burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ

Burnout คือ อะไร ? ต่างกับ Boreout และ Brownout อย่างไร ? เมื่ออาการหมดไฟ มีเบื้องหลังมากกว่าที่คิด !

Burnout คือ อะไร ? ต่างกับ Boreout และ Brownout อย่างไร ? เมื่ออาการหมดไฟ มีเบื้องหลังมากกว่าที่คิด !

ช่วงหลังๆ มานี้ เราได้ยินคำว่า Burnout หรือภาวะหมดไฟในการทำงานบ่อยขึ้นเรื่อยๆ เพราะหลายๆ คนเกิดความรู้สึกเบื่องาน เหนื่อยหน่ายการทำงานของตัวเอง ไม่อยากตื่นไปทำงานทุกวัน ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน อาจเป็นเพราะทำงานหนักมากเกินไป หรือเนื้องานเป็นงานซ้ำๆ เดิมๆ ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ขาดแรงบันดาลใจ และนำไปสู่การลาออกในที่สุด แต่รู้ไหมคะว่า การเบื่องานนั้นก็มีอยู่หลายระดับ บางคนอาจจะไม่ถึงขั้น Burnout แต่อยู่ในภาวะเบื่องานที่เรียกว่า Boreout หรืออาจอยู่ในภาวะ Brownout ไปเลยก็ได้ แล้ว 3 สิ่งนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร Boreout – Brownout – Burnout คือ อะไร จะแก้ได้ยังไง มาทำความเข้าใจให้มากขึ้นกันเลยค่ะ

Burnout คือ อะไร ต่างจาก Boreout และ Brownout ยังไง ?

burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ
Image Credit : freepik.com

เชื่อว่าหลายๆ คนน่าจะคุ้นเคยกับคำว่า Burnout มากที่สุด ในทางจิตวิทยาแล้ว จะเรียกเต็มๆ ว่า Burnout Syndrome คือภาวะหมดไฟในการทำงาน ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นโรคใหม่จากองค์การอนามัยโลก เป็นโรคที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน หากไม่ได้รับการแก้ไขอาจนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าหรือเกิดโรคที่เกิดจากความเครียดอื่นๆ ตามมาได้ โดยจะแบ่งลักษณะอาการออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ (Emotional Exhaustion) รู้สึกหมดพลัง หมดกำลังใจ หมดแรงจูงใจในการทำงาน
  • มีทัศนคติเชิงลบต่อความสามารถในการทำงานของตนเอง ขาดความมั่นใจ คิดว่าตัวเองไม่ประสบความสำเร็จในงาน สงสัยในคุณค่า/ความสามารถของตัวเอง
  • ประสิทธิภาาพในการทำงานลดลง ความสัมพันธ์ในที่ทำงานเหินห่าง หรือมีความสัมพันธ์ไม่ดีทั้งกับเพื่อนร่วมงานและลูกค้า
Image Not Found

หนังสือพัฒนาตนเอง ใช้ความคิดเอาชนะโชคชะตา (Mindset) วีเลิร์น welearn welearnbook

สัญญาณของอาการ Burnout คืออะไร ?

  • รู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย มีอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง
  • มองโลกในแง่ร้าย 
  • รู้สึกเบื่องานที่ทำอยู่ 
  • ขาดแรงจูงใจในการทำงาน ไม่มีแรงบันดาลใจในการทำงาน
  • อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง 
  • คุณภาพของงานลดลง
  • ทำงานได้ช้าลงกว่าปกติ
  • ความสนใจในเนื้องานของตัวเองลดลง รู้สึกไม่อยากทำงาน 
  • คลื่นไส้ อาเจียน เวียนหัว ปวดท้อง หรือมีอาการทางกายอื่นๆ เมื่อต้องมาทำงาน 
  • ใช้ยา แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดในการแก้ปัญหาจากงาน

ถ้าใครมีอาการดังกล่าวมากกว่า 8 ข้อขึ้นไป เป็นไปได้ว่า กำลังอยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงานอยู่ก็ได้นะคะ

Image Not Found

นายอินทร์ หนังสือ ถึงโมโหก็อย่าสู้กับคนโง่

สาเหตุของการเกิดภาวะ Burnout คืออะไร ?

burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ
Image Credit : freepik.com

ภาวะหมดไฟในการทำงาน อาจเกิดขึ้นได้เมื่อเราต้องทำงานที่ไม่ชอบหรือไม่ถนัด หรือมีภาระงานมากเกินไปจนทำไม่ไหว จำนวนงาน Overload บางคนถูกขอร้องให้ช่วยทำงานอื่นๆ นอกเหนือจากหน้าที่ของตัวเองและไม่รู้วิธีปฏิเสธ หรือต้องทำงานที่ยากภายในเวลาที่จำกัด ทำให้เกิดความเครียดและมีความกดดัน บางคนอาจจะต้องทำงานที่ขาดอำนาจในการตัดสินใจ ต้องทำตามคำสั่งทำให้รู้สึกอึดอัด รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน บางคนอาจไม่ได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ไม่ได้รับความยุติธรรมในที่ทำงาน รู้สึกว่าได้ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสมเมื่อเทียบกับความทุ่มเทในงาน หรืองานที่ทำไม่ได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ไม่รู้สึกว่างานที่ทำอยู่มีคุณค่าหรือมี Value กับตัวเอง สิ่งที่ทำให้เรามีภาวะ Burnout คือ ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้นั่นเองค่ะ

Image Not Found

Amarinbooks หนังสือ ชีวิตเรามีแค่สี่พันสัปดาห์

ชวนรู้จัก Boreout หรือการเบื่องานที่หลายๆ คนกำลังเป็น

ตอนนี้ก็ได้รู้แล้วว่า การหมดไฟในงาน หรือ Burnout คืออะไร แล้ว Boreout คืออะไร ? แตกต่างจากการหมดไฟอย่างไร แค่ชื่อก็บอกแล้วว่าเป็นอาการเบื่องาน ซึ่งมักจะเกิดขึ้นจากการทำงานที่รู้สึกไม่ท้าทาย เนื้องานไม่มีความน่าสนใจเพียงพอ หรือมีปริมาณงานน้อยเกินไป ทำให้เกิดความรู้สึกว่าไม่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองอย่างเต็มที่ ซึ่งแตกต่างจากภาวะ Burnout คือการที่มีปริมาณงานมากเกินไปหรือทำงานหนักจนเกินไป จนเกิดความรู้สึกหมดไฟ หมดแรงจูงใจในการทำงานนั่นเองค่ะ

สัญญาณของอาการ Boreout

  • ไม่อยากมาทำงาน ต้องฝืนตัวเองเพื่อมาทำงาน
  • รู้สึกเบื่อ เซ็ง กับงานที่ทำอยู่ รู้สึกว่างานไม่ท้าทาย ไม่สนุก ไม่อยากทำ
  • รู้สึกว่าตัวเองมีความสามารถสูงกว่างาน
  • ไม่ภาคภูมิใจในงานของตัวเอง
  • รู้สึกว่าตัวเองไม่เหมาะสมกับงาน
  • มีส่วนร่วมในการทำงานกับทีมน้อยลง
  • มองหางานใหม่อยู่ตลอดเวลา
  • ถ้ามีโอกาสลาออกจะลาออกทันที
Image Not Found

หนังสือพัฒนาตนเอง กล้าที่จะถูกเกลียด (嫌われる勇気) วีเลิร์น welearn welearnbook

Brownout คืออะไร ? เมื่อเราไม่ได้หมดไฟ แต่หมดใจกับงาน

burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ
Image Credit : freepik.com

ได้รู้ความหมายของ Boreout และ ฺBurnout กันไปแล้ว มาถึง Brownout กันบ้างค่ะ ถ้าพูดง่ายๆ Brownout คือ รู้สึกหมดใจในงานที่ทำอยู่ เชื่อมั้ยคะว่า Brownout Syndrome คือภาวะที่รุนแรงมากที่สุด และก่อให้เกิดอัตราการลาออกมากที่สุด ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกยืนยันว่า Brownout Syndrome เป็นอาการที่ต้องได้รับการรักษาทางการแพทย์อีกด้วย คนที่อยู่ในภาวะ Brownout คือคนที่ยังมีไฟในการทำงานอยู่ รู้สึกรักและชอบในเนื้องานนั้นๆ แต่มีสาเหตุอื่นๆ นอกเหนือจากเนื้องานที่ทำให้รู้สึกอยากลาออกจากงาน เพื่อไปหาองค์กรใหม่หรือทางเลือกใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์มากกว่า

สำหรับสาเหตุที่หลักๆ ที่ทำให้เกิด Brownout Syndrome คือ พนักงานถูกคาดหวังจากหัวหน้างานสูง หรือถูกคาดหวังจากองค์กร และได้รับความกดดันจากความคาดหวังดังกล่าว ก่อให้เกิดความเครียดและขาดแรงจูงใจในการทำงาน หรืองานนั้นๆ ทำไปแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ และไม่ได้รับการสนับสนุนที่ดีจากที่ทำงาน จึงไม่เข้าใจว่าทำไปเพื่ออะไร อาจเกิดจากการที่องค์กรไม่มีทิศทางในการทำงานที่แน่นอน หรือมีกฎระเบียบเข้มงวดมากเกินไป บางครั้งมีความไม่เท่าเทียมกันในการทำงาน หรือไม่มีความยุติธรรม ต้องทำงานแม้ในวันหยุด ได้รับค่าตอบแทนที่ไม่สอดคล้องกับความทุ่มเทในงาน หรือไม่มีความสัมพันธ์ที่ดีภายในองค์กร เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ทำให้พนักงานรู้สึกหมดใจในการทำงานกับองค์กรนั้นๆ นั่นเองค่ะ

Image Not Found

นายอินทร์ หนังสือ THINK AGAIN คิดแล้ว, คิดอีก

สัญญาณของ Brownout Syndrome

  • ใช้วันลาที่มีอยู่จนหมด เพราะไม่อยากไปทำงาน
  • มาทำงานสายโดยตั้งใจ
  • ขาดงานโดยที่ไม่รู้สึกผิดแต่อย่างใด
  • รู้สึกเฉยชาต่อความกดดันในที่ทำงาน
  • ผัดวันประกันพรุ่ง ตั้งใจค้างงานเอาไว้จนเป็นดินพอกหางหมู 
  • ทิ้งงานโดยเจตนา
  • ความรับผิดชอบในงานลดลง ไม่วางแผนในการทำงาน
  • ทำงานแบไร้ชีวิตจิตใจ ขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน
  • ปลีกตัวจากสังคมในที่ทำงาน หรือมีปัญหาขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน
  • พร้อมลาออกตลอดเวลา
Image Not Found

HUAWEI WATCH GT 3 สมาร์ทวอช | Stylish ID All-day SpO2 Monitoring Durable Battery Life

ผลกระทบของ Boreout – Brownout – Burnout คือ อะไร ?

burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ
Image Credit : freepik.com

ตอนนี้ก็ได้รู้ความหมายของ Burnout – Boreout – Brownout กันไปแล้ว พอจะเห็นภาพแล้วใช่มั้ยคะว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร  ซึ่งทั้ง 3 ภาวะนี้ ก่อให้เกิดการลาออกจากงานด้วยกันทั้งสิ้น นอกจากนี้ Brownout Syndrome และ Burnout Syndrome คือสิ่งที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตของพนักงานได้ด้วย เพราะทำให้พนักงานเกิดความเครียดสะสม ทำให้เกิดความวิตกกังวล มีความทุกข์ใจ ไม่อยากไปทำงาน รู้สึกสับสน ขัดแย้งกับตัวเอง รู้สึกว่าสิ่งที่ทำอยู่ไม่มีคุณค่า ไม่มีความหมายกับตัวเอง บางคนอาจขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงานจนทำให้เกิดภาวะเหนื่อยหน่าย หงุดหงิด โกรธและโมโหอยู่บ่อยๆ ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพกายได้ และอาจทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมาได้ด้วยค่ะ

และนอกจากจะส่งผลต่อตัวพนักงานเองแล้ว ยังส่งผลต่อองค์กรด้วยเช่นกัน เพราะพนักงานที่รู้สึกหมดไฟ – หมดใจบางคนมีความสามารถสูง เป็นฟันเฟืองสำคัญในองค์กรและมีส่วนช่วยทำให้องค์กรเติบโตต่อไปได้ การที่พนักงานลาออกจึงทำให้สูญเสียบุคลากรคนสำคัญไป และต้องเสียทรัพยากรทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการสรรหาพนักงานใหม่ ซึ่งไม่สามารถการันตีได้ว่าจะมีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานในองค์กร หรือเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กรหรือไม่

Image Not Found

Samsung Galaxy Watch 4 40mm (Bluetooth)

Burnout / Boreout / Brownout แก้ไขได้อย่างไร ?

burnout คือ, brownout คือ, burnout syndrome คือ
Image Credit : freepik.com

แม้ว่าการลาออกจากงานจะดูเหมือนเป็นวิธีแก้ปัญหาของภาวะหมดไฟ หมดใจ และภาวะเบื่องาน แต่ก็ใช่ว่าพนักงานทุกคนสามารถลาออกได้ตามต้องการ เพราะแต่ละคนก็มีเงื่อนไขและมีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน สาเหตุของภาวะต่างๆ นั้น อาจสามารถแก้ไขได้และทำให้พนักงานอยู่ในองค์กรต่อไป และมีความสุขกับการทำงานมากขึ้น มีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ถ้ารู้สึกเบื่องาน หมดใจ หรือหมดไฟในการทำงาน วิธีแก้ จะทำได้อย่างไร มาดูกันเลยค่ะ

  1. มองหาสิ่งที่ชอบในงาน : งานที่เราทำอยู่อาจก่อให้เกิดความรู้สึกเบื่อหน่าย ถ้ายังไม่สามารถเปลี่ยนงานได้ ลองมองหาความสนุกหรือความชอบในงานนั้นๆ ดู เช่น หากเป็นนักเขียนก็มองหาความสนุกในการเขียนเล่าเรื่อง ถ้าเป็นครีเอทีฟก็อาจจะมองหาความสนุกจากการหาแรงบันดาลใจใหม่ๆ อย่างการเสพงานอื่นๆ เป็นต้น อาจช่วยให้เรามีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้นได้ 
  2. ออกปากขอความช่วยเหลือ : ในกรณีที่มีภาระงานมากเกินไปและรู้ตัวว่าไม่สามารถทำได้ทันในเวลาที่กำหนด ให้ออกปากขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน หรือเพื่อมร่วมทีม เพื่อเป็นการกระจายงานและแบ่งเบาภาระงานของตนเอง หรือปรึกษาพูดคุยกับหัวหน้างานตรงๆ ว่าไม่สามารถทำงานได้ทั้งหมด รู้สึกว่ามีภาระงานมากเกินไป หรือรู้สึกไม่ยุติธรรมในการทำงาน จะได้ช่วยกันหาวิธีแก้ไข และไม่ทำให้เรารู้สึกเครียด กดดัน จนขาดแรงจูงใจในการทำงานได้ 
  3. มองหาความท้าทายใหม่ๆ : ในกรณีที่มีภาวะ Boreout หรือเบื่องานตัวเอง อาจจะต้องพูดคุยกับหัวหน้าตรงๆ ว่าเนื้องานที่ทำอยู่ไม่ตอบโจทย์ สามารถเปลี่ยนไปทำตำแหน่งอื่นๆ หรือมีงานอื่นๆ นอกเหนือจากขอบเขตงานของเราให้ลองเรียนรู้ใหม่หรือไม่ หรือขอไปฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับตัวเอง ซึ่งเป็นผลดีกับองค์กรเองด้วย 
  4. ให้รางวัลกับตัวเอง : ถ้ารู้สึกไม่อยากทำงานในแต่ละวัน ลองตั้งเป้าหมายในแต่ละวันว่าทำงานเสร็จแล้วจะให้รางวัลตัวเองอย่างไรบ้าง อาจไม่ได้เป็นสิ่งของหรือของมีค่าอะไร แต่เป็นสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข เช่น การได้กินของอร่อยๆ การได้กินกาแฟที่ชอบ หรือการได้ดูซีรี่ส์หลังเลิกงาน เป็นต้น จะช่วยให้เราทำงานได้เสร็จตามที่ได้มอบหมาย และมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น
  5. สานสัมพันธ์กับคนที่ทำงาน : บางครั้งปัญหาในการทำงานที่ทำให้เรารู้สึกเหนื่อยหน่ายหรือรู้สึกหมดไฟ – หมดใจ อาจเกิดจากความสัมพันธ์ที่ไม่ดีในที่ทำงาน ทำให้ไม่อยากไปทำงาน หรือพาให้รู้สึกเบื่อที่ทำงาน ลองสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานดูบ้าง อาจช่วยให้เรารู้สึกสบายใจในที่ทำงานมากขึ้นได้ เช่น เอาขนมเล็กๆ น้อยๆ ไปฝากคนในที่ทำงาน ออกไปกินข้าวกลางวันด้วยกัน ถามไถ่สารทุกข์สุขดิบกัน หรือช่วยเหลือเพื่อนร่วมงานเล็กๆ น้อยๆ อาจทำให้ความสัมพันธ์ในที่ทำงานดีขึ้น และทำให้เราได้รับการสนับสนุนในที่ทำงานมากขึ้น ก่อให้เกิดความสุขความสบายใจในการทำงานมากขึ้นนั่นเองค่ะ  
  6. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ : ภาวะ Burnout Syndrome  และ Brownout Syndrome อาจส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้ เพราะทำให้เกิดความเครียดเรื้อรัง ก่อให้เกิดอาการเหนื่อยล้าสะสม เกิดความวิตกกังวล กระวนกระวายใจ ไม่สบายใจ บางคนอาจมีปัญหาในการนอนหลับร่วมด้วย หรือนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอเพราะทำงานหนักจนเกินไป มีอาการนอนหลับไม่สนิท ฝันร้าย เป็นต้น การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างนักจิตวิทยา นักจิตวิทยาองค์กร หรือฝ่ายบุคคลในองค์กร อาจช่วยแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
Image Not Found

Amazon Kindle Paperwhite 13Month Warranty Gen 11 – 2021

Inspire Now ! : ภาวะเบื่องาน หมดไฟ หรือหมดใจ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดความรู้สึกว่างานไม่เหมาะสมกับตัวเอง หรือการทำงานในแต่ละวันนั้นก่อให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้เกิดความเครียดความวิตกกังวลเรื้อรัง และไม่มีความสุขกับการทำงาน ซึ่งเราสามารถแก้ไขภาวะต่างๆ เหล่านี้ได้ด้วยการหาสาเหตุที่แท้จริงว่า เราไม่มีความสุขกับการทำงานเพราะอะไร เป็นเพราะเนื้องาน เพราะคนในองค์กร หรือเพราะระบบการทำงานในองค์กร หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ถ้าเรารู้สาเหตุที่แท้จริง และลงมือแก้ไขปัญหานั้นๆ ก็จะทำให้เรามีความสุขกับการทำงานมากขึ้น หรือทำงานได้อย่างสบายใจมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องลาออกก็ได้นะคะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? มีใครเคยประสบกับภาวะต่างๆ เหล่านี้บ้างมั้ยคะ ? แล้วมีวิธีแก้ไขอย่างไร มาคอมเมนต์แชร์กันได้นะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : matichonweekly.com, malaymail.com, mentalhealth-uk.org, helpguide.org

Featured Image Credit : freepik.com/lookstudio

Facebook Comments

ฝันอยากเดินทางท่องโลกให้ได้มากที่สุด สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับจิตวิทยา รักการอ่านหนังสือ ชอบถ่ายรูป หลงใหลแมวและกาแฟ