Check วิธีปล่อยวาง ! ชวนจัดการความคิด ความรู้สึก และความคาดหวัง เพื่อชีวิตที่สงบขึ้น :)
จะปล่อยวางยังไงให้ใจเป็นสุข ชวนเช็ก วิธีปล่อยวาง ทำแล้วได้อะไร ความเข้าใจผิดที่ทำให้เราปล่อยไม่ได้ มาเข้าใจเพื่อฝึกให้เรามีความสุขมากขึ้นกัน
สำหรับใครที่นับถือศาสนาพุทธก็คงจะคุ้นเคยกับหลักธรรมคำสอนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอริยสัจ 4 สัปปายะสถาน หลักสัปปุริสธรรม 7 และอื่นๆ หรือแม้แต่คำสอนง่ายๆ อย่างการปล่อยวางหรือการเมตตากรุณา การกตัญญูกตเวที ก็คงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง ทั้งนี้ มีสิ่งที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ซึ่งเป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ แปลว่าลักษณะ 3 ประการ หรือลักษณะที่เสมอกัน เป็นข้อกำหนดหรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวง ไตรลักษณ์ คืออะไร ? มีความสำคัญในทางพุทธศาสนาอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
ไตรลักษณ์ แปลว่า “ลักษณะ 3 อย่าง” อันหมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำในตัวของสังขารทั้งปวง ถือเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ประกอบไปด้วย อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะไตรลักษณ์ คืออะไรบ้าง แต่ละอย่างมีความหมายว่าอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ
ไตรลักษณ์ มีอะไรบ้าง สิ่งแรกก็คือ อนิจจตา หรือ อนิจจลักษณะ หมายถึง ความไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาและอยู่ในสภาวะไม่แน่นอน ทุกสิ่งล้วนไม่เที่ยงแท้ แปรเปลี่ยนอยู่เสมอ สิ่งที่เรามีวันนี้ อาจสูญสิ้นไปพรุ่งนี้ ชีวิตมีความไม่แน่นอน มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาของโลก เราไม่สามารถยึดติดกับสิ่งใดได้นาน เพราะสุดท้ายแล้วทุกสิ่งต้องดับสูญไปตามกาลเวลา สำหรับชาวพุทธหลายๆ คนอาจคุ้นเคยกับคำว่า “อนิจจัง” เสียมากกว่า ซึ่งก็หมายถึงสิ่งเดียวกันค่ะ
ทั้งนี้ อนิจจตาเตือนให้เราใช้ชีวิตอย่างมีสติ รู้จักปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับความสุขหรือความทุกข์ใดๆ เพราะสิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งชั่วคราว ไม่จีรังยั่งยืน เมื่อสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็ต้องจบลง การยึดติดจะนำมาซึ่งความทุกข์ใจและความผิดหวังเมื่อสิ่งเหล่านั้นจากไป การตระหนักถึงอนิจจังช่วยให้เราเข้าใจความไม่เที่ยงแท้ของชีวิต และใช้ชีวิตอย่างมีสติ ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรไว้ และยังทำให้เราใช้ชีวิตอย่างมีคุณค่ามากขึ้น เราจะไม่เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่สำคัญ แต่จะมุ่งเน้นไปที่สิ่งที่มีความหมายและนำมาซึ่งความสุขที่แท้จริง ฉนั้นแล้ว ไตรลักษณ์ คืออะไรที่ช่วยเตือนสติแก่เราเรื่องการไม่ยึดติดกับสิ่งใด และพึงระลึกไว้ว่า ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนตลอดกาล ทุกอย่างย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ
ทุกขตา หรือทุกขลักษณะ หรือรู้จักกันในคำว่า “ทุกขัง” หมายถึง อาการเป็นทุกข์ เกิดความไม่พอใจ เป็นความกดดัน มีอาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะมีสิ่งที่มาปรุงแต่งให้สภาพเดิมนั้นเกิดความเปลี่ยนแปลงไป และทำให้อยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ ทำให้เกิดความไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องอยู่ในตัว ไตรลักษณ์ มีอะไรบ้าง สิ่งหนึ่งก็คือทุกขตา หรือความทุกข์นั่นเองค่ะ
ทุกขตาในไตรลักษณ์ คืออะไร ? ตามพระพุทธศาสนาแล้ว แนวคิดเรื่องความทุกข์นั้นมีหลายแง่มุม และรวมถึงความเจ็บปวดทั้งทางกายและทางอารมณ์ ได้แก่ ความเจ็บปวดทางกายอันเนื่องมาจากความแก่ชรา ความเจ็บป่วยอันเนื่องมาจากความไม่สบายหรือมีโรคภัยไข้เจ็บ และความตาย ส่วนความเจ็บปวดทางจิตใจ ก็เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมของชีวิต ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ รู้สึกคับข้องใจ รู้สึกฝืนใจ มีความกดดัน เกิดความเครียด วิตกกังวล เป็นต้น
ความทุกข์นั้น เกิดจากความปรารถนาและความไม่รู้ ความปรารถนาหมายถึงความอยากได้ความสุข สิ่งของทางวัตถุ และความเป็นอมตะ หากไม่สามารถตอบสนองต่อความอยากนั้นได้ ก็จะทำให้ความทุกข์คงอยู่ต่อไป ส่วนความไม่รู้คือ การไม่รู้จักธรรมชาติของความเป็นจริง นำไปสู่ความชั่วร้ายต่างๆ เช่น ความโลภ ความอิจฉา ความเกลียดชัง ความโกรธ ความคับแค้น ความเศร้าโศกเสียใจ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นต้น
แนวทางของพระพุทธศาสนาในการจัดการกับความทุกข์นั้น เน้นความสำคัญของการทำความเข้าใจรากเหง้าของความทุกข์และการปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปดเพื่อเอาชนะความทุกข์ มรรคมีองค์แปดประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ โดยในธัมมจักกัปปวัตตนสูตรนั้น พระพุทธเจ้าตรัสว่าอริยมรรคมีองค์ 8 เป็นทางสายกลาง และเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น
ไตรลักษณ์ มีอะไรบ้าง องค์ประกอบที่สามของไตรลักษณ์ก็คือ อนัตตา หรืออนัตตลักษณะ หมายถึง การไม่มีตัวตนถาวร เป็นอิสระ ไม่ได้เป็นของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร หรือมีอยู่โดยเนื้อแท้ในปรากฏการณ์ใดๆ ในศาสนาพุทธ อนัตตา (บาลี) หรือ อนาตมัน (สันสกฤต) แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน อันเป็นแนวคิดที่ว่าด้วยการไม่มีตัวตนหรือวิญญาณที่ถาวรและไม่เปลี่ยนแปลง แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ตัวตนนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นจากกระบวนการทางกายภาพ จิตใจ และประสาทสัมผัสที่พึ่งพาอาศัยกันและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
ทั้งนี้ อนัตตาในไตรลักษณ์ คืออะไรที่ตรงข้ามกับอัตตา คำว่า “อัตตา” ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความภาคภูมิใจในตนเอง แต่หมายถึงความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตนเองว่าเป็นสิ่งที่มั่นคงและแยกจากผู้อื่นและส่วนอื่นๆ ของจักรวาล ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว เป็นตัวตนที่เกิดจากองค์ประกอบหลายอย่าง หรือเกิดจากเหตุปัจจัยมาปรุงแต่งกัน ตัวตนจึงขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมและองค์ประกอบต่างๆ จึงเรียกได้ว่า ไม่มีตัวตนที่แท้จริง เมื่อไม่มีตัวตนที่แท้จริง จึงเป็นอนัตตา
ไตรลักษณ์ คือสิ่งที่เป็นพื้นฐานสำหรับการทำความเข้าใจธรรมชาติของการดำรงอยู่ ตามคำสอนของพระพุทธศาสนา ลักษณะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากความไม่เที่ยงนำไปสู่ความทุกข์ และการขาดตัวตนถาวรหมายความว่าไม่มีพื้นฐานสำหรับความยึดติดหรือยึดมั่นในสิ่งต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นสาเหตุของความทุกข์นั่นเอง
ตอนนี้ก็ได้ทราบกันแล้วว่า ไตรลักษณ์ คืออะไร และประกอบไปด้วยสิ่งใดบ้าง ซึ่งลักษณะทั้ง 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญลักษณะ คือลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิกาย คือกฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขารนั่นเอง เรียกได้ว่าเป็นกฏธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิตในทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเราสามารถนำเอาแนวคิดเกี่ยวกับไตรลักษณ์มาปรับใช้ในชีวิตของเราเองได้ดังนี้ค่ะ
Inspire Now ! : หลักธรรมคำสอนในทางพุทธศาสนานั้น เราสามารถศึกษาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ในหลายๆ บริบท และไม่จำเป็นจะต้องเป็นคนแก่หรือผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเข้าวัดฟังธรรมหรือศึกษาธรรมะ คนรุ่นใหม่ก็สามารถศึกษาธรรมะได้ เพื่อนำเอาแนวคิดหรือข้อคืดที่ถูกจริตไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ต่างกับการยึดถือปรัชญาชีวิตแขนงต่างๆ เช่น แนวคิดแบบเต๋า แนวคิดจากนิกายเซ็น หรือปรัชญาทางตะวันตกอย่าง stoic และอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต และมีชีวิตที่ดีได้ค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบใช่ไหม ? ได้รู้แล้วว่าไตรลักษณ์ คืออะไร และเราจะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง มาคอมเมนต์บอกกันได้นะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : legacy.orst.go.th
Featured Image Credit : vecteezy.com/yganko
จะปล่อยวางยังไงให้ใจเป็นสุข ชวนเช็ก วิธีปล่อยวาง ทำแล้วได้อะไร ความเข้าใจผิดที่ทำให้เราปล่อยไม่ได้ มาเข้าใจเพื่อฝึกให้เรามีความสุขมากขึ้นกัน
ปรึกษาจิตแพทย์ ที่ไหนดี ป่วยใจแล้วหาทางออกไม่ได้ การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญถือเป็นวิธีที่จะช่วยให้เราได้ผ่อนคลาย มาปรับใจที่พังแล้วมีความสุขกัน
Virgin Active เปิดตัว 4 แบรนด์แอมบาสเดอร์ ออกกำลังกายจริง เห็นผลจริง สร้างแรงบันดาลใจใหคนไทยดูแลสุขภาพแบบองค์รวมไปด้วยกัน