นิ้วล็อกเกิดจาก, อาการนิ้วล็อกมือชา

นิ้วล็อกเกิดจากอะไร ? มาสำรวจอาการพร้อมวิธีการรักษากัน

สาวๆ ที่ต้องทำงานนั่งโต๊ะ งานออฟฟิศ หรืองานที่ต้องเกร็งมือและนิ้วบ่อยๆ เช่น การพิมพ์ดีดหรือการใช้คอมพิวเตอร์คงเคยรู้สึกปวด เกร็งนิ้ว บางครั้งอาจปวดมากจนถึงกับขยับนิ้วไม่ได้ นั่นคือจุดเริ่มต้นของอาการนิ้วล็อกมือชาซึ่งเป็นอีกหนึ่งโรคแอบแฝงจากการทำงานในปัจจุบัน วันนี้ DIY INSPIRE NOW ชวนคุณมาทำความรู้จักกันว่า นิ้วล็อกเกิดจาก อะไร มีวิธีรักษาและป้องกันอย่างไรบ้าง ใครไม่อยากอาการรุนแรงถึงขั้นผ่าตัดต้องอ่านค่ะ

ทำความรู้จักกับนิ้วล็อก 

นิ้วล็อกเกิดจาก, อาการนิ้วล็อกมือชา

Image Credit : healthdirect.org.au

นิ้วล็อก (Trigger Finger) คืออาการที่นิ้วของเราเกิดล็อกเมื่องอนิ้วจนไม่สามารถกลับมาเหยียดตรงได้ มักเกิดขึ้นกับนิ้วโป้ง นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง นอกจากนี้ยังสามารถเกิดขึ้นได้หลายนิ้วพร้อมกันและเกิดขึ้นกับมือทั้งสองข้างในเวลาเดียวกันได้ด้วย

[affegg id=3989]

นิ้วล็อกเกิดจาก ? สาเหตุของอาการนิ้วล็อกที่เราควรรู้

สาเหตุหลักของนิ้วล็อกเกิดจากการกำมือหรือเกร็งข้อมือเป็นระยะเวลานานจนทำให้เส้นเอ็นเกิดอาการบวมและอักเสบ รวมถึงเยื่อหุ้มเส้นเอ็นข้อนิ้วที่อยู่บริเวณฝ่ามือและโคนนิ้ว รวมถึงรอกหุ้มเส้นเอ็นตรงโคนนิ้วมือหนาขึ้น จึงเกิดการสะดุดของเส้นเอ็นเวลาเรางอนิ้วจนเป็นที่มาของอาการนิ้วล็อกในที่สุด

  • อาการและข้อสังเกตของภาวะนิ้วล็อก

จะรู้ได้อย่างไรว่าเรากำลังเป็นนิ้วล็อก สามารถสังเกตได้จากอาการปวดบริเวณโคนนิ้วมือ ไม่สามารถกำมือได้เต็มที่โดยเฉพาะในช่วงเช้า หากอาการรุนแรงขึ้นจะงอหรือเหยียดนิ้วมือได้ลำบากเพราะนิ้วล็อกเกิดจากการกำมือ การงอข้อมือนานๆ ดังนั้นหากไม่ทำการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะยิ่งรุนแรงขึ้น จนบางครั้งต้องใช้มือข้างตรงข้ามมาเหยียดมือออกนิ้วจึงจะกลับมาเป็นปกติ

ส่วนอาการทั่วไปของนิ้วล็อก ก็คือ

  • เวลางอหรือยืดนิ้วจะมีเสียงดังกึก
  • มีอาการนิ้วแข็งในตอนเช้า
  • รู้สึกว่ามีปุ่มตรงโคนนิ้วที่ล็อกหรือรู้สึกตึงบริเวณนั้น
  • เมื่องอหรือยืดนิ้วกะทันหัน นิ้วจะล็อคจนไม่สามารถขยับได้

[affegg id=3990]

  • อาการนิ้วล็อกมือชา รักษาอย่างไร

นิ้วล็อกเกิดจาก, อาการนิ้วล็อกมือชา

เมื่อเรารู้แล้วว่า นิ้วล็อกเกิดจาก อะไร ต่อไปลองมาดูวิธีรักษาอาการนิ้วล็อกกันดีกว่าค่ะ โดยวิธีรักษานิ้วล็ฮคมีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรค ได้แก่

  • ลดการใช้มือและข้อมือ : วิธีแรกเป็นการรักษานิ้วล็อกจากการทำงานและยังไม่มีอาการเรื้อรัง ให้เราพักกิจกรรมที่ต้องออกแรงมือ เช่น การแบกน้ำหนัก หรือการทำงานที่ต้องงอข้อมือประมาณ 3-4 สัปดาห์  
  • ประคบร้อนหรือเย็น : การประคบร้อนหรือเย็นช่วยบรรเทาอาการปวดของนิ้วล็อกได้ โดยเฉพาะนิ้วล็อกเกิดจากการทำงาน การใช้คอมพิวเตอร์ ที่อาการยังไม่รุนแรงมาก ก็สามารถประคบถุงน้ำร้อน หรือใช้ผ้าขนหนูห่อน้ำแข็งมาประคบเวลารู้สึกปวดได้ ส่วนสำหรับผู้ที่มีอาการเรื้อรังควรประคบทุกเช้าจะช่วยลดภาวะปวดเกร็งได้ดีค่ะ
  • ใส่เฝือกดามนิ้ว : เฝือกดามนิ้วหรืออุปกรณ์ดามนิ้ว (Splinting) จะช่วยดามนิ้วให้ตรง ลดการงอหรือเหยียดนิ้วเกินความจำเป็น ทำให้นิ้วที่เกิดการอักเสบของเราได้พัก ส่วนใหญ่จะใส่เวลากลางคืนเพื่อลดการงอหรือเหยียดนิ้วแบบไม่รู้ตัว
  • หมั่นออกกำลังกาย : การออกกำลังกายเป็นยาวิเศษจริงๆ ค่ะ โดยคนที่เป็นนิ้วล็อกอาจใช้การเล่นโยคะมาช่วยให้มือและแขนเกิดความยืดหยุ่น หรือใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายในบ้านแบบง่ายๆ มาช่วยเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมือและแขนก็ได้
  • ฉีดสารสเตียรอยด์ : การฉีดสารสเตียรอยด์คือการฉีดสารคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าไปบิรเวณที่เส้นเอ็นของเราอักเสบ หากรู้ว่านิ้วล็อกเกิดจากอะไรและเป็นรุนแรงมากแค่ไหน แพทย์อาจใช้วิธีนี้ในการรักษาให้หายขาด เพราะตัวยาจะเข้าไปลดอาการบวมและทำให้เส้นเอ็นกลับมาเคลื่อนไหวตามปกติได้อีกครั้ง 
  • การผ่าตัด : การผ่าตัดจะใช้สำหรับกรณีที่วิธีรักษาแบบอื่นไม่ได้ผล โดยแพทย์จะเป็นผู้แนะนำว่าเราควรเข้ารับการผ่าตัดหรือไม่ค่ะ

[affegg id=3991]

นิ้วล็อก ป้องกันได้แค่รู้วิธี

นิ้วล็อกเกิดจาก การใช้งานนิ้วมือไม่ถูกต้องจนทำให้เกิดการอักเสบของเอ็นหุ้มข้อนิ้ว เพราะฉะนั้นวิธีป้องกันภาวะนิ้วล็อกที่ดีที่สุดก็คือ…

  • ใช้งานนิ้วมือให้เหมาะสม : ไม่ยกของหนักเกินไป ไม่กำมือแน่นๆ เป็นเวลานาน หากทำงานออฟฟิศต้องงอข้อมือเพื่อพิมพ์งานหรือกำเม้าส์ทั้งวัน ควรหาเวลาพัก ยืดเส้นยืดสาย และลดการใช้งานคอมพิวเตอร์ลงบ้างเพื่อถนอมข้อมือและนิ้วมือของเรา
  • ยืดเส้นยืดสายเสมอ : ระหว่างทำงานให้หมั่นยืดเส้นยืดสาย บริหารข้อมือและนิ้วมือบ่อยๆ
  • ใช้แอพออกกำลังกาย : ที่เราแนะนำแอพออกกำลังกาย ก็เพราะแอพออกกำลังกายมีตัวแจ้งเตือนช่วยให้เราไม่ลืมบริหารร่างกาย บริหารข้อมือ อีกทั้งยังสามารถเลือกออกกำลังกายเพิ่มเสริมความแข็งแรงแบบเฉพาะส่วนได้ด้วย
  • พักมือบ้าง : รู้จักการพักมือ ไม่ใช้งานมือและนิ้วหนักจนเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะนิ้วล็อกค่ะ
Inspire Now ! : รู้กันไปแล้วว่านิ้วล็อกเกิดจากอะไร รวมถึงวิธีการรักษาและวิธีป้องกันอาการนิ้วล็อกมือชา สุดท้ายนี้อย่าลืมนำเคล็ดลับดูแลตัวเองไม่ให้เกิดนิ้วล็อกไปใช้ หมั่นออกกำลังกาย ยืดเหยียดกล้ามเนื้อบ่อยๆ เท่านี้ก็ช่วยลดความเสี่ยงการเกิดนิ้วล็อกของสาวออฟฟิศที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์หรืองานเอกสารนานๆ ได้แล้วค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นใช่ไหม ? ใครมีประสบการณ์เป็นนิ้วล็อกแล้วอยากแบ่งปันวิธีดูแลตัวเองกับเรา ก็พูดคุยกันที่ช่องคอมเมนต์ได้เลยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : webmd.com, healthline.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW