อาการพิษสุนัขบ้าในแมว, โรคพิษสุนัขบ้าในแมว

รู้จักอาการพิษสุนัขบ้าในแมว อันตรายมั้ย ทาสควรดูแลยังไง ?

สำหรับใครที่อยากเลี้ยงน้อง “แมวเหมียวน่ารัก”โดยเฉพาะกลุ่มสาวๆที่อยู่ในช่วงวัยเรียนหรือวัยเริ่มต้นทำงานใหม่ๆนอกจากจะต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้แข็งแรงแล้ว น้องแมวก็ต้องดูแลสุขภาพเช่นกันเพราะหากปล่อยปละละเลย อาจจะเป็นโรคต่างๆตามมา โดยเฉพาะโรคพิษสุนัขบ้าในแมว  ซึ่งสาวๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าอาการของโรคนี้เป็นยังไง? ถ้าเป็นโรคแล้วจะดูแลรักษาอย่างไรบ้าง? เป็นอันตรายต่อทาสและแมวมั้ย? วันนี้ DIY INSPIRE NOW จะมาแชร์ เนื้อหาสาระดีๆ เกี่ยวกับ อาการพิษสุนัขบ้าในแมว ให้สาวๆ มือใหม่ที่กำลังเริ่มเลี้ยงแมวได้ติดตาม เพื่อจะได้ป้องกันดูแลแมวสุดรักได้อย่างทันท่วงที

แนะนำทาสแมวให้รู้จักกับ อาการพิษสุนัขบ้าในแมว ภัยร้ายที่ทำลายแมวแสนรัก

หลายคนคงรู้อยู่แล้วว่าเมื่อเข้าสู่ช่วงดูร้อนจะมีหนึ่งโรคที่เกิดขึ้นในสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะน้องหมา คือโรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำ ซึ่งคนรักหมาจะเป็นกังวลอย่างมาก แต่สำหรับทาสแมวบางคนจะยังไม่รู้ว่าโรคนี้ยังสามารถเกิดขึ้นในแมวได้ด้วย ซึ่งอาการพิษสุนัขบ้าในแมวที่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายของแมว ส่งผลให้แมวเกิดอาการป่วยและเสียชีวิต นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อสู่คนได้เช่นกัน โดยเชื้อไวรัสจะก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

อาการพิษสุนัขบ้าในแมว, โรคพิษสุนัขบ้าในแมว

Image Credit : mikanapet.com

  • โรคพิษสุนัขบ้าที่ไม่ได้เกิดแค่ในสุนัข ?

สำหรับบางคนอาจจะเข้าใจว่าโรคนี้เกิดขึ้นได้เฉพาะในสุนัขเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วสามารถเกิดได้กับกลุ่มสัตว์เลี้ยงเลือดอุ่นทุกชนิด อย่างเช่น หนูแฮมสเตอร์ “ชินชิลล่า พันธุ์หางขาว” กระต่าย แมวรวมไปถึงสัตว์ป่า เช่น ค้างคาว กระรอก ชะนี เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้กับสัตว์จำพวก วัว ควาย หมู ม้า ได้ด้วยเช่นกัน

  • โรคพิษสุนัขบ้าในแมวเกิดขึ้นได้อย่างไร?

โรคนี้เกิดจากแมวได้รับเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งชื่อว่า เรบีส์ ไวรัส (Rabies virus) ที่มีการติดต่อกันผ่านทางน้ำลายของสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าอย่างเช่น สุนัข ไม่ว่าจะเป็นการโดนกัด ข่วน หรือเลียบาดแผล ทำให้เชื้อไวรัสในน้ำลายเข้าสู่บาดแผลของแมว ส่งผลให้ไวรัสเข้าเส้นประสาทและเข้าสู่สมอง และเกิดอาการพิษสุนัขบ้าในแมว สัตว์ที่ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 10 วัน โดยส่วนใหญ่แมวที่เกิดโรคนี้จะมีอาการแบบดุร้าย หงุดหงิด กระวนกระวานวิ่งไปมา เริ่มกัดคนหรือสัตว์อื่นๆ กลัวน้ำ โดยจะเริ่มแสดงอาการในช่วงระยะแรกของการรับเชื้อประมาณ 1-7 วัน และเข้าสู่ระยะสุดท้ายจะมีอาการเป็นอัมพาตทั้งตัวแบบลุกไม่ขึ้นและจะตายภายใน 2-3 วัน ส่วนอีกหนึ่งอาการพิษสุนัขบ้าในแมวที่พบว่าสังเกตได้ยาก คือ อาการแบบเชื่องซึม มีไข้  มี “เสียง purr ของแมว” และนอนทั้งวันไม่กินน้ำ อาหาร แต่จะกัดหรือข่วนเจ้าของเมื่อเข้ามาใกล้ ในระยะแรก 4-6 วันจะไม่แสดงอาการ แต่จะเป็นอัมพาตทั้งตัว และเสียชีวิตในที่สุด

อาการพิษสุนัขบ้าในแมว, โรคพิษสุนัขบ้าในแมว

Image Credit : ppmapartments.com

  • ปัจจัยการเกิดอาการพิษสุนัขบ้าในแมว

การเกิดอาการพิษสุนัขบ้าในแมวนั้นเกิดได้จากแมวไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคในช่วงแรกเกิด อายุประมาณ 3-5 เดือน หรือได้รับครั้งสุดท้ายเกิน 1 ปี ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในแมว รวมถึงสภาพแวดล้อมที่มีการอยู่แบบแออัดของแมว ที่ไม่ได้รับการดูแลแบบถูกสุขลักษณะอาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรค และสามารถติดต่อกันในหมู่แมว ไม่เพียงแค่การถูกกัด หรือข่วน แต่รวมถึงน้ำลายแมวสัมผัสที่ตา ปาก จมูก ได้เช่นกัน

  • วิธีการรักษา

เมื่อแมวโดนสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าทำร้าย ไม่ว่าจะเป็นกัดหรือข่วน ให้นำแมวไปพบสัตวแพทย์ทันที เพื่อที่จะทำการรักษาโดยการฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อโรคพิษสุนัขบ้าในแมว โดยทั่วไปการฉีดวัคซีนจะฉีดเข้ากล้ามเนื้อของสัตว์ ครั้งละ 1 มิลลิลิตร จำนวน 4 ครั้ง ทุกๆ 2 วัน และทาสต้องสังเกตอาการของเจ้าแมวเหมียวหลังรับวัคซีนเรียบร้อยต่อไปประมาณ 90 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าแมวของเราไม่ติดเชื้ออาการพิษสุนัขบ้าในแมว

อาการพิษสุนัขบ้าในแมว, โรคพิษสุนัขบ้าในแมว

  • วิธีการดูแลเตรียมรับมือกับอาการพิษสุนัขบ้าในแมว

แมวเป็นสัตว์ที่ต้องดูแลเอาใจใส่เรื่องสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วย โดยเฉพาะอาการพิษสุนัขบ้าที่เกิดขึ้นกับแมว โดยส่วนใหญ่แมวจะรับวัคซีนเข็มแรกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะได้รับเข็มที่ 2 เมื่ออายุครบ 6 เดือน และจะต้องรับวัคซีนเป็นประจำทุกปี เจ้าของแมวจะต้องสังเกตอาการของเจ้าเหมียวหากสงสัยว่ามีอาการคล้ายโรคพิษสุนัขบ้า ให้รีบพาไปพบแพทย์ทันที โดยจะต้องแจ้งประวัติการฉีดวัคซีน ประวัติการดูสุขภาพ สภาพแวดล้อมในการเลี้ยง ประวัติการสัมผัสกับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นนอกบ้านที่ไม่ใช่สัตว์เลี้ยงในบ้านของตัวเอง เพื่อให้คุณหมอได้ทำการวินิจฉัยอาการที่เกิดขึ้นได้ นอกจากนี้เจ้าของจะต้องดูแลตัวเองด้วยเช่นกัน โดยไม่สัมผัสกับแมวตัวที่เสี่ยงเป็นโรคโดยตรงเพื่อป้องกันการติดเชื้อสู่คน หากถูกแมวกัดหรือข่วนผิวหนังควรทำความสะอาดด้วยสบู่และล้างด้วยน้ำสะอาด และไปพบแพทย์แจ้งประวิติเพื่อทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และพยายามไม่เลี้ยงแมวแบบเปิดเพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อจากนอกบ้าน เพื่อความปลอดภัยของแมวและเจ้าของแมว

Inspire Now ! : สาวๆ ทาสแมวที่เริ่มเลี้ยงแมวจะต้องศึกษาข้อมูลการเลี้ยงเบื้องต้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสุภาพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ และจะต้องพาเจ้าเหมียวไปฉีดวัคซีนทุกๆ ปี เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันป้องกันอาการโรคพิษสุนัขบ้าในแมว พร้อมทั้งตรวจสุภาพแมวอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เจ้าเหมียวมีสุขภาพแข็งแรง และพยายามสังเกตอาการของแมวอยู่เสมอหากเจ็บป่วย รับรองว่าถ้าเราดูแลเอาใจใส่น้องแมวของเราเป็นประจำจะส่งผลให้แมวมีความสุข สุขภาพดี ปลอดภัยจากโรคแน่นอน

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบหรือไม่? สาวๆ คนไหนเลี้ยงแมวอยู่บ้าง? อย่าลืมมาแชร์ประสบการณ์ต่างๆ กับเรานะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก: niah.dld.go.th, kohyai.go.th

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW