เราอาจจะเคยเห็นหรือได้ยินจากข่าวอยู่บ่อยๆ ในกรณีที่มีคนกินอาหารอยู่ แล้วอาหารติดคอ กลืนไม่ลง ซึ่งหากมีคนอื่นอยู่ด้วยก็จะสามารถช่วยได้ทันท่วงที แต่ถ้าหากว่าเราอยู่คนเดียวนั้น จะต้องทำอย่างไรเพื่อให้เราปลอดภัย ? นอกจากปัญหาเรื่องเสมหะเยอะที่เราเคยแนะนำวิธีแก้ไปแล้วนั้น มาดูวิธีแก้ปัญหาเมื่อ อาหารติดคอ อยู่คนเดียว กันบ้างดีกว่าค่ะ ว่าเราจะต้องทำยังไง เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง
ชวนรู้วิธีจัดการ อาหารติดคอ อยู่คนเดียว ช่วยให้รอดปลอดภัย
การมีอาหารติดคออาจทำให้รู้สึกอึดอัดจนเกิดความกลัว เพราะนั่นอาจส่งผลจนถึงชีวิตได้หากลงไปติดที่หลอดลมและช่วยเหลือไม่ทัน ซึ่งกระบวนการกลืนอาหารนั้นเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ โดยส่วนใหญ่การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อเหล่านี้จะป้องกันไม่ให้อาหารติดอยู่ในลำคอ แต่ในบางครั้งอาหารอาจติดอยู่ในหลอดอาหาร ทำให้เกิดความรู้สึกไม่สบายในลำคอหรือหน้าอก รู้สึกว่าอาหารติดคอ กลืนไม่ลง เนื่องมาจากฝาปิดกล่องเสียงปิดไม่เพียงพอในระหว่างการกลืน ทำให้อาหารเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ และส่งผลให้สำลัก หรือหนักถึงขั้นอุดตันในหลอดลม ที่จัดว่าเป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ เพราะมันจะทำให้คุณหายใจไม่ออกจนเสียชีวิตได้ มาดูกันว่าอาหารติดคอ อยู่คนเดียวควรทำอย่างไร ?
อาหารติดคอ อยู่คนเดียวนั้น บางครั้งการไออย่างต่อเนื่องหรือรุนแรงอาจทำให้อาหารหลุดออกมาได้ แต่หากเกิดการอุดตันที่เกิดขึ้นในหลอดลมหรือกล่องเสียงอาจทำให้คุณสำลัก ซึ่งหมายถึงการหายใจลำบากที่เกิดจากการอุดตันของทางเดินหายใจเฉียบพลัน และจะไม่สามารถหายใจเข้าหรือหายใจได้เพียงพอที่จะไอออกมา และไม่สามารถพูดหรือหายใจได้ หากเป็นแบบนี้ต้องใช้วิธีที่เรียกว่า Heimlich คือการใช้แรงกดที่หน้าท้อง เพื่อขจัดสิ่งที่อุดตันในหลอดลมให้หลุดกระเด็นออกมา ซึ่งคุณสามารถใช้วิธีนี้เพื่อช่วยเหลือตัวเองได้ค่ะ
อาหารติดคอ อยู่คนเดียว ทำ Heimlich อย่างไร
อันดับแรก ให้กำมือและวางไว้เหนือสะดือเล็กน้อย และใช้มืออีกข้างหนึ่งจับกำปั้นของคุณแล้วก้มลงบนพื้นแข็ง อาจจะเป็นโต๊ะหรือเก้าอี้ จากนั้นกดกระแทกลงที่หน้าท้องอย่างรวดเร็ว และทำซ้ำจนกว่าอาหารหรือสิ่งอุดตันอื่นๆ จะกระเด็นหลุดออกมาจากปาก การใช้วิธีนี้ก็จะทำให้คุณกลับมาหายใจได้ตามปกติ และพ้นจากอันตรายแล้วค่ะ
แต่หากว่าอาหารติดคอ กลืนไม่ลง ไม่ได้ลงไปในหลอดลม และคุณยังสามารถหายใจได้ตามปกติ อาจทำให้มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรง น้ำลายไหล และไอได้ มาดูวิธีแก้ปัญหาจากอาการเหล่านี้ที่ทำได้ที่บ้านกันค่ะ
- ดื่มโค้กกระป๋องหรือเครื่องดื่มอัดลมอื่นๆ ทันที เทคนิคง่ายๆ นี้สามารถช่วยขับอาหารที่ติดอยู่ในหลอดอาหารได้ เพราะเชื่อว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในโซดาช่วยสลายอาหารได้ รวมถึงแรงดันของแก๊สสามารถขับเศษอาหารที่ติดอยู่ออกได้
- การจิบน้ำสักเล็กน้อยอาจช่วยล้างอาหารที่ติดอยู่ในหลอดอาหารได้ โดยปกติ น้ำลายของคุณจะให้สารหล่อลื่นเพียงพอที่จะช่วยให้อาหารเลื่อนลงมาตามหลอดอาหารได้ง่าย แต่หากเคี้ยวอาหารไม่ถูกวิธี หรืออาหารอาจแห้งเกินไป การจิบน้ำซ้ำๆ อาจทำให้อาหารที่ติดอยู่นั้นเปียกชื้น และดันอาหารลงไปได้ง่ายขึ้น
- กินอาหารเปียกๆ เพื่อช่วยดันอาหารที่ติดคออยู่ลงไปที่หลอดอาหารได้ เช่น จุ่มขนมปังในน้ำหรือนม แล้วกัดเล็กน้อย หรืออีกทางเลือกหนึ่งที่ได้ผลคือกินกล้วยซึ่งเป็นอาหารอ่อนตามธรรมชาติ
- ผสมเบกกิ้งโซดาหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตกับน้ำแล้วดื่ม การดื่มสารละลายนี้อาจช่วยสลายอาหารที่ติดอยู่ในลำคอ หรือช่วยขับอาหารออกมาได้
- กินเนยหนึ่งช้อนโต๊ะ บางครั้งหลอดอาหารต้องการการหล่อลื่นเป็นพิเศษ การกินเนยหนึ่งช้อนโต๊ะอาจช่วยได้ เพราะวิธีนี้อาจช่วยให้เยื่อบุหลอดอาหารเปียกชื้นและทำให้อาหารที่ติดค้างเลื่อนลงไปในท้องได้ง่ายขึ้น
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงในการสำลักอาหาร
การสำลักสามารถส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย และพบได้บ่อยในเด็กอายุ 0-3 ปี และผู้ใหญ่ที่มีอายุเกิน 60 ปี ในผู้สูงอายุ มักเกิดจากเมื่ออายุมากขึ้นจะผลิตน้ำลายน้อยลง ทำให้กลืนอาหารยากลำบากขึ้น และส่งผลให้อาหารติดคอได้ ส่วนในคนวัยทั่วไป มักเกิดจากการกินอาหารที่ไม่ระวัง กินเร็วและไม่เคี้ยวให้ละเอียด จนทำให้อาหารหลุดลงไปติดค้างอยู่ในหลอดอาหารได้ ซึ่งหากคุณไม่สามารถกลืนน้ำลายได้ และอาหารติดคอ อยู่คนเดียวให้รีบไปพบแพทย์ทันที ภายใน 6-12 ชั่วโมง เพื่อลดโอกาสเกิดความเสียหายและทำให้การรักษาง่ายขึ้น โดยแพทย์อาจใช้การส่องกล้องเพื่อนำอาหารออกภายใน 24 ชั่วโมง
ป้องกันอาหารติดคอ อยู่คนเดียวได้อย่างไร
เราสามารถป้องกันอาหารติดคอได้ เพื่อลดความเสี่ยงของอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะเมื่อคุณอยู่ตามลำพัง โดยสามารถป้องกันได้ด้วยวิธีเหล่านี้
- กินอาหารมื้อเล็กๆ
- เคี้ยวอาหารช้าๆ ให้ละเอียดก่อนกลืน
- ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปก่อนหรือระหว่างมื้ออาหาร
- ไม่กินอาหารระหว่างเดิน- ไม่กินอาหารขณะนอน (สำหรับคนที่สนใจเรื่องท่านอนที่ถูกต้อง เช่น ท่านอนตะแคงที่ถูกต้อง อ่านเพิ่มเติมได้เช่นกันค่ะ)
Inspire Now ! : อาหารติดคอนั้น อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในหลอดอาหารหรือหลอดลม ซึ่งการอุดตันของอาหารในหลอดอาหารโดยทั่วไปไม่ใช่เหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ที่สำคัญ แต่การอุดตันของอาหารในหลอดลมอาจทำให้สำลักและหายใจไม่ออกได้ ซึ่งต้องได้รับการรักษาฉุกเฉินด้วยการทำ Heimlich ซึ่งเป็นวิธีการปฐมพยาบาลที่สามารถใช้เพื่อขจัดสิ่งอุดตันออกจากหลอดลมได้ แต่วิธีนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และสตรีมีครรภ์ ทั้งนี้ การปฐมพยาบาลต่างๆ เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ไม่เพียงแต่อาหารติดคอเท่านั้นนะคะ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่ดูเหมือนเล็กน้อยอย่างแผลน้ำร้อนลวก ก็ควรรู้ถึงวิธีรักษาเบื้องต้นรวมถึงการใช้ยาทาแผลน้ำร้อนลวก ที่จะช่วยปฐมพยาบาลได้ และไม่เกิดปัญหาบานปลายค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพหรือเปล่า ? ได้รู้วิธีในการดูแลตัวเองกันแล้ว ลองศึกษาวิธีปฐมพยาบาลอื่นๆ และดูแลเรื่องอาหารการกิน ใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทกันะคะ สำหรับใครที่ใช้วิธีไหนดูแลตัวเองอยู่ มาคอมเมนต์เล่าให้ฟังกันบ้างนะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : healthline.com, medicalnewstoday.com, thehealthsite.com
Featured Image Credit : freepik.com/8photo