ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันกำลังเปลี่ยนโฉมการให้บริการทางการแพทย์ โดยเฉพาะกระแสของ Telehealth คือ ระบบที่ผู้ป่วยเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้โดยไม่จำเป็นต้องไปพบแพทย์ที่สถานบริการ กำลังมาแรงและขยายอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว รู้หรือไม่ว่าแนวคิดด้านการดูแลสุขภาพทางไกลพัฒนามาเป็นเวลาหลายทศวรรษ จนมายุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวหน้าอย่างมาก สมาร์ทโฟนเป็นทุกอย่างเสมือนอวัยวะอีกอย่างหนึ่ง บวกกับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง รวมทั้งการพัฒนาแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลอย่างก้าวกระโดดระหว่างช่วงการระบาดครั้งใหญ่ของ COVID -19 ทำให้ Telehealth เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย มารู้จัก Telehealth ให้มากขึ้นกันค่ะ
Telehealth คืออะไร ?
Image Credit : freepik.com
Telehealth คือคำเรียกระบบการจัดการการแพทย์และสุขภาพจากระยะไกลผ่านการใช้เทคโนโลยีทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารระหว่างแพทย์ การให้คำปรึกษาของแพทย์กับหน่วยบริการ ระบบที่พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขในพื้นที่ห่างไกลปรึกษาสถานพยาบาลชั้นสูงกว่า การปรึกษาทางการแพทย์รายบุคคล การตรวจวินิจฉัยและการสั่งการรักษาทางไกล การพบหมอออนไลน์ การให้ความรู้เรื่องยาของเภสัชกรผ่านแฟลตฟอร์มอินเตอร์เน็ต และอื่นๆ อีกมากมายที่เป็นการบริการด้านสุขภาพผ่านออนไลน์
ทั้งนี้ พื้นฐานสำคัญประการหนึ่งของ Telehealth คือ ความสามารถในการโต้ตอบระหว่างแพทย์และผู้ป่วยในแพลตฟอร์มเสมือนจริง ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถปรึกษาแพทย์ได้จากที่บ้านอย่างสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงการรักษา การรับใบสั่งยา และได้รับคำแนะนำในการรักษาโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปสถานพยาบาล สำหรับในประเทศไทยเราเอง ทั้งภาครัฐและเอกชนต่างให้ความสนใจในการพัฒนาการให้บริการแบบ Telehealth คือการขยายบริการด้านสุขภาพและเพิ่มการเข้าถึงบริการของผู้ป่วย เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา โดยเฉพาะภาครัฐที่จะเป็นประโยชน์อย่างมาก เพื่อให้การบริการที่มีมาตรฐานในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารหรือมีการขาดแคลนบุคลากร และไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการแพทย์ทั่วไปเท่านั้น แต่ครอบคลุมการแพทย์หลากหลายสาขา ตั้งแต่สุขภาพจิต การแพทย์แผนไทย โรคผิวหนังและอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว ยังมีบริษัทหลายแห่งที่ให้บริการ Telehealth ในประเทศไทย เพื่อรองรับความต้องการการเข้าถึงการรักษาพยาบาลที่เพิ่มขึ้น บริษัทเหล่านี้นำเสนอบริการที่หลากหลาย ตั้งแต่การให้คำปรึกษาทั่วไป จนถึงการดูแลเฉพาะทาง การนัดหมายต่างๆ ลองมาสำรวจบริษัท Telehealth ที่มีในประเทศไทยกันดูค่ะ
Tylenol 500 mg. ไทลินอล แผง 20 แผง แผงละ10เม็ด (รวม 200 เม็ด) ไทลีนอล พารา 500 มก.
แนะนำรายชื่อบริษัท Telehealth ที่ให้บริการในประเทศไทย
Image Credit : freepik.com
1. Teladoc
Teladoc Health เป็นหนึ่งในบริษัทด้านสุขภาพทางไกลที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่รู้จักมากที่สุดในโลก ให้คำปรึกษาทางการแพทย์เสมือนจริงในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย เป็นบริการสุขภาพที่ AIA บริษัทประกันสุขภาพยักษ์ใหญ่มีไว้บริการลูกค้าทั่วโลก Teledoc ให้บริการสุขภาพที่หลากหลาย เชื่อมโยงผู้ป่วยกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ ให้บริการครอบคลุมความต้องการทางการแพทย์ที่หลากหลาย ทั้งการสอบถามด้านการดูแลสุขภาพเบื้องต้นทั่วไป ไปจนถึงการจัดการโรคเรื้อรัง ทั้งนี้ Teladoc Health มีบทบาทอย่างมากในประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID -19 สนับสนุนการแพทย์ทางไกลให้พัฒนาอย่างรวดเร็ว ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับคำแนะนำและการรักษาโดยไม่ต้องออกไปผจญกับความเสี่ยงที่ไม่จำเป็น
2. MDLink
เป็นแพลตฟอร์มการแพทย์ทางไกลระดับโลก ให้บริการด้านสุขภาพทางไกลในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ อีกหลายประเทศ สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพผ่านวิดีโอ เสียง หรือแชทได้ แพลตฟอร์มนี้ให้บริการพบแพทย์หลากหลายสาขา รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ และผู้ให้บริการสุขภาพต่างๆ ที่มีส่วนช่วยในการรักษา ทำให้ดูแลสุขภาพได้ครอบคลุม ได้รับคำแนะนำรักษาและการสนับสนุนอย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นการพบหมอออนไลน์ที่สะดวกสบายมากๆ ค่ะ
3. Doctor Anywhere
เป็นบริษัทสุขภาพทางไกลในสิงคโปร์ที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในเอเชีย มีแอปพลิเคชั่นพบหมอออนไลน์ ที่มีค่าใช้จ่ายรายครั้ง ให้บริการด้านสุขภาพทางไกลที่หลากหลาย รวมถึงการให้คำปรึกษาผ่านวิดีโอคอลกับแพทย์ สามารถจองการนัดหมายแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ สั่งซื้อยา เข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพกับโรงพยาบาลในเครือข่ายได้ การขยายธุรกิจของ Doctor Anywhere สู่ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคทำให้ Telehealth ขยายวงกว้าง การเข้าถึงการแพทย์สะดวกและง่ายดาย มีประโยชน์อย่างยิ่งในการดูแลโรคเรื้อรังและการดูแลสุขภาพโดยทั่วไป
4. Ping An Good Doctor
บริษัทยักษ์ใหญ่ของจีนซึ่งมีการดำเนินงานอยู่ในหลายประเทศ มีแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมการบริการให้คำปรึกษาออนไลน์กับผู้เชี่ยวชาญ จองคิวนัดหมาย บริการอื่นๆ ตามใบสั่งแพทย์ คลินิกโรคเรื้อรัง คลินิกแพทย์แผนจีน บริษัทมีการประกันคุณภาพการบริการทำให้ได้รับยกย่องเป็น healthtech ในปี 2021 ทั้งนี้ Ping An Good Doctor ขยายมายังประเทศไทยด้วยความร่วมมือของเครือ BDMS ช่วยลดอุปสรรคในการเข้าถึงการรักษาในโรงพยาบาล ทั้งปัญหารถติด และลดเวลารอคอย เพิ่มความสะดวกในการปรึกษาแพทย์และการรักษาพยาบาล
Welcare Mask Level 2 Medical Series หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ระดับ 2 (บรรจุ 50 ชิ้น/กล่อง)
Telehealth ในประเทศไทย : ประโยชน์และความท้าทาย
การนำระบบสุขภาพทางไกลมาใช้ในประเทศไทยก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ ดังนี้
Image Credit : freepik.com
1. ปรับปรุงการเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุข
Telehealth คือ รูปแบบที่สามารถขจัดอุปสรรคทางภูมิศาสตร์ ทำให้คนในพื้นที่ห่างไกลเข้าถึงบริการด้านการดูแลสุขภาพได้อย่างครอบคลุมครบถ้วน แม้ว่าสถานพยาบาลที่มีในพื้นที่มีบุคลากรหรือศักยภาพไม่เพียงพอ ก็สามารถใช้ทรัพยากรทางการแพทย์ร่วมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายได้
2. ความสะดวกสบาย
ผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเดินทางไปรอที่คลินิกหรือหน่วยบริการอีกต่อไป Telehealth คือ สิ่งที่ให้ความสะดวกในการกำหนดเวลาการนัดหมายให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่พบหมอออนไลน์ที่บ้าน โดยไม่ต้องเดินทาง
3. ประหยัดต้นทุน
Telehealth ลดต้นทุนการรักษาพยาบาลทั้งส่วนของผู้ป่วยและผู้ให้บริการอย่างมาก ผู้ป่วยประหยัดเงินและเวลาในการเดินทาง สถานพยาบาลลดความแออัดทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน สามารถจัดระบบนัด ใช้เวลาในการรักษาที่มีประทธิภาพมากขึ้น และสามารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้ในหลายหน่วยบริการ
4. การจัดการโรคเรื้อรัง
Telehealth ช่วยให้จัดการคลินิกโรคเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ป่วยใส่ใจดูแลสุขภาพได้ดียิ่งขึ้น เพราะได้ตรวจติดตามจากแพทย์เป็นประจำ ลดการขาดนัดเนื่องจากอุปสรรคต่างๆ
5. การสนับสนุนด้านสุขภาพจิต
บริการสุขภาพทางไกลมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับมือกับวิกฤติทางสุขภาพจิตที่เพิ่มมากขึ้น Telehealth เป็นทางเลือกในการรักษาที่ดีขึ้น มีช่องทางการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ การรักษาและการบำบัดที่เข้าถึงได้แบบส่วนตัวและเป็นความลับ ช่วยลดปัญหาการไม่กล้าไปรักษาสุขภาพจิต ทำให้ตัดสินใจเข้าหาการรักษาได้ง่ายขึ้น
ขายยกลัง! Lifree ไลฟ์รี่ ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ กางเกงซึมซับสบาย ไซส์ L (18 ชิ้น) จำนวน 3+1 ห่อ (รวม 4 ห่อ)
อย่างไรก็ตาม Telehealth ในประเทศไทยก็ต้องเผชิญกับความท้าทายเช่นเดียวกับในประเทศอื่นๆ ดังนี้
Image Credit : freepik.com
อุปกรณ์ เครื่องมือสื่อสาร : ใช่ว่าคนไทยทุกคนจะสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตหรืออุปกรณ์สื่อสารทางไกลที่เหมาะสมสำหรับแพลตฟอร์มเสมือนจริงได้ ทำให้เกิดช่องว่างทางดิจิทัลที่อาจจำกัดการเข้าถึงบริการสุขภาพทางไกล
ปัญหาด้านกฎระเบียบและการชำระเงิน : กฎระเบียบเกี่ยวกับบริการสุขภาพทางไกลในประเทศไทยกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ยังต้องพัฒนากฎหมายที่ควบคุมบริการสุขภาพทางไกลแตกต่างกันไปตามภูมิภาค ซึ่งยังไม่ชัดเจนและยังมีความซับซ้อนอยู่
ความปลอดภัยของข้อมูล : ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลถือเป็นข้อควรระวังสูงสุด ข้อมูลด้านการดูแลสุขภาพจะต้องได้รับการปกป้องจากการละเมิด และผู้ป่วยจะต้องวางใจได้ว่าข้อมูลของตนมีความปลอดภัย
การสูญเสียความสัมพันธ์แบบตัวต่อตัว : การดูแลสุขภาพบางประการ การไม่มีปฏิสัมพันธ์แบบเห็นหน้ากันอาจเป็นข้อเสียเปรียบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการตรวจร่างกายหรือหัตถการทางการแพทย์ที่ซับซ้อน Telehealth จึงต้องมีการผสมผลานกับการตรวจแบบออนไลน์และการเจอตัวจริงแบบ Face to Face ด้วย
นอกจากประเทศไทยแล้ว การดูแลสุขภาพทางไกลยังมีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและมีผลกระทบในระดับนานาชาติ การยอมรับให้ Telehealth เป็นวิธีดูแลสุขภาพหลักจำเป็นจะต้องมีความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และมีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เพื่อให้การดูแลที่มีคุณภาพสูงเป็นที่ยอมรับ กระตุ้นให้เกิดความร่วมมือและแบ่งปันความเชี่ยวชาญรวมทั้งทรัพยากรทางการแพทย์ระหว่างประเทศ
OMRON เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ รุ่น HEM-8712 (รับประกัน 3+2 ปี) Blood Pressure Monitor
Inspire Now ! : Telehealth กำลังเปลี่ยนแปลงวิธีการให้บริการด้านสุขภาพโดยพื้นฐาน ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเพียงเท่านั้น แต่เป็นในระดับโลก ความสะดวก ความคุ้มทุน และการเข้าถึงบริการสุขภาพทำให้ telehealth คือทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ป่วยที่กำลังมองหาคำแนะนำทางการแพทย์ การรักษา และการสนับสนุนอื่นๆ telehealth แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันยิ่งใหญ่ในการเอาชนะอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และการขนส่ง ช่วยให้ผู้ป่วยเข้าถึงความเชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ต้องได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ การขอความคิดเห็นที่สองในการรักษาที่ยากและซับซ้อน Telehealth สามารถส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทั่วโลก ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้และการให้คำปรึกษาข้ามพรมแดน เป็นความก้าวหน้าทางการแพทย์อย่างหนึ่งที่จะทำให้ผู้คนสามารถเข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้มากขึ้นกว่าเดิม
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? Telehealth ในประเทศไทยทำให้การดูแลสุขภาพเข้าถึงได้มากขึ้น ลดความตึงเครียดในสถานพยาบาล และเพิ่มประสบการณ์ของผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม ความท้าทายต่างๆ เช่น ความเหลื่อมล้ำทางสังคม ช่องว่างทางดิจิทัล ความซับซ้อนด้านกฎระเบียบ ความปลอดภัยของข้อมูล จะต้องได้รับการจัดการ เพื่อให้มั่นใจการเข้าถึงที่เท่าเทียมและความไว้วางใจของผู้ป่วยต่อไป คิดเห็นอย่างไร มาคอมเมนต์กันได้นะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org , eng.nhso.go.th , telehealth.hhs.gov
Featured Image Credit : freepik.com