นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ

รู้จัก “มารี คูรี (Marie Curie)” นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหญิงคนแรก ผู้เปลี่ยนวงการวิทยาศาสตร์ !

ในโลกเรามีนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งๆ หลายคน และนักวิทยาศาสตร์ที่เรารู้จักกันส่วนใหญ่ก็เป็นผู้ชายใช่ไหมหล่ะคะ ? วันนี้เราเลยอยากชวนทุกคนมาทำความรู้จักกับนักวิทยาศาสตร์ผู้หญิงที่ชื่อ มารี คูรี (Marie Curie) กัน เธอเป็น นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล ที่เป็นผู้หญิงคนแรก เป็นชาวโปแลนด์ จากชีวิตวัยเด็กที่ใช้ชีวิตเหมือนกับเด็กทั่วไป แต่เธอใช้ชีวิตยังไง ถึงกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดังระดับโลกได้ DIYINSPIRENOW จะพาไปทำความรู้จักหญิงเก่งคนนี้กันในบทความนี้ค่ะ

มารี คูรี นักวิทยาศาสตร์หญิง ผู้ค้นพบ Radium และ Polonium

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Image Credit : influential-women.com

ในยุคที่วิทยาศาสตร์ถูกครอบงำโดยชายเป็นส่วนใหญ่ มีผู้หญิงคนหนึ่งที่ก้าวขึ้นมาท้าทายข้อจำกัด และสร้างการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลก Marie Curie คือนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกที่ไม่เพียงแต่เปิดโลกใหม่แห่งความรู้ แต่ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลังอีกด้วย เธอไม่เพียงแต่เป็นนักวิทยาศาสตร์หญิงที่ยิ่งใหญ่ แต่ยังเป็นสัญลักษณ์ของความก้าวหน้าและความเท่าเทียมทางเพศในวงการวิทยาศาสตร์ เรื่องราวของเธอยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้คนทั่วโลกตั้งแต่ศตวรรษที่ 20 จนถึงทุกวันนี้ เรามาทำความรู้จักเรื่องราวของเธอให้มากขึ้นกันค่ะ

อลิซในแดนควอนตัม Alice in Quantumland: An Allegory of Quantum Physics

มารี คูรี คือใคร ?

มารี คูรี เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางที่มีการศึกษาในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน ปี 1867 ชื่อเดิมของเธอคือ มาเรีย สคลอดอฟสกา เธอเป็นลูกคนสุดท้องในจำนวนพี่น้อง 5 คน พ่อของเธอเป็นครูสอนคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ ส่วนแม่เป็นครูใหญ่โรงเรียนสตรี มารีในวัยเด็กนั้น มีความฉลาดเฉลียว และความกระหายใคร่รู้ เธอเริ่มเรียนที่โรงเรียนประจำตั้งแต่อายุ 10 ขวบ และจบการศึกษาด้วยเกียรตินิยมอันดับหนึ่งเมื่ออายุเพียง 15 ปี เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ชีวิตวัยเด็กของเธอไม่ได้ราบรื่นนัก เธอต้องสูญเสียแม่และพี่สาวจากโรควัณโรคตั้งแต่ยังเล็ก เหตุการณ์นี้ทำให้เธอห่างเหินจากศาสนาและหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น นอกจากนี้ ครอบครัวของเธอยังต้องเผชิญกับความยากลำบากทางการเงินและการเมือง เนื่องจากโปแลนด์ในขณะนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซีย

แม้จะเจอกับอุปสรรค มารีก็ไม่ย่อท้อ เธอเริ่มทำงานเป็นครูสอนพิเศษตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อหาเงินช่วยเหลือครอบครัว และยังคงฝันที่จะได้เรียนต่อในมหาวิทยาลัย แม้ว่าในขณะนั้นมหาวิทยาลัยในโปแลนด์จะไม่รับนักศึกษาหญิงก็ตาม มารี ย้ายไปเรียนต่อที่ฝรั่งเศส และที่ปารีส เธอพบกับ Pierre Curie และแต่งงานกัน ทั้งคู่ทำงานวิจัยด้วยกัน โดยศึกษาเรื่องกัมมันตภาพรังสี ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มากในตอนนั้น พวกเขาค้นพบธาตุใหม่สองชนิดคือ โพโลเนียม และเรเดียม มารี ได้รับรางวัลโนเบลถึง 2 ครั้ง ครั้งแรกในสาขาฟิสิกส์ร่วมกับสามี อีกครั้งคือสาขาเคมี ทำให้เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลนี้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เธอพัฒนารถเอกซเรย์เคลื่อนที่เพื่อช่วยรักษาทหารบาดเจ็บ Marie ทำงานกับสารกัมมันตรังสีมาตลอดชีวิต ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพของเธอในระยะยาว ทำให้เธอเสียชีวิตในปี 1934 จากโรคที่เกิดจากการสัมผัสรังสี และแม้จะเผชิญอุปสรรคมากมาย เธอก็ไม่ย่อท้อ เธอกลายเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก และเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นหลัง โดยเฉพาะผู้หญิงในวงการวิทยาศาสตร์

Radium และ Polonium คืออะไร ?


Radium เป็นธาตุโลหะอัลคาไลน์เอิร์ทสีขาวเงิน มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Ra และเลขอะตอมคือ 88 ค้นพบโดย Marie และ Pierre Curie ในปี 1898 มีจุดหลอมเหลวที่ 700°C และจุดเดือดที่ 1,737°C Radium มีคุณสมบัติเรืองแสงและปล่อยรังสีแกมมา ไอโซโทปที่พบมากที่สุดคือ Radium-226 ซึ่งมีครึ่งชีวิต 1,600 ปี ในอดีตเคยใช้ในการรักษามะเร็ง ผลิตสีเรืองแสง และนาฬิกาเรืองแสง แต่ปัจจุบันการใช้งานถูกจำกัดเนื่องจากอันตรายจากกัมมันตภาพรังสี การสัมผัส Radium อาจทำให้เกิดมะเร็งกระดูก เนื้อเยื่อ และอวัยวะภายใน

Polonium เป็นธาตุโลหะกึ่งโลหะสีเงินอมเทา มีสัญลักษณ์ทางเคมีคือ Po และเลขอะตอมคือ 84 ค้นพบโดย Marie Curie ในปี 1898 และตั้งชื่อตามประเทศโปแลนด์ มีจุดหลอมเหลวที่ 254°C และจุดเดือดที่ 962°C Polonium เป็นธาตุที่มีกัมมันตภาพรังสีสูงมาก ปล่อยรังสีแอลฟาที่เป็นอันตราย ไอโซโทปที่พบมากที่สุดคือ Polonium-210 ซึ่งมีครึ่งชีวิตเพียง 138 วัน มันพบได้น้อยมากในธรรมชาติ แต่สามารถผลิตได้ในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Polonium ใช้ในการผลิตแหล่งกำเนิดนิวตรอนและในอุปกรณ์กำจัดไฟฟ้าสถิต การสัมผัส Polonium แม้ในปริมาณน้อยก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

ทั้ง Radium และ Polonium มีบทบาทสำคัญในการศึกษาด้านกัมมันตภาพรังสีและฟิสิกส์นิวเคลียร์ แต่ต้องใช้ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่งเนื่องจากผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมค่ะ

เส้นทางสายวิทยาศาสตร์ของ มารี คูรี

เมื่อรู้กันคร่าวๆ แล้วว่า Marie Curie คือใคร เราจะชวนมาดูจุดเริ่มต้นของการเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลของเธอกันค่ะ โดยเส้นทางในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ของ Marie นั้นเริ่มต้นจากการที่เธอได้ไปเรียนต่อที่มหาวิทยาลัย Sorbonne ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งทำให้ Marie ค้นพบว่าเธอนั้นชอบวิชาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เรียกได้ว่าการตัดสินใจไปเรียนมหาวิทยาที่นี่นั้นทำให้ Marie ได้ค้นพบตัวเองว่าชอบอะไรจนนำไปสู่เส้นทางแห่งความสำเร็จค่ะ

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Image Credit : newscientist.com

Marie Curie แต่งงานกับ Pierre Curie ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ ในปี 1895 หลังจากนั้นทั้งคู่ได้ทำงานเป็นนักวิจัยที่โรงเรียนเคมีและฟิสิกส์ ในปารีส โดยในขณะนั้น ศาสตราจารย์ Henri Becquerel ได้ค้นพบกัมมันตภาพรังสีใน Uranium ซึ่งเป็นสิ่งที่จุดประกายให้ Marie สนในที่จะศึกษากัมมันตภาพรังสี เธอและสามีจึงได้ทำการศึกษากัมมันตภาพรังสีโดยการแยกองค์ประกอบต่างๆ จนในที่สุดก็ค้นพบธาตุใหม่ ซึ่งก็คือ polonium นั่นเอง โดยชื่อของ polonium นั้นมาจาก Poland ซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของ Marie 

หลังจากนั้นไม่นาน Marie และ Pierre ก็ได้ค้นพบธาตุใหม่อีก นั่นก็คือ Radium ซึ่งการค้นพบธาตุทั้งสองชนิดนี้ถือได้ว่าเป็นก้าวแรกที่ทำให้ Marie กลายเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล โดย Marie และ Pierre ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ Henri Becquerel ในปี 1903 ที่สำคัญเลยก็คือ Marie เป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล เรียกได้ว่าเธอเป็นผู้หญิงที่ไม่ธรรมดาเลยหล่ะค่ะ เพราะผู้คนในสมัยนั้นยังมีความคิดที่ว่าผู้ชายมีความเข้าใจในวิทยาศาสตร์มากกว่าผู้หญิง แต่ Marie ก็สามารถพิสูจน์ให้ทุกคนได้เห็นว่าผู้หญิงเองก็มีความสามารถไม่ด้อยกว่าผู้ชายเลย  

The Science of sleep

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Image Credit : mariecurie.org

“ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว เพียงแค่ต้องเข้าใจมัน”   

คำพูดนี้ของ Marie Curie ที่ว่า “ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว เพียงแค่ต้องเข้าใจมัน” แสดงให้เห็นว่าเธอเป็นคนที่เข้าใจโลกและพร้อมที่จะเรียนรู้ ทำความเข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไม่มีความกลัว ซึ่งการคิดแบบนี้ก็สำคัญนะคะเพราะบางครั้งหากเรามัวแต่กลัวที่จะทำอะไรสักอย่างเราก็จะไม่ได้เริ่มทำอะไรสักที เพียงแค่เราลองเปิดใจให้กับสิ่งใหม่ๆ ทำความเข้าใจกับมัน ก็อาจทำให้เราได้ค้นพบมุมมองใหม่ๆ ในชีวิตก็ได้นะคะ  

Marie สูญเสียสามีไปอย่างกะทันหันด้วยอุบัติเหตุ ในปี 1906 ซึ่งก็เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญในอาชีพของเธอเลยหล่ะค่ะ เพราะเธอต้องทุ่มเททั้งแรงกายและแรงใจเพื่อทำงานวิทยาศาสตร์ที่เคยทำด้วยกันกับสามีทั้งหมดเพียงคนเดียว นอกจาก มารี คูรี จะเป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลแล้ว เธอยังเป็นอาจารย์สอนในมหาวิทยาลัยด้วยนะคะ โดยหลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิตไปไม่นาน มารี ก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สอนที่มหาวิทยาลัย Sorbonne แทนสามีของเธอ ซึ่งเธอก็ยังเป็นผู้หญิงคนแรกที่สอนในมหาลัยนี้ด้วยค่ะ หลังจากนั้นในปี 1910 บทความเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีของเธอก็ได้ถูกตีพิมพ์และเธอก็ได้รับรางวัลโนเบลรางวัลที่สองในปี 1911 ในสาขาเคมีจากการแยกเรเดียมบริสุทธิ์

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Petits Curies
Image Credit : sierrawyllie.weebly.com

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลหญิงเก่งคนนี้ ยังมีบทบาทสำคัญต่อวิวัฒนาการของเครื่อง X-Ray อีกด้วย โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง Marie ได้ทำงานเพื่อพัฒนาหน่วย X-Ray เคลื่อนที่ขนาดเล็กโดยเธอ ได้สร้างรถบรรทุก X-Ray เคลื่อนที่ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนรถให้ด้านในกลายเป็นห้อง X-Ray เรียกว่า Petits Curies (ดูภาพเพิ่มเติมได้ที่นี่ค่ะ) ที่สามารถใช้วินิจฉัยการบาดเจ็บของทหารบริเวณใกล้สนามรบทำให้ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บเพื่อไป X-Ray ที่โรงพยาบาล หลังจากนั้น เธอก็ได้ใช้เทคโนโลยีในการพัฒนา Petits Curies ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับเทคโนโลยีที่ใช้กับเครื่อง X-Ray ในปัจจุบันโดยมีประสิทธิภาพในการช่วยให้แพทย์สามารถตรวจสอบภาพเคลื่อนไหวในร่างกายได้ เช่น การสูบฉีดของหัวใจ

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Image Credit : atomicarchive.com

ตลอดชีวิตของ นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลคนนี้นั้น เธอทุ่มเทให้กับการทำงานเกี่ยวกับกัมมันตภาพรังสีอย่างหนักโดยที่เธอไม่รู้เลยว่ากัมมันตภาพรังสีนั้นจะส่งผลต่อสุขภาพของเธออย่างไร ทำให้เธอไม่เคยสวมชุดป้องกันทั้งยังทำงานกับกัมมันตภาพรังสีด้วยมือเปล่า ยิ่งไปกว่านั้นเธอยังเก็บ Radium ไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานและในกระเป๋าเสื้อของเธออีกด้วย และผลจากการที่เธอสัมผัสกับกัมมันตภาพรังสีอยู่แทบจะตลอดเวลานั้น ทำให้เธอป่วยอยู่บ่อยๆ จนเสียชีวิตในปี 1934 และถึงแม้ว่าเธอจะจากไปแล้ว แต่งานที่เธอทุ่มเทมาทั้งชีวิตกับสิ่งที่เธอได้ค้นพบนั้นเป็นประโยชน์กับโลกนี้อย่างมากเลยค่ะ   

“ฉันถูกสอนมาว่าหนทางแห่งความก้าวหน้านั้นไม่ได้รวดเร็วและง่ายดาย”

Marie เคยพูดไว้ว่า “ฉันถูกสอนมาว่าหนทางแห่งความก้าวหน้านั้นไม่ได้รวดเร็วและง่ายดาย” ซึ่งคำพูดนี้ก็ทำให้มาย้อนคิดนะคะว่า การที่เราทำอะไรไม่สำเร็จนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะล้มเหลวไปตลอด เพียงแค่เราไม่ท้อแล้วสักวันความสำเร็จจะเป็นของเราค่ะ

เรียกได้ว่า มารี คูรี เป็นนักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลผู้อุทิศตนเพื่อสังคมเลยหล่ะค่ะ การค้นพบธาตุ Radium ของเธอนั้นมีประโยชน์ในด้านการแพทย์อย่างมาก เพราะทางการแพทย์นั้นได้มีการใช้ Radium เพื่อรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง โดยการใช้รังสีของ Radium ในปริมาณสูงนั้น สามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้ เรียกได้ว่าการค้นพบของผู้หญิงเก่งคนนี้ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนได้มีโอกาสกลับมาใช้ชีวิตเหมือนเดิม ถือได้ว่าเธอเป็นบุคคลที่น่ายกย่องจริงๆ ค่ะ

นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบล, Marie Curie คือ
Image Credit : nobelprize.org

เรื่องราวของ Marie Curie นักวิทยาศาสตร์รางวัลโนเบลคนนี้ช่วยเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนที่หมดกำลังใจในการใช้ชีวิตได้อย่างมากเลยใช่มั้ยหล่ะคะ ตลอดชีวิตของเธอนั้น ทุ่มเทกับการทำงานเพื่อที่จะได้ช่วยเหลือผู้อื่น เรียกได้ว่าเธอคือ นางฟ้าแห่งวงการวิทยาศาสตร์เลยจริงๆ ค่ะ สิ่งที่มารีทำนั้น ก็ทำให้คิดได้ว่าบางครั้งการศึกษาในสิ่งที่เราชอบหรือสนใจก็สามารถสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่นได้อย่างมากมายเลยค่ะ 

รวมคำพูดสร้างแรงบันดาลใจจาก Marie Curie

หลังจากได้รู้เรื่องราวความเป็นมาตั้งแต่เด็กจนกระทั่งประสบความสำเร็จของ มารี คูรี แล้ว เราก็อยากนำเสนอคำพูดที่แสดงถึงความเชื่อของ Marie Curie กันค่ะ มาดูกันสักหน่อยมั้ยคะ ว่ามีอะไรบ้าง 🙂

  1. “Nothing in life is to be feared, it is only to be understood. Now is the time to understand more, so that we may fear less.” หรือ “ไม่มีสิ่งใดในชีวิตที่ต้องกลัว มีแต่สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจ ถึงเวลาแล้วที่เราต้องเข้าใจให้มากขึ้น เพื่อที่เราจะได้กลัวน้อยลง”

คำพูดนี้สะท้อนถึงทัศนคติของเธอที่มองว่า ความรู้และความเข้าใจสามารถเอาชนะความกลัวได้ เธอส่งเสริมให้เราเผชิญหน้ากับสิ่งที่ไม่รู้ด้วยความอยากรู้อยากเห็นแทนความกลัว

  1. “One never notices what has been done; one can only see what remains to be done.” หรือ “เราไม่เคยสังเกตสิ่งที่ทำสำเร็จแล้ว เรามักเห็นแต่สิ่งที่ยังต้องทำต่อไป”

คำพูดนี้แสดงถึงมุมมองที่มุ่งเน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เธอเชื่อว่าเราควรมองไปข้างหน้าและคิดถึงสิ่งที่ยังต้องทำ แทนที่จะพอใจกับความสำเร็จในอดีต

  1. “I was taught that the way of progress was neither swift nor easy.” หรือ “ฉันได้รับการสอนว่า เส้นทางแห่งความก้าวหน้านั้นไม่ได้รวดเร็วหรือง่ายดาย”

คำพูดนี้สะท้อนถึงความเข้าใจของเธอที่ว่า การทำงานทางวิทยาศาสตร์และการค้นพบใหม่ๆ ต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างมาก เธอเตือนให้เราอดทนและมุ่งมั่นในการทำงาน

  1. “Be less curious about people and more curious about ideas.” หรือ “จงอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับผู้คนให้น้อยลง แต่อยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับความคิดให้มากขึ้น”

คำพูดนี้แสดงถึงความเชื่อของมารีที่ว่า เราควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาความคิดและความรู้มากกว่าการสนใจเรื่องส่วนตัวของผู้อื่น เธอส่งเสริมให้เรามุ่งเน้นที่การเรียนรู้และการค้นพบทางวิทยาศาสตร์

Marie Curie เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้บุกเบิกที่มีชื่อเสียงระดับโลก ผู้ค้นพบธาตุ Radium และ Polonium และเป็นผู้วางรากฐานการศึกษาด้านกัมมันตภาพรังสี เธอเป็นผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นบุคคลแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลถึงสองสาขา ผลงานของเธอปฏิวัติวงการวิทยาศาสตร์และการแพทย์ ทำให้เกิดการพัฒนาในการรักษามะเร็งและเทคโนโลยีทางนิวเคลียร์ ชีวิตและผลงานของ มารี คูรี ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์และคนทั่วไปจนถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นถึงพลังของความมุ่งมั่น ความอยากรู้อยากเห็น และการอุทิศตนเพื่อความก้าวหน้าทางวิชาการนั่นเองค่ะ

ลบเหลี่ยมไอน์สไตน์

Inspire Now ! : เมื่อได้รู้กันแล้วว่ามารี คูรี คือใคร พร้อมกับเรื่องราวในชีวิตของเธอที่แสนจะน่าทึ่ง จากเด็กผู้หญิงธรรมดากลายมาเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้โด่งดัง ก็คงจะทำให้หลายคนมีแรงบันดาลในการลุกขึ้นมาทำอะไรสักอย่างใช่ไหมคะ ? สิ่งสำคัญเลยก็คือการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมนะคะ เช่นเดียวกับ Marie Curie ที่สามารถทำงานหลายๆ อย่างให้ออกมาดีได้ก็คงเป็นเพราะมีการจัดสรรเวลาที่ดีนั่นเองค่ะ

DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าหรือเปล่า ? ทุกคนมีวิธีพัฒนาตัวเองยังไงบ้างคะ ? อ่านหนังสือข้อคิดดีๆ เพื่อเป็นพลังในการใช้ชีวิตให้ดีขึ้น หรือดูหนังเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือมีวิธีพัฒนาตัวเองอื่นๆ ที่น่าสนใจก็คอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mariecurie.org, britannica.com, verywellhealth.com

Feature Image Credit : nobelprize.org

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW