จดโดเมนที่ไหนดี, โฮสติ้ง

จดโฮสติ้ง-จดโดเมนที่ไหนดี ? รวม 3 บริษัทที่คัดมาแล้วว่าดีที่สุด !

จดโฮสติ้ง-จดโดเมนที่ไหนดี ? รวม 3 บริษัทที่คัดมาแล้วว่าดีที่สุด !

ใครที่ทำธุรกิจออนไลน์ นอกจากเทคนิคขายของออนไลน์แล้วนั้น เรื่องของการทำเว็บไซต์เพื่อขายหรือโฆษณาสินค้าและบริการของคุณก็เป็นเรื่องสำคัญ และหากเราต้องการจดโดเมนของเว็บไซต์ของเรานั้น ควรจะเลือกผู้ให้บริการเจ้าไหนดี ? ผู้รับจดทะเบียนโดเมน คือบริษัทที่รับผิดชอบในการจดทะเบียนและจัดการชื่อโดเมนสำหรับเว็บไซต์ทั้งหมดทั่วโลก ซึ่งการเลือกโดเมนที่เหมาะสมนั้นสำคัญมาก เพื่อรักษาความปลอดภัยของเว็บไซต์ของคุณ ป้องการการขโมยโดเมน การถูกย้าย หรือเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับอนุญาต หากคุณกำลังมองหาบริษัทจดทะเบียนโดเมนที่ดีที่สุดของปี 2021 อยู่นั้น ในบทความนี้เราจะมาแนะนำว่า จดโดเมนที่ไหนดี ค่ะ

จดโดเมนที่ไหนดี ? รวม 3 บริษัทจดโฮสติ้งและโดเมนที่ดีและมีคุณภาพ

จดโดเมนที่ไหนดี_, โฮสติ้ง
  • ผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมนคืออะไร ?

ผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมนคือบริษัทที่อนุญาตให้คุณซื้อและจดทะเบียนชื่อโดเมนได้ และได้รับการรับรองโดย ICANN (Internet Corporation for Assigned Names and Numbers) ซึ่งเป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการจัดการชื่อโดเมนทั้งโลก ซึ่งชื่อโดเมนทำให้อินเทอร์เน็ตใช้งานง่ายสำหรับทุกคน หากไม่มีชื่อโดเมนคุณจะต้องป้อนตัวเลขยาวๆ ที่เรียกว่าที่อยู่ IP เพื่อเข้าชมเว็บไซต์นั้นๆ และชื่อโดเมนก็สามารถแก้ปัญหานี้โดยอนุญาตให้เว็บไซต์เลือกที่อยู่โดยใช้คำที่จำง่าย เช่น google.com หรือ diyinspirenow.com นั่นเอง

การเลือกว่าจะจดโดเมนที่ไหนดีนั้น จะช่วยให้คุณปลอดภัยจากปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ไม่เพียงแต่ช่วยปกป้องชื่อแบรนด์ของคุณ แต่ยังทำให้ง่ายต่อการย้ายเว็บไซต์ของคุณไปยังโฮสต์หรือผู้ให้บริการรายใหม่อีกด้วย เรามี Top 3 จดโดเมนที่ไหนดี ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับต้นๆ มาแนะนำ ดังนี้

  1. Domain.com

Domain.com เป็นหนึ่งในผู้รับจดทะเบียนชื่อโดเมนและให้บริการเว็บโฮสติ้งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก สามารถจดทะเบียนนามสกุลโดเมนระดับบนสุด (TLD) ทั้งหมด และโดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศมากกว่า 25 รหัส (ccTLDs) ทั้งยังมีเครื่องมือค้นหาโดเมนอย่างรวดเร็ว มีแผงควบคุมที่ให้การควบคุม DNS เต็มรูปแบบสำหรับชื่อโดเมน และยังสามารถโอนโดเมนที่มีอยู่ของคุณไปยังแพลตฟอร์มของพวกเขาได้โดยไม่ทำให้เว็บไซต์ของคุณหยุดทำงาน สามารถซื้อเว็บโฮสติ้งได้ด้วยหากต้องการ มีบริการให้คำแนะนำผ่านการแชทหรืออีเมล ขั้นตอนการใช้เพียงแค่ป้อนชื่อโดเมนที่คุณต้องการ ระบบจะจัดการทุกอย่างเสร็จสิ้นโดยอัตโนมัติ

ราคา : เริ่มต้นที่ 2.99 ดอลลาร์ ต่อปี (ราคานี้สำหรับปีแรก)

  1. Bluehost

Bluehost เป็นหนึ่งในบริษัทโฮสติ้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกและเป็นพันธมิตร WordPress อย่างเป็นทางการ จุดเด่นของ Bluehost คือฟรีชื่อโดเมนพร้อมแผนโฮสติ้งทั้งหมดเป็นเวลาหนึ่งปี และมีฟีเจอร์มากมาย เช่น ความสามารถในการเพิ่มโดเมนย่อยได้ไม่จำกัด การป้องกันมัลแวร์สำหรับเว็บไซต์ และอื่นๆ นอกจากนี้ Bluehost ยังช่วยให้คุณจัดการที่อยู่โดเมนและไซต์ของคุณจากแผงควบคุมที่ใช้งานง่าย มีการต่ออายุอัตโนมัติช่วยให้โดเมนของคุณปลอดภัยและป้องกันไม่ให้โดเมนหมดอายุหรือสูญหาย รวมถึงระบบ Domain lock จะช่วยล็อคโดเมนของคุณเพื่อป้องกันการโอนย้ายโดยไม่ได้รับอนุญาต ขั้นตอนการใช้เพียงค้นหาชื่อโดเมนที่ต้องการ และสามารถซื้อโดเมนได้เลยทันที

ราคา : เริ่มต้นที่ 1.99 ดอลลาร์ ต่อปี

  1. Namecheap

ถ้ากำลังหาว่าจดโดเมนที่ไหนดี แนะนำ Namecheap เพราะเป็นอีกหนึ่งบริษัทจดทะเบียนโดเมนชั้นนำในตลาด และจัดว่าเป็นผู้จดทะเบียนโดเมนที่ดีที่สุดโดยรวม มีเครื่องมือค้นหาโดเมนที่มีประสิทธิภาพซึ่งช่วยให้คุณค้นหาชื่อโดเมนที่ถูกต้อง และยังมีบริการเสริม เช่น ความเป็นส่วนตัวของโดเมน และ DNS ระดับพรีเมี่ยม จุดเด่นคือให้ความเป็นส่วนตัว whois ฟรีกับชื่อโดเมนทั้งหมด นอกจากนี้ยังช่วยให้สามารถถ่ายโอนโดเมนได้หากชื่อโดเมนของคุณจดทะเบียนที่อื่น และ Namecheap จะใช้เวลาไม่เกิน 30 นาทีในการโอนโดเมนของคุณโดยอัตโนมัติ รวมถึงมีตัวเลือก Beast Mode ที่ช่วยให้คุณค้นหาและจดทะเบียนชื่อโดเมนที่คุณต้องการได้ หากมีปัญหาสามารถพูดคุยแชทสดกับผู้เชี่ยวชาญได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ราคา : เริ่มต้นที่ 1 ดอลลาร์ ต่อปี

  • ผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งคืออะไร ?
จดโดเมนที่ไหนดี_, โฮสติ้ง

เว็บโฮสติ้งเป็นบริการที่ช่วยให้องค์กรและบุคคลสามารถโพสต์เว็บไซต์หรือหน้าเว็บบนอินเทอร์เน็ตได้ เว็บโฮสต์หรือผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งเป็นธุรกิจที่ให้บริการเทคโนโลยีและบริการที่จำเป็นสำหรับเว็บไซต์หรือเว็บเพจที่จะดูในอินเทอร์เน็ต โดยเว็บไซต์ถูกโฮสต์เก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ เมื่อผู้ใช้อินเทอร์เน็ตต้องการดูเว็บไซต์ของคุณ สิ่งที่พวกเขาต้องทำคือพิมพ์ที่อยู่เว็บไซต์หรือโดเมนในเบราว์เซอร์ คอมพิวเตอร์ของพวกเขาจะเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ และหน้าเว็บของคุณจะถูกส่งไปยังพวกเขาผ่านเบราว์เซอร์นั่นเอง

บริการเว็บโฮสติ้งเป็นบริการโฮสต์อินเทอร์เน็ตประเภทหนึ่งที่คอยดูแลเว็บไซต์สำหรับลูกค้า และมีสิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็นในการสร้างและดูแลเว็บไซต์ ซึ่งหลังจากที่เราเลือกจดโดเมนที่ไหนดีได้แล้วนั้น เมื่อคุณได้ชื่อโดเมนมาเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือให้เลือกผู้ให้บริการโฮสติ้งเพื่อจัดเก็บเว็บไซต์ของคุณ บริษัทโฮสติ้งส่วนใหญ่ต้องการให้คุณเป็นเจ้าของโดเมนเพื่อโฮสต์กับพวกเขา อย่างผู้รับจดทะเบียนโดเมนทั้ง 3 เจ้าข้างต้น ก็ให้บริการเว็บโฮสติ้งเช่นกัน แต่หากว่าคุณต้องการตัวเลือกอื่นๆ เราก็มี Top 3 เว็บโฮสติ้งยอดนิยมทั้งไทยและเทศมาฝากกันค่ะ

  • Hosting ไทย :
  1. Hostatom

ขึ้นชื่อเรื่องการให้บริการที่พร้อมซัพพอร์ทตลอด 24 ชั่วโมง ไม่เว้นวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ แถมให้บริการรวดเร็ว ทันใจ ถามเยอะก็ยังสุภาพไม่เหวี่ยงวีน มีระบบสำรองข้อมูลอัตโนมัติ บริการโอนย้ายข้อมูลฟรี แถมยังมีหลากหลายแพคเกจให้เลือก

ราคา : เริ่มต้นที่ 690 บาท จนถึง 2,990 บาท / ปี

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : hostatom.com

  1. Ruk-Com

เจ้านี้ก็บริการดี ซัพพอร์ทตลอด 24 ชั่วโมง มีสำรองข้อมูลให้ทุกวัน มี Ruk-Com Technology  ทำงานบนอุปกรณ์มาตรฐาน ระดับ Enterprise และมีการใน Data Center ที่มีมาตรฐานสูงที่สุดในไทย มีแพคเกจให้เลือกหลากหลายเช่นกัน

ราคา : เริ่มต้นที่ 599 บาท จนถึง 1,899 บาท / ปี 

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : Ruk-Com

  1. Z.com

เจ้านี้ใช้ระบบ Cloud ไม่ว่าจะเป็น server, storage, network ถ้ามีอุปกรณ์ใดๆ ที่ขัดข้อง ก็ไม่ต้องห่วงเรื่อง downtime ใช้งานได้ปกติ มีการติดตั้ง SSL ให้ฟรีตลอดอายุการใช้งาน มีระบบ auto setup ใช้งานได้ทันทีหลังจ่ายเงิน ไม่ต้องรอนาน 

ราคา : เริ่มต้นที่ 1,620 จนถึง 7,020 บาท / ปี 

ข้อมูลเพิ่มเติมที่ : Z.com

  • Hosting ต่างประเทศ :
  1. Hostinger

Hostinger เสนอแผนโฮสติ้งราคาไม่แพงมาก แต่ยังคงคุณภาพและประสิทธิภาพของบริการ แม้ว่าราคาจะถูกแต่ฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับแผนของ Hostinger สามารถดึงดูดเจ้าของเว็บไซต์มือใหม่ได้จำนวนมาก แผนทั้งหมดมาพร้อมกับเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่าย ใบรับรอง SSL ฟรี การรับประกันความพร้อมในการทำงาน และการบริการทุกวันตลอด 24 ชั่วโมงไม่เว้นวันหยุด มีแผนทดลองใช้ 30 วันแบบไร้ความเสี่ยง หากไม่พอใจยินดีคืนเงิน 100% และยกเลิกได้ทุกเมื่อที่ต้องการ

ราคา : เริ่มต้นที่ 1.39 ดอลลาร์ ต่อเดือน

  1. GoDaddy

GoDaddy เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุดในโลกที่ให้บริการมากกว่า 44 ล้านเว็บไซต์ และบริษัทมีสำนักงาน 14 แห่งทั่วโลก รวมถึงได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในบริษัทจดทะเบียนโดเมนที่ใหญ่ที่สุด มีบริการเว็บโฮสติ้งที่เหมาะสำหรับทั้งเว็บไซต์ขนาดเล็กและขนาดใหญ่มาก มีเครื่องมือค้นหาอันทรงพลัง รวดเร็ว ง่าย และไม่ยุ่งยาก GoDaddy เป็นผู้ให้บริการที่เชื่อถือได้ นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือที่เป็นมิตรกับนักพัฒนา เช่น MySQL, cPanel, CloudLinux, Python และ PHP อีกด้วย

ราคา : เริ่มต้นที่ 2.99 ดอลลาร์ ต่อเดือน

  1. DreamHost

DreamHost เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เก่าแก่ที่สุด และสิ่งที่ทำให้ DreamHost แตกต่างจากเจ้าอื่นๆ คือบริษัทนำเสนอคุณสมบัติด้านความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง (LetsEncrypt SSL) เครื่องมือการจัดการโดเมนที่หลากหลาย และการถ่ายโอนข้อมูลไม่จำกัดต่อเดือน และยังมีเครื่องมือสร้างเว็บไซต์ที่ใช้งานง่ายและเป็นมิตรกับผู้เริ่มต้น สามารถสมัครและเริ่มใช้บัญชีของคุณได้ทันที หากเลือกแผนพื้นฐานจะประกอบด้วยโดเมนฟรี 1 เว็บไซต์ แบนด์วิดท์ไม่จำกัด และพื้นที่เก็บข้อมูล

ราคา : เริ่มต้นที่ 2.95 ดอลลาร์ ต่อเดือน

Inspire Now ! : สิ่งสำคัญที่นอกเหนือไปจากจดโดเมนที่ไหนดีนั้น ควรเลือกจากการบริการที่ดีด้วย บริษัทที่เราเลือกควรมีช่องทางในการติดต่อที่รวดเร็ว เช่น ระบบแชทสด และสามารถติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมง และแนะนำให้เลือกนามสกุลโดเมนที่เป็นที่นิยมเพื่อง่ายต่อการจดจำ เช่น .com หรือ .net ส่วนการเลือกผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งนั้น สิ่งสำคัญคือควรเลือกที่มีระบบป้องกันไวรัสจากอีเมล และมีระบบกรองอีเมลขยะ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลของเราด้วยค่ะ และหลังจากที่เรามีเว็บไซต์ของตัวเองแล้วก็อย่าลืมผลิตคอนเทนต์ดีๆ ที่น่าสนใจด้วยนะคะ แต่ถ้าคิดคอนเทนต์ไม่ออก ลองเอาไอเดียดีๆ ที่เราแนะนำไว้ในบทความก็ได้ค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันได้ไอเดียในการค้นหาตัวเองใช่ไหม ? เพื่อนๆ คงได้ความรู้และข้อมูลในการตัดสินใจกันไปแล้ว หลังจากนี้ก็ถึงเวลาอัพสกิลตัวเองกันแล้วหล่ะค่ะ ถ้ายังไม่มีไอเดียลองดูจากอาชีพที่ต้องการในอนาคตก็ได้นะคะ  ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : domain.com, bluehost.com, namecheap.com, affde.com, website.com, wpbeginner.com, dreamhost.com, websitesetup.org

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW