รักษาอาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

จากกรดไหลย้อนสู่ “แพนิค” กับ 4 วิธีรักษาอาการแพนิคอย่างเข้าใจ

บทความนี้อยากแบ่งปันการ รักษาอาการแพนิค เนื่องจากกรดไหลย้อนเรื้อรังค่ะ เนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีคนเป็นอาการนี้แล้วมาปรึกษาหมอเยอะมาก ส่วนใหญ่เป็นโดยที่ไม่รู้มาก่อนว่าโรคแพนิคมีอาการแบบไหน

รักษาอาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

ทุกคนเล่าอาการคล้ายๆ กันคือเริ่มมีอาการหายใจไม่อิ่ม หายใจไม่สุด แน่นหน้าอก รู้สึกใจหวิวๆ ใจไม่ดี บางคนตื่นกลัวและเริ่มซึมเศร้าจากอาการที่เป็นแบบไม่รู้ที่มา และทุกคนมีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและกรดไหลย้อนมาก่อน เป็นเรื้อรัง ทานยาหรือสมุนไพรกรดไหลย้อนมาเยอะแต่อาการก็ไม่ดีขึ้น อาการที่เป็นเหมือนจะแทงไปยังหลายระบบ ทำให้คนเป็นจับต้นชนปลายไม่ถูก นานวันเข้าก็ส่งผลกับจิตใจ แต่ในทางแพทย์แผนไทย หมออยากบอกว่ามันคืออาการทาง “ลม” ทั้งสิ้นค่ะ และเราสามารถรักษาอาการแพนิคให้ดีขึ้นได้ถ้าเรารู้ที่มาและปรับที่ต้นทาง

เข้าใจที่มาเพื่อ รักษาอาการแพนิค

ในทางแพทย์แผนไทย ปิตตะเป็นต้น ทุกอย่างเริ่มต้นจากไฟ ไฟกองแรกที่เป็นเหมือนฉนวน kick off ให้ระบบอื่นเริ่มทำงานต่อเป็นทอดๆ ก็คือไฟย่อย (ไฟปริณามัคคี) หรือระบบย่อยของเรานั่นเอง ดังนั้นไม่แปลกที่ทำไมในทางการแพทย์แผนไทยเราถึงให้ความสำคัญกับไฟย่อย ถ้าไฟย่อยดี การย่อยอาหารก็จะสมบูรณ์ ไม่มีอาหารตกค้างให้กลายเป็นลมในท้อง ซึ่งจะก่อเกิดอาการต่างๆ ตามมามากมาย ท้องอยู่กลางลำตัว คนที่ไฟย่อยไม่ดี จะมีของเสียค้างในไส้เยอะ เกิดอาการท้องอืด แน่น ลมในไส้จะไปดันลมนอกไส้ ให้เสียดให้จุก แทงไปโดนเส้นให้ปวดหลัง ไม่สบายตัว หายใจไม่ทั่ว และขัดขวางการไหลเวียนของเลือดลมที่จะไปเลี้ยงส่วนบนและส่วนล่าง คนที่มีอาการเกี่ยวกับระบบย่อยแปรปรวนจึงมักมีอาการมึนหัว เวียนหัว อ่อนเพลีย สมองไม่โล่ง ไปจนถึงหนักขา เมื่อยตึงขา เหน็บชา นั่นก็เป็นเพราะลมที่คั่งค้างจนเป็นก้อนเป็นเถาดานมันขวางทางเดินลมอยู่ที่กลางตัว

รักษาอาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

อาหารที่ย่อยไม่ดีจะไม่ถูกดูดซึมและเปลี่ยนเป็นสารอาหาร คนไข้กรดไหลย้อนจึงมีอาการซีด ป่วยบ่อย อ่อนแรงลงเรื่อยๆ เพราะไม่มีสารอาหารไปเลี้ยงระบบต่างๆ คนไข้ที่อยู่กับอาการนี้มานานจะเริ่มกลัวการกิน อะไรก็ไม่กล้ากิน ประกอบกับความกลัว เพราะอาการที่เป็นเกี่ยวกับการหายใจ เช่น แน่นท้องมากจนหายใจไม่ออก บางคนถึงขนาดพูดว่าหายใจไม่ได้ เหมือนจะตาย บางคนทำกิจวัตรปกติไม่ได้เพราะมึนหัวทั้งวัน ฯลฯ เหล่านี้เริ่มส่งผลให้เกิดอาการทางจิตใจ ที่เรียกว่า panic เครียดหนักกว่าเดิม นอนไม่หลับ เพราะกระเทือนหลายระบบจนเริ่มจับต้นชนปลายไม่ถูก ไม่รู้จะแก้ตรงไหนก่อนดี คนที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าโรคแพนิคมีอาการแบบไหนจะเริ่มรู้ตัวว่าเราเข้าข่ายก็ตอนที่อาการเริ่มส่งผลต่อจิตใจมากขึ้นแล้ว

[affegg id=3710]

รักษาอาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

4 วิธี สู้กับอาการแพนิค

เมื่อเรารู้ว่าโรคแพนิคมีอาการแบบไหนและเกิดจากอะไรแล้ว คราวนี้มาดูวิธีที่หมอให้คำแนะนำเพื่อรักษาอาการแพนิคที่เกิดจากกรดไหลย้อนกันค่ะ จากที่ให้คำปรึกษามาหลายคน หมอสรุปคำแนะนำเป็น 4 ข้อดังนี้

  1. ไปตรวจร่างกาย

คนที่เป็นแพนิคแทบทุกคนจะมีความวิตกกังวลสูง เพราะลมที่แทงไปให้เกิดอาการมากมายทำให้ไม่รู้ว่าเราเป็นอะไรกันแน่ บางคนเครียดหนักว่านี่ฉันเป็นมะเร็งไหม เป็นโรคหัวใจหรือเปล่า หรือเป็นโรคตับ โรคไต โรคเลือด ฯลฯ ถ้าเราเริ่มคิดวนแบบนี้ หมอแนะนำไปตรวจร่างกายที่โรงพยาบาลก่อนเลยค่ะ ตรวจเพื่อตัดความกังวลว่าอวัยวะภายในของเรายังปกติดีนะ เราจะได้ไม่ฟุ้งซ่าน สามารถพูดตัวเองได้อย่างมั่นใจว่า ฉันเป็นแค่แพนิค จะได้กลับมารักษาอาการแพนิคและแก้ให้ถูกจุด

  1. ฝึกเรียกสติด้วยการหายใจ

อย่างหนึ่งที่ทำให้อาการนี้น่ากลัวคือคนเป็นมักไม่รู้ว่าอาการจะเกิดตอนไหนและมักเกิดรุนแรง ดังนั้นสิ่งสำคัญกันดับแรกคือการดึงสติกลับมาด้วยการหายใจเข้าออกลึกๆ ช้าๆ

[affegg id=3712]

รักษา อาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

หมอมักจะแนะนำคนไข้ว่าให้ฝึกหายใจทุกวัน เพื่อเวลาอาการมาจะได้ทำได้เป็นอัตโนมัติ ทุกวันจัดเวลา 5 – 10 นาทีช่วงก่อนนอนหรือตื่นนอนก็ได้ นั่งสงบๆ แล้วหายใจ ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน ตอนหายใจออกก็ให้บอกตัวเองไปด้วย “หาย” “โรคร้ายกำลังออกไป” “ทุกอย่างกำลังจะดีขึ้น” เมื่อเราฝึกหายใจบ่อยๆ เวลาที่อาการมา เราจะสามารถใช้ลมหายใจดึงสติกลับมาได้ดีขึ้น มีการแนะวิธีนั่งสมาธิให้จิตนิ่งมากมาย ลองเลือกฝึกดูให้เหมาะกับจริตของเรานะคะ

  1. ดูแลระบบย่อยให้ดี

ข้อนี้สำคัญมาก หมอบอกทุกคนว่าให้ตัดอาการปลายออกไปแล้วกลับมาโฟกัสที่จุดเริ่มต้นคือดูแลไฟย่อย หรือการกินของเราให้ดี ปรับพฤติกรรมช่วยให้ระบบย่อยทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ พอร่างกายกินได้ ย่อยได้ ดูดซึมสารอาหารได้ เลือดก็จะเริ่มมีคุณภาพ สามารถนำพาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น เซลล์ในร่างกายจะรู้สึกปลอดภัย เมื่อสุขภาพกายดี ความกังวลในใจก็จะน้อยลงด้วย

  1. ขจัดความกลัวด้วยการเพิ่มความรักและความสุข

คนที่เป็นกรดไหลย้อนเรื้อรังจะมีความกลัวสูง ตั้งแต่กลัวตาย กลัวการกิน กลัวการกลืน กลัวอาการแอทแทค ฯลฯ ทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียดออกมาตลอดเวลา ส่งผลให้ระบบภายในรวน ความมั่นใจและความสุขลดลงเรื่อยๆ สิ่งเดียวที่จะชนะความรู้สึกกลัวและรักษาอาการแพนิคได้ คือการเพิ่มความรักและความสุขให้กับตัวเองค่ะ เริ่มจากการยิ้มให้ตัวเอง ลงมือทำกิจกรรมอะไรก็ได้ที่เราทำแล้วมีความสุข อยู่กับคนที่เรารัก ลองอ่านดูใน 7 วิธีรักตัวเองให้เรามองเห็นคุณค่าตัวเองเพื่อเพิ่มความสุขในชีวิตเพื่อเลือกวิธีที่เหมาะกับเราดูนะคะ

[affegg id=3711]

รักษา อาการแพนิค, โรคแพนิคมีอาการแบบไหน

จำไว้ว่ายิ่งกลัว เรายิ่งต้องเพิ่มความรักให้กับตัวเอง ถ้าเรารักตัวเองมากพอ อะไรที่รู้ว่าทำแล้วยิ่งทำร้ายตัวเอง เราจะไม่ทำ กลับกัน เราจะเริ่มกินดี คิดดี และมีสติในการใช้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งนี่แหละค่ะคือจุดเริ่มต้นของการขจัดโรคภัยและรักษาอาการแพนิคอย่างแท้จริง หากอยากฟังรายละเอียดการรักษาอาการแพนิค กดไปฟังกันได้ในคลิปนี้ จากกรดไหลย้อนสู่ “แพนิค”+ วิธีแก้ กดแชร์แบ่งปันให้กับคนที่เรารักได้นะคะ ส่วนคลิปปัญหาสุขภาพอื่นๆ กดติดตามที่ช่อง Healthy Daisy ของหมอได้ค่ะ ขอให้มีสุขภาพกายใจแข็งแรงกันทุกคน แล้วพบกันใหม่ครั้งหน้าค่ะ

Inspire Now ! : ใครที่กำลังทรมานกับอาการเหล่านี้อยู่ ลองทำความเข้าใจที่มาของอาการที่เราเป็น แล้วนำคำแนะนำ 4 ข้อนี้ไปปรับใช้ดูนะคะ คนที่ดีขึ้นจนหายจากอาการนี้มีเยอะ คุณก็ทำได้ เป็นกำลังใจค่ะ!

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้คำตอบใช่ไหม? ถึงตรงนี้น่าจะทำให้เบาใจขึ้นไหมคะ ปัญหาที่ดูพันกันยุ่งเหยิง อาการที่เป็นหลายอย่างจนทำให้เครียด ขอเพียงเราตั้งสติ สังเกตตัวเอง กลับมาแก้ที่จุดเริ่มต้น ทำเรื่องพื้นฐานให้ดี เชื่อมั่นเหลือเกินว่าปลายทางจะค่อยๆ ดีขึ้นค่ะ

Facebook Comments

พท.ว.ภ.อุไรศรี เอกเศวตอนันต์ (หมอแดง แพทย์แผนไทย) หมอไทยเจ้าของช่องยูทูป Healthy Daisy สุขภาพดีไปด้วยกัน ที่เน้นการรักษาแบบองค์รวม มีเป้าหมายคืออยากให้คนไข้เข้าใจถึงสาเหตุของโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต้นเหตุ เพื่อสุขภาพที่ดีจากภายในและพึ่งพายาน้อยที่สุด  (*พท.ว.ภ.ย่อมาจาก แพทย์แผนไทยประเภทเวชกรรมไทยและเภสัชกรรมไทย)