หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวัน

รู้จัก หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวัน อยากเป็นคนดี มีความสุข ชีวิตรุ่งเรืองต้องฝึก !

การนำหลักธรรมะต่างๆ มาใช้ในชีวิตประจำวันนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบัน ด้วยเพราะคนยุคใหม่เริ่มห่างไกลศาสนามากขึ้นเพราะมีความนับถือและศรัทธาในตัวเอง จึงอาจทำให้การคิดและตัดสินใจทำบางสิ่งบางอย่างที่อาจขาดสติ ขาดสมาธิ และขาดความรอบคอบ ซึ่งการมีธรรมะไว้สอนใจ ไว้เตือนสติ เช่น ธรรมะพระพุทธทาสก็จะช่วยให้เราได้ฉุกคิด มีสติ ได้ทบทวนการกระทำ ตลอดจนได้มองเห็นข้อบกพร่องของตนเองได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้ DIYINSPIRENOW อยากมาแนะนำ หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวัน ที่จะทำให้เราได้ฝึกประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ ลดการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งจะทำให้เรามีสติ และมีความสุขในชีวิตได้มากยิ่งขึ้น เรามารู้จักความหมายของหลักธรรมในข้อนี้ พร้อมแนวทางในการนำไปปฏิบัติกันเลยค่ะ

หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวัน คืออะไร ? นำมาใช้ดำเนินชีวิตได้อย่างไรบ้าง ?

ท่ามกลางสังคมที่สับสนวุ่นวาย หลายคนมองหาหลักยึดในการดำเนินชีวิต สัปปุริสธรรม 7 คือแสงสว่างแห่งปัญญาที่พระพุทธศาสนามอบให้ หลักธรรมนี้ไม่เพียงชี้ทางสู่การพัฒนาตน แต่ยังเป็นเครื่องมือสร้างสังคมที่น่าอยู่ ลองมาทำความรู้จักกับ 7 หลักธรรมทรงคุณค่า ที่จะเปลี่ยนมุมมองและชีวิตของคุณกันค่ะ

หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ แผนที่ชีวิตของคนดี เป็นหลักธรรมที่หล่อหลอมให้ผู้ปฏิบัติเป็นคนรอบรู้และเท่าทันโลก ช่วยให้เรามองเห็นภาพรวมของชีวิตและสังคม เข้าใจตนเอง รู้จักกาลเทศะ และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น หลักธรรมนี้เปรียบเสมือนเครื่องมือที่ช่วยให้เราดำเนินชีวิตอย่างมีสติ มีเป้าหมาย และสร้างประโยชน์ให้แก่ตนเองและสังคม นำไปสู่ความเจริญงอกงามทั้งทางโลกและทางธรรม เรียกว่าเป็นหลักธรรมของคนดีอย่างแท้จริง เป็นหลักธรรมที่ทำให้คนเป็นสัตบุรุษ เป็นข้อปฏิบัติของคนที่อยากเป็นคนดี ที่มีมีกุศลธรรม 7 ประการเป็นเครื่องพิสูจน์ ซึ่งข้อธรรมะ 7 ประการนั้น มีดังนี้ค่ะ

ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

1. ธัมมัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักเหตุผล

ความเป็นผู้รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล มีความเป็นผู้รู้ว่าสิ่งนี้เป็นเหตุของสิ่งนั้น หรือสิ่งนั้นเป็นเหตุของสิ่งนี้ และเราสามารถนำหลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวันในข้อนี้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น เมื่อรู้ว่าหากอยากมีชีวิตที่มั่นคง หรือมีหน้าที่การงานที่ดี ก็รู้เหตุของมันว่าเราต้องขยันหมั่นเพียรและตั้งใจทำงาน เป็นต้น

2. อัตถัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักผล

หมายถึงคือ ความเป็นผู้รู้ถึงความมุ่งหมายและรู้จักผลที่จะเกิดขึ้น ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ ว่าหากเราทำสิ่งใดจะเกิดผลแบบไหน หลักธรรมในข้อนี้จะช่วยให้เรารู้ว่า การดำเนินชีวิตของเราเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร หรือควรจะบรรลุผลอะไรที่เราต้องการจากการกระทำของเรา เช่น รู้ตัวว่าหากเราประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ เมื่อทำไปแล้วจะเกิดผลเสียต่อตนเองและผู้อื่นอย่างไร

หลักสัปปุริสธรรม_7_ในชีวิตประจำวัน, ความหมายของหลักธรรม
Image Credit : freepik.com

3. อัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักตน

ความเป็นผู้รู้จักฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรมของตนเองว่ามีสภาพอย่างไร สามารถประเมินตนเองได้และประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสม_หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวันข้อนี้จะทำให้เรามองตนเองว่าเป็นอย่างไร ต้องการอะไร และพยายามปรับให้อยู่ในความถูกต้องเหมาะสม เอาความรู้ความสามารถที่เรามีไปพัฒนาตนเองในสิ่งที่ต้องการ

4. มัตตัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักประมาณ

มีหมายถึง การมีความรู้จักพอดีในสิ่งต่างๆ ทั้งการดำเนินชีวิต การบริโภคปัจจัยสี่ ให้เหมาะสม ไม่ฟุ้งเฟ้อ ตลอดจนถึงรู้จักความพอเหมาะในการพูดหรือการทำสิ่งต่างๆ ไม่นึกถึงเพียงการเอาแต่ใจตน แต่ทำตามความพอดี หากเรารู้จักประมาณย่อมเป็นที่สรรเสริญแก่บุคคล ซึ่งการใช้ชีวิตอย่างพอดีในทุกๆ ด้านนั้น จะนำมาความสุขมาให้เรา ไม่ทะเยอทะยานมากเกินไป จนอาจทำให้เกิดการกระทำความผิดตามมาได้ ซึ่งสิ่งนี้เราสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งในชีวิตประจำวันและในเรื่องของการทำงาน

หลักสัปปุริสธรรม 7, ความหมายของหลักธรรม
Image Credit : freepik.com

5. กาลัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักกาล

การรู้จักเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการกระทำหน้าที่การงานต่างๆ เช่น รู้จักการแบ่งเวลา ทำงานให้ตรงเวลา และให้ทันเวลา เป็นต้น ความหมายของหลักธรรมนี้คือให้เราแบ่งเวลาในชีวิตให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือกิจการต่างๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม เพื่อให้เป็นระเบียบเรียบร้อยดี รู้จักวางแผนในการทำงานและทำให้เสร็จทันตามเวลา นอกจากนี้ ยังควรแบ่งเวลามาศึกษาธรรมะหรือปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะสม เพื่อสั่งสมบุญกุศลให้มียิ่งๆ ขึ้นไป เช่น สวดมนต์ด้วยบทสวดมนต์สั้นๆ ก่อนนอนทุกวัน

วิธีพาตัวเองออกจากกล่องใบเล็ก

6. ปริสัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักชุมชน

หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักสิ่งอันควรในการประพฤติปฏิบัติในถิ่นที่ชุมนุม หรือในสังคมนั้นๆ ว่าจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะเหมาะสมและสามารถเข้ากับสังคมนั้นได้ เราสามารถนำเอาหลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวันข้อนี้ มาใช้ในเรื่องของการเข้าสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคมในการทำงาน หรือสังคมของชุมชนที่เราอยู่อาศัย รู้จักถึงวัฒนธรรมองค์กร หรือประเพณีท้องถิ่น เพื่อเรียนรู้ธรรมเนียมและปฏิบัติตนเองได้อย่างเหมาะสมและเข้ากับผู้คนได้

หลักสัปปุริสธรรม 7, ความหมายของหลักธรรม
Image Credit : freepik.com

7. ปุคคลปโรปรัญญุตา ความเป็นผู้รู้จักบุคคล

หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักบุคคลและเข้าใจความแตกต่างว่ามีลักษณะนิสัยอย่างไร มีความสามารถด้านใด เพื่อรู้จักที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ว่าควรจะคบหาหรือไม่ จะแนะนำเขาอย่างไร อย่างเช่น หากเราเป็นเจ้านาย เราควรรู้จักลูกน้องในที่ทำงาน รู้จักการมองคนให้ออก เพื่อแนะนำหรือสั่งสอนในเรื่องการงานได้อย่างเหมาะสม ว่าบุคคลไหนควรแนะนำอย่างไรจึงจะได้ผลดี เป็นต้น

การนำหลักธรรมนี้มาใช้อย่างจริงจังในชีวิตประจำวันจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิต ทำให้เราเป็นคนที่มีวุฒิภาวะ รู้เท่าทันตนเองและโลกรอบตัว สามารถรับมือกับความท้าทายต่างๆ ได้อย่างชาญฉลาด และสร้างความสัมพันธ์ที่มีคุณค่ากับผู้อื่น นำไปสู่ชีวิตที่ประสบความสำเร็จและมีความสุขอย่างยั่งยืน เรามาดูกันดีกว่าค่ะว่าเราจะนำ หลักสัปปุริสธรรม 7 ไปใช้จริงได้ยังไงบ้าง

  1. ฝึกคิดวิเคราะห์ : เมื่อเจอปัญหา ให้หยุดคิดและตั้งคำถาม “ทำไม” เพื่อค้นหาต้นตอที่แท้จริง เช่น หากงานล่าช้า แทนที่จะโทษคนอื่น ลองวิเคราะห์ว่าเกิดจากการวางแผนผิดพลาดหรือการสื่อสารที่ไม่ชัดเจนหรือไม่
  2. ตั้งเป้าหมายชัดเจน : เขียนเป้าหมายระยะสั้นและระยะยาว พร้อมวางแผนขั้นตอนการทำให้สำเร็จ ก่อนตัดสินใจทำอะไร ให้นึกถึงผลกระทบในอนาคตเสมอ
  3. สำรวจตัวเอง : จัดเวลาทบทวนตัวเองสม่ำเสมอ อาจทำบันทึกประจำวันเพื่อสะท้อนความคิดและพฤติกรรม หาโอกาสพัฒนาทักษะที่ยังไม่ถนัด
  4. ใช้ชีวิตพอดี : จัดงบประมาณส่วนตัว กำหนดเวลาทำงานและพักผ่อนให้สมดุล รู้จักปฏิเสธสิ่งที่เกินความจำเป็น
  5. บริหารเวลา : ใช้เครื่องมือจัดการเวลา เช่น ปฏิทิน หรือแอปพลิเคชันบริหารงาน จัดลำดับความสำคัญของงาน และทำงานสำคัญในช่วงเวลาที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
  6. เรียนรู้สิ่งแวดล้อม : ติดตามข่าวสารและเทรนด์ใหม่ๆ เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชน เปิดใจรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง
  7. เข้าใจผู้อื่น : ฝึกฟังอย่างตั้งใจ (deep listening) สังเกตภาษากายของคนรอบข้าง พยายามมองสถานการณ์จากมุมมองของผู้อื่น ปรับวิธีการสื่อสารให้เหมาะกับแต่ละคน
หลักสัปปุริสธรรม_7_ในชีวิตประจำวัน, ความหมายของหลักธรรม
Image Credit : freepik.com

หลักสัปปุริสธรรม 7 เป็นหลักธรรมสำคัญในพระพุทธศาสนาที่ช่วยพัฒนาบุคคลให้เป็นคนดีและมีคุณภาพ เรามาดู mindset ที่ช่วยสนับสนุนการใช้หลักธรรมนี้ประกอบด้วย

  1. การเปิดใจเรียนรู้ : พร้อมที่จะเข้าใจหลักการและเหตุผลของสิ่งต่างๆ (ธัมมัญญุตา)
  2. ความมุ่งมั่นพัฒนาตนเอง : มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ (อัตถัญญุตา)
  3. การรู้จักตนเอง : เข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง เพื่อพัฒนาและปรับปรุง (อัตตัญญุตา)
  4. ความพอดีและสมดุล : รู้จักประมาณในการดำเนินชีวิต ไม่สุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง (มัตตัญญุตา)
  5. การตระหนักถึงกาลเวลา : เข้าใจความสำคัญของเวลาและการใช้เวลาอย่างเหมาะสม (กาลัญญุตา)
  6. การเข้าใจสังคม : ตระหนักถึงบริบททางสังคมและวัฒนธรรม เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม (ปริสัญญุตา)
  7. การรู้จักบุคคล : เข้าใจความแตกต่างระหว่างบุคคล และปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างเหมาะสม (ปุคคลัญญุตา)

mindset เหล่านี้จะช่วยให้บุคคลสามารถนำหลักสัปปุริสธรรม 7 มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการพัฒนาตนเอง และการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข

เทคนิคเลิกคิดเยอะแล้วทำทันที
Inspire Now ! : หลักสัปปุริสธรรม 7 ในชีวิตประจำวันเหล่านี้ สามารถสรุปเป็นคำจำกัดความเพื่อให้เราสามารถนำไปปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้ง่าย นั่นคือ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาล รู้สังคม และรู้บุคคล สิ่งนี้เป็นกุศลธรรมที่ทำให้บุคคลเป็นคนดี และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับชาวโลกได้ นอกจากจะทำให้เราสามารถพัฒนาคุณธรรมประจำใจของตนเอง และพัฒนาชีวิตของเราให้ก้าวหน้าแล้วนั้น ยังทำให้เรามีคุณสมบัติเป็นกัลยาณมิตรที่ดีให้แก่ผู้อื่นอีกด้วย หากเราสามารถทำได้ครบทุกข้อ ชีวิตก็จะประสบความเจริญและรุ่งเรือง เพราะมีการเรียนรู้ ปรับปรุง และพัฒนาตนเอง ให้ถูกหลักธรรมะ และดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ย่อมส่งผลดีต่อชีวิตทั้งในภายภาคนี้และภายภาคหน้านั่นเองค่ะ

DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันได้ไอเดียในการค้นหาตัวเองใช่ไหม ? ใครที่อยากพัฒนาตัวเองให้เป็นคนดีขึ้น นอกจากหลักธรรมที่เราบอกไปแล้ว ยังสามารถอ่านธรรมะสอนใจ เพื่อเตือนสติ เพื่อเตือนใจ ให้เราได้ข้อคิดดีๆ ได้อีกนะคะ ใครฝึกแล้วเป็นยังไงบ้าง มาคอมเมนต์คุยกันนะคะ ♡

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW