รวม พระพุทธทาสภิกขุ คําสอน ที่ไม่ใช่แค่ธรรมะในตำรา แต่คือคู่มือชีวิตที่ใช้ได้จริงทุกยุคสมัย
ใครกำลังวุ่นวายใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการงาน การเงิน ความรัก ความสัมพันธ์ ลองมาดูธรรมะของ พระพุทธทาสภิกขุ คำสอนดีๆ ที่ใช้เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต
เรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันเป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทุกคนจะต้องหมั่นดูแลและใส่ใจ เพราะหากดูแลรักษาไม่ดี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ อย่างเช่น เป็นแผลร้อนในในคอ หรือมีอาการ เหงือกอักเสบฟันคุด ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และก่อให้เกิดความเจ็บปวดและรำคาญได้ สาเหตุของฟันคุดเกิดจากอะไรนั้น และส่งผลต่อเหงือกของเราอย่างไรบ้าง มารู้ถึงสาเหตุ และวิธีรักษากันค่ะ
Image Credit : rmperiohealth.com
ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติเหมือนฟันซี่อื่นๆ จึงมีการโผล่ขึ้นมาเพียงบางส่วน หรือฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรทั้งซี่ เนื่องจากเกิดขึ้นมาช้ากว่าฟันซี่อื่น ทำให้ไม่มีพื้นที่และไม่มีช่องว่างที่จะโผล่ออกมาได้ พบได้บ่อยที่บริเวณฟันกรามซี่ในสุด
ฟันคุดเกิดจากฟันกรามชุดที่สามที่พยายามงอกโผล่พ้นเหงือกขึ้นมา และมาเบียดกับฟันซี่ข้างๆ ที่มีอยู่ก่อนแล้ว หรืออาจงอกขึ้นมาในขากรรไกร ทำให้เกิดอาการปวดฟันรุนแรงได้ และก่อให้เกิดความทรมานและรำคาญใจ จนนำไปสู่ปัญหาทางทันตกรรมที่ร้ายแรงเมื่อเวลาผ่านไป เช่น โรคเหงือก ซีสต์ และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้ กลายเป็นปัญหาช่องปากและฟันในลำดับต้นๆ ที่คนส่วนใหญ่พบเจอ
[affegg id=2584]
ปกติแล้วฟันกรามของเราจะขึ้นครบทั้ง 4 ซี่ ในช่วงอายุ 17-21 ปี ลองสำรวจดูว่าฟันแท้ของเราขึ้นครบ 32 ซี่หรือไม่ ถ้าไม่ครบและนับได้ 28 ซี่ นั่นอาจหมายถึงว่า 4 ซี่ที่หายไปอาจเป็นฟันคุด และอาจจะล้มเอียงตัดกับฟันข้างๆ อยู่ หรือวิธีง่ายๆ ลองเช็คจากอาการทั่วไปเหล่านี้ดู
[affegg id=2583]
เมื่อมีฟันคุดเกิดขึ้น จะมีอาการปวดฟันเนื่องจากแรงดันของฟันคุด โดยจะรู้สึกเจ็บปวดมาก และอาจมีอาการเหงือกอักเสบฟันคุดรอบๆ ร่วมด้วย เพราะฟันคุดเป็นแหล่งสะสมของเเบคทีเรีย ทำให้เกิดฟันผุ หรือเหงือกอักเสบได้ง่ายนั่นเอง นอกจากนี้หากเราปล่อยฟันคุดไว้โดยไม่รีบรักษา อาจส่งผลเสียอื่นๆ ตามมา ได้แก่
[affegg id=2585]
ฟันคุดที่ผุและอยู่ในตำแหน่งตั้งตรงและใช้งานได้ รวมถึงไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวดมักไม่จำเป็นต้องถอนออก แต่ส่วนใหญ่แล้วฟันกรามซี่ที่สามที่ได้รับผลกระทบนั้น อาจนำไปสู่ความเจ็บปวดและเกิดปัญหาทางทันตกรรมที่ร้ายแรงอื่นๆ ได้ ซึ่งในกรณีนี้ก็แนะนำให้ถอนฟันคุดออกจะดีที่สุด นอกจากนี้การถอนฟันคุดไม่จำเป็นต้องรอให้เห็นฟันคุดขึ้นเต็มก็ได้ หากตรวจพบว่ามีเหงือกอักเสบฟันคุดเมื่อไหร่ สามารถผ่าตัดออกได้ทันที เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดอาการข้างเคียงอื่นๆ ตามมาได้ เช่น ปวด บวม อักเสบ หรือติดเชื้อ และการรักษาอาการฟันคุดจะต้องให้ทันตแพทย์เป็นผู้รักษาเท่านั้น
ซึ่งการผ่าฟันคุดออกนั้น ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่ากลัว หากพบว่ามีฟันคุดเกิดขึ้นภายในช่องปากแล้ว แต่ปล่อยปละละเลยไม่รักษาหรือดูแลให้ถูกต้อง อาจกลายเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค และมีปัญหาสุขภาพปากและช่องฟันตามมาได้ แต่หากไม่แน่ใจว่าตนเองมีฟันคุดหรือไม่ สามารถไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเอ็กซเรย์หาตำแหน่งของฟันคุดได้ค่ะ
Inspire Now ! : ฟันคุดสามารถป้องกันได้หรือไม่ ? ฟันคุดเกิดจากฟันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จึงไม่สามารถป้องกันได้ เพราะเกิดขึ้นได้กับทุกคน แต่สิ่งที่ทำได้คือ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพช่องปากและฟันอย่างสม่ำเสมอ เพราะหากพบความผิดปกติของฟันคุด จะได้ทำการรักษาได้อย่างทันที นอกไปจากอาการเหงือกอักเสบฟันคุดที่เราควรระมัดระวังและหมั่นตรวจเช็คแล้วนั้น ยังมีอาการอื่นๆ ที่เราต้องหมั่นสังเกตตนเองสม่ำเสมอด้วย เช่น อาการหูอื้อ เพราะเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน อย่าลืมศึกษาวิธีแก้อาการหูอื้อกัน เพื่อไว้ดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบเรื่องของฟันคุดใช่หรือไม่ ? ดูแลช่องปากและฟันของเราอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสุขภาพเหงือกและฟันที่ดีกันค่ะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : rmperiohealth.com, smileandcodentalclinic.com
ใครกำลังวุ่นวายใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการงาน การเงิน ความรัก ความสัมพันธ์ ลองมาดูธรรมะของ พระพุทธทาสภิกขุ คำสอนดีๆ ที่ใช้เรียนรู้ได้ทั้งชีวิต
จะปล่อยวางยังไงให้ใจเป็นสุข ชวนเช็ก วิธีปล่อยวาง ทำแล้วได้อะไร ความเข้าใจผิดที่ทำให้เราปล่อยไม่ได้ มาเข้าใจเพื่อฝึกให้เรามีความสุขมากขึ้นกัน
ปรึกษาจิตแพทย์ ที่ไหนดี ป่วยใจแล้วหาทางออกไม่ได้ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญถือเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราได้ผ่อนคลาย มาปรับใจที่พังแล้วมีความสุขกัน