ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ ด้วยตัวเองยังไง ? แจกไอเดียทำตามง่าย ใช้ได้จริง !
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
หลายๆ คนคงจะรู้จักคำว่าแพชชั่นเป็นอย่างดี เพราะเป็นคำที่สามารถเข้าใจได้ปัจจุบัน อันหมายถึงการลงมือทำสิ่งต่างๆ ที่เต็มไปด้วยความหลงใหล มีความกระตือรือร้นที่จะทำ และทำด้วยใจรักในสิ่งๆ นั้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีแพชชั่นได้ ก็สามารถหมดแพชชั่นได้เช่นกัน เราอาจเคยได้ยินคำๆ นี้มาจากการใช้ในบริบทของความรัก เช่น หมดแพชชั่น หมายถึงหมดรักหรือหมดใจ ซึ่งเอาจริงๆ แล้ว จะหมายความว่าอย่างนั้นก็ไม่ผิดนัก แล้วสาเหตุของการ หมด Passion คือ อะไร ? คนเราสามารถหมดใจจากสิ่งที่เคยรักเคยหลงใหลได้หรือไม่ ? แล้วถ้าแพชชั่นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตเราจริงๆ เราจะมีวิธีกู้แพชชั่นคืนมาได้อย่างไร ? ในบทความนี้มีคำตอบค่ะ
ก่อนที่เราจะมารู้กันว่า การหมด Passion หมายถึงอะไร ? เรามาทำความเข้าใจกันก่อนว่าแพชชั่น มันคืออะไรกันแน่นะ เพราะช่วงหลังๆ มานี้ คำว่า “แพชชั่น” ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลงมือทำในสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เต็มไปด้วยความมุ่งมั่น แพชชั่น คือแรงผลักดันจากภายในที่ทำให้เรามีพลัง มีกำลังใจการทำสิ่งต่างๆ เป็นความกระตือรือร้น เป็นแรงขับเคลื่อน เป็นความหลงใหล และมีใจรักที่จะทำสิ่งนั้นๆ และต้องการทำสิ่งนั้นให้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ดังนั้น การหมด Passion คือ การสูญสิ้นซึ่งแรงขับเคลื่อนภายใน เป็นการสูญเสียพลังใจ หมดความกระตือรือร้น ไร้ซึ่งความมุ่งมั่น เหมือนรถที่น้ำมันหมดและไม่สามารถขับเคลื่อนต่อไปได้
ซึ่งการหมดแพชชั่น เป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ด้วยเหตุผลต่างๆ มากมาย สำหรับบางสถานการณ์ อาจไม่ใช่สิ่งที่ร้ายแรงมาก เช่น หมดแพชชั่นกับการเรียนร้องเพลงที่สมัครเรียนเป็นงานอดิเรก ก็คงจะไม่เสียหายเท่าไหร่ แต่ถ้าเราหมดแพชชั่นกับการเรียน การทำงาน หรือหมดแพชชั่นกับการใช้ชีวิต นั่นอาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ เพราะมันหมายถึงส่วนสำคัญของชีวิตที่ไม่สามารถก้าวต่อไปได้ จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียกแพชชั่นเหล่านี้กลับคืนมา และแน่นอนว่า เราสามารถเรียกแพชชั่นของเรากลับมาได้ แล้วจะทำได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
เมื่อเราหมดแพชชั่น ไม่ว่าจะเป็นแพชชั่นในการทำงาน แพชชั่นในการเรียน หรือแม้แต่กระทั่งหมดแพชชั่นในการใช้ชีวิต จะทำให้เราทำสิ่งต่างๆ แบบไร้ซึ่งแรงบันดาลใจ ไม่มีแรงจูงใจ เรียกง่ายๆ ว่าไม่มีใจจะทำ และทำสิ่งต่างๆ เหมือนเป็นเครื่องจักรหรือหุ่นยนต์เพราะทำตามหน้าที่เท่านั้น ซึ่งจะพาให้เรารู้สึกไม่ชอบในสิ่งที่ทำ ร้ายแรงถึงขั้นเกลียด และนำไปสู่ภาวะหมดไฟหรือ Burn out ได้ แล้วเราจะเรียกแพชชั่นของเรากลับคืนมาได้อย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ
แพชชั่น หมายถึงความหลงใหลในสิ่งนั้นๆ เป็นอย่างมาก แต่อะไรที่มากเกินไปย่อมไม่ส่งผลดี และการหมด Passion คือสัญญาณของความเหนื่อยล้าได้เช่นกัน และคนเราสามารถเหนื่อยกับสิ่งๆ นั้นได้ แม้จะเป็นสิ่งที่ตัวเองหลงใหลก็ตาม หากวันใดที่เรารู้สึกเริ่มไม่อยากทำสิ่งๆ นั้น ก็ไม่ต้องฝืน ให้หยุดพัก และไปทำอย่างอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งนี้ และไม่ต้องไปคิดมากว่า นี่คือสิ่งที่เรารัก ทำไมเราถึงรู้สึกเบื่อมันได้ เพราะไม่มีใครมีพลังล้นเหลือขนาดนั้นได้ตลอดเวลา ถ้ารู้สึกเหนื่อย ก็หยุดพักก่อนค่ะ เพราะบางทีเราอาจจะจดจ่อกับสิ่งๆ นั้นมากเกินไปจนหลงลืมด้านอื่นๆ ของชีวิต เช่น ทำงานมากเกินไปจนไม่มีเวลาไปเจอเพื่อน ไปเจอพ่อแม่ หรือแม้กระทั่งไม่ได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มที่ ซึ่งนั่นจะยิ่งทำให้แพชชั่นของเรากลายเป็นตัวร้ายและทำลายด้านอื่นๆ ของชีวิตเราได้ ให้เอาตัวเองออกจากสิ่งๆ นั้นบ้าง พักให้หายเหนื่อย แล้วเมื่อไหร่ที่รู้สึกพร้อมลุยต่อ ก็ค่อยลงมือทำมันอีกครั้ง
ในแรกเริ่มของการลงมือทำสิ่งต่างๆ นั้น เราอาจลงมือทำด้วยการมีแพชชั่นอย่างเต็มเปี่ยม และมีเป้าหมายที่แน่ชัด เช่น ทำโปรเจกต์นี้เพราะอยากพัฒนาความสามารถของตัวเอง ลงทุนเปิดร้านกาแฟเพราะจะได้อยู่กับสิ่งที่รัก หรือสมัครเรียนปริญญาโทเพราะต้องการศึกษาเพิ่มเติมและใช้ต่อยอดในอาชีพ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ทั้งปัญหา อุปสรรค และความเหนื่อยยากลำบากที่เกิดขึ้น ทำให้เรารู้สึกท้อ หมดพลังใจ และไม่อยากทำอีกต่อไป และมีความคิดอยากจะเลิกทำขึ้นมากลางคัน ถ้าใครกำลังตกอยู่ในสถานการณ์นี้ อยากให้กลับไปมองที่จุดเริ่มต้นและทบทวนตัวเองว่า เราเริ่มต้นทำสิ่งนี้เพราะอะไร เป้าหมายเราคืออะไร และเรายังคงต้องการทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จอยู่หรือไม่ ซึ่งอาจจะทำให้เราฮึดสู้ขึ้นได้อีกครั้งค่ะ
ด้วยภาระงานที่มีอยู่เต็มมือทำให้เราก้มหน้าก้มตาทำงานเพื่อให้งานเสร็จตามเวลา โดยไม่ได้คิดถึงอะไรอย่างอื่นนอกจากการทำงานให้เสร็จเพราะมันเป็นหน้าที่ ซึ่งนั่นอาจทำให้เรารู้สึกชินชากับงานและทำให้รู้สึกหมดแพชชั่นในงานนั้นๆ ไปโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น เมื่อเกิดความรู้สึกนี้ขึ้น และเริ่มไม่อยากทำงานหรือไม่อยากทำสิ่งที่กำลังทำอยู่ขึ้นมาดื้อๆ ให้นึกถึงผลกระทบที่จะตามมาว่า ถ้าเราเลิกทำสิ่งนี้ จะเกิดอะไรขึ้น ? เช่น องค์กรอาจขาดกำลังแรงงานสำคัญที่จะทำให้องค์กรก้าวหน้า หรือทำให้ลูกค้าของเราไม่ได้งานตามที่คาดหวัง และส่งผลเสียต่อธุรกิจ หรืออาจจะมีคนรออ่านงานของเราอยู่ถ้าเราเป็นนักเขียน และงานเขียนของเราอาจสร้างประโยชน์ให้กับผู้อ่านได้มากกว่าที่คิด เมื่อใดที่เริ่มต้นทำงานนั้นๆ ให้คิดถึงความสำคัญของตนเองและความสำคัญของงาน แล้วจะทำให้เราเริ่มมีไฟขึ้นมาอีกครั้ง และทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยใจอีกต่อไป
อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้รู้สึกหมด Passion คือ การทำอะไรเดิมๆ เป็นรูทีน ไม่มีสิ่งใหม่ให้ตื่นเต้น ไม่มีสิ่งใหม่ให้เรียนรู้ ซึ่งนั่นอาจทำให้เราถึงขั้นมีอาการหมดแพชชั่นในการใช้ชีวิตได้เลยทีเดียว โดยเฉพาะคนที่มีวิถีชีวิตแบบวนลูป เช่น ตื่นเช้า ทำงาน เลิกงาน กลับบ้าน นอน ตื่นเช้า ไปทำงาน เลิกงาน กลับบ้าน นอน อะไรแบบนี้อยู่ทุกวัน ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในคนที่ทำงานเป็นรูทีนและทำงานในลักษณะเดิมซ้ำๆ ด้วยเช่นกัน และถ้าหากไม่สามารถเปลี่ยนลักษณะของงานให้มีความตื่นเต้นท้าทายเพิ่มขึ้นได้ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตตัวเองอาจทำให้เรารู้สึกมีไฟมากขึ้นได้ เช่น ออกไปเที่ยวในช่วงวันหยุด หรืออกไปสังสรรค์กับเพื่อนบ้างหลังเลิกงาน หรืออาจลงเรียนคอร์สต่างๆ ที่สนใจ หรือลองตั้งเป้าหมายในชีวิตที่จะทำให้เรารู้สึกกระตือรือร้นมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการเติมเชื้อไฟให้กับชีวิตได้
บางครั้งเราอาจจะไม่ได้หมดรู้สึกหมดแพชชั่นกับสิ่งๆ นั้น แต่รู้สึกหมดแพชชั่นเพราะสิ่งแวดล้อมรอบตัวก็เป็นได้ เช่น เราอาจไม่ได้รู้สึกหมดไฟกับตัวเนื้องาน แต่สิ่งที่ทำให้รู้สึกหมด Passion คือ บรรยากาศในที่ทำงาน อาทิ เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ลูกค้า หรือแม้แต่ความยากลำบากในการเดินทางก็อาจทำให้เรารู้สึกอ่อนล้ากับการทำงานได้ ดังนั้น อาจจะต้องแก้ไขในส่วนนี้ เพื่อที่จะทำให้เราสามารถดึงแพชชั่นของเรากลับมาได้อีกครั้ง ซึ่งสามารถทำได้โดยพูดคุยกับหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานตรงๆ ว่า วิธีการทำงานแบบไหนที่ทำให้เรารู้สึกไม่แฮปปี้และชวนทำให้รู้สึกหมดไฟ หรือถ้าหาทางออกร่วมกันไม่ได้ การพาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นบวกมากขึ้น หรือเปลี่ยนสภาพแวดล้อมใหม่ ก็อาจทำให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่ามากขึ้นและดึงแพชชั่นของตัวเองกลับมาได้
คนที่มีความเป็น Perfectionism คือคนที่มักจะหมดแพชชั่นได้ง่ายเพราะทำทุกอย่างด้วยความมุ่งมั่นตั้งใจเกินร้อย และจริงจังจนบางครั้งก็จริงจังมากเกินไป และชาว Perfectionist ที่ประสบความสำเร็จมักจะรู้สึกผิดเวลาตัวเองมีเวลาว่างหรือได้หยุดพัก จึงต้องทำงานหนักอย่างต่อเนื่องโดยไม่พัก และนั่นทำให้เกิดความรู้สึกเหนื่อยล้า หมดแรง และหมดแพชชั่นได้ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้หมด Passion คือ ความเจ้าระเบียบ ความเป๊ะ ความจริงจัง ความตึงจนเกินไป และไม่มีความยืดหยุ่นของคนที่เป็น Perfectionist นั่นเอง เพราะมีแนวโน้มว่าจะเครียดกับงานได้ง่ายกว่าคนอื่น และมักโทษตัวเอง ไม่ยอมผิดพลาด ไม่อยากล้มเหลว ซึ่งสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับงานของตัวเอง และทำให้หมดแพชชั่นได้ ดังนั้น สำหรับใครที่มีความ Perfectionism สูงอาจจะต้องลดดีกรีความจริงจังของตัวเองลงมาบ้าง ความจริงจังในการทำงานเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่างที่บอกว่า อะไรที่มันมากเกินไป ก็ย่อมส่งผลร้ายต่อตัวเองได้เช่นกัน
บางคนหยิบยกเอาแพชชั่นเป็น Self – Motivation คือแรงขับเคลื่อนหลักในชีวิต และเมื่อไหร่ที่หมดแพชชั่นในสิ่งนั้น ก็เท่ากับหมดแพชชั่นในการใช้ชีวิตไปด้วย แน่นอนว่าการขับเคลื่อนชีวิตด้วยแพชชั่นอันเปี่ยมล้นนั้นเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมและจะทำให้เราไปถึงเป้าหมายได้โดยง่ายเพราะจะทำให้เรารู้สึกสนุกและมีความสุขเมื่อได้อยู่กับสิ่งๆ นั้น และเหมือนกับว่ามีขุมพลังอันล้นเหลืออยู่ภายในร่างกาย ทำให้ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย บางคนถึงกับทำสิ่งที่ตัวเองรักติดต่อกันได้เป็นวันๆ จนถึงขั้นข้ามวันข้ามคืน เช่น ศิลปินที่นั่งวาดรูปได้ทั้งคืนโดยไม่นอน หรือนักแต่งเพลงที่นั่งแต่งเพลง ทำดนตรีได้ทั้งวันทั้งคืน และคิดว่าดนตรีคือความเป็นตัวตนของตัวเอง ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร
แต่อย่างที่ได้บอกไปว่า แพชชั่นก็มีวันหมดลงได้ เพราะด้วยประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างทางอาจเปลี่ยนมุมมอง เปลี่ยนความรู้สึกที่มีต่อแพชชั่นของตัวเองได้ แม้แพชชั่นอาจเป็นสิ่งสำคัญของชีวิต แต่ก็ไม่ใช่ทั้งหมดของชีวิต เพราะชีวิตเรายังมีด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการทำสิ่งที่เรารักและหลงใหล เพราะยังมีด้านอื่นๆ ของชีวิตที่เราจะต้องจัดสรรเวลาให้กับสิ่งๆ นั้นด้วยเช่นกัน เช่น การให้เวลากับคนที่เรารัก การดูแลสุขภาพ หรือการพัฒนาตัวเองในด้านอื่นๆ การมีแพชชั่นอย่างสมดุล อาจจะทำให้เรามีแพชชั่นต่อไปได้อย่างยั่งยืนมากกว่าการมีแพชชั่นอย่างสุดโต่งก็ได้ค่ะ
และนี่ก็เป็น 7 วิธีเรียกแพชชั่นกลับคืนมา ในวันที่รู้สึกอ่อนล้า หมดแรง หมดแพชชั่น ซึ่งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลายๆ คนใช้แพชชั่นเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการทำงาน การเรียนต่อ หรือแม้กระทั่งใช้เป็นขุมพลังในการขับเคลื่อนชีวิต และถ้าหากหมดแพชชั่นไป ก็อาจถึงขั้นทำให้ชีวิตไม่สามารถเดินหน้าต่อได้ ใครที่กำลังรู้สึกหมดไฟ หมดแพชชั่นที่เคยมีอยู่ ก็ลองนำวิธีที่เราเอามาฝากไปลองใช้กันดูนะคะ หวังว่าทุกคนจะสามารถกู้แพชชั่นของตัวเองกลับมาได้ในเร็ววันนะ
Inspire Now ! : เป็นเรื่องที่ดีเมื่อเรามีแพชชั่น เพราะแพชชั่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เราสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเปี่ยมล้นไปด้วยพลังและแรงบันดาลใจ และทำให้เราประสบความสำเร็จและบรรลุเป้าหมายได้ แต่แพชชั่นก็ไม่ได้เป็นทั้งหมดของชีวิต หรือเป็นสิ่งที่จะยังคงมีอยู่ไปตลอด แพชชั่นของเราสามารถเปลี่ยนไปได้เมื่อเราโตขึ้น มีประสบการณ์ใหม่ๆ มากขึ้น และได้เรียนรู้ชีวิตมากขึ้น ซึ่งนั่นก็อาจจะเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แพชชั่นของเราเปลี่ยนไป หรือมันอาจจะยังคงอยู่ ไม่ได้หายไปไหน เพียงแต่ว่าปัจจัยต่างๆ ทำให้เรารู้สึกหมด Passion ไม่ว่าจะเป็นความเหนื่อย ความท้อ หรืออุปสรรคต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น หากรู้สึกว่าตัวเองกำลังหมดแพชชั่น สิ่งแรกที่จะต้องทำคือ หยุดพัก และให้เวลากับตัวเอง ทบทวนตัวเองสักครู่ ถ้ารู้แล้วว่าแพชชั่นเราหมดลงเพราะอะไร เราก็จะสามารถแก้ไขที่ต้นเหตุได้ และกู้คืนแพชชั่นของเรากลับมาได้ตามเดิมค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? แพชชั่นหมดลงได้ ก็เพิ่มได้ใหม่เหมือนกัน ! ใครมีวิธีเรียกแพชชั่นของตัวเองกลับคืนมา สามารถแชร์กันได้นะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : lifehack.org, aconsciousrethink.com, success.com, forbes.com
Featured Image Credit : freepik.com/tirachardz
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
เกษียณแล้ว ทำอะไรดี แนะนำ อาชีพหลังเกษียณ พร้อมคำแนะนำในการเลือก ให้คุณได้ใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความสุข และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
ชวนดูวิธี โสดอย่างมีความสุข เอาใจสาวโสดทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ พร้อมแชร์นิยาม โสด หมายถึง อะไร พร้อมวิธีพัฬฒนาตัวเองที่ทำได้จริง