วิธีแก้อาการหูอื้อ, วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว

ชวนรู้ วิธีแก้อาการหูอื้อ ต้องทำยังไง หายเองได้มั้ย หรือต้องไปพบแพทย์ ?!

อาการหูอื้อเป็นอาการที่หลายคนต้องเคยเจอในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเวลาเป็นหวัดที่มีการไอหรือจามแรงๆ คัดจมูก หรือเวลาโดยสารเครื่องบิน แล้วอาการนี้อันตรายหรือไม่ มี วิธีแก้อาการหูอื้อ ที่เราทำได้ด้วยตัวเองบ้างไหมหรือต้องไปพบแพทย์เท่านั้น หรือมีวิธีแก้หูอื้อข้างเดียวบ้างหรือเปล่า ไปหาคำตอบกับ DIY INSPIRE NOW ได้เลยค่ะ

อาการหูอื้อคืออะไร?

วิธีแก้อาการหูอื้อ, วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว

[affegg id=304]

หูอื้อ (Tinnitus) คือ ภาวะที่เสียงในหูดังมาจากภายในร่างกายมากกว่าภายนอก เป็นอาการที่พบได้บ่อยและพบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน เมื่อเป็นแล้วมักก่อให้เกิดความรำคาญและอาจรบกวนการใช้ชีวิตบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ใช่สัญญาณเตือนของโรคร้ายและยังมีวิธีแก้อาการหูอื้อที่เราสามารถทำได้ด้วยตัวเองค่ะ 

สำหรับลักษณะของอาการหูอื้อนั้นจะแตกต่างกันไปตามแต่ละคนค่ะ บางคนอาจได้ยินเสียงสูงๆ ต่ำๆ ในหู หรือมีเสียงหึ่งๆ ดังตุบตามจังหวะชีพจร บางคนอาจได้ยินเสียงคล้ายเสียงผิวปากแหลมๆ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเกิดขึ้นชั่วคราวหรือเกิดขึ้นต่อเนื่องก็ได้ รวมถึงสามารถเกิดได้ข้างเดียวและเกิดพร้อมกันทั้งสองข้างได้ด้วย เพราะเหตุนี้เองหลายคนจึงมองหาวิธีแก้หูอื้อข้างเดียวเพราะหากเกิดขึ้นแล้วจะทำให้ร่างกายเสียสมดุล ขาดสมาธิ และยังรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันด้วย

หูอื้อมีกี่ประเภท 

อาการหูอื้อมี 2 ประเภท ได้แก่ หูอื้อแบบ Subjective Tinnitus ที่ผู้ป่วยจะได้ยินเสียงดังในหูเพียงคนเดียว และประเภทที่ 2 คือ Objective Tinnitus ที่แพทย์สามารถได้ยินเสียงด้วยเมื่อใช้เครื่องช่วยฟังในหูของผู้ป่วย ซึ่งไม่ว่าจะเป้นหูอื้อประเภทไหนก็มีวิธีแก้อาการหูอื้อด้วยตัวเองค่ะ แต่หากอาการไม่ดีขึ้นและรบกวนการใช้ชีวิตมากเกินไปก็ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางรักษาอย่างตรงจุดจะดีที่สุด 

[affegg id=305]

สาเหตุของอาการหูอื้อ

วิธีแก้อาการหูอื้อ, วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว

สาเหตุของอาการหูอื้อมีหลายปัจจัย โดยปัจจัยหลักที่เราควรรู้ มีดังนี้ 

  • ความเสียหายของหูชั้นกลาง
  • เนื้องอกในหู 
  • อยู่ในบริเวณที่มีเสียงดังมากๆ เช่น คอนเสิร์ตหรือไซต์ก่อสร้าง
  • การใช้ยาบางชนิดที่มีผลข้างเคียงทำให้สูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว
  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น
  • โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน
  • ความดันโลหิตและคอเลสเตอรอลสูง
  • หูอื้อจากการเป็นหวัดซึ่งเกิดจากการติดเชื้อ เป็นคนละอาการกับอาการต่อมทอนซิลอักเสบที่ติดเชื้อในคอนะคะ เพราะอาการนี้จะส่งผลที่หูของเรา
  • ภาวะเครียดและซึมเศร้า

[affegg id=306]

วิธีแก้อาการหูอื้อ ที่เราควรรู้

  • กลืนน้ำลาย : หากพบว่าตัวเองหูอื้อลองกลืนน้ำลายอึกใหญ่ๆ เพื่อปรับสมดุลในหู วิธีนี้จะช่วยบรรเทาและทำให้อาการหูอื้อหายไปได้ นอกจากนี้ยังเป็นวิธีแก้หูอื้อข้างเดียวได้อีกด้วย
  • การรักษาด้วยยา : ยาบางชนิดสามารถลดการเกิดเสียงในหูหรือหูอื้อได้ แต่ก็เป็นวิธีแก้อาการหูอื้อที่มีผลข้างเคียง เช่น ทำให้ท้องผูกหรืออ่อนเพลีย ดังนั้นหากไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรใช้ยาและควรปรึกษาแพทย์ก่อนซื้อยามากินเองทุกครั้ง

วิธีแก้อาการหูอื้อ, วิธีแก้หูอื้อข้างเดียว

Image Credit : poloparkhearing.com

  • ใช้เครื่องลดเสียงรบกวน : เครื่องลดเสียงรบกวนหรือ Masking Device เป็นอุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายเครื่องช่วยฟัง ช่วยยับยั้งเสียงดังในหู และช่วยให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติ
  • ปรับพฤติกรรมของตัวเอง : เพราะอาการหูอื้อเกิดจากสาเหตุหลายๆ อย่างรวมถึงเรื่องความเครียดและความวิตกกังวล ดังนั้นใครพบว่าตัวเองมักมีอารมณ์เหล่านี้ ลองแก้อาการหูอื้อด้วยการปรับพฤติกรรมและปรับสภาพจิตใจของตัวเองดูนะคะ เช่น การหางานอดิเรกทำ การพูดคุยกับเพื่อนและครอบครัว การหาเวลาว่างไปพักผ่อน เป็นต้น
  • ระมัดระวังเสียงที่ดังเกินไป : หากต้องอยู่ในที่ที่มีเสียงดังตลอดเวลาควรใช้ Ear Plug หรือที่อุดหูเพื่อช่วยลดเสียง เช่น ในไซต์ก่อสร้าง ในสนามยิงปืน เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีแก้อาการหูอื้อจากต้นเหตุและยังช่วยป้องกันความเสียหายต่อแก้วหูของเราด้วยค่ะ
  • ดูแลตัวเองเวลาเป็นหวัด : เวลาเป็นหวัดร่างกายของเราจะอ่อนแอจนทำให้เกิดการติดเชื้อซึ่งเป้นที่มาของอาการหูอื้อได้ นอกจากนี้การไอและจามแรงๆ ยังส่งผลให้หูอื้อด้วย เพราะฉะนั้นอย่าลืมดื่มน้ำอุ่น กินอาหารเสริมภูมิแพ้ และดูแลตัวเองให้ดีเวลาป่วย จะได้หายเร็วๆ และลดความเสี่ยงในการเกิดหูอื้อได้ค่ะ
Inspire Now ! : นอกจาก วิธีแก้อาการหูอื้อ ที่เราแนะนำไปแล้ว อย่าลืมดูแลเรื่องเสียงในชีวิตประจำวันให้เหมาะสม เช่น ปรับเสียงโทรทัศน์หรือเสียงเพลงให้มีระดับที่พอเหมาะ ไม่ดังจนเกินไป ยิ่งใครชอบใส่หูฟังยิ่งต้องระวังนะคะ นอกจากนี้ใครมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้สูงอายุ พวกเขาอาจต้องเจอกับอาการหูอื้อบ่อยๆ ให้เรามองหาแนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม และรับฟังพวกเขาเพื่อหาทางแก้ที่ดีที่สุดกันนะคะ สุดท้ายนี้อย่าลืมว่าหูอื้อสามารถรักษาเองได้ บางครั้งอาจหายไปเอง หรือบางครั้งก็อาจเป้นต่อเนื่องแต่ไม่อันตราย แต่หากอาการนี้รบกวนชีวิตประจำวันมากไป การไปพบแพทย์ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียสุขภาพใช่ไหม? ใครมีประสบการณ์หูอื้อและวิธีดูแลตัวเองอยากมาแบ่งปันกับเรา คอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : mayoclinic.org, health.harvard.edu

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW