Agile Mindset คือแนวคิดที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นและการปรับตัวในการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับการเรียนรู้จากประสบการณ์และการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง แนวคิดนี้ส่งเสริมให้ทีมงานกล้าทดลองสิ่งใหม่ๆ ยอมรับความผิดพลาดว่าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ และมุ่งเน้นการสร้างคุณค่าให้กับลูกค้าเป็นสำคัญ การมีMindset นี้จะช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ทำให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และในบทความนี้ DIYINSPIRENOW จะพาไปเข้าใจเรื่องนี้เพื่อปรับใช้ในชิวิตจริงกันค่ะ
Agile Mindset คือ อะไร ? ช่วยพัฒนาตัวเรา พัฒนางานเราได้อย่างไรบ้าง ?
Image Credit : freepik.com
ในยุคที่ชีวิตเต็มไปด้วยความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว การนำ Agile Mindset มาปรับใช้ในชีวิตส่วนตัวนั้นสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง ไม่ต่างจากการที่เราต้องปรับตัวและรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ในการทำงาน การมองชีวิตด้วยแนวคิดแบบ Agile จะช่วยให้เรารู้จักแบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นก้าวย่อยๆ พร้อมเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองจากผลลัพธ์ที่ได้ในแต่ละขั้น แทนที่จะยึดติดกับแผนการที่วางไว้อย่างตายตัว ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและมีความสุขกับการเติบโตในแบบที่ยืดหยุ่นมากขึ้น
หนังสือ Find your Why คู่มือค้นหา “ทำไม” ที่แท้จริงของคุณ
Agile Mindset คืออะไร ?
Agile Mindset คือ ชุดความคิดและทัศนคติที่เน้นการปรับตัว ยืดหยุ่น และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง แทนที่จะยึดติดกับแผนหรือวิธีการเดิมๆ คนที่มี Mindset แบบนี้จะมองว่าความผิดพลาดและความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเรียนรู้และพัฒนา พร้อมที่จะทดลองสิ่งใหม่ๆ และปรับเปลี่ยนแนวทางเมื่อพบว่าวิธีเดิมไม่ได้ผลดีที่สุด
หัวใจสำคัญของ Agile Mindset ประกอบด้วยการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานเป็นทีมที่เน้นการสื่อสารและความร่วมมือ การแบ่งงานใหญ่เป็นชิ้นเล็กๆ ที่จัดการได้ และการพร้อมรับฟีดแบค (feedback) เพื่อปรับปรุงอยู่เสมอ แนวคิดนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่การพัฒนาซอฟต์แวร์ แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับการทำงานในทุกด้านและชีวิตส่วนตัว
สำหรับในการทำงาน วิธีคิดแบบนี้จะช่วยให้ทีมและองค์กรสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดและความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่ในชีวิตส่วนตัว มันจะช่วยให้เรารับมือกับความท้าทายต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยไม่ยึดติดกับแผนการที่วางไว้จนเกินไป และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในที่สุด
Image Credit : freepik.com
ฝึกแล้วได้อะไร ?
การพัฒนา Agile Mindset เป็นทักษะสำคัญที่จะช่วยให้เราประสบความสำเร็จในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเช่นปัจจุบัน เมื่อเราฝึกฝน และพัฒนา Mindset นี้อย่างต่อเนื่อง เราจะได้อะไร ลองมาดูกันค่ะ
- ความยืดหยุ่นและการปรับตัว : เราจะสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงได้ดีขึ้น มองเห็นโอกาสในทุกสถานการณ์ และพร้อมที่จะปรับเปลี่ยนแผนงานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
- การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง : เรามองความผิดพลาดเป็นบทเรียนและโอกาสในการพัฒนา กล้าที่จะทดลองวิธีการใหม่ๆ และนำผลลัพธ์ที่ได้มาปรับปรุงการทำงานอย่างสม่ำเสมอ
- การทำงานเป็นทีมที่ดีขึ้น : เราจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่เปิดกว้างและตรงไปตรงมามากขึ้น เน้นการทำงานร่วมกันแบบข้ามสายงาน และสร้างบรรยากาศการทำงานที่เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
- การส่งมอบคุณค่า : เราจะมุ่งเน้นการสร้างผลงานที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้จริง โดยเน้นการส่งมอบงานที่มีคุณค่าอย่างต่อเนื่อง แทนที่จะรอให้ทุกอย่างสมบูรณ์แบบก่อนส่งมอบ
- ประสิทธิภาพในการทำงาน : เราจะสามารถจัดลำดับความสำคัญของงานได้ดีขึ้น ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- ความเป็นผู้นำที่ดีขึ้น : เราจะพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำที่รู้จักรับฟัง เปิดโอกาสให้ทีมได้แสดงศักยภาพ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเติบโตของทีมงาน
การพัฒนา Agile Mindset ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน แต่ต้องอาศัยการฝึกฝนและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง คุณอาจเริ่มต้นจากการเลือกพัฒนาด้านที่คุณสนใจหรือเห็นว่าสำคัญที่สุดสำหรับคุณก่อนก็ได้ค่ะ
จะฝึก Agile Mindset ต้องทำยังไง ?
การฝึก Agile Mindset สามารถเริ่มได้จากการปรับเปลี่ยนมุมมองและพฤติกรรมทีละน้อย ลองมาดูขั้นตอนกันนะคะ
ขั้นที่ 1 : สร้างความเข้าใจใหม่เกี่ยวกับความล้มเหลว
- ฝึกมองความผิดพลาดเป็นโอกาสในการเรียนรู้
- จดบันทึกบทเรียนจากความผิดพลาดทุกครั้ง
- ถามตัวเองว่า “จากสิ่งที่เกิดขึ้น เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง?”
ขั้นที่ 2 : แบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นก้าวย่อยๆ
- เมื่อมีเป้าหมาย ให้แบ่งออกเป็นขั้นตอนเล็กๆ ที่ทำได้จริง
- กำหนดระยะเวลาสั้นๆ สำหรับแต่ละขั้น เช่น 1-2 สัปดาห์
- เริ่มลงมือทำทันทีโดยไม่รอให้แผนสมบูรณ์แบบ
ขั้นที่ 3 : ฝึกการรับ และให้ฟีดแบ็ค
- ขอความเห็นจากคนรอบข้างอย่างสม่ำเสมอ
- รับฟังโดยไม่ปกป้องตัวเอง
- นำฟีดแบ็คมาปรับปรุงในรอบถัดไป
ขั้นที่ 4 : ฝึกการยืดหยุ่นของแผนงาน ไม่ยึดติดกับวิธีเดิมๆ
- ทบทวนความคืบหน้าทุกสัปดาห์
- พร้อมปรับเปลี่ยนแผนเมื่อสถานการณ์เปลี่ยน
- ไม่ยึดติดกับวิธีการเดิมๆ หากพบว่าไม่ได้ผล
ขั้นที่ 5 : สร้างวงจรการเรียนรู้ และพัฒนา
- ตั้งเป้าหมายระยะสั้น
- ลงมือทำ
- ประเมินผล
- ปรับปรุง
- เริ่มวงจรใหม่
สิ่งสำคัญคือต้องเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ก่อน เช่น การจัดการงานประจำวัน หรือโปรเจ็กต์ส่วนตัวขนาดเล็ก แล้วค่อยๆ ขยายไปสู่เรื่องที่ใหญ่ขึ้น การฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ Agile Mindset ค่อยๆ ฝังลึกเข้าไปในวิธีคิด และการทำงานของเราอย่างเป็นธรรมชาติ
Bewell โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า โต๊ะทำงานเพื่อสุขภาพ มอเตอร์ 2 ตัว ปรับความสูงได้ 4 ระดับ รับประกัน 5 ปี
Image Credit : freepik.com
Agile Mindset ตัวอย่าง การฝึกกับการทำงาน
สถานการณ์ : ทีมของคุณได้รับมอบหมายให้พัฒนาแอปพลิเคชันตัวใหม่สำหรับลูกค้า
ขั้นตอนการฝึก :
- เริ่มจากการแบ่งงานใหญ่เป็นชิ้นเล็กๆ แทนที่จะวางแผนทั้งโครงการในครั้งเดียว ให้แบ่งเป็นฟีเจอร์ย่อยๆ เช่น แบ่งเป็น ระบบล็อกอิน, หน้าโปรไฟล์ผู้ใช้, ระบบค้นหา
- ตั้งเป้าหมายระยะสั้น เช่น กำหนดว่าใน 2 สัปดาห์นี้จะทำฟีเจอร์ไหนให้เสร็จ โฟกัสทำทีละส่วน ไม่ต้องกังวลเรื่องงานในอนาคตมากเกินไป
- รับฟีดแบ็คบ่อยๆ ทุกสัปดาห์ให้นำงานที่ทำไปให้ลูกค้าดู ถามความเห็นทีมงานทุกวันว่าติดปัญหาอะไรไหม แล้วปรับแผนตามฟีดแบคที่ได้รับทันที
- ยอมรับการเปลี่ยนแปลง หากลูกค้าขอเปลี่ยนฟีเจอร์ ให้มองว่าเป็นโอกาสพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดีขึ้น และไม่ยึดติดกับแผนเดิม พร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์
- เรียนรู้จากความผิดพลาด หลังจบแต่ละช่วงงาน ให้ประชุมทีมพูดคุยว่าอะไรทำได้ดี อะไรควรปรับปรุง แล้วนำบทเรียนไปใช้ในงานช่วงต่อไป
- สื่อสารแบบเปิดกว้าง โดยจัดประชุมทีมสั้นๆ ทุกเช้า แชร์ความคืบหน้า และปัญหา ใครเจอปัญหาให้บอกทันที ไม่ต้องรอให้ปัญหาลุกลาม
ตัวอย่างการฝึกกับในชีวิตส่วนตัว
สถานการณ์ : ตั้งเป้าพัฒนาภาษาอังกฤษของตัวเอง เพื่อใช้ในการทำงานและชีวิตประจำวัน
ขั้นตอนการฝึก :
- แบ่งเป้าหมายใหญ่เป็นชิ้นเล็กๆ แทนที่จะตั้งเป้า “พูดภาษาอังกฤษให้เก่ง” ซึ่งวัดผลยาก ให้แบ่งเป็นฝึกฟัง ฝึกพูด ฝึกอ่าน ฝึกเขียน แยกเป็นทักษะย่อยๆ
- ตั้งเป้าหมายระยะสั้นที่วัดผลได้ เช่น สัปดาห์นี้จะดูซีรีส์ภาษาอังกฤษไม่เปิดซับ 1 ตอนต่อวัน ฝึกพูดกับตัวเองในกระจก 15 นาทีทุกเช้า หรืออ่านบทความภาษาอังกฤษ 1 บทความต่อวัน
- ทดลองและปรับเปลี่ยน ลองวิธีการเรียนหลายๆ แบบ เช่น แอพเรียนภาษา ดูยูทูป จับคู่สนทนา แล้วสังเกตว่าวิธีไหนได้ผลดีกับตัวเอง ถ้าวิธีไหนไม่เวิร์ค ก็เปลี่ยนวิธีใหม่ ไม่ยึดติด
- เก็บข้อมูลและประเมินผล เช่น จดบันทึกคำศัพท์ใหม่ที่เรียนรู้ทุกวัน อัดเสียงตัวเองพูดทุกเดือน เพื่อดูพัฒนาการ ทำแบบทดสอบเล็กๆ เพื่อวัดความก้าวหน้า
- ยืดหยุ่นในแต่สถานการณ์ เช่น วันไหนเหนื่อยมาก อาจเปลี่ยนจากฝึกพูดเป็นดูซีรีส์แทน ถ้ามีโอกาสคุยกับชาวต่างชาติ ก็ฉวยโอกาสฝึกทันที โดยปรับตารางเรียนให้เข้ากับชีวิตประจำวัน
- เรียนรู้จากความผิดพลาด ถึงจะพูดผิดไวยากรณ์ก็ไม่เป็นไร จดไว้แล้วแก้ไขในครั้งหน้า ออกเสียงผิด ก็ถือเป็นโอกาสได้เรียนรู้ เพราะทุกความผิดพลาดคือบทเรียน ไม่ใช่ความล้มเหลว
Image Credit : freepik.com
คำแนะนำอื่นๆ ในการฝึก Agile Mindset
การฝึกพัฒนาวิธีคิดของเรานั้น ต้องอาศัยความต่อเนื่อง ฝึกบ่อยๆ ใช้บ่อยๆ เพราะแค่เข้าใจอย่างเดียว อาจไม่สามารถเปลี่ยนวิธีคิดของเราได้ ลองมาดูคำแนะนำกันนะคะ
- ฝึกการตั้งคำถามกับสิ่งที่เป็นอยู่เสมอ (Question the Status Quo) : แทนที่จะยอมรับว่า “เราทำแบบนี้มาตลอด” ลองถามตัวเองว่า “มีวิธีที่ดีกว่านี้ไหม?” หรือ “ทำไมเราถึงทำแบบนี้?” การตั้งคำถามจะช่วยให้เรามองเห็นโอกาสในการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลง
- มองความล้มเหลวเป็นข้อมูล : เมื่อเกิดความผิดพลาด แทนที่จะรู้สึกแย่ ให้มองว่านี่คือข้อมูลที่มีค่า ลองวิเคราะห์ว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง และจะปรับปรุงอย่างไรในครั้งต่อไป
- ฝึกทำงานแบบ T-shaped skills : คือการมีความเชี่ยวชาญลึกในด้านหลักของตัวเอง (แนวตั้งของตัว T) พร้อมกับมีความรู้พื้นฐานในด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (แนวนอนของตัว T) ซึ่งจะช่วยให้เราทำงานข้ามสายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สร้างวินัยในการทำ Retrospective ส่วนตัว : ลองจัดเวลาทุกสัปดาห์เพื่อทบทวนว่าสิ่งไหนที่เราทำได้ดี สิ่งไหนที่ควรปรับปรุง และวางแผนการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง
- ฝึกการรับฟังอย่างตื่นตัว (Active Listening) : ในการประชุมหรือพูดคุยกับทีม พยายามฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ด่วนตัดสินหรือคิดคำตอบ เพื่อเข้าใจมุมมองของผู้อื่นอย่างแท้จริง
เก้าอี้ญี่ปุ่น ปรับได้ 6 ระดับ
Inspire Now ! : “เริ่มเล็ก ทำบ่อย ปรับเร็ว” คือหัวใจหลักของ Agile Mindset ที่คุณสามารถนำไปใช้ได้ทันที แบ่งงานเป็นนเป้าหมายย่อยๆ ฝึกตั้งคำถาม รับฟีดแบค และปรับให้เร็ว “ทำน้อยที่สุดที่จะพิสูจน์ได้ว่าใช่หรือไม่” แทนที่จะทุ่มเททำทั้งหมดแล้วค่อยมาดูผล ใช้ได้ไม่ว่าจะกับงานที่คุณทำอยู่ หรือเป็นเรื่องส่วนตัวที่คุณอยากพัฒนา แล้วคุณจะพบว่า ทั้งประสิทธิภาพในการทำงาน และบรรยากาศในการทำงานร่วมกับทีมจะดีขึ้นจริงๆ ค่ะ |
---|
DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าใช่ไหม ? ใครที่กำลังหาวิธีพัฒนาตนเอง สามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปฝึกกันได้นะคะ นอกจากจะส่งผลกับตัวเองแล้ว ยังส่งผลต่อเพื่อนในทีมและองค์กรของเราด้วย ได้ผลยังไง แวะมาคอมเมนต์แชร์กับเรากันด้วยนะคะ ♡