เสมหะเยอะ กระแอมตลอด! หายได้ ถ้าเข้าใจสิ่งนี้

ใครที่เจอปัญหา เสมหะเยอะ มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง ต้องคอยกระแอมตลอดทำให้เสียบุคลิก หรือมีคนใกล้ตัวที่ทรมานกับอาการนี้อยู่ เป็นมานานไม่หายสักที วันนี้มีเคสคนไข้ที่หมอเคยคำปรึกษาจนอาการดีขึ้นมาเล่าให้ฟังค่ะ เชื่อว่าจะเป็นข้อมูลให้เราได้สังเกตตัวเองและปรับที่ต้นทางจนอาการดีขึ้นแบบไม่ต้องพึ่งยาอีกต่อไป

เสมหะเยอะ กระแอมตลอด! หายได้ ถ้าเข้าใจสิ่งนี้

เสมหะเยอะ, มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง

เป็นเคสของพี่ผู้ชายท่านหนึ่ง อายุประมาณ 40 ปี มาปรึกษาเพราะมีเสมหะเยอะอยู่ในลำคอตลอดเวลา เป็นเสมหะใสแต่มีความหนืด ทำให้ต้องคอยกระแอมให้คอโล่งอยู่บ่อยๆ หมอเองก็สังเกตได้ในระหว่างที่เราคุยกัน นอกจากเสมหะเยอะ ยังชอบมีไข้ต่ำๆ ช่วงเย็น

พอซักถามถึงการกินการอยู่การใช้ชีวิต ทำให้รู้ถึงสาเหตุ สรุปพฤติกรรมของพี่เขาเป็นประมาณนี้ค่ะ

  • ทำงานโปรดักชั่น ตัดต่อสื่อ ทำให้นอนดึกมาตั้งแต่เริ่มทำงาน เป็นสิบปีเรื่อยมาจนถึงวันนี้
  • ดื่มน้ำน้อย ทั้งวันแทบไม่ได้ดื่มน้ำเปล่า ถ้าหิวน้ำจะดื่มชาเขียวรสธรรมชาติที่เคลมว่าไม่ใส่น้ำตาล หรือไม่ก็เป็ปซี่ ดื่มแบบนี้ทุกวันมาตลอดหลายปี
  • ชอบกินของทอด ถ้ามื้อไหนไม่มีของทอดเป็นกับข้าว รู้สึกเหมือนขาดอะไรไป
  • กินเมนูซ้ำๆ ไม่หลากหลาย
  • ตั้งแต่มีลูก 3 ปีแล้วที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย
  • ทำงานสายสื่อต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ทำงานบริหารมีลูกน้อง ทำให้ใช้ความคิดเยอะ มีความเครียด
  • ไม่มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย ทานข้าวสามมื้อ หนักมื้อเย็น

เริ่มต้นอยากปูพื้นให้แบบนี้ก่อนว่า โรคในทางแผนไทยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือโรคทางปิตตะ วาตะ และเสมหะ ของพี่เขาชัดเจนว่าเป็นที่ระบบเสมหะ คือเสมหะงวด หนืด เคลื่อนไม่ดี และมีอาการไฟกำเริบด้วยทำให้มีไข้ต่ำๆ ไอความร้อนขึ้นสูงยิ่งเสริมให้เสมหะเหนียวแห้ง

ซึ่งทั้งหมดมาจากพฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิต ถ้าเราเห็นภาพนี้แล้วให้แก้ที่ต้นเหตุ ปรับที่ระบบไฟ ลดความร้อนในตัวลง (ปิตตะ) เพิ่มให้ระบบสูบฉีดลมในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น (วาตะ) และเพิ่มน้ำให้เสมหะเหลว ไหลลื่นมากขึ้น (เสมหะ) อาการเสมหะในคอเรื้อรังนี้แทบจะหายแบบไม่ต้องใช้ยาเลย

[affegg id=3838]

  •  คำแนะนำคือแบบนี้ค่ะ

  1.  เข้านอนให้เร็วขึ้น

ดึกสุดๆ ไม่เกิน 5 ทุ่ม ช่วง 4 ทุ่ม ถึง ตี 2 เพื่อให้ระบบปิตตะในร่างกายได้พัก ทำให้ร่างกายไม่ร้อนจนไอความร้อนลอยขึ้นเผาให้เสมหะแห้ง ถ้าเรานอนเร็วและตื่นเช้า อาการไข้ต่ำๆ ระคายคอก็จะดีขึ้นด้วย

เสมหะเยอะ, มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง

  1.  หยุดดื่มชาเขียวขวดและน้ำอัดลมแทนน้ำ

น้ำปรุงแต่งเหล่านี้แม้จะระบุว่าไม่มีน้ำตาลแต่แน่นอนว่ามีสารปรุงแต่ง ดื่มนานๆ ครั้งไม่มีปัญหา แต่ไม่ควรดื่มทุกวันแทนน้ำเปล่า เพราะนอกจากจะทำให้ติดรสชาติแล้ว ชาและน้ำอัดลมยังมีคาเฟอีนที่มีฤทธิ์ขับน้ำออกทำให้น้ำที่น้อยเคลื่อนไม่ดีอยู่แล้วแห้งไปใหญ่ แล้วยังมีโซดาที่ไปเพิ่มแรงดันสะสมในร่างกาย ไม่ดีกับระบบย่อย ในช่วงแรกอาจจะอดใจยากสักนิด ยังติดรสชาติ ก็ไห้เพิ่มรสชาติโดยหยดน้ำยาอุทัยทิพย์ในน้ำ หรือฝานมะนาวบางๆ ลงในกระบอกน้ำเปล่า แล้วจิบทั้งวันก่อนก็ได้

หน้าร้อนแบบนี้ คนที่ติดน้ำปรุงแต่งที่มีความหวาน หารู้ไม่ว่ายิ่งกินก็ยิ่งทำให้เจ็บคอ เสมหะเหนียว ยาอมแก้เจ็บคอยี่ห้อไหนดี ก็อาจเป็นทางเลือกให้หามาอมให้ชุ่มคอเป็นครั้งคราวได้ 

[affegg id=3839]

เสมหะเยอะ, มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง

  1.  กินของทอดให้น้อยลง 

ไม่ใช่ทุกมื้อหรือทุกวันต้องมีแต่ให้กินเมนูที่ไม่ต้องใช้น้ำมันบ้าง เช่น นึ่ง ตุ๋น ต้ม อบ คั่ว กินให้หลากหลาย เพราะของทอดย่อยแล้วจะเหลืออนุมูลอิสระคงค้างสูง กินเยอะก็เป็นร้อนใน เจ็บคอง่าย และนานวันยิ่งเพิ่มปริมาณไขมันเลวในเลือด ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ 

สำหรับสายผัดทอด ถ้าถามว่าตอนนี้เป็นร้อนในกินอะไรดี แนะนำว่าเพิ่มการกินผักใบเขียวที่มีฤทธิ์เย็นให้ได้วันละหนึ่งอย่าง ดื่มน้ำเยอะๆ ก็จะช่วยลดอาการความร้อนเบื้องต้นลงได้

  1.  เพิ่มการกินพืชผักสมุนไพรที่ทำให้ลมเคลื่อนดี 

ตัวอย่างเช่น ขิง ข่า กระชาย ใบกะเพรา ใบโหระพา ใบแมงลัก พริกไทย ใบมะกรูด ตะไคร้ ซึ่งอยู่เครื่องต้มยำ น้ำพริก แกงป่า แกงเลียง แกงส้มทั้งหลาย อาหารกลุ่มนี้ช่วยจุดไฟย่อย ทำให้ระบบย่อยดี ลมเคลื่อน พัดเสมหะเยอะในร่างกายให้ไหลเวียนคล่องขึ้น

เสมหะ เยอะ, มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง

  1.  เพิ่มการกินสมุนไพรรสเปรี้ยว

รสเปรี้ยวจะช่วยเพิ่มน้ำ ทำให้เสมหะใส กัดเสมหะ ช่วยฟอกเลือด เช่น เราอาจจะบีบมะนาวลงไปในกับข้าวบ้าง กินผลไม้รสเปรี้ยว เช่น ตระกูลเบอร์รี่ มะขามป้อม ตะลิงปลิง (ถ้าผลไม้เปรี้ยวมากทานเสร็จอย่าลืมดื่มน้ำตามเพื่อชะกรดไม่ให้กร่อนฟันด้วย)

[affegg id=3840]

  1.  ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายจะทำให้ปอดทำงานได้ดีขึ้น หัวใจสูบฉีดเลือด และพาเสมหะทั้ง 12 ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีขึ้น คนที่มีเสมหะในลำคอเรื้อรังบ่งบอกว่าปอดมีของเสียเยอะ ปอดอ่อนแอ หัวใจทำงานไม่มีประสิทธิภาพ เอื้อต่อการเป็นภูมิแพ้อากาศ ดังนั้นขอให้ลุกมาออกกำลังกาย เช่น เดินเร็วทุกวันวันละ 30 นาที ออกไปสูดอากาศลึกๆ ให้ปอดได้รับออกซิเจน ให้เหงื่อออก ก็จะเป็นวิธีบริหารปอดและหัวใจ ทำให้ระบบสูบฉีดและการไหลเวียนของของเหลวในร่างกายดีขึ้นค่ะ อะไรที่เคยขัดก็จะคล่องขึ้น

เสมหะ เยอะ, มีเสมหะในลำคอเรื้อรัง

ปัจจุบันพี่คนนี้ได้รับคำแนะนำให้กินอาหารเสริม คือ วิตามินซี 1,000 มิลลิกรัม และอีกตัวที่เป็นสมุนไพรฝั่งโลกตะวันตก จริงๆ แล้วพืชสมุนไพรบ้านเรามีเยอะมากที่มีวิตามินซีสูงและช่วยป้องกันโรคประจำถิ่นของเราได้เป็นอย่างดี ถ้าอยากกินแดงแนะนำให้กิน “ตรีผลา” เดี๋ยวนี้มีทั้งแบบน้ำและแบบเม็ดให้เลือกสะดวกมาก หรือจะซื้อมาต้มเองก็ยังได้

ตรีผลาเป็นพิกัดยาไทยที่ประกอบด้วยผลไม้ 3 อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม มีรสฝาดติดเปรี้ยว สรรพคุณ ช่วยปรับสมดุลธาตุในร่างกาย กระตุ้นภูมิคุ้มกัน แก้เสมหะจุกคอ และช่วยระบายสารพิษตกค้าง โดยเฉพาะมะขามป้อมที่ผลวิจัยระบุว่ามีวิตามินซีสูง กระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดี หาซื้อง่าย ราคาไม่แพงด้วยค่ะ

เสมหะเยอะเกิดจากไลฟ์สไตล์ ถ้าปรับ 6 ข้อนี้ได้ อาการมีเสมหะในลำคอเรื้อรังทำให้ต้องกระแอมบ่อยๆ อาการไข้ต่ำๆ ร้อนในจะค่อยๆ ดีขึ้นแน่นอน และสุขภาพองค์รวมก็จะดีขึ้น หน้าตาสดใสขึ้นด้วย หมอมีอัดคลิปอธิบายละเอียดไว้ในคลิป กดดูเพิ่มเติมได้เลยที่ “เสมหะเยอะตลอดเวลา หายได้! ถ้าเข้าใจสิ่งนี้ l วิธีแก้เสมหะเหนียว”

ส่วนคลิปสุขภาพอื่นๆ เพื่อให้เราเข้าใจสาเหตุของโรค และดูแลตัวเองแบบองค์รวมได้แบบพึ่งพายาน้อยที่สุด สามารถกดติดตามช่อง Healthy daisy ของหมอได้นะคะ

Inspire Now ! : เห็นไหมคะว่าปัญหาจะไม่เป็นปัญหาเรื้อรังอีกต่อไปถ้าเราสังเกตตัวเองและรู้ต้นเหตุของโรค อย่าลืมนะคะ หมอที่ดีที่สุดคือตัวเราเอง ไม่ว่าโรคอะไรก็ดีขึ้นได้ ขอเพียงหมั่นฟังเสียงร่างกายตัวเอง แล้วพบกันใหม่ค่ะ : )

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพใช่ไหม? ลองนำเทคนิดกำจัดเสมหะในคอที่ทำให้รำคาญใจไปใช้ดู ได้ผลอย่างไรนำมาเล่าให้ฟังกันได้นะคะ

Facebook Comments

พท.ว.ภ.อุไรศรี เอกเศวตอนันต์ (หมอแดง แพทย์แผนไทย) หมอไทยเจ้าของช่องยูทูป Healthy Daisy สุขภาพดีไปด้วยกัน ที่เน้นการรักษาแบบองค์รวม มีเป้าหมายคืออยากให้คนไข้เข้าใจถึงสาเหตุของโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นเหตุ เพื่อสุขภาพที่ดีจากภายในและพึ่งพายาน้อยที่สุด  (*พท.ว.ภ.ย่อมาจาก แพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทยและเภสัชกรรมไทย)