ร่างกายของคนเรานั้นต้องการวิตามินและแร่ธาตุมากมายที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาร่างกายและการป้องกันโรค วิตามินและแร่ธาตุบางอย่างร่างกายไม่สามารถผลิตได้เองตามธรรมชาติ ทำให้ต้องได้รับจากอาหารที่กินเท่านั้น ในขณะเดียวกัน หากร่างกายไม่ดูดซึมหรือไม่ได้รับสารอาหารที่จำเป็นอย่างเพียงพอ อาจส่งผลให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้ และสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพมากมายเช่นกันซึ่ง โรคขาดสารอาหาร นั้นไม่ได้พบในวัยเด็กเท่านั้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เพราะฉะนั้น เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับภาวะขาดสารอาหารที่พบบ่อย เรามารู้จักกันว่าโรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้าง และวิธีการดูแลรักษาโรคขาดสารอาหาร รวมถึงวิธีป้องกันนั้นมีอะไรบ้างค่ะ
โรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้าง ? ต้องดูแลและป้องกันตัวเองอย่างไร ?
ภาวะขาดธาตุเหล็ก
โรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้าง หนึ่งในภาวะขาดสารอาหารที่พบได้บ่อยที่สุดเลยคือ ภาวะขาดธาตุเหล็ก การขาดธาตุเหล็กสามารถนำไปสู่โรคโลหิตจางที่เป็นความผิดปกติของเลือด ทำให้เกิดอาการเมื่อยล้า อ่อนแรง
วิธีป้องกัน : กินอาหารที่มีธาตุเหล็กเป็นประจำ ธาตุเหล็กพบได้ในอาหาร เช่น ผักใบเขียว เนื้อแดง และไข่แดง อาหารเหล่านี้จะช่วยให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดง เพราะเมื่อเราขาดธาตุเหล็ก ร่างกายของเราก็จะผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงน้อยลง
- ภาวะขาดวิตามินเอ
โรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้างที่พบได้บ่อย ภาวะขาดวิตามินเอ ก็เป็นอีกอาการที่พบได้ วิตามินเอเป็นกลุ่มของสารอาหารที่สำคัญต่อสุขภาพดวงตา และสุขภาพการเจริญพันธุ์ในผู้ชายและผู้หญิง นอกจากนี้ยังมีส่วนในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ ซึ่งการขาดวิตามินเอเป็นสาเหตุสำคัญของการตาบอดที่ป้องกันได้ในเด็ก ในขณะที่สตรีมีครรภ์ที่ขาดวิตามินเอจะมีอัตราการเสียชีวิตของมารดาสูงขึ้นเช่นกัน
วิธีป้องกัน : กินอาหารที่มีเบต้าแคโรทีนสูง เพราะเบต้าแคโรทีนเป็นสารอาหารที่ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ พบในอาหารสีแดง สีส้ม สีเหลือง และสีเขียวเข้ม เบต้าแคโรทีนสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายได้เมื่อจำเป็น นอกจากนี้การกินอาหารที่มีวิตามินเอสูงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ได้แก่ นม ไข่ ผักใบเขียว เช่น คะน้า บร็อกโคลี่ ผักโขม ผักสีส้ม เช่น แครอท มันเทศ ฟักทอง และผลไม้สีแดงอมเหลือง เช่น แอปริคอต มะละกอ ลูกพีช และมะเขือเทศ
ภาวะขาดวิตามินบี 12
วิตามินบี 12 เป็นวิตามินที่ช่วยร่างกายในการสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่แข็งแรงเพียงพอ การขาดวิตามินนี้พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นมังสวิรัติ เคยผ่าตัดกระเพาะ มีประวัติการใช้ยาลดกรดมาอย่างยาวนาน มีอายุมากกว่า 60 ปี เป็นเบาหวานและกินยาเมตฟอร์มิน เป็นต้น นอกจากนี้ปริมาณแคลเซียมที่เพียงพอในมื้ออาหารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับปัจจัยภายในเพื่อช่วยในการดูดซึมบี 12 ในลำไส้เล็ก และการขาดวิตามินนี้อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางที่เป็นอันตรายได้ อาการของการขาดวิตามินบี 12 ได้แก่ แขนขาอ่อนแรง เวียนศีรษะ หายใจถี่ คลื่นไส้ ไม่อยากอาหาร ผิวซีดหรือเหลือง หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษานานเกินไป การขาดวิตามินบี 12 อาจทำให้ระบบประสาทเสียหายอย่างถาวรได้ เช่น ภาวะสมองเสื่อม ภาวะซึมเศร้า และความจำเสื่อม
วิธีป้องกัน : โรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้างที่เราสามารถป้องกันได้ อย่างแรกเลยคือกินอาหารที่มีวิตามินบี 12 เป็นประจำ วิตามินบี 12 มักพบในสัตว์เนื้อแดง ปลา ไข่ ตับ อาหารทะเล และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น ชีส นม
- ภาวะขาดวิตามินดี
วิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับกระดูกที่แข็งแรง ช่วยให้ร่างกายรักษาระดับแคลเซียมที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการพัฒนาของกระดูกและฟัน การขาดสารอาหารชนิดนี้อาจนำไปสู่การเจริญเติบโตของกระดูกที่มีลักษณะแคระแกรนได้ รวมถึงมีความเสี่ยงในการเป็นโรคกระดูกพรุนที่เกิดจากการขาดแคลเซียมและวิตามินดี ที่ทำให้กระดูกเปราะบางแตกหักได้ง่ายมาก
วิธีป้องกัน : กินอาการที่มีวิตามินดีและรับแสงแดดให้เพียงพอต่อร่างกายต้องการ วิตามินดีพบได้ตามธรรมชาติในอาหารบางชนิด ได้แก่ น้ำมันตับปลา ปลาที่มีไขมัน เห็ด ไข่แดง ตับ ผลิตภัณฑ์นม ส่วนแหล่งวิตามินดีที่ดีที่สุดคือแสงแดด การได้รับแสงแดดในเวลากลางวันเป็นเวลา 5 ถึง 30 นาที สัปดาห์ละสองครั้ง สามารถให้วิตามินดีเพียงพอแก่ร่างกายได้ แต่เนื่องจากครีมกันแดดจะขัดขวางการดูดซึมวิตามินดีจากแสงแดดผ่านผิวหนัง ดังนั้น แนะนำให้ใช้เวลา 2-3 นาทีกลางแดดก่อนทาครีมกันแดด เพื่อการดูดซึมวิตามินดีอย่างเหมาะสม
- ภาวะขาดแคลเซียม
แคลเซียมช่วยให้ร่างกายพัฒนากระดูกและฟันที่แข็งแรง นอกจากนี้ยังช่วยให้หัวใจ เส้นประสาท และกล้ามเนื้อของเราทำงานอย่างที่ควรจะเป็น หากเราบริโภคแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายอาจใช้แคลเซียมจากกระดูกของเราแทน และนำไปสู่การสูญเสียมวลกระดูก รวมถึงการบริโภคโปรตีนที่สูงและการขาดการออกกำลังกาย สามารถส่งผลต่อสถานะแคลเซียมและสุขภาพกระดูกที่ไม่ดีได้อีกด้วย
วิธีป้องกัน : กินอาหารที่มีแคลเซียมสม่ำเสมอ แหล่งแคลเซียมที่ดีที่สุดคือ ผลิตภัณฑ์จากนม เช่น นม โยเกิร์ต และชีส เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ผัก เช่น คะน้าและบร็อคโคลี่ก็มีแคลเซียม หรือกินอาหารเสริมบำรุงข้อ เพื่อช่วยเรื่องข้อและกระดูกก็ได้เช่นกันค่ะ
วิธีการดูแลรักษาโรคขาดสารอาหาร
วิธีการดูแลรักษาโรคขาดสารอาหารขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของภาวะขาดสารอาหาร แพทย์จะเป็นคนวินิจฉัยว่าการขาดสารอาหารนั้นรุนแรงเพียงใด รวมถึงโอกาสที่ปัญหาระยะยาวจะเกิดจากการขาดสารอาหาร โดยหากอาการไม่รุนแรงอาการมักจะหายไปเมื่อกินอาหารที่ถูกต้องหรือเสริมสารอาหารที่ขาด โดยแพทย์อาจแนะนำ ดังนี้
เปลี่ยนแปลงอาหาร
เมื่อรู้แล้วว่าโรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้าง แพทย์อาจแนะนำวิธีเปลี่ยนนิสัยการกินในกรณีที่มีภาวะขาดสารอาหารเล็กน้อย เช่น ผู้ที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ควรกินอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไข่ สัตว์ปีกที่มีเนื้อสีเข้ม ผัก และพืชตระกูลถั่วมากขึ้น
- เพิ่มอาหารเสริม
แพทย์จะแนะนำให้คุณได้รับสารอาหารส่วนใหญ่จากอาหารเป็นหลัก แต่ในบางกรณี คุณอาจจำเป็นต้องกินอาหารเสริมหรือวิตามินรวมควบคู่ไปด้วย เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมอาหารเสริม เช่น การกินวิตามินดีและแคลเซียมร่วมกัน หรือกินอาหารเสริมภูมิแพ้ ซึ่งความถี่และปริมาณของอาหารเสริมขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการขาดสารอาหาร แพทย์หรือนักโภชนาการจะสามารถระบุข้อนี้ได้
- การบริหารทางหลอดเลือด
ในกรณีที่มีภาวะขาดสารอาหารรุนแรงมาก เช่น เมื่อภาวะขาดสารอาหารไม่ตอบสนองต่อยาหรือวิตามิน อาจจำเป็นต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือด หรือผ่านทางเส้นเลือดหรือกล้ามเนื้อ การรักษานี้อาจมีความเสี่ยงของผลข้างเคียงเพิ่มเติม จึงต้องมีแพทย์ดูแลอย่างใกล้ชิด
Inspire Now ! : หลังจากที่เราได้รู้แล้วว่าโรคขาดสารอาหาร มีอะไรบ้างนั้น ก็ถึงเวลาที่ต้องหันมาดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ นอกจากการกินอาหารให้ครบทั้งห้าหมู่ ก็ควรเสริมวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ด้วยอาหารเสริมบำรุงร่างกาย แนะนำอาหารเสริมที่ดีต่อร่างกาย ได้แก่
- One Vit ที่มีวิตามินบีรวม บี 1-12 วิตามินเอ ซี และดี ครบทุกสารอาหารที่ร่างกายต้องการ
- Centrum ที่มีวิตามินและเกลือแร่รวมถึง 22 ชนิด และเสริมด้วยเบต้า-แคโรทีน ลูทีน และไลโคปีน
- Clover Plus ที่มีวิตามินรวมและแร่ธาตุกว่า 19 ชนิด เหมาะสำหรับผู้ที่ขาดวิตามิน กินอาหารไม่เพียงพอ
นอกจากนี้อย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับกล้ามเนื้อและสุขภาพโดยรวมด้วยค่ะ
|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพใช่ไหม ? สาวๆ มีวิธีดูแลสุขภาพกันยังไงบ้าง อย่าลืมมาแชร์กับเรานะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : everydayhealth.com, ndtv.com, healthline.com