ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร, ถูกเลิกจ้าง

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร ? ตั้งสติ อย่าเศร้านาน แล้วทำตามนี้ !

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร ? ตั้งสติ อย่าเศร้านาน แล้วทำตามนี้ !

ในยุคที่เกิดโรคระบาดอย่างหนัก และผลพวงจากพิษเศรษฐกิจ ทำให้บริษัทต่างๆ เกิดการเลิกจ้างลูกจ้างและพนักงานจำนวนมาก และส่งผลให้หลายๆ คนต้องถูกเลิกจ้างกะทันหันจนตั้งตัวไม่ถูก และไม่รู้ว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง หากคุณคือคนหนึ่งที่เพิ่งตกงานมา อย่าเพิ่งตกใจไปแต่ควรตั้งสติให้ไว เพราะมีสิ่งที่คุณจะต้องทำเพื่อประโยชน์และสิทธิของตัวเองที่ควรจะได้รับ นอกจากการเตรียมตัวเรียนรู้เทคนิคสัมภาษณ์งานดีๆ เพื่องานใหม่ในอนาคตแล้วนั้น เพื่อช่วยให้ทุกคนได้รักษาสิทธิของตนเอง ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร บ้าง เรามาดูกันเลยค่ะ

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร ? เตรียมตัวรับมือให้ทัน เพื่อประโยชน์ของตนเอง

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร, ถูกเลิกจ้าง
Image Credit : freepik.com

การถูกให้ออกจากงาน หรือตกงานกะทันหัน เป็นเรื่องที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานประจำ หรือลูกจ้างชั่วคราวก็ตาม แม้ว่าจะไม่มีใครอยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น แต่เมื่อถึงเวลานั้นแล้ว สิ่งแรกที่เราควรทำหลังจากตั้งสติได้แล้วนั้น คือการจัดการเรื่องของสิทธิและประโยชน์ต่างๆ ที่เราควรจะได้รับรวมถึงเงินชดเชย เพื่อให้ทุกคนรับมือกับการตกงานกระทันหัน ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร ? สิ่งที่ต้องเตรียมตัวและต้องพิจารณาทันที ได้แก่

1. ขอหนังสือเลิกจ้างจากบริษัท

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรเมื่อถูกให้ออกจากงาน สิ่งแรกเลยคือ ให้ขอหนังสือเลิกจ้างจากบริษัท โดยหนังสือเลิกจ้างของบริษัทจะต้องระบุชัดเจนถึงวันที่มีผลในการเลิกจ้าง และสาเหตุที่เลิกจ้างคืออะไร ในกรณีที่คุณถูกเลิกจ้าง จะต้องไม่เขียนหรือเซ็นใบลาออกเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไม่สามารถเรียกร้องสิทธิ หรือได้รับค่าชดเชยใดๆ ทั้งสิ้น

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร, ถูกเลิกจ้าง
Image Credit : freepik.com

2. เงินชดเชย

หากการเลิกจ้าง เกิดขึ้นจากบริษัทต้องการเลิกจ้างหรือยกเลิกสัญญา โดยที่เราไม่ได้ทำการลาออกเอง และไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรงตามมาตรา 119 ของกฎหมายแรงงาน จะได้รับค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน ซึ่งเป็นเงินที่นายจ้างจะต้องจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง โดยพิจารณาจากอัตราค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง คือต้องทำงานครบ 120 วันเป็นอย่างน้อย และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน แต่หากลูกจ้างกระทำความผิดตามมาตรา 119 ลูกจ้างจะไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย ซึ่งความผิดดังกล่าว ได้แก่

  • ทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น โกงเงิน ยักยอกเงิน ฯลฯ
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ขโมยผลงานที่มีลิขสิทธิ์มาใช้ในนามบริษัท
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 7 วันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันควร
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับ หรือหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงาน หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษา

หากคุณไม่ได้เข้าข่ายเหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ตามกฎหมายที่จะได้รับค่าชดเชยตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ตามหลักเกณฑ์ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาตรา 118 ได้ระบุว่าให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างที่เลิกจ้าง โดยจะต้องจ่ายเงินชดเชยให้กับลูกจ้างที่มีอายุงานครบ 120 วันขึ้นไป โดยจะต้องจ่ายค่าชดเชยคือไม่น้อยกว่าค่าจ้าง 30 วัน ถึง 400 วัน ตามแต่อายุการทำงาน ซึ่งหากนายจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย ก็จะถือว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม โดยที่เราสามารถยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงานได้ทันที และจะมีอายุความ 10 ปีด้วยกัน

3. ขอหนังสือรับรองการทำงาน

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร, ถูกเลิกจ้าง
Image Credit : freepik.com

เมื่อเราถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรอีกบ้าง ? นอกจากรู้ในเรื่องของการได้รับเงินชดเชยแล้ว จะต้องไม่ลืมขอหนังสือรับรองการทำงาน ที่เมื่อเราพ้นสภาพการทำงานไปแล้วไม่ว่าจะด้วยสาเหตุอะไรก็ตาม บริษัทจะต้องออกหนังสือรับรองการทำงานให้พนักงานทุกกรณี มิเช่นนั้นจะเข้าข่ายมีความผิดได้ และในหนังสือรับรองการทำงานก็ต้องระบุตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น ลูกจ้างเข้าทำงานกับทางบริษัทตั้งแต่เมื่อไหร่ และทำงานจนถึงเมื่อไหร่ ทำงานในตำแหน่งงานอะไร เป็นต้น

4. สิทธิประโยชน์อื่นๆ

เมื่อถูกเลิกจ้างนอกเหนือไปจากเงินชดเชยที่เราจะได้รับแล้วนั้น หากมีค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ค้างเบิกอยู่ ที่ทางบริษัทจะต้องจ่ายให้กับเรานั้น ถึงแม้เราจะหมดสภาพการเป็นลูกจ้างแล้ว ก็ยังคงจะได้รับสิทธิประโยชน์เหล่านี้อยู่ ซึ่งถ้านายจ้างจงใจจะไม่จ่ายให้ ก็ถือเป็นสิทธิอันชอบธรรมของลูกจ้างที่จะต้องได้ จึงสามารถไปฟ้องเรียกค่าเสียหายนี้ได้ที่ศาลแรงงานค่ะ

ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร, ถูกเลิกจ้าง
Image Credit : freepik.com

5. สิทธิประโยชน์จากการว่างงาน

ทุกคนที่ต้องตกงานกะทันหัน อย่าเพิ่งงงว่าเมื่อถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไร เพราะยังมีสิทธิประโยชน์อีกหนึ่งอย่างที่คุณจะต้องได้รับ ที่นอกเหนือจากเงินชดเชยจากบริษัทในฐานะเลิกจ้าง นั่นคือ เงินชดเชยการว่างงานและสิทธิประโยชน์อื่นๆ จากสำนักงานประกันสังคม ในกรณีที่คุณได้มีการทำประกันสังคมเอาไว้ โดยหลักเกณฑ์ที่จะได้รับสิทธิ์ก็คือ เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน จะได้รับเงินทดแทนระหว่างการว่างงานปีละไม่เกิน 180 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ย โดยคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ซึ่งจะต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐภายใน 30 วันนับแต่วันที่ว่างงาน โดยไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงาน เพื่อเป็นการแสดงสิทธิ์ในเบื้องต้น โดยสำนักงานประกันสังคมอาจพิจารณาความสามารถในการทำงาน และจัดหางานที่เหมาะสมให้ และคุณต้องมารายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่สำนักจัดหางานอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

Inspire Now ! : การถูกให้ออกจากงานหรือตกงานกะทันหันนั้น เป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอกับตัว แต่เมื่อหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว ถูกเลิกจ้าง ต้องทำอย่างไรคือสิ่งที่คุณจะต้องรู้ และเตรียมรับมือ เพื่อปกป้องสิทธิประโยชน์ของตนเองให้ได้ครบถ้วน เพื่อจะได้รับเงินชดเชยต่างๆ ไปใช้ในระหว่างที่รอหางานใหม่ ซึ่งในระหว่างนี้ก็อย่าเพิ่งท้อใจไปนะคะ เพราะงานใหม่ที่รอเราอยู่อาจจะดีกว่าเดิมก็ได้ และถ้าหากว่าสมัครงานไปแล้วหลายที่ และมีการเรียกสัมภาษณ์พร้อมกันจนคุณต้องตัดสินใจเลือก หรือตกลงรับข้อเสนอของที่อื่นไปก่อนแล้ว เราก็มีวิธีปฏิเสธสัมภาษณ์งานมาแนะนำให้คุณได้ลองนำไปใช้กันด้วยนะคะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าใช่ไหม ? ไม่ว่าคุณจะถูกให้ออกจากงานหรือไม่ สิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ควรรู้เอาไว้ เพื่อจะได้เตรียมตัวรับมือได้ทัน หากมีการต้องออกจากงานแบบกะทันหัน ใครมีความคิดเห็นยังไงมาคอมเมนต์พูดคุยกันได้เลยนะคะ ♡

Featured Image Credit : freepik.com/pressfoto

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW