มีระเบียบวินัย สำคัญแค่ไหน ? รู้จัก Self Discipline ฝึกให้เป็นนิสัยจะทำอะไรก็สำเร็จ !
ชวนรู้จัก self discipline ว่าคืออะไร พร้อมวิธีการฝึกให้มีระเบียบวินัยในตัวเอง ฝึกแล้วได้อะไร ฝึกแล้วดีกับชีวิตแค่ไหน มาเรียนรู้แล้วฝึกไปด้วยกัน
การลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ อย่างหุ้นหรือกองทุน อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับหลายๆ คนเพื่อการสร้างความมั่นคงทางการเงิน หรือเป็นอีกวิธีหนึ่งสำหรับการวางแผนเกษียณ ในอนาคต ทั้งนี้ ขึ้นชื่อว่าการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงเสมอ และก่อนลงทุนควรศึกษาสินทรัพย์นั้นให้ดีก่อน หากเลือกลงทุนในหุ้น ก็ต้องดูว่าเราอยากลงทุนแบบไหน แบบเทรดรายวันซื้อมาขายไป หรือลงทุนใน หุ้นปันผลระยาว เพื่อให้เป็นอีกหนึ่งช่องทางรายรับ เป็น Passive Income ที่ทำให้เรามีรายรับอย่างต่อเนื่อง ในบทความนี้ เราจะชวนมารู้จักกับหุ้นปันผลในระยะยาวให้มากขึ้นกัน ใครที่สนใจการลงทุนในสินทรัพย์ชนิดนี้อยู่ ตามมาดูพร้อมๆ กันเลยค่ะ
สำหรับคนที่เคยลงทุนในหุ้นมาก่อน คงได้ศึกษาเกี่ยวกับประเภทของหุ้นชนิดต่างๆ มาบ้างแล้ว แต่สำหรับมือใหม่เริ่มลงทุนที่กำลังหาข้อมูลอยู่นั้น มาดูกันดีกว่าว่า หุ้นปันผล คืออะไร ? หุ้นปันผล คือ หุ้นของบริษัทที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่มีการแบ่งผลกำไรให้ผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ ผ่านการจ่ายเงินปันผล โดยบริษัทเหล่านี้มีแนวโน้มที่จะทำกำไรได้อย่างสม่ำเสมอและมุ่งมั่นที่จะจ่ายเงินปันผลในอนาคต หนังสือเทรดหุ้นหลายๆเล่ม จึงแนะนำหุ้นปันผลเป็นสัดส่วนใหญ่ๆ ในพอร์ตของนักลงทุนที่ต้องการรายได้จากการลงทุน นอกจากนี้ หุ้นปันผลในระยะยาวยังมีบทบาทในการสร้างความมั่งคั่ง โดยนำเงินปันผลไปลงทุนต่อให้พอกพูน ยิ่งลงทุนซ้ำด้วยเงินปันผลมากเท่าใด ก็ยิ่งมีหุ้นมากขึ้นเท่านั้น ยิ่งมีหุ้นมากเท่าใด เงินปันผลในอนาคตก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น
ในทางกลับกัน นักลงทุนหุ้นปันผลก็มีโอกาสเกิดความผิดพลาดได้มากมาย ตั้งแต่การเลือกบริษัทที่มีการจ่ายเงินปันผลที่ไม่น่าเชื่อถือ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลไม่ได้ตามคาดหมาย ไปจนการสูญเสียเงินต้นไปกับมูลค่าหุ้นที่ลดลง การลงทุนในหุ้นปันผลระยะยาว จึงไม่ใช่แค่การซื้อหุ้นของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเท่านั้น แต่ควรทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหุ้นปันผล เพื่อให้เราสามารถเลือกลงทุนในหุ้นปันผลดี และสร้างรายได้จากการลงทุน จนกลายเป็น Passive Income ได้ตามที่ต้องการ
การลงทุนในหุ้นปันผล ต้องมีบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ผ่านนายหน้าในตลาดหลักทรัพย์เช่นเดียวกับหุ้นอื่นๆ ในการรับเงินปันผลจากหุ้นนั้น ถ้ามีชื่อเป็นเจ้าของหุ้นในระยะเวลาการจ่าย เงินปันผลจะฝากเข้าบัญชีโดยอัตโนมัติโดยปกติจะมีการจ่ายเงินปันผลเป็นรายไตรมาส รายครึ่งปี หรือรายปี แล้วแต่กำหนดและประกาศของบริษัท คณะกรรมการบริษัทจะอนุมัตินโยบายการจ่ายเงินปันผลและประกาศแผนการของบริษัทต่อนักลงทุนผ่านข่าวประชาสัมพันธ์ และยื่นต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งวันสำคัญที่ต้องรู้ของการลงทุนในหุ้นปันผล ดังนี้
การลงทุนในหุ้นปันผลจึงสามารถทำได้ทั้งการถือระยะสั้น เพื่อรับเงินปันผลหนึ่งครั้ง แล้วขายหุ้นเพื่อรับส่วนต่างราคาหุ้นได้ด้วย แต่ในบทความนี้ เราจะมุ่งเน้นกันที่การลงทุนหุ้นปันผลระยะยาวเพื่อสร้างรายได้แบบ Passive Income นั่นเองค่ะ
การปันผล คือการแบ่งปันการเติบโตของธุรกิจให้กับผู้ถือหุ้นทุกคน การแบ่งปันความมั่งคั่งนี้สามารถทำใน 2 รูปแบบ คือ การจ่ายปันผลเป็นเงินสดหรือเป็นหุ้น ซึ่งหุ้นปันผลระยะยาวที่ใช้ในการสร้าง Passive Income มักหมายถึงการปันผลเป็นเงินสด ซึ่งจ่ายเป็นเงินสดต่อหุ้นให้กับนักลงทุน ตัวอย่างเช่น หากบริษัทจ่ายเงินปันผล 2 บาทต่อหุ้น นักลงทุนที่มี 100 หุ้นจะได้รับเงินสด 200 บาท มี 1000 หุ้น จะได้ปันผล 2000 บาท เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วไม่รับประกันการจ่ายเงินปันผลแม้ว่าจะมีนโยบายก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนในพันธบัตรที่จะต้องจ่ายตามสัญญา คณะกรรมการของบริษัทสามารถตัดสินใจลดเงินปันผลหรือยกเลิกการจ่ายได้ในตลอดระยะเวลาการลงทุน ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของผู้ลงทุนที่จะต้องมองหาหุ้นปันผลดีที่จ่ายปันผลอย่างสม่ำเสมอ พร้อมทั้งมีมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขี้นอีกด้วย
ทั้งนี้ หุ้นปันผลระยะยาว มีการจ่ายเงินปันผลในเวลาที่ต่างกัน จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการวางแผนเกษียณเพื่อเป็นแหล่งรายได้หลังเกษียณที่สามารถกำหนดการรับเงินปันผลในแต่ละช่วงเวลาของปี เพื่อเป็นรายรับสำหรับใช้จ่าย ส่วนนักลงทุนอายุน้อยซึ่งไม่ต้องการรายได้ในตอนนี้ ก็สามารถนำเงินปันผลไปใช้ลงทุนใหม่เพื่อสร้างพอร์ตให้เติบโตได้
การเลือกหุ้นปันผลระยะยาวนั้น ใช้ปัจจัยหลายตัวเข่นเดียวกันกับการประเมินหุ้นทั่วไป ซึ่งรวมถึงความแข็งแกร่งของธุรกิจ แนวโน้มการดำเนินงาน กำไร ความแข็งแกร่งทางการเงิน การจัดการ และโอกาสการเติบโตของธุรกิจในอนาคต ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ต้องพิจารณาคืออัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล คำนวณจากเงินปันผลต่อหุ้นต่อปี หารด้วยราคาหุ้น อัตราผลตอบแทนจะวัดว่าแต่ละบาทที่ลงทุนสร้างรายได้เท่าใด ตัวอย่างเช่น หุ้นราคา 100 บาท จ่ายเงินปันผล 3 บาทต่อหุ้น ผลตอบแทนจากเงินปันผลเท่ากับ 3% นั่นเอง
ทั้งนี้ หุ้นปันผลดีที่ให้ผลตอบแทนสูงอาจให้รายได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย แต่ก็อาจหมายถึงความเสี่ยงที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจากการจ่ายเงินปันผลนั้นอาจไม่ยั่งยืนในระยะยาว หรือเป็นไปได้ว่าอัตราเงินปันผลผกผันกับราคาหุ้น หุ้นที่ดูเหมือนจะมีอัตราผลตอบแทนสูงอาจเป็นผลมาจากราคาหุ้นที่ลดต่ำลงก็เป็นได้ มีความเป็นไปได้ที่บริษัทต่างๆ อาจเพิ่มการจ่ายเงินปันผลเพื่อชดเชยปัจจัยพื้นฐานที่ย่ำแย่ ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาหุ้นแต่ละตัวให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน
ควรให้ความสนใจที่งบดุล ซึ่งก็คืองบกำไรขาดทุน และกระแสเงินสดสุทธิ เพื่อตรวจสอบว่าหุ้นปันผลระยะยาวที่สนใจ มีความสามารถจ่ายเงินปันผลในระยะยาวหรือไม่ ในบริษัทที่มีหนี้สินมากเกินไป กระแสเงินสดของบริษัทจะถูกควบคุมโดยหุ้นกู้ เพราะต้องจ่ายดอกเบี้ยที่เป็นข้อบังคับ ส่วนเงินปันผลจะจ่ายหรือไม่จ่ายให้ผู้ถือหุ้นก็ได้ ดังนั้นในช่วงเวลาที่ลำบาก บริษัทมักลดการจ่ายเงินปันผลเพื่อหลีกเลี่ยงการผิดนัดชำระดอกเบี้ย
ทั้งนี้ บริษัทที่ดีคือบริษัทที่มีกระแสเงินสดและรายได้ที่เติบโตมั่นคง หากต้องการดูรายได้ประจำไตรมาส ประจำปีและกระแสเงินสดของบริษัท สามารถดูได้จากเว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในส่วนของข้อมูลบริษัทเพิ่มเติม เพื่อดูข้อมูลสำคัญของบริษัท
อัตราการจ่ายเงินปันผล หมายถึง สัดส่วนผลกำไรของบริษัทที่จะจ่ายเป็นเงินปันผล ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความยั่งยืนของการจ่ายเงินปันผล โดยผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า การจ่ายด้วยอัตราที่ต่ำดีกว่าอัตราที่สูงเกินไป เพราะกำไรส่วนน้อยที่นำมาใช้จ่ายให้กับผู้ถือหุ้นนั้น ทำให้บริษัทมีเงินเหลือเพื่อนำไปการขยายกิจการและการดำเนินการต่างๆ ทำให้สามารถรักษาระดับการจ่ายเงินปันผลได้อย่างต่อเนื่องแม้รายได้ของบริษัทลดลง และเงินปันผลยิ่งจะเพิ่มขึ้นหากรายได้ของบริษัทเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
เงินปันผลที่ยั่งยืนพร้อมศักยภาพในการเติบโตของบริษัทเปรียบเสมือนการถูกลอตเตอรี่ หากได้รับทั้งสองอย่าง จะสามารถสร้างกระแสรายได้ที่มากขึ้นจากหุ้นปันผล ซึ่งเป็นสิ่งที่พันธบัตรหรือหุ้นกู้ที่มีอัตราดอกเบี้ยคงที่ไม่สามารถทำได้ สิ่งที่ยากคือ การค้นหาบริษัทที่มีประวัติการจ่ายเงินปันผลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้อยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจฝืดเคืองก็ตาม หรือยังมีการเพิ่มเงินปันผลประจำปีที่สม่ำเสมอ ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นหุ้นปันผลดีที่ควรลงทุนอย่างยิ่ง
สัดส่วนการลงทุนในหุ้นปันผลนั้น ขึ้นกับปัจจัยหลายประการ ทั้งความเสี่ยงที่ยอมรับได้ กรอบเวลาการลงทุน และรายได้ที่ต้องการ ปัจจัยต่างๆ นี้ นำมากำหนดสัดส่วนสินทรัพย์ในพอร์ตโฟลิโอเพื่อจัดสรรกลยุทธ์การลงทุน ข้อที่ต้องระวังคือ หุ้นปันผลระยะยาวไม่ใช่พันธบัตร ซึ่งรับประกันการคืนเงินต้น แต่เป็นเหมือนหุ้นอื่นๆ ที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยของตลาดและความเสี่ยงเฉพาะของบริษัท อีกทั้งหุ้นปันผลมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ย เมื่ออัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น นักลงทุนอาจหนีจากหุ้นปันผลเพื่อไปลงทุนในพันธบัตร ทำให้ราคาหุ้นตกลง ในนักลงทุนที่ต้องการรายได้จากพอร์ตเพื่อการดำรงชีวิต จึงต้องมีการดูแลจัดการพอร์ตให้สามารถดึงเงินปันผลมาเป็นรายได้ได้อย่างสม่ำเสมอ และไม่ถูกบังคับให้ขายหุ้นในเวลาที่ไม่เหมาะสม เพราะอาจสูญเสียเงินต้นหรือขาดทุนได้
Inspire Now ! : ต่อให้เป็นการลงทุนในหุ้นปันผลระยะยาวก็ยังมีความเสี่ยง กลยุทธ์ที่ดีที่สุดของนักลงทุนคือการกระจายความเสี่ยง คือควรลงทุนให้ครอบคลุมบริษัทในทุกอุตสาหกรรม แต่นั่นหมายถึงเงินลงทุนมหาศาลด้วยเช่นกัน อีกทางเลือกหนึ่งก็คือ การลงทุนในกองทุนรวมปันผล และกองทุนซื้อขายแลกเปลี่ยนหรือ ETF นั่นเอง เพราะเป็นเหมือนตะกร้ารวมหุ้นปันผลระยะยาวจำนวนมาก ทำให้มีการกระจายความเสี่ยงไปยังบริษัทได้ครอบคลุม แทนที่จะเลือกหุ้นเพียงไม่กี่ตัวด้วยตัวเอง ในทางกลับกัน หากนักลงทุนมีประสบการณ์และชอบศึกษาหาข้อมูลของบริษัทต่างๆ การลงทุนในบริษัทเพียงไม่กี่แห่งที่รู้จักและเข้าใจเป็นอย่างดีอาจได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเป็นอย่างมาก จะเลือกแบบไหน ก็ขึ้นอยู่กับตัวของนักลงทุนนั่นเองค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? การลงทุนสร้างรายได้ จำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและความรู้ที่ถูกต้อง ไม่มีอะไรได้มาโดยไม่ต้องลงทุนเป็นเรื่องจริงเสมอค่ะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bankrate.com, money.usnews.com
Featured Image Credit : freepik.com/jcomp
ชวนรู้จัก self discipline ว่าคืออะไร พร้อมวิธีการฝึกให้มีระเบียบวินัยในตัวเอง ฝึกแล้วได้อะไร ฝึกแล้วดีกับชีวิตแค่ไหน มาเรียนรู้แล้วฝึกไปด้วยกัน
ชวนฟังเสียงในใจของคุณแล้ว เป็นตัวของตัวเอง กับ 10 วิธีช่วยให้คุณเป็นตัวเองได้มากขึ้น มาดูกันว่าปรับแล้วชีวิตของคุณจะมีความสุขเพิ่มขึ้นได้ยังไงกันบ้าง
ชวนเข้าใจ MBTI คืออะไร มีอะไรบ้าง บุคลิกภาพแบบเราทำงานยังไง เหมาะกับอาชีพแบบไหน มาเข้าใจตัวเรา และคนรอบข้างเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกัน