ ซึ่งในตอนนั้นสยามก็มีทาสมากมาย ไม่มีการประกอบอาชีพที่สามารถจะเป็นกำลังผลิตและค้าขายได้ จึงได้มีการยกเลิกระบอบทาสและไพร่ เพื่อให้ประชาชนได้เป็นไทและกลายเป็นราษฎรสยาม มีโอกาสประกอบอาชีพที่หลากหลายเพื่อเลี้ยงตนเองและเป็นกำลังผลิตให้กับประเทศ
การเลิกทาสถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์ไทย การเลิกทาสก่อให้เกิดการพัฒนาในประเทศหลายประการ ทั้งลดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคม ทำให้เกิดการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ ทำให้เกิดแรงงานอิสระและประชาชนมีอิสระในการดำเนินชีวิต มีการผลิตเพื่อส่งออกเนื่องจากมีแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบ ทำให้ไทยสามารถปลูกข้าว รวมถึงจัดการค้าไม้ ทำเหมืองแร่ เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ อีกทั้งยังทำให้เกิดการปรับปรุงภาษี มีเงินตราหมุนเวียนมากขึ้น และเกิดธนาคารแห่งชาติขึ้นหลายแห่งด้วย ถือได้ว่า การประกาศวันเลิกทาสในครั้งนั้น ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทยอย่างสิ้นเชิง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความเจริญและทำให้ประเทศเกิดจากพัฒนามากขึ้น นับได้ว่า เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขึ้นครองราชย์นั้น พระองค์ทรงสร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับประเทศครั้งใหญ่ และทรงนำเอาความเจริญมาสู่แผ่นดินสยามได้อย่างแท้จริง
[affegg id=4650]
Inspire Now ! : การเปลี่ยนแปลงระบอบทาสและศักดินาของประเทศไทยในครั้งนั้น ได้ลดความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นวรรณะในสมัยก่อน เพื่อให้ประชาชนมีความเท่าเทียมกันมากขึ้นในฐานะประชนคนไทยคนหนึ่งที่ไม่ได้เป็นทาสรับใช้ของผู้ใดอีกต่อไป ทั้งยังก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจในประเทศไทย ทำให้สยาม ณ ขณะนั้นมีความเจริญก้าวหน้าไม่น้อยไปกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งยังสามารถรอดพ้นจากการคุกคามของมหาอำนาจตะวันตก ณ ตอนนั้นได้อีกด้วย ปัจจุบันระบบทาสนั้นแทบจะไม่หลงเหลืออยู่แล้วในโลก เนื่องจากมีเรื่องของสิทธิมนุษยชน หรือ Human Rights ที่ส่งเสริมให้มนุษย์มีความเท่าเทียมกัน แม้จะมีความแตกต่างกันในเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา ภาษา สถานภาพ หรือปัจจัยใดๆ ก็ตาม มนุษย์ควรจะได้รับความเคารพและมีสิทธิของตนเองในฐานะการเป็นมนุษย์คนหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่มนุษย์ควรจะปฏิบัติต่อกันและกัน หากเรามีความเคารพซึ่งกันและกันในฐานะการเป็นมนุษย์ด้วยกัน เชื่อว่าจะทำให้ประเด็นปัญหาในเรื่องความขัดแย้งหรือการละเมิดสิทธิต่างๆ นั้นลดน้อยลงอย่างแน่นอนค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? ระบบทาสไม่แทบจะไม่หลงเหลืออีกต่อไป เมื่อมนุษย์เราต่างปฏิบัติต่อกันและกันอย่างเท่าเทียมมากขึ้น ได้รู้ประวัติความเป็นมาของวันเลิกทาสแล้ว มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง มาคอมเมนต์บอกกันได้นะคะ และถ้าอยากอ่านเรื่องราวของคนดังที่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้ทั้งในประเทศและระดับโลก ไปอ่านเรื่องราวของ ควีนอลิซาเบธที่ 2 กันต่อได้นะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : crownproperty.or.th, silpa-mag.com, ttc.ops.go.th
Featured Image Credit : vecteezy.com/Ardalion Peredon
ต้นกำเนิด วันฮาโลวีน ประวัติ ความเป็นมาคืออะไร กิจกรรมที่ทำกันในเทศกาลนี้คืออะไร ไฮไลท์คืออะไรบ้าง ชวนรู้จักก่อนไปสนุกให้เต็มที่กัน
ชวนเช็กพลังงาน และ ดูดวง พฤศจิกายน 2567 เดือนนี้ดวงดาวบอกอะไรกับคุณบ้าง มาเช็กเป็นแนวทาง แล้วเดินหน้าใช้ชีวิตให้ดีกัน
อาโป-ณัฐวิญญ์ร่วมฉลอง ครบรอบ 77 ปี เซ็นทรัลชิดลมจัดทุกสเปซในห้างด้วยมวลดอกไม้สวยงามมีเอกลักษณ์ภายใต้คอนเซปต์ อาวองก์ การ์ดีน่า ชวนช้อปพร้อมชมดอกไม้สวย