20 เพลงความหมายดีๆ สากล – ไทย ช่วยโอบกอดใจเบาๆ เติมพลังบวกให้มีชีวิตชีวาอีกครั้ง !
ชวนฟัง 20 เพลงความหมายดีๆ ทั้งสากล และไทย ที่จะช่วยปลอบประโลมใจ เติมพลังบวกในวันที่เหนื่อยล้า และทำให้ใจอบอุ่นขึ้นได้ในทุกครั้งที่เปิดฟัง
เป็นที่รู้กันดีว่านมแม่นั้นมีประโยชน์ต่อเด็กแรกเกิดมากมายเพียงใด แต่ในปัจจุบันคุณแม่สมัยใหม่หลายๆ คนก็ไม่สามารถอยู่บ้านเลี้ยงลูกได้ตลอดเพราะต้องออกไปทำงานนอกบ้านด้วย ในช่วงเวลาที่ไม่สามารถให้นมลูกได้จึงจำเป็นจะต้องปั๊มนมเก็บไว้เพื่อสำหรับป้อนลูกน้อยในเวลาที่แม่ๆ ไม่อยู่บ้าน ทั้งนี้หากเก็บรักษานมไม่ถูกวิธีก็อาจจะทำให้น้ำนมแม่สูญเสียคุณประโยชน์ได้ แต่คุณแม่มือใหม่ไม่ต้องกังวลไป เรามีวิธี การเก็บรักษานมแม่ ให้คงคุณค่าไว้ได้มากที่สุดมาฝากกันค่ะ
เด็กทารกตั้งแต่แรกเกิดไปจนถึงอายุ 6 เดือนควรได้กินนมแม่เป็นหลักเพียงอย่างเดียวและควรกินต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 2 ปี เพราะในเด็กทารกยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่สมบูรณ์มากพอ การได้รับนมแม่จึงมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยทำให้เด็กเติบโตได้ตามวัยและมีสุขภาพแข็งแรง ก่อนที่จะไปพูดถึงวิธีเก็บรักษานมแม่ เรามาดูประโยชน์ของนมแม่กันก่อนดีกว่าค่ะ
หลายคนอาจมีความกังวลว่านมที่ปั๊มเตรียมไว้อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูก แล้วควรเตรียมนมไว้เท่าไหร่จึงจะมั่นใจได้ว่ามีนมแม่สำรองมากพอแล้ว ? ตามปกติเด็กทารกต้องได้รับนมแม่ประมาณ 1 ออนซ์ (30 มิลลิลิตร) ต่อ 1 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าหากต้องออกไปทำงานทั้งวันการเก็บรักษานมแม่ก็ควรเตรียมนมไว้ให้ได้ประมาณ 10 – 12 ออนซ์ต่อวัน หรือประมาณ 300 – 360 มิลลิลิตร แต่ถ้ามีช่วงเวลาการทำงานนานมากกว่านั้นก็อาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม หลังจากกลับจากการทำงานหรือกลับมาถึงบ้านแล้วก็ต้องปั๊มนมและเก็บนมแม่คืนให้ได้เท่าเดิมเพื่อเตรียมสำหรับวันถัดไป ทั้งนี้คุณแม่ควรกระตุ้นน้ำนมให้ได้ประมาณนี้ไปจนกว่าลูกจะอายุถึง 1 ขวบ แล้วค่อยๆ ลดปริมาณลงเมื่อเด็กสามารถกินอาหารชนิดอื่นๆ ได้เพิ่มมากขึ้น
[affegg id=4221]
เหล่าคุณแม่ย่อมรู้กันดีว่ากว่าจะได้น้ำนมสักหนึ่งหยดนั้นยากแค่ไหน แต่ถ้าไม่รู้จักการเก็บรักษานมแม่ด้วยวิธีที่ถูกต้องก็จะทำให้น้ำนมเหล่านั้นบูดเสียได้ วิธีการสังเกตว่านมที่เก็บไว้ยังใช้ได้หรือไม่ควรสังเกตจากกลิ่นและรสชาติเพราะไม่สามารถรับรู้ได้จากสีน้ำนมแม่ หากน้ำนมแม่มีกลิ่นเหม็นเปรี้ยวและมีรสชาติเปรี้ยวผิดปกติก็ควรทิ้งในทันทีและไม่ควรให้ลูกกินเพราะอาจทำให้เด็กท้องเสียได้ แต่ถ้านมมีเพียงแค่กลิ่นเหม็นหืนก็ยังสามารถกินได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากกลิ่นเหม็นหืนนั้นเกิดจาก เอมไซม์ไลเปส (Lipase) ที่อยู่ในน้ำนมแม่ ซึ่งทำหน้าที่ย่อยไขมันให้เป็นอนุภาคเล็ก แต่ถ้ามีมากเกินไปก็จะทำให้น้ำนมที่เก็บไว้มีกลิ่นเหม็นหืนได้
สิ่งแรกสุดที่ควรคำนึงถึงในการเก็บรักษานมแม่คือการเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมสำหรับเก็บน้ำนม เช่น ถุงสุญญากาศหรือถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ และควรเลือกเป็นเกรดโรงพยาบาลหรือมีมาตรฐานความปลอดภัยรองรับ มีฝาปิดแน่นหนาไม่รั่วซึม ไม่ชำรุดเสียหาย และไม่ควรเลือกเป็นวัสดุรีไซเคิลที่ผ่านการใช้งานมาแล้ว เพราะอาจปนเปื้อนได้
เมื่อปั๊มนมใส่ถุงหรือใส่ขวดเสร็จแล้ว นมแม่สามารถอยู่ในห้องแอร์อุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาได้ไม่เกิน 4 ชั่วโมง หลังจากนั้นต้องเก็บเข้าตู้เย็นทันที โดยไม่ควรเก็บที่ฝาประตูตู้เย็นเพราะจะทำให้อุณหภูมิไม่คงที่และทำให้นมบูดเสียได้ ซึ่งอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับการเก็บนมแม่มีดังนี้
เมื่อปั๊มนมใส่ภาชนะบรรจุแล้วควรเขียนวันและเวลาที่ปั๊มลงบนถุงให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการลำดับหยิบใช้ โดยควรเลือกเป็นหมึกที่กันน้ำและกันความชื้นเพื่อไม่ให้เลือนหายไปในขณะแช่เย็น และต้องระวังอย่าให้หมึกซึมเข้าถึงน้ำนมได้เป็นอันขาด
[affegg id=4222]
ควรนำน้ำนมแม่ที่เก็บรักษาไว้ในช่องแช่แข็งเปลี่ยนมาแช่ในช่องแช่เย็นธรรมดาก่อนประมาณ 12 ชั่วโมง จากนั้นจึงนำมาตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องไม่เกิน 2 ชั่วโมงก่อนที่จะป้อนนมให้เด็ก สำหรับนมแช่แข็งที่นำมาละลายแล้วควรใช้ให้หมดภายใน 24 ชั่วโมงและห้ามนำกลับไปแช่แข็งใหม่ ส่วนนมที่อยู่ในช่องแช่เย็นธรรมดาหรืออุณหภูมิห้องนั้นสามารถป้อนให้เด็กได้เลย เพราะเด็กทารกสามารถกินนมที่เย็นได้ แต่ถ้าต้องการอุ่นนมให้ใช้วิธีแช่น้ำนมแม่ทั้งขวดหรือถุงในน้ำอุ่นที่อุณหภูมิไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส และห้ามอุ่นบนเตาหรือนำเข้าไมโครเวฟ เพราะอาจจะเสียคุณค่าทางอาหารได้ค่ะ
คุณแม่ตั้งครรภ์มือใหม่ควรเตรียมพร้อมสำหรับการให้นมลูกไว้ให้ดี เพราะการให้ลูกกินนมแม่ตั้งแต่แรกเกิดนั้นมีความสำคัญอย่างมาก นอกจากจะทำให้ลูกน้อยมีพัฒนาการที่แข็งแรงสมบูรณ์แล้ว ยังเป็นการเชื่อมสายใยความสัมพันธ์ระหว่างแม่ลูกด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากคุณแม่ไม่สะดวกที่จะให้นมจากเต้าได้ตลอดเวลาก็สามารถใช้วิธีเก็บรักษานมแม่ที่เราเอามาฝากกันได้นะคะ จะได้มีนมไว้ให้ลูกกินไปยาวๆ เลยค่ะ
[affegg id=4223]
Inspire Now ! : นมแม่ถือเป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก วิธีการเก็บรักษานมแม่อย่างถูกต้องนั้น จะช่วยให้ลูกน้อยของเรามีนมกินได้ไม่ขาดและทำให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิต้านทานโรคและเติบโตตามเกณฑ์ ทั้งนี้ วิธีการป้อนนมลูกนั้นก่อนที่จะป้อนนมลูกไม่ควรเขย่าขวดนม เพราะอาจทำให้เม็ดเลือดขาวในนมแม่แยกชั้นกันได้ ซึ่งจะส่งผลทำให้คุณภาพของน้ำนมแม่ลดลง แต่สามารถแกว่งขวดนมไปมาเบาๆ ได้ เพื่อให้น้ำนมมีความเข้ากันมากขึ้น |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันพร้อมที่จะเป็นคุณแม่ใช่ไหม ? การปั๊มน้ำนมแต่ละหยดไม่ใช่เรื่องง่ายเลยแต่แม่ก็สามารถอดทนได้เพื่อลูก หากคุณแม่ท่านไหนมีเคล็ดลับอื่นๆ ในการเก็บรักษานมแม่เพิ่มเติม ก็สามารถพูดคุยคอมเมนต์แชร์กันได้นะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : parents.com, pharmacy.mahidol.ac.th, healthychildren.org, cdc.gov
Featured Image Credit : vecteezy.com/pilin petunyia
ชวนฟัง 20 เพลงความหมายดีๆ ทั้งสากล และไทย ที่จะช่วยปลอบประโลมใจ เติมพลังบวกในวันที่เหนื่อยล้า และทำให้ใจอบอุ่นขึ้นได้ในทุกครั้งที่เปิดฟัง
ตามไปรู้จักกับ กล้วยไม้ ความหมาย ที่สะท้อนความงามและความลึกซึ้งในวัฒนธรรมเกาหลี ตะวันตก และไทย จากแรงบันดาลใจในซีรีส์ Little Women กัน
เช็คเลย ค่าที่จอดรถ Central World และห้างดังในกรุงเทพฯ เพื่อประหยัดเวลาและเงินในการเดินทาง วางแผนล่วงหน้าให้ทุกทริปสะดวกและคุ้มค่ามากขึ้น(อัพเดตครบที่สุด 2025)