เคยไหมคะที่รู้สึกว่าเหนื่อยกับงานเหลือเกิน แล้วก็รู้สึกเบื่องาน ไม่อยากไปทำงานในทุกๆ วัน ในตอนเช้าตื่นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ไม่อยากลุกจากที่นอน ไม่อยากไปทำงาน และพอเลิกงานทีไรก็รู้สึกหมดพลังอย่างมาก ในบางคนก็อาจจะต้องทำงานหนักทั้งๆ ที่หมดพลังใจและไม่มีแรงจูงใจอีกต่อไป ทั้งยังเคร่งเครียดและหงุดหงิดในทุกๆ วันทำงาน ถ้าใครมีอาการแบบนี้ อาจเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เรากำลังเข้าสู่ภาวะ Burnout หรือกำลังหมดไฟในการทำงานอยู่ก็ได้ และถ้าปล่อยทิ้งไว้ อาจทำให้ก่อให้เกิดความเครียดสะสมและมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตตามมา ถ้า หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ ทำอย่างไร มีหนทางที่จะช่วยให้เรารู้สึกมีไฟขึ้นมาได้อีกครั้งมั้ย ไปหาคำตอบกัน
หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ ทำยังไง ชวนดูวิธีจุดไฟให้ตัวเองอีกครั้ง !
Image Credit : freepik.com
เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง บางคนก็อาจจะเจอกับภาวะเหนื่อยหน่ายในการทำงาน รู้สึกเบื่องาน เบื่อรูปแบบการทำงานเดิมๆ และเกิดความรู้สึกไม่อยากไปทำงาน ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเรากำลังตกอยู่ในภาวะ Burnout Syndrome หรือ หมดไฟในการทำงานนั่งเอง ทั้งนี้ ภาวะ Burnout Syndrome ถูกนิยามเอาไว้ว่า เป็นภาวะอ่อนล้าทางอารมณ์ อันเนื่องมาจากภาระงานที่มากเกินไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้แรงจูงใจในการทำงานลดลง มีอารมณ์ร่วมกับงานลดลง ส่งผลทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ไม่มีความสุขกับการทำงาน ทำงานได้ไม่ดี และอาจนำไปสู่การตัดสินใจลาออกได้
สำหรับบางคนที่มีภาวะหมดไฟในงาน และยังไม่ได้รับการแก้ไข อาจทำให้รู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และรู้สึกหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน บางคนอาจระบายความเครียดด้วยการใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา หรือใช้สารเสพติดอื่นๆ ทำให้ส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมา และอาจถึงขั้นหมดไฟในการใช้ชีวิตได้ ทั้งนี้ ถ้าหากถามตัวเองแล้วว่ายังไม่อยากลาออกจากงาน และอยากจะกลับมาทำงานได้อย่างมีความสุขและมีประสิทธิภาพอีกครั้ง หากอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ ทำยังไง ไปดูกันเลยค่ะ
8 วิธีแก้ไข เมื่ออยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงาน
หากกำลังอยู่ในช่วงหมดไฟและได้รับการแก้ไข ก็จะทำให้รู้สึกมีแรงจูงใจและมีกำลังใจในการทำงานอีกครั้ง หากมีโอกาสได้ผ่อนคลายความเครียดและได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ก็จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ แล้วเราจะแก้ไขภาวะหมดไฟในการทำงานได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
1. ยอมรับว่าตัวเองอยู่ในภาวะหมดไฟ
Image Credit : freepik.com
ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะได้รับการแก้ไขก็ต่อเมื่อเรารู้อย่างแน่ชัดว่า สิ่งนี้กำลังส่งผลกระทบกับตัวเรา ถ้าหากไม่ยอมรับหรือไม่สังเกตตัวเองว่ากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ และทำงานอย่างไม่มีความสุขไปเรื่อยๆ อาจทำให้เกิดความเครียดสะสมและส่งผลในทางสุขภาพจิตได้ หากสังเกตได้ว่าตัวเองรู้สึกเหนื่อยล้าทุกครั้งในเวลางาน ไม่สามารถทำงานให้เสร็จได้ตามเป้าหมาย รู้สึกว่าพลังงานในแต่ละวันเหลือน้อยมากๆ ทั้งยังมีภาวะนอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ เจ็บป่วยไม่สบายบ่อยๆ รู้สึกเบื่ออาหาร มีภาวะซึมเศร้าหรือหงุดหงิดได้ง่าย นั่นอาจหมายความว่าเรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ ซึ่งถ้ารู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ในภาวะหมดไฟ ก็จะนำไปสู่การหาหนทางแก้ไข เพื่อให้สถานการณ์ดีขึ้นได้
[affegg id=4572]
2. พูดคุยกับหัวหน้างานโดยตรง
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะหมดไฟในงานได้ก็คือ การมีภาระงานมากเกินไป ซึ่งทำให้เกิดความเหนื่อยล้าเรื้อรัง เกิดความเครียดสะสม และทำให้หมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ก็คือ พูดคุยกับหัวหน้างานตรงๆ ถึงสถานการณ์ที่เป็นอยู่ เพื่อหาทางแก้ไขร่วมกัน อาทิ การแบ่งเบาภาระงานไปยังเพื่อนร่วมงาน หรือการลดหน้าที่ที่ไม่จำเป็นออกไป หรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่เพื่อให้สามารถบริหารจัดการเวลาได้ดีขึ้น
3. รู้ว่าขีดจำกัดของตัวเองอยู่ตรงไหน
การรับเอาภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในงานมามากเกินกว่าที่ตัวเองจะบริหารจัดการได้ เป็นหนึ่งในเหตผลที่ทำให้เราหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ก็คือ ให้ถามตัวเองและตรวจสอบตัวเองอยู่เสมอว่า รู้สึกทำงานมากเกินไปหรือไม่ หรือทำงานหนักเกินไปหรือเปล่า แน่นอนว่าการทำงานตามที่ได้รับมอบหมายนั้นบ่งบอกถึงการเป็นพนักงานที่ดีและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่การทำงานในปริมาณมากๆ ที่เกินขีดจำกัดของตัวเองก็ทำให้เราหมดพลังอย่างมากในแต่ละวัน ทั้งยังก่อให้เกิดความเครียดสะสม ไม่ได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจได้
4. กล้าที่จะปฏิเสธ
สำหรับบางคนแล้ว อาจะไม่กล้าบอกปฏิเสธเมื่อถูกขอให้ช่วยงานจากเพื่อนร่วมงานหรือคนอื่นๆ ทำให้เรามีภาระงานนอกเหนือไปจากหน้าที่ของตนเอง ซึ่งนั่นอาจทำให้เราทำงานของตัวเองไม่เสร็จ หรือต้องทำงานมากกว่าปกติ การไม่บอกปฏิเสธหรือไม่รู้วิธีปฏิเสธ ก็อาจทำให้ถูกขอความช่วยเหลืออยู่เสมอ ส่งผลให้งานทับถมและทำงานไม่ทันได้ ทั้งนี้ การบอกปฏิเสธนั้นไม่ใช่เรื่องไม่ดีแต่อย่างใด แต่เป็นการจัดลำดับความสำคัญด้วยการเอางานของตัวเองมาก่อนเป็นอันดับแรก หากเพื่อนร่วมงานเห็นว่าเรายังทำงานของตัวเองไม่เสร็จและยุ่งอยู่จริงๆ ก็จะสามารถเข้าใจได้ และเคารพในขอบเขตภาระงานของเราค่ะ
5. โฟกัสกับการดูแลตัวเองให้มากขึ้น
Image Credit : freepik.com
การทำงานทั้งวันทั้งคืนหรือทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำโดยที่ละเลยการดูแลตัวเองนั้น จะนำไปสู่การหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้คือ หันมาใส่ใจดูแลตัวเองให้มากขึ้น เพราะชีวิตของคนเราไม่ได้มีแค่การทำงานเพียงอย่างเดียว การมุ่งมั่นตั้งใจทำงานนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่การบริหารจัดการเวลาชีวิตในแต่ละด้านในมีความสมดุลก็เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เช่นกัน เพราะถ้าหากเราไม่ดูแลตัวเอง ก็อาจจะก่อให้เกิดความเจ็บป่วยได้ ลองหันมาใส่ใจตัวเองมากขึ้นด้วยการกินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายแข็งแรง นอนหลับพักผ่อนอย่างเหมาะสม ไม่นอนดึกจนเกินไป ให้เวลากับเพื่อนและครอบครัวมากขึ้น รวมถึงให้เวลากับตัวเองด้วย เช่น การทำงานอดิเรก การทำกิจกรรมที่ผ่อนคลายความเครียดของตัวเอง หรือคุยกับตัวเองเพื่อให้เกิดความเข้าใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เราหาทางออกให้กับภาวะหมดไฟที่กำลังเกิดขึ้นได้
[affegg id=4573]
6. ค้นหาแพชชั่นที่หายไป
เมื่อทำงานไปสักระยะหนึ่ง หลายๆ คนก็อาจจะรู้สึกว่างานมีความซ้ำซากจำเจ หรือเป็นเนื้องานเดิมๆ ไม่มีความท้าทายใหม่ๆ ไม่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ ทำให้ไม่รู้สึกกระตือรือร้นในการทำงานหรืออยากที่จะพัฒนาตัวเอง และเข้าสู่ภาวะ หมด Passion คือ รู้สึกสูญสิ้นแรงขับเคลื่อนภายใน เป็นการสูญเสียพลังใจ ไร้ซึ่งความมุ่งมั่น อันจะนำมาสู่การหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้คือ ให้มองหาแรงจูงใจใหม่ๆ หรือความท้าทายใหม่ๆ ในงาน เช่น การเรียนรู้เทคนิคการทำงานใหม่ๆ หรือแนวทางการทำงานที่ต่างออกไป หรืออาจเป็นการนั่งคุยกับตัวเองว่า เพราะอะไรเราถึงเลือกงานนี้ ความชอบของเราอยู่ตรงไหน อะไรคือความสุขจากการทำงาน นั่นอาจทำให้เราตกตะกอนกับตัวเองได้ และรู้สึกมีไฟขึ้นมาอีกครั้ง ทั้งยังสามารถแก้ไขความรู้สึกหมดไฟในการใช้ชีวิตได้อีกด้วยนะคะ
7. หยุดพักระหว่างวัน เพื่อไม่ให้รู้สึกเหนื่อยมากเกินไป
บางครั้ง คำพูดจากคนรอบข้างก็อาจบั่นทอนความมั่นใจของเราได้ เช่น บอกว่าเราทำงานนี้ไม่สำเร็จ หรือเราไม่มีความสามารถพอที่จะบรรลุเป้าหมายของตัวเองได้ เราไม่เก่งมากพอ ไม่มีศักยภาพมากพอ ถ้าหากเราเชื่อคำพูดเหล่านี้ เราก็จะเชื่อว่าตัวเองเป็นแบบนั้น และย่อมทำสิ่งต่างๆ ไม่สำเร็จอย่างแน่นอน แม้ว่ามันอาจจะดูยาก แต่เราก็ต้องเชื่อในตัวเองและไม่หวั่นไหวกับคำพูดเชิงลบจากคนอื่นๆ แล้วทำตามความตั้งใจของตัวเองให้สำเร็จ เมื่อเราทำสำเร็จแล้ว มันจะช่วยเพิ่มความมั่นใจในตัวเองได้มากขึ้นเลยทีเดียวค่ะ เพียงแค่เราใส่ใจคำพูดลบๆ ของคนอื่นน้อยลง และมุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ตัวเองทำมากขึ้น ก็เป็นวิธีสร้างความมั่นใจในตัวเองได้เช่นกัน
8. ให้เวลาตัวเองได้หยุดพักจริงๆ จังๆ
Image Credit : freepik.com
การจัดสรรเวลาที่ปราศจากความสมดุลระหว่างชีวิตกับงานจะทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง พาให้รู้สึกหมดพลังในการทำงาน ขาดแรงจูงใจ และอาจถึงขั้นหมดไฟในการใช้ชีวิตได้เลยทีเดียว การหยุดพักจากการทำงานสักครู่อย่างการลาพักร้อน หรือใช้วันหยุดสุดสัปดาห์ด้วยการทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้ตัวเองรู้สึกผ่อนคลายและมีความสุข การไปเที่ยวพักผ่อนจะทำให้เราได้เติมพลังให้กับตัวเอง ทำให้มีความเครียดลดลง มีมุมมองต่อชีวิตและการทำงานที่ดีขึ้น มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น รวมถึงมี Self – Motivation หรือแรงจูงใจในการใช้ชีวิตมากขึ้นด้วย ทั้งนี้ ต้องบังคับตัวเองว่าห้ามทำงานในระหว่างการพักผ่อนอย่างเด็ดขาด หากหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้คือ ลองให้ตัวเองได้หยุดพักและชาร์ตพลังให้เต็มที่ดูสักครั้ง อาจทำให้เรารู้สึกมีไฟมากขึ้นก็ได้นะคะ
[affegg id=4574]
Inspire Now ! : ภาวะหมดไฟในการทำงาน เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้ แม้ว่าเราจะสนุกกับการทำงานมากแค่ไหนหรือได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรักและชอบก็ตาม ถ้าทำมากเกินไปจนไม่มีเวลาได้พักผ่อนหรือไม่สามารถบริหารจัดการได้ ก็อาจทำให้เรารู้สึกเหนื่อยล้า หมดพลัง เกิดความเครียดสะสม และทำให้รู้สึกหมดไฟได้ อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ที่สามารถทำได้ง่ายที่สุดคือ การหยุดพักและหันมาประเมินตัวเองว่าความรู้สึกเหนื่อยหน่ายในการทำงานงานนั้นเกิดจากอะไร สามารถแก้ไขที่ต้นเหตุได้อย่างไรบ้าง เพราะถ้าแก้ไขได้อย่างตรงจุด ก็อาจจะทำให้เราเรียกพลังใจในการทำงานกลับคืนมาได้ และรู้สึกมีไฟ มีแรงจูงใจในการทำงานขึ้นมาอีกครั้ง |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? ใครเคยรู้สึกหมดไฟในการทำงานบ้าง มีวิธีแก้ไขอย่างไร มาคอมเมนต์แชร์กันได้นะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : betterup.com, hbr.org, rajavithi.go.th, forbes.com
Featured Image Credit : freepik.com/wayhomestudio