ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ ด้วยตัวเองยังไง ? แจกไอเดียทำตามง่าย ใช้ได้จริง !
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
ปัจจุบันมีแนวคิดหรือโมเดลธุรกิจมากมายที่นิยมนำมาใช้เพื่อพัฒนาองค์กรหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น SWOT Analysis เพื่อการวิเคราะห์ธุรกิจ หรือโมเดลธุรกิจอื่นๆ รวมถึง Design Thinking ที่หลายๆ คนอาจเคยได้ยินกันมาบ้าง ซึ่งเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีหนังสือแนวพัฒนาตัวเองที่ชื่อ “Designing youe life : คู่มือออกแบบชีวิตด้วย Design Thinking” ออกวางจำหน่ายและอาจกล่าวได้ว่า เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทุกคนรู้จักกับคำว่า “Design Thinking” กันมากขึ้น
ถ้าใครเคยอ่านหนังสือมาก่อน ก็คงจะทราบว่า หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงการนำเอาแนวคิด Design Thinking มาปรับใช้ในการออกแบบชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการทำงานหรือการดำเนินชีวิต ให้เป็นชีวิตที่ดีและมีความสุข แต่ถ้าใครไม่เคยอ่านหนังสือมาก่อน และกำลังสงสัยว่า Design thinking คืออะไร ? ในบทความนี้ DIYINSPIRENOW เรามีคำตอบมาให้คุณค่ะ มาไขความให้กระจ่างกันว่า Design Thinking Process ประกอบไปด้วยขั้นตอนที่มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง ตัวอย่างที่ให้คุณเป็นไอเดียเพื่อนำไปปรับใช้กับชีวิตของคุณ พร้อมมาดูกันว่า มีองค์กรใดบ้างที่นำแนวคิดนี้ไปใช้และประสบความสำเร็จ เผื่อคุณจะได้นำเอาไปปรับใช้กับตัวเองให้ชีวิตหรือธุรกิจของคุณสำเร็จยิ่งกว่าเดิมกันค่ะ
Design Thinking เป็นกระบวนการคิดในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และส่งเสริมการมองแบบภาพรวมโดยพิจารณาถึงการแก้ไขปัญหาอย่างรอบด้าน ซึ่งสามารถนำเอาไปใช้ได้กับทุกสถานการณ์ ถ้าเป็นในเชิงธุรกิจคือ การแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ โดยการใช้หลัก “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” หรือคิดในมุมมองของผู้บริโภคว่า ต้องการสินค้าและบริการชนิดใดที่สามารถแก้ไขปัญหาแลตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง ด้วยวิธีการที่สร้างสรรค์
จุดเริ่มต้นของ Design Thinking มีมาตั้งแต่ช่วงปี 1950 – 1960 โดยมักจะใช้ในสายงานออกแบบนวัตกรรมอย่างสายงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และสถาปัตยกรรมเป็นหลัก จวบจนกระทั่งในปี 1991 แนวคิด Design Thinking ถูกรู้จักอย่างเป็นวงกว้างมากขึ้น เนื่องจากบริษัท IDEO บริษัทออกแบบชื่อดังในสหรัฐอเมริกาได้นำเอาแนวคิด Design Thinking มาพัฒนาการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเม้าส์คอมพิวเตอร์ของ Apple หรือแปรงสีฟัน oral-B สำหรับเด็ก ทำให้ในวงการธุรกิจได้นำเอาแนวคิด Design Thinking มาใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นวงกว้าง และในปี 2004 David Kelly ผู้ก่อตั้งบริษัท IDEO ได้ก่อตั้ง Stanford University’s Hasso Plattner Institute of Design หรือรู้จักกันในชื่อ d.school และแน่นอนว่า เป็นสถาบันที่เปิดสอนเกี่ยวกับการพัฒนาแนวคิดเชิงออกแบบไปใช้ในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะในวงการออกแบบ วงการนวัตกรรมและวงการธุรกิจ ทำให้ Design Thinking เป็นที่รู้จักในระดับสากลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ตอนนี้เราก็รู้จักแนวคิด Design Thinking กันมากขึ้นแล้ว รวมถึงรู้ที่มาที่ไปของแนวคิดนี้ว่า เกิดขึ้นได้อย่างไร ต่อไปเราจะมาเจาะลึกกันว่า Design Thinking 5 ขั้นตอน นั้นมีอะไรบ้าง และมีรายละเอียดอย่างไร ไปดูกันต่อค่ะ
Design Thinking Process ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่
โดยแต่ละขั้นตอนจะมีกระบวนการทำงานอย่างไรนั้น ไปดูกันเลยค่ะ
จุดเริ่มต้นของกระบวนการ Design Thinking คือ การมี Empathy ต่อลูกค้า ซึ่งหมายถึง การทำความเข้าใจลูกค้าอย่างแท้จริง และคิดในมุมมองของลูกค้าว่าต้องการสิ่งใด หรืออยากให้ปัญหาอะไรได้รับการแก้ไข สามารถเก็บข้อมูลได้ผ่านการสนทนาซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึก หรือจากการทำแบบสอบถาม การทำแบบทดสอบ การลงพื้นที่สำรวจ หรือการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า เป็นต้น และจะทำให้ได้คำตอบว่า แท้จริงแล้วลูกค้าของเราคือคนกลุ่มใด มีปัญหาอะไร และต้องการสิ่งใดที่จะตอบโจทย์ – แก้ไขปัญหานั้นๆ ได้ ซึ่งตัวช่วยที่แนะนำในการทำ Empathize ก็คือ Empathy Map นั่นเองค่ะ
การนิยามปัญหาให้ชัดเจน เป็นการขยายความในประเด็นที่เกิดขึ้น และเป็นมุมมองเชิงลึก เป็นการวิเคราะห์ สรุป และนิยามปัญหานั้นๆ ออกมาให้เป็นรูปธรรม อาจจะใช้เทคนิค WH Quetions หรือการตั้งคำถามว่า Who – ใคร (ลูกค้าเราเป็นใคร) What -ทำอะไร (ปัญหาของลูกค้าคืออะไร/ลูกค้าต้องการอะไร) Where – ที่ไหน (หากสามารถระบุได้) และ How – อย่างไร (จะแก้ปัญหานี้ได้อย่างไร)
ขั้นตอนการระดมสมองนี้ จะเป็นขั้นตอนที่สนุกที่สุด เปิดกว้างที่สุด และก่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ มากที่สุด เมื่อระบุปัญหาได้อย่างชัดเจนแล้ว ต่อมาก็เป็นขั้นตอนของการสำรวจแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการทำ Mindmap การแปะโพสอิทไอเดียลงบนบอร์ดความคิดเห็นให้ได้มากที่สุด การขยายความ Keyword หรือใช้วิธีการ Brainstorm อื่นๆ ที่จะก่อให้เกิดการแสดงความคิดเห็นต่างๆ และในขั้นตอนระดมสมองนี้ ไม่ควรจำกัดถึงความเป็นไปได้ใดๆ ก็ตาม แต่ให้เน้นการคิดที่หลากหลายและคิดอย่างสร้างสรรค์มากที่สุด มีอิสระมากที่สุด ยิ่งเป็นการคิดนอกกรอบยิ่งดี เพราะอาจจะได้แง่มุมใหม่ๆ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้จริง
หลังจากนำเสนอไอเดีย และได้เลือกเฟ้นไอเดียที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือ การสร้างแบบจำลอง หรือโมเดลของไอเดียนั้นๆ ก่อนที่จะนำไปใช้งานจริง เพื่อเป็นการทดลองว่าวิธีการนั้นๆ ใช้ได้ผลจริงๆ หรือไม่ และสามารถแก้ไขปัญหา – ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริงหรือยัง ซึ่งนอกจากจะเป็นการทดสอบใช้งานก่อนลงสนามจริงแล้ว ยังเป็นการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นได้อีกด้วย ทั้งนี้ การสร้างแบบจำลองอาจไม่ต้องลงทุนให้มีความเสมือนจริง 100% เพราะจะทำให้มีการใช้ทรัพยากรโดยไม่จำเป็น แต่ให้เน้นไปที่การรู้ถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และสามารถนำไปพัฒนาเป็นของจริงได้ในอนาคต
เมื่อได้มีการจำลองโมเดลขึ้น และได้นำไปทดลองใช้ พร้อมทั้งปรับปรุงพัฒนาจุดผิดพลาดที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นโมเดลไฟนอลแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายของ Design Thinking 5 ขั้นตอน ก็คือ การนำไอเดียหรือ Solution ที่ได้มาใช้งานจริงกับกลุ่มเป้าหมายหรือลูกค้าของเรานั่นเอง เพื่อที่จะได้ทราบ Feedback หรือผลลัพธ์จากการใช้งานจริง และนำไปปรับปรุงพัฒนาต่อยอดเรื่อยๆ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ทั้งนี้ แม้ว่ากระบวนการจะจบครบทั้ง 5 ขั้นตอนแล้วก็ตาม แต่ทั้ง 5 ขั้นตอนไม่ได้มีวิธีการเป็นแบบเส้นตรงที่ตายตัว หากในกระบวนการทดสอบการใช้งานแล้วพบเจอกับปัญหาใหม่ๆ หรือยังไม่ตรงกับความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง ก็อาจจะต้องกลับไปที่กระบวนการที่ 1 (ซึ่งจำเป็นมากๆ) 2 หรือ 3 โดยการนิยามปัญหาใหม่ และนำเสนอไอเดียใหม่ สร้างแบบจำลองใหม่ และนำกลับมาทดสอบใหม่อีกครั้ง
ดูเหมือนจะยุ่งยากหลายขั้นตอน และต้องปรับปรุงพัฒนาซ้ำๆ แต่ Design Thinking ก็เป็นแนวคิดที่นิยมนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นวิธีการที่ใช้ได้ผลจริงอีกวิธีการหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมหรือปรับปรุงพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด หากในทีมหรือในองค์กรมี Agile Mindset คือ การไม่ย่อท้อต่อความล้มเหลว ลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็จะต้องสำเร็จเข้าสักครั้งค่ะ
มาดูกันว่า องค์กรที่มีการใช้แนวคิด Design Thinking เพื่อปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ แล้วประสบความสำเร็จ มีองค์กรใดบ้าง ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างเป็นองค์กรระดับโลก 1 แห่ง และองค์กรในไทย 1 แห่ง ดังนี้ค่ะ
บริษัท PepsiCo สามารถเพิ่มยอดขายได้มากถึง 80% ภายในเวลา 12 ปี ด้วยการใช้วิธีคิดแบบ Design Thinking โดยมีแนวคิดมาจาก Mauro Porcini ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Design Officer ของบริษัท ซึ่งกล่าวเอาไว้ว่า “ปัจจุบันผู้คนไม่ได้ซื้อสินค้าอีกต่อไป แต่ผู้บรโภคซื้อประสบการณ์ที่มีความหมายกับตัวเอง และส่วนใหญ่แล้ว ผู้บริโภคซื้อเรื่องราวที่มากับตัวสินค้าต่างหาก” นั่นเป็นที่มาของ Pepsi Spine ตู้กดน้ำหน้าตาเหมือนจอมือถือสมาร์ทโฟนขนาดใหญ่ที่มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยลูกค้าสามารถกดหน้าจอเลือกเครื่องดื่มได้หลากหลายชนิดหลากหลายรสชาติ และยังช่วยแนะนำเครื่องดื่มที่ลูกค้าน่าจะชอบจากประวัติการสั่งซื้อครั้งก่อนๆ ซึ่งเป็นการสร้างนวัตกรรมโดยมีความคิดพื้นฐานมาจากความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลัก
ด้วยกระบวนการคิดแบบ Design Thinking ซึ่งเน้นไปที่ความต้องการของลูกค้าและสามารถแก้ไขให้กับลูกค้าได้ จึงออกผลิตภัณฑ์ บัตร Krungthai Travel Card ที่มีคอนเสปต์คือ “บัตรเดียว จ่ายได้ทั่วโลก” บัตรกดเงินสดเพื่อการท่องเที่ยวในต่างประเทศใบแรกของประเทศไทย ซึ่งสามารถแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าที่จะเดินทางไปต่างประเทศแต่ไม่อยากพกเงินสดในจำนวนมากเพราะเสี่ยงต่อการถูกโขมย และถ้าหากใช้บัตรเครดิตจะไม่ทราบอัตราแลกเปลี่ยน ณ ขณะนั้น ซึ่งมักเป็นอัตราที่สูง ดังนั้น จึงออกผลิตภัณฑ์นี้โดยลูกค้าสามารถใช้บัตร Krungthai Travel Card แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้หลากหลายสกุลเงินในอัตราพิเศษ สามารถใช้รูดชำระค่าสินค้าและบริการ และใช้ถอนเงินสดได้ที่ตู้ ATM ทั่วโลก ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของลุกค้าอย่างแท้จริง และมีลูกค้าติดต่อธนาคารเพื่อสมัครบัตร Krungthai Travel Card มากเป็นประวัติการณ์
อ่านมาจนถึงตรงนี้แล้ว คงมีหลายคนที่พอจะเข้าใจได้ และอีกหลายคนที่ยังไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ว่าจะนำไปใช้ยังไงดี ลองมาดูตัวอย่างกันสักหน่อยดีมั้ยคะ
สิ่งสำคัญในการทำ Design Thinking คือต้องเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ก่อน ไม่จำเป็นต้องแก้ทุกปัญหาพร้อมกัน รับฟังความคิดเห็นของทุกคน พร้อมยอมรับความผิดพลาดและปรับเปลี่ยน ทำซ้ำกระบวนการจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
ลองมาดูตัวอย่างเพิ่มเติมสำหรับการทำงานในองค์กรกันบ้างดีว่า โดยตัวอย่างการใช้ Design Thinking ในการคิดโปรเจคใหม่ โดยสมมติว่าเราต้องการพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการเวลาทำงาน
4. ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) : เลือกไอเดียที่น่าสนใจมาทำต้นแบบ โดยอาจเริ่มจากการวาดหน้าจอแอพอย่างง่ายบนกระดาษ แสดงฟีเจอร์หลักๆ เช่น
5. ขั้นทดสอบ (Test) : นำต้นแบบไปให้พนักงานกลุ่มเล็กๆ ทดลองใช้ สมมติว่าเป็นแอพจริง จากนั้นก็เก็บข้อมูลว่า
จากนั้นนำผลตอบรับมาปรับปรุงต่อ โดย
เมื่อได้แบบที่พอใจแล้ว จึงเริ่มพัฒนาแอพจริง โดยอาจแบ่งการพัฒนาเป็นเฟส เช่น
เฟส 1: ฟีเจอร์พื้นฐานที่จำเป็น
เฟส 2: เพิ่มฟีเจอร์เสริมที่น่าสนใจ
เฟส 3: พัฒนาฟีเจอร์ขั้นสูง
และอย่าลืมว่า ระหว่างการพัฒนาก็ยังต้องรับฟังผู้ใช้งาน และปรับปรุงต่อเนื่อง จนได้แอพที่ตอบโจทย์การใช้งานจริงมากที่สุดค่ะ
อีกสักหนึ่งตัวอย่างนะคะ คราวนี้ลองมาดูการประยุกต์ใช้ Design Thinking ในการทำคอนเทนต์กันบ้าง ตัวอย่างนี้เราขอยกเป็น YouTube แล้วกันค่ะ
2. ขั้นกำหนดปัญหา (Define) : วิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดทิศทางช่อง เช่น “จะทำอย่างไรให้คอนเทนต์มีเอกลักษณ์และน่าติดตาม” | “จะสร้างคุณค่าอะไรให้กับผู้ชม” | “จะทำให้คนดูจนจบและกดติดตามได้อย่างไร” | “จะสร้างรายได้จากช่องทางไหนบ้าง”
3. ขั้นระดมความคิด (Ideate) : คิดรูปแบบรายการ และวิธีการนำเสนอ
4. ขั้นสร้างต้นแบบ (Prototype) : ทำวิดีโอทดลอง
5. ขั้นทดสอบ (Test) : ทดสอบกับผู้ชมจริง
จากนั้นลองสังเกต และปรับปรุงชิ้นงานอย่างต่อเนื่อง โดยอาจแบ่งเป็นแบบนี้ค่ะ
เฟส 1: เน้นคุณภาพเนื้อหา
เฟส 2: สร้างแบรนด์
เฟส 3: ขยายช่องทาง
ข้อแนะนำเพิ่มเติม :
เป็นอย่างไรกันบ้างคะ สำหรับ Design Thinking 5 ขั้นตอน ไม่มีอะไรซับซ้อนเลยใช่ไหม ? และไม่ใช่แค่วงการธุรกิจหรือวงการออกแบบเท่านั้นที่จะสามารถนำเอาแนวคิด Design Thinking ไปใช้ได้ แม้ในชีวิตของเรา เราก็สามารถนำเอา Design Thinking มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน และการดำเนินชีวิตได้เหมือนกัน เป็นการออกแบบชีวิตตัวเองโดยคำนึงถึงความต้องการของตัวเองเป็นหลัก และหาหนทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการคิดนอกกรอบ คิดค้นหลายๆ ไอเดียซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาวิธีคิดใหม่ๆ ไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ และทดลองใช้วิธีการเหล่านั้น ถ้าไม่ได้ผลก็ไม่เป็นไร ก็แค่นำกลับมาพัฒนาปรับปรุงและทดลองใหม่ จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดนั่นเองค่ะ
Inspire Now ! : Design Thinking เป็นแนวคิดที่มีการผสมผสานทั้งวิธีการทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์เข้าด้วยกัน พูดง่ายๆ คือ ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ ใช้ทั้งการทดลอง ทดสอบ และใช้ทั้งจินตนาการ และไม่ได้มีวิธีการตายตัว อย่างที่เน้นย้ำไว้ว่าแนวคิดนี้ คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ และวิธีแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์เป็นสำคัญ และไม่จำกัดไอเดียของตัวเอง สามารถนำเอาไปปรับใช้กับทั้งในเชิงธุรกิจ และในเชิงการใช้ชีวิตได้เช่นเดียวกัน แม้ว่าจะต้องมีการทดลอง ปรับปรุงพัฒนาซ้ำๆ แต่ในที่สุดแล้ว ก็จะได้วิธีการที่ได้ผล |
---|
DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? ลองเอาวิธีการคิดแบบ Design Thinking 5 ขั้นตอน ไปปรับใช้กับตัวเองดูนะคะ ได้ผลอย่างไรบ้าง อย่าลืมมาคอมเมนต์แชร์กับเรากันบ้างนะคะ ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการพัฒนาตัวเองค่ะ ♡
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
เกษียณแล้ว ทำอะไรดี แนะนำ อาชีพหลังเกษียณ พร้อมคำแนะนำในการเลือก ให้คุณได้ใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความสุข และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
ชวนดูวิธี โสดอย่างมีความสุข เอาใจสาวโสดทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ พร้อมแชร์นิยาม โสด หมายถึง อะไร พร้อมวิธีพัฬฒนาตัวเองที่ทำได้จริง