ทศพิธราชธรรม 10 มีอะไรบ้าง ? ทำไมคนเป็นผู้นำต้องรู้จัก !
ภาวะผู้นำเป็นองค์ประกอบแรกที่สำคัญของการบริหารงานในทุกๆ องค์กร ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ หากรู้จักใช้ศาสตร์ และศิลป์ ในการพูดโน้มน้าวผู้อื่น เพื่อสร้างขวัญ และกำลังใจ ให้พนักงานมีความกระตือรือร้น รวมทั้งการใช้ความรู้ ความสามารถในการทำงานได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้ สำหรับผู้นำที่ดีควรมีหลักทศพิธราชธรรมประจำใจ เพื่อใช้ในการปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรม หลายคนอาจจะสังสัยว่า ทศพิธราชธรรม 10 คืออะไร ทำไมคนเป็นผู้นำต้องรู้จักหลักธรรมนี้ DIY INSPIRE NOW มีคำตอบ เพื่อที่สาวๆ จะได้นำไปปรับใช้ในการทำงาน และชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
ทศพิธราชธรรม 10 มีอะไรบ้าง ? ทำไมคนเป็นผู้นำต้องรู้จักหลักธรรมนี้
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกันก่อนว่า ทศพิธราชธรรม คืออะไร เพราะเหตุใด คนในระดับผู้นำจึงต้องนำหลักธรรมนี้ไปใช้ในการบริหารงานในองค์กร สำหรับทศพิธราชธรรม คือ หลักธรรมประจำตัวของพระมหากษัตริย์ ทรงปฏิบัติตามหลักทศพิธราชธรรมในการปกครองบ้านเมืองให้เกิดความร่มเย็น เป็นสุข รวมถึงการทำงานอย่างหนัก เพื่อประชาชนให้อยู่ดี กินดี ส่งผลให้ประชาชนเกิดความรัก และศรัทธา ในตัวพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้หลักทศพิธราชธรรมยังสามารถนำมาใช้กับผู้บริหารได้อีกด้วย ซึ่งภาวะผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรมเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารงาน เพื่อขับเคลื่อนองค์กรให้มีความเข้มแข็งสามารถดำเนินงานไปได้อย่างราบรื่น โดยเกิดจากการร่วมแรง ร่วมใจจากลูกทีมที่ปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจ และตั้งใจ ส่งผลให้งานขององค์กรสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ดังนั้นถ้าคุณอยากเป็นผู้นำควรนำหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มาปรับใช้ในการบริหารงาน เพื่อพัฒนาตัวเองให้เป็นผู้นำที่มีศักยภาพ และมีความสุขกับการทำงานต่อไป
หลักธรรมทศพิธราชธรรม 10 ประการ ที่ผู้นำควรใช้ในการบริหารงานในองค์กร เพื่อให้งานบรรลุเป้าหมาย มีดังต่อไปนี้
- ทาน (การให้) หมายถึง การรู้จักให้สิ่งของต่างๆ และการเสียสละตัวเอง เพื่อช่วยเหลือเกื้อกูลผู้อื่น ซึ่งการเป็นผู้นำที่ดีจะสร้างการยอมรับจากผู้อื่นได้นั้น ต้องรู้จักการให้ด้วยใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่ว่าเป็น การมอบสิ่งของแก่ผู้อื่น รวมถึงการให้ความรู้ เป็นต้น เพราะการให้ทานจะเป็นใบเบิกทางให้ลูกทีม หรือผู้ร่วมงาน เกิดความเชื่อมั่นมากยิ่งขึ้น และนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้นำกับผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา จนทำให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา เกิดความกล้าในการแสดงศักยภาพของตัวเองออกมา ส่งผลให้งานสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร
- ศีล (ความประพฤดีงาม) หมายถึง การรู้จักควบคุมพฤติกรรม และระมัดระวังการใช้คำพูดต่อสาธารณะ เพราะการสำรวมพฤติกรรมทั้งกาย และวาจานั้น มีผลต่อการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา หรือผู้ร่วมงาน ดังนั้น การที่จะเป็นผู้นำที่มีคนเคารพนับถือ ต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีล 5 พูดให้เกียรติผู้อื่น ไม่ทุจริตคอรัปชั่น ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับอบายมุข ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการสะท้อนถึงภาพลักษณ์ของผู้นำที่แสดงออกมาต่อสาธารณะชน รวมถึงผู้ร่วมงานอีกด้วย
- ปริจาคะ (รู้จักเสียสละ) หมายถึง การที่จะเป็นผู้นำที่สมบูรณ์แบบจะต้องรู้จักเสียสละความสุขของตนเอง เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม ทุ่มเทแรงใจ แรงกาย ให้กับการบริหารงานอย่างสุดความสามารถ ตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า “ จงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ จงสละอวัยวะเพื่อรักษาชีวิต และจงสละชีวิตเพื่อรักษาธรรม” ดังนั้นทุกคนสามารถเป็นผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการได้ หากรู้จักเสียละความสุขของตนเอง และอุทิศตัวเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
- อาชชวะ (มีความชื่อตรง) หมายถึง การชื่อตรง ชื่อสัตว์ และปฏบัติงานโดยสุจริต มีความจริงใจ ไม่หลอกลวงผู้ร่วมงาน จะเห็นว่า ถ้าผู้นำมีความชื่อตรงโดยธรรมจะต้องรู้จัก “บาปบุญคุณโทษ-หมายถึง”การมีความละอายต่อการทำความชั่ว และเกรงกลัวต่อการทำบาป นอกจากนี้ ความชื่อตรงยังเป็นรากฐานสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างความไว้วางใจแก่ผู้ร่วมงาน ส่งผลให้สามารถทำงานด้วยกันได้อย่างมีความสุข
- มัททวะ (รู้จักอ่อนโยน) หมายถึง การเป็นผู้นำจะต้องมีความอัธยาศัยดี มีไมตรีที่ไม่เย่อหยิ่ง และไม่ถือตัว พูดจาสุภาพนุ่มนวล รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน เมื่อต้องเข้าหากลุ่มคนต่างๆ เพื่อสร้างการยอมรับ และชักจุงให้คนเหล่านั้นไปสู่เป้าหมายร่วมกัน
- ตปะ (รู้จักยับยั้งชั่งใจ) หมายถึง ผู้นำจำเป็นต้องฝึกฝนพัฒนาจิตใจให้สามารถทนต่อกิเลส หรือสิ่งยั่วยุที่เข้ามากระทบจิตใจ ข่มใจไม่ให้เกิดกิเลส มีความอยากเป็นใหญ่เป็นโต และจิตใจที่คับแคบ ดังนั้นผู้นำต้องมีจิตใจที่มั่นคงสามารถยับยั้งข่มใจให้ได้ จะต้องไม่ยอมให้ตัวเองหลงใหลในอำนาจ แต่จงใช้วิถีชีวิตที่เสมอต้น เสมอปลาย และมุ่งมั่นตั้งใจในการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพให้กับองค์กร7. อักโกธะ (รู้จักระงับความโกรธ) หมายถึง ผู้นำที่ดีต้องไม่แสดงอาการเกรี้ยวกราด และตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความโกรธ เพราะจะเกิดผลเสียที่ตามมาต่อตัวเอง และผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา ดังนั้นเราต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง โดยการฟัง “ธรรมะยามเช้าสั้นๆ” เพื่อช่วยให้จิตใจสงบ ร่มเย็น พร้อมเริ่มวันใหม่อย่างมีความสุข
- อวิหิงสา (ไม่เบียดเบียน) หมายถึง การไม่บีบบังคับกดขี่ รวมถึงการเอารัดเอาเปรียบอื่น ซึ่งผู้นำตามหลักทศพิธราชธรรม คือ ไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิดเข้าไปเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการเบียดเบียนโดยตรง หรือเบียดเบียนทางอ้อม จนทำให้กลุ่มคนที่ทำงานด้วยเกิดความไม่พอใจ และส่งผลเสียต่องานในองค์กร
- ขันติ (ความอดทน) หมายถึง การอดทนต่องานที่ทำ ถึงจะลำบากแค่ไหนต้องไม่ย่อท้อ สิ่งสำคัญของผู้นำคือ การอดทนอุปสรรคในการทำงานที่เข้ามาพิสูจน์ใจของผู้นำ ดังนั้น ผู้นำควรมีจิตใจที่สงบนิ่งในการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อที่จะก้าวข้ามอุปสรรค และนำองค์กรสู่เป้าหมายที่วางไว้
- อวิโรธนะ (รู้จักหนักแน่น) หมายถึง การวางใจให้หนักแน่นในธรรม ไม่มีความเอียงเอน ไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ด้วยเหตุนี้ ผู้นำจึงต้องมีความหนักแน่น ในการบริหารงานด้วยความเที่ยงธรรม ไม่ลำเอียงไปหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพราะรัก หรือลำเอียงเพราะเกลียดแค้น ดังนั้นหลักทศพิธราชธรรมข้อนี้ ถือว่ามีความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ของผู้นำ ที่จะนำไปสู่การขับเคลื่อนองค์กรให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้
หลักทศพิธราชธรรม 10 ประการข้างต้นนี้ เป็นหลักปฏิบัติสำหรับการควบคุม และการพัฒนาอารมณ์ของผู้นำ ซึ่งผู้นำทุกคนจะต้องมีจิตใจที่สงบนิ่ง ในขณะที่ตัวเองต้องเผชิญหน้ากับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามากระทบต่อจิตใจ ดังนั้น อารมณ์มีผลต่อการตัดสินใจของผู้นำที่จะพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จในอนาคต
Inspire Now ! : ทุกคนสามารถเป็นผู้นำที่ดีได้ หากนำหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ และธรรมะ “ท่าน-ว-วชิรเมธี-ล่าสุด” มาปรับใช้ในการพัฒนาตัวเอง รวมถึงการทำงานในองค์กร และต้องปฏิบัติตัวให้อยู่ในศีลธรรมอันดีงาม เพื่อความสุขของตัวเราเอง และคนในองค์กรได้ทำงานอย่างมีความสุข |
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่มีความสุข ? ทศพิธราชธรรม คือหลักธรรมของผู้นำที่ต้องพึงปฏบัติตาม เพื่อการทำงานให้บรรลุตามเป้าขององค์กร หากสาวๆ คนไหนอยากเป็นผู้นำที่ดีก็สามารถนำหลักทศพิธราชธรรม 10 ประการ มาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้นะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : th.wikipedia.org
หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW