ผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน หรือปวดท้องเหมือนเป็นตะคริวในบริเวณท้องน้อยเมื่อเวลามีประจำเดือน และในบางคนก็มีอาการปวดท้องประจำเดือนหนัก แต่ก็มีบางครั้งที่มีอาการปวดท้องแบบประจำเดือนแต่ประจำเดือนไม่มา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากภาวะอื่นนอกเหนือจากประจำเดือน อาการปวดแบบนี้บอกอะไรเราได้บ้าง ? เพื่อให้สาวๆ ที่กำลังมีอาการ ปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มา ได้รู้และระวังตัวเอง เรามีสาเหตุมาบอกกันว่าเกิดจากอะไร และเป็นสัญญาณบอกโรคอะไรหรือไม่ พร้อมวิธีดูแลสุขภาพสำหรับสาวๆ กันค่ะ
ปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มา สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ? รู้ก่อนดูแลตัวเองก่อน
อาการปวดท้องเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในช่วงมีประจำเดือน แต่การมีประจำเดือนของผู้หญิงนั้นไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณท้องหรืออุ้งเชิงกรานได้ เพราะอาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มานั้น เกิดจากสาเหตุได้หลายอย่าง ได้แก่
[affegg id=4280]
1. โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ (PID)
PID คือการติดเชื้อของอวัยวะสืบพันธุ์ อาจเป็นภาวะแทรกซ้อนของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์บางอย่าง เช่น หนองในแท้ และหนองในเทียม แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการติดเชื้อประเภทอื่นด้วย นอกจากจะมีอาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มาแล้วอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นไข้ ตกขาวมีกลิ่น คลื่นไส้อาเจียน ปวดแสบปวดร้อนเมื่อปัสสาวะ ปวดหรือมีเลือดออกขณะมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น
2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
อาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มาแบบนี้ อาจหมายถึงสัญญาณของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ กล่าวคือ เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญเติบโตอยู่นอกโพรงมกลูกหรือแทรกตัวในผนังมดลูก กล้ามเนื้อมดลูก และอาจเติบโตไปตามอวัยวะต่างๆ เช่น เยื่อบุช่องท้อง รังไง ผนังกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ซึ่งอาจทำให้ปวดท้อง และมีเลือดออกคล้ายมีประจำเดือนได้
3. การตั้งครรภ์นอกมดลูก
การตั้งครรภ์นอกมดลูกหมายถึง การที่ตัวอ่อนปฏิสนธิติดอยู่ในตำแหน่งที่ผิดปกตินอกมดลูก ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะอยู่ในท่อนำไข่ การตั้งครรภ์นอกมดลูกนั้นทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลันรุนแรงในช่องท้องส่วนล่าง ซึ่งอาจลามไปถึงด้านหลังได้ และอาจมีอาการทั่วไปของการตั้งครรภ์ในระยะแรกๆ เช่น เหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า และปวดเต้านมหรือคลื่นไส้
4. เนื้องอก
เนื้องอกในมดลูกเป็นเนื้องอกขนาดเล็ก ซึ่งไม่ใช่มะเร็งที่เติบโตบริเวณผนังมดลูก หลายคนมีเนื้องอกและไม่พบอาการใดๆ แต่ก็สามารถทำให้มีเลือดออกและปวดท้องแบบประจำเดือนได้ แม้ว่าจะไม่ได้มีประจำเดือนก็ตาม
5. มะเร็งรังไข่
มะเร็งรังไข่อาจไม่ก่อให้เกิดอาการใดๆ แต่ถ้ามะเร็งมีขนาดใหญ่ก็สามารถทำให้รู้สึกปวดตรงอุ้งเชิงกรานได้ รวมถึงมีอาการปวดหรือกดทับในช่องท้องหรือบริเวณหลัง มีอาการท้องบวม และกลั้นปัสสาวะไม่ได้
6. อาการลำไส้แปรปรวน (IBS)
IBS อาจทำให้ปวดบริเวณท้องและอุ้งเชิงกรานได้ คล้ายกับอาการปวดท้องแบบประจำเดือนแต่ประจำเดือนไม่มา โดยจะมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ได้แก่ ท้องผูก ท้องเสีย หรือสลับกันระหว่างท้องเสียกับท้องผูก มีเมือกในอุจจาระ ท้องอืด มีแก๊สในท้องรู้สึกไม่สบายในช่องท้องส่วนบน หรือรู้สึกอิ่มหรือคลื่นไส้หลังกินอาหาร
7. โรคลำไส้อักเสบ (IBD)
IBD ชนิดที่พบบ่อยที่สุดคือโรคลำไส้ใหญ่บวมเป็นแผล ที่ทำให้เกิดการอักเสบในระบบย่อยอาหารและหยุดการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็น เป็นภาวะระยะยาวที่มักต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง IBD อาจทำให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรงและเป็นตะคริวในกระเพาะอาหารได้ หรือมีอาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มา ร่วมกับมีอาการท้องเสีย เบื่ออาหาร เหนื่อยล้า มีไข้ เลือดออกทางทวารหนัก ปวดข้อ มีปัญหาผิว เช่น ผดผื่น
[affegg id=4281]
ปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มา แปลว่าตั้งครรภ์หรือไม่ ?
คุณอาจมีอาการปวดท้องแบบประจำเดือนแต่ประจำเดือนไม่มา ในช่วงประมาณ 4 สัปดาห์ระหว่างตั้งครรภ์ได้ เพราะอาการปวดท้องเหมือนเป็นตะคริวที่บริเวณท้องน้อยในบางครั้งอาจเป็นสัญญาณแรกสุดของการตั้งครรภ์ เพราะเมื่อตัวอ่อนฝังในครรภ์ในช่วงระหว่าง 6 – 12 วันหลังจากการปฏิสนธิ อาจทำให้มีเลือดออกเล็กน้อยและอาจมีอาการปวดท้องน้อยได้ แต่การตั้งครรภ์นั้นก็มีสัญญาณเริ่มต้นอื่นๆ ด้วย ได้แก่ คลื่นไส้หรือแพ้ท้อง หน้าอกบวม มีความเหนื่อยล้า ปวดหัว ปวดปัสสาวะมากขึ้น มีความอยากอาหารหรือเบื่ออาหาร การรับรู้กลิ่นที่เปลี่ยนไป หัวนมเป็นสีคล้ำขึ้น และมีอารมณ์แปรปรวน แต่หากไม่มั่นใจว่าหมดประจำเดือนท้องไหมนั้น แนะนำให้เข้ารับการตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาลนะคะ
ปวดท้องแบบนี้ต้องไปพบแพทย์หรือไม่ ?
ใครก็ตามที่ปวดท้องแบบเป็นตะคริวบริเวณท้องน้อยบ่อยๆ หากไม่ใช่ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง เพราะการวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มต้นมีความสำคัญ หากสาวๆ มีอาการปวดท้องคล้ายมีประจำเดือน และมีอาการต่างๆ เหล่านี้ร่วมด้วย ได้แก่ เลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ ปวดท้องหรืออุ้งเชิงกรานอย่างกะทันหันและรุนแรง เจ็บหน้าอก แขน คอ หรือกราม อาเจียนบ่อย มีไข้สูง อาเจียนหรืออุจจาระเป็นเลือด อุจจาระสีดำ หายใจถี่ ผิวหรือตาเหลือง น้ำหนักลดแบบไม่มีสาเหตุ หัวใจเต้นช้าหรือเร็วเกินไป และหมดสติ ควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มา
หากมีอาการปวดท้องเหมือนเป็นตะคริวในช่องท้อง หรือปวดบริเวณอุ้งเชิงกราน แต่ไม่ได้มีประจำเดือนนั้น หากไม่มีอาการรุนแรงหรืออาการอื่นๆ ร่วมด้วย อาจใช้วิธีการบรรเทาอาการด้วยตนเองที่บ้านเหมือนกับเวลามีประจำเดือน และงดกินอาหารที่เมื่อมีประจำเดือนห้ามกินอะไรบ้าง ดังนี้
- ใช้กระเป๋าน้ำร้อนประคบบริเวณท้องน้อยและหลัง
- อาบน้ำอุ่น
- ผ่อนคลายร่างกาย เช่น เล่นโยคะหรือนั่งสมาธิ
- นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- กินผักและผลไม้ให้มากขึ้น
- ลดการกินอาหารที่มีไขมันสูง และโซเดียมสูง
- หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- กินยาต้านการอักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDs) เมื่อเริ่มมีอาการปวด
[affegg id=4282]
Inspire Now ! : อาการปวดท้องแต่ประจำเดือนไม่มานั้นสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน หากคุณมั่นใจว่ายังไม่ใช่เวลาของรอบเดือนของคุณ ให้สังเกตอาการอื่นๆ ร่วมด้วย หากมีอาการที่รุนแรงหรือผิดปกติ แนะนำให้รีบไปพบแพทย์ เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณของโรคต่างๆ ได้ค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพใช่ไหม ? สาวๆ อย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ และหากมีอาการปวดท้องแบบไม่รู้สาเหตุ การไปพบแพทย์จะช่วยให้วินิจฉัยและรักษาได้เร็วขึ้นค่ะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : lloydspharmacy.com
Featured Image Credit : freepik.com/Drazen Zigic