ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

เช็กด่วน ! ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลด เพราะอะไร ?! ทำยังไงให้ถูกวิธี

สงสัยกันไหมคะว่า ทำไมเวลาที่เราออกกำลังกายและตั้งเป้าว่าจะลดน้ำหนัก แต่ทว่าน้ำหนักกลับไม่ลดลงเลย เราทำอะไรผิดพลาดตรงไหน ? จริงๆ แล้วความล้มเหลวในการลดน้ำหนักมักเกิดจากสาเหตุหลักหลายประการค่ะ ตั้งแต่การกินอาหารที่ไม่ดีไปจนถึงการออกกำลังกายที่ไม่เพียงพอ ทำให้ความพยายามในการลดน้ำหนักของเราอาจไม่ได้ผลตามที่ตั้งใจไว้ และเพราะอะไร ออกกำลังกายแต่น้ำหนัก ไม่ลด ? ใครที่กำลังเจอกับปัญหานี้อยู่มาเช็กตัวเองกัน

สาวๆ เช็กด่วน ! ออกกำลังกายแต่น้ำหนัก ไม่ลด มันเป็นเพราะอะไร แก้ไขยังไงได้บ้าง

ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

  1. คุณนอนไม่พอ

แม้ว่าคุณจะขยันออกกำลังกาย แต่ถ้าคุณอดนอน ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลดได้ เพราะการอดนอนอาจทำให้ร่างกายหิวโหยได้เนื่องจากฮอร์โมน 2 ตัว ได้แก่ เกรลินและเลปติน เกรลินจะส่งสัญญาณความหิว และเลปตินมีหน้าที่หยุดยั้งมัน การหลั่งเลปตินต่ำเนื่องจากการอดนอน สามารถชะลอการเผาผลาญของร่างกาย และทำให้คุณรู้สึกหิวตลอดเวลา นอกจากนี้ การอดนอนอาจส่งผลต่อการหลั่งคอร์ติซอล ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนที่ควบคุมความอยากอาหารของคุณอีกด้วย

  1. คุณไม่ได้เลือกอาหารที่เหมาะสม

ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

การกินอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพหรืออาหารจั้งก์ฟู้ดอย่างสม่ำเสมอในช่วงสุดสัปดาห์ อาจส่งผลเสียต่อเป้าหมายการลดน้ำหนักของคุณและทำให้ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลดได้ เพราะการออกกำลังกายเพียงอย่างเดียวอาจไม่ส่งผลให้น้ำหนักลดลงอย่างมาก หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงอาหารอย่างเพียงพอร่วมด้วย เพราะฉะนั้น อาหารที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือมีความหลากหลายและมีความสมดุลกันของโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่เหมาะสม

  1. คุณไม่ได้ควบคุมปริมาณแคลอรี่

คนส่วนใหญ่ที่มีปัญหาในการออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลดก็เพราะกินแคลอรี่มากเกินไป ปัจจัยสำคัญในการลดน้ำหนักด้วยตัวเองคือจำนวนแคลอรี่ที่กินเทียบกับจำนวนแคลอรีที่เผาผลาญ เพราะฉะนั้น ถ้าคุณไม่ติดตามแคลอรี่ในแต่ละวัน คุณอาจบริโภคมากกว่าที่คุณคิด

  1. คุณออกกำลังกายมากเกินไป

ออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

สาเหตุหลักประการหนึ่งที่ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด เกิดจากการออกแรงมากเกินไปหรือการอักเสบของร่างกาย หากคุณออกกำลังกายหนักเกินไปในแต่ละวันร่างกายจะมีอาการอักเสบมากเกินไป การอักเสบที่เพิ่มขึ้นทั้งหมดทำให้คุณมีน้ำหนักมากกว่าการสูญเสียไป นอกจากนี้ ในที่สุดแล้วร่างกายของคุณจะปรับตัวเข้ากับการออกกำลังกายของคุณ เริ่มใช้แคลอรี่น้อยลง ทำให้การลดน้ำหนักของคุณชะลอตัว เพราะฉะนั้น ควรออกกำลังกายอย่างพอดีและเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

  1. รู้อัตราการเผาผลาญของคุณ

การรู้เกี่ยวกับอัตราการเผาผลาญขณะพักจากการออกกำลังกาย จะช่วยให้คุณสามารถคำนวณปริมาณแคลอรี่ที่ต้องการในแต่ละวันได้ ทำให้คุณสามารถปรับการบริโภคอาหาร หรือปรับปริมาณการออกกำลังกายที่คุณทำในแต่ละวันได้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องสังเกตว่าคุณได้รับปริมาณแคลอรี่ขั้นต่ำในแต่ละวันแก่ร่างกายด้วย เพราะหากน้อยกว่านั้นจะบังคับให้ร่างกายของคุณเข้าสู่โหมดกักเก็บพลังงาน และเผาผลาญพลังงานน้อยลงซึ่งจะเป็นการทำให้การลดน้ำหนักของคุณไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากนี้ถ้าอยากเพิ่มการเผาผลาญแนะนำให้ดื่มน้ำมะพร้าวลดน้ำหนัก เพราะน้ำมะพร้าวจะช่วยเพิ่มอัตราการเผาผลาญได้

  1. คุณมีภาวะสุขภาพอื่นๆ

ออกกำลังกายแต่น้ำหนัก ไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

มีเงื่อนไขทางการแพทย์บางอย่างที่สามารถทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นและทำให้ลดน้ำหนักได้ยากขึ้นมาก รวมถึงออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลดด้วย เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนไทรอยด์ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ และภาวะหยุดหายใจขณะหลับ รวมถึงยาบางชนิดอาจทำให้น้ำหนักลดยากขึ้น หรือแม้กระทั่งทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย หากคุณคิดว่าคุณกำลังมีปัญหาเรื่องสุขภาพเหล่านี้ แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์เกี่ยวกับวิธีในการลดน้ำหนักที่เหมาะกับคุณ

ออกกำลังกายแต่น้ำหนัก ไม่ลด การเปลี่ยนแปลงง่ายๆ ที่ช่วยลดน้ำหนักได้

ออกกำลังกายแต่น้ำหนัก ไม่ลด, ออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด

หากคุณคือคนหนึ่งที่เจอกับปัญหาออกกำลังกายน้ำหนักไม่ลด และเช็กลิสต์ด้านบนแล้วพบว่านั่นคือหนึ่งในสาเหตุที่คุณประสบอยู่ เรามีข้อแนะนำที่จะทำให้การออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลดของคุณหมดไป เพียงปฏิบัติตามนี้

  1. เลือกอาหารของคุณอย่างระมัดระวัง

คุณสามารถปรึกษานักโภชนาการเพื่อทำรายการอาหารลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับร่างกายของคุณ หรือสามารถเริ่มได้โดยการติดตามการบริโภคโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรตในแต่ละวัน (PFC Diet)

  1. ดื่มน้ำให้เพียงพอ

การดื่มน้ำสักแก้วก่อนมื้ออาหารจะช่วยลดน้ำหนักได้ ดังนั้น ควรดื่มน้ำให้มากในระหว่างวัน แม้ว่าคุณจะกำลังทำ if ลดน้ำหนักอยู่ก็ตาม ก็สามารถดื่มน้ำในระหว่างนั้นได้

  1. นอนหลับอย่างมีคุณภาพ

การนอนที่มีคุณภาพต่ำ หรือการนอนหลับไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อการลดน้ำหนักได้ และสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วนและโรคเบาหวาน ดังนั้น ผู้ใหญ่อายุ 18-65 ปี ควรตั้งเป้าการนอนหลับ 7-9 ชั่วโมงต่อคืน ในขณะผู้สูงอายุควรตั้งเป้าไว้ 7-8 ชั่วโมง

  1. ออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม

การออกกำลังกายทุกประเภทไม่ได้ถูกสร้างขึ้นมาเท่ากัน เพราะการออกกำลังกายบางรูปแบบสามารถต่อต้านและทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายของคุณได้ ส่งผลต่อการเผาผลาญ ความเครียด และระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ควรหยุดพักเป็นครั้งคราวจากการออกกำลังกายที่เข้มข้น และผสมผสานการออกกำลังกายเข้ากับกิจวัตรที่มีความเข้มข้นต่ำบ้าง เช่น โยคะ

Inspire Now ! : แม้ว่าการรักษาความสม่ำเสมอระหว่างการลดน้ำหนักเป็นสิ่งสำคัญ แต่การหลีกเลี่ยงการประเมินความสำเร็จด้วยการวัดผลก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน เพราะบางครั้งร่างกายของเราสามารถเปลี่ยนแปลงโดยที่เครื่องชั่งไม่สามารถวัดได้ เพราะหนึ่งในสาเหตุของการออกกำลังกายแต่น้ำหนักไม่ลดนั่นอาจเป็นเพราะมวลน้ำหนักของกล้ามเนื้อที่มาแทนที่ไขมันจากการออกกำลังกาย ดังนั้น เพื่อการลดน้ำหนักที่ดีควรให้ความสำคัญกับความพยายามของตัวคุณเอง ออกกำลังกายด้วยความเข้มข้นมากพอๆ กับความถี่ และปิดท้ายด้วยการพักผ่อนที่เพียงพอและกินอาหารที่สมดุล แล้วร่างกายของคุณก็จะปล่อยให้น้ำหนักส่วนเกินเหล่านั้นออกไปได้ในที่สุดค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบใช่หรือไม่ สาวๆ ที่กำลังกังวลในเรื่องนี้ ลองเช็กลิสต์แล้วเอาคำแนะนำของเราไปทำตามกันดูนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : medanta.org, health.com, healthline.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW