มีระเบียบวินัย สำคัญแค่ไหน ? รู้จัก Self Discipline ฝึกให้เป็นนิสัยจะทำอะไรก็สำเร็จ !
ชวนรู้จัก self discipline ว่าคืออะไร พร้อมวิธีการฝึกให้มีระเบียบวินัยในตัวเอง ฝึกแล้วได้อะไร ฝึกแล้วดีกับชีวิตแค่ไหน มาเรียนรู้แล้วฝึกไปด้วยกัน
เคยไหมคะ พอถึงวันที่ต้องไปทำงานทีไรรู้สึกห่อเหี่ยวใจทุกที ไม่รู้ว่าต้องทำตัวแบบไหน แสดงออกยังไงให้เพื่อนร่วมงานชอบ เรียนรู้ How to มามากแค่ไหน อ่านหนังสือพัฒนาตัวเองมากเท่าไร ก็ยังทำตัวไม่ถูกอยู่ดี จนบางทีอาจส่งผลให้งานที่ทำออกมาไม่ดีไปด้วย DIYINSPIRENOW เราจึงได้รวบรวม สุภาษิตนิสัยคน มาเป็นเครื่องเตือนใจให้ทุกคนได้เรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมได้อย่างเหมาะสม และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข เพราะบางทีอาจไม่ใช่ที่เค้า แต่การที่เราเจอปัญหา ไม่มีความสุข นั่นเพราะปัญหาที่แท้จริงอาจมาจากที่ตัวเราก็เป็นได้ เอาหล่ะ ไปดูกันเลยค่ะ
ปกติคนเรามักจะชี้ออกไปหาคนอื่นเมื่อเราพบเจอกับปัญหา หงุดหงิดใจ ใช่มั้ยหล่ะคะ และบ่อยครั้งที่เราเป็นแบบนี้ มันก็จะสร้างนิสัยโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว ไม่รู้ตัวว่าเป็นเพราะเราเองที่ควรแก้ไข ไม่รู้ว่าเป็นเพราะเรานี่แหละที่ทำให้ตัวเองเป็นทุกข์ เราลองมาดูสุภาษิตนิสัยคน เอาไว้เตือนใจทั้งตัวเรา และเอาไว้ฝึกใจในการมองคนอื่นเพื่อร่วมงาน ร่วมสังคมกันได้อย่างมีความสุขกันค่ะ
สุภาษิตแรกที่เราจะมาแชร์กันเป็นสุภาษิตนิสัยคนที่หลายคนคงเคยได้ยินหรือคุ้นหูกันเป็นอย่างดี เคยไหมคะกับการเจอคนที่ชอบติเตียน คอยว่าแต่คนอื่นอาจจะด้วยความหวังดีหรือด้วยความไม่รู้ตัว แต่ตัวเองก็ไม่ได้ดีไปกว่าคนอื่นสักเท่าไร ว่าแต่คนอื่นแต่ไม่มองตัวเอง สุภาษิตไทยจึงเรียกว่า “ว่าแต่เขา อิเหนาเป็นเอง” นั่นเองค่ะ
ขวานผ่าซาก หมายถึง พูดจาตรงๆ แบบไม่เกรงใจใคร จริงๆ แล้วการพูดจาตรงไปตรงมาถือเป็นสิ่งที่ดีนะคะ แต่ต้องดูเรื่องของสถานการณ์ กับกาละเทศะด้วย ไม่ใช่ว่าคิดอยากจะพูดก็พูด ถ้าอยากจะพูดตรงๆ ควรพูดด้วยใจที่มีเมตตา ไม่ใช่ใจที่คิดอยากจะเอาชนะ ซึ่งการพูดด้วยใจที่ขุ่นมัว อยากจะทำร้ายฝ่ายตรงข้ามด้วยวาจา แบบนี้แหละค่ะที่เรียกว่าขวานผ่าซาก นั่นจะทำให้คนฟังรู้สึกแย่ ความสัมพันธ์ในการร่วมงานแย่ลอง ดังนั้นการมีทักษะทางสังคมในการเคารพและให้เกียรติผู้อื่นก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การทำงานราบรื่นไม่ทำร้ายกันค่ะ
หมายถึง ผู้ที่พูดจาอ่อนหวาน แต่ไม่ได้มีความจริงใจอยู่ในคำพูดนั้น ซึ่งการทำงานที่จะทำให้เรามีความสุขและยั่งยืนได้ต้องเริ่มจากการมอบความจริงใจให้กัน เห็นด้วยมั้ยคะ ?
หมายถึง การทำดีเพียงผิวเผิน ทำดีเพื่อเอาหน้า หรือทำให้จบๆ ไปทั้งที่งานยังไม่เสร็จเรียบร้อย การเป็นคนที่ทำงานแบบผักชีโรยหน้าถือว่าเป็นสิ่งที่ด้อยค่าความสามารถตัวเอง ซึ่งใครที่ทำงานไม่ทัน แล้วต้องผักชีโรยหน้าบ่อยๆ ลองจัดสรรเวลาด้วยเทคนิค pomodoro ดูนะคะ เพราะการวางแผนการทำงานให้ชัดเจน จะช่วยให้งานออกมาสำเร็จลุล่วง ได้ประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเองค่ะ
สุภาษิตนิสัยคนนี้หมายถึง การพูดพล่อยๆ ไปเรื่อยโดยไม่ยั้งคิด สุดท้ายตนเองก็ได้รับอันตรายจากคำพูดนั้น ซึ่งในวงสังคม ในวงที่เราทำงาน เราก็มักจะเห็นว่ามีสักคนที่เป็นแบบนี้ ซึ่งหากเราอยากจะช่วยเค้า เมื่อเรารู้แล้วว่าเค้าเป็นคนแบบนี้ ทางแก้ก็คือการยอมรับเค้าก่อนค่ะว่าเป็นคนแบบนี้ แล้วไม่ด่าทอ ไม่ซ้ำเติม แต่ค่อยๆ หาวิธีแก้ปัญหา ค่อยๆ เตือนเค้า เพื่อพัฒนาทั้งเค้าและเราไปพร้อมๆ กัน
ยกตนข่มท่านเป็นการพูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า เป็นอีกหนึ่งสุภาษิตนิสัยคนที่ทำให้ให้เราได้เห็นนิสัยคนที่ชอบเหยียบย่ำผู้อื่นเพื่อให้ตนเองได้ไปอยู่ในจุดที่ประสบความสำเร็จ ขาดซึ่งความเคารพให้เกียรติ ไม่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมื่อเรารู้แล้ว เราก็อย่าลืมสังเกตตัวเอง ก่อนไปโทษคนอื่นด้วยนะคะ
ประโยคนี้แสดงให้เราเห็นถึงนิสัยคนที่ชอบว่าแต่คนอื่นไม่มองตัวเอง สุภาษิตไทยนี้หมายถึง ผู้ที่ทำผิดพลาดเอง แต่ดันไปโยนความผิดให้คนอื่น ทางที่ดีเมื่อเราผิดพลาดควรที่จะมองย้อนกลับมาที่ตนเอง แสดงความรับผิดชอบถึงสิ่งที่ได้ทำผิดพลาดไป และพร้อมที่จะแก้ไขทุกอย่างให้ดีขึ้น
หมายถึง การทำความดีมีความซื่อตรง ไม่ต้องคอยระแวงใคร แต่หากคดโกงไม่สุจริต สักวันจะเดือดร้อนเมื่อความจริงถูกเปิดเผย เพราะฉะนั้นในการทำงานก็เช่นกัน เราควรมีความซื่อตรง ไม่ควรคดโกงทุจริตเพื่อความเจริญรุ่งเรืองที่ยั่งยืนค่ะ
อยู่ดีไม่ว่าดี ไปหาเรื่องเดือดร้อนใส่ตัว คือความหมายของสุภาษิตที่ว่า แกว่งเท้าหาเสี้ยนค่ะ ขยายความได้ว่า เรามีน้ำใจให้กับเพื่อนร่วมงานได้ในการช่วยเค้าพัฒนาเค้าให้งานราบรื่นขึ้นไป แต่ไม่ควรที่จะไปหาเรื่อง ขุดคุ้ยที่มันไม่ใช่เรื่องของเรา เพราะนั่นจะเป็นการนำภัยมาสู่ตัวเองได้ ดังคำกล่าวที่ว่าเราไม่ควรยุ่งเรื่องของคนอื่นมากเกินไป เราควรรู้จักตัวเราให้มากกว่าเรื่องของคนอื่น
หมายถึงทำตัวเข้ากับทั้งสองฝ่ายที่เขาไม่ถูกกัน โดยหวังประโยชน์เพื่อตัวเอง เป็นสุภาษิตนิสัยคนที่เราอาจเคยเจอในการทำงาน หรือเป็นตัวเราเองที่เคยทำไปโดยที่ไม่รู้ตัว ทางที่ดีในสังคมการทำงานเราควรที่จะตั้งตนอยู่บนความถูกต้องมากกว่าที่จะมาหวังผลประโยชน์ชั่วคราว
สุภาษิตนี้หมายถึง การทำหรือคาดหวังอะไรสองอย่างพร้อมๆ กัน โดยไม่คำนึงถึงความสามารถของตนเอง สำหรับการทำงานให้ดีและมีประสิทธิภาพ เราควรมีการประเมินศักยภาพความสามารถของตนเองไม่ทำอะไรที่เกินตัวเกินไป จนทำให้งานที่ทำออกมาไม่ดีเท่าที่ควรค่ะ
ฉวยเอาผลประโยชน์ของผู้อื่น โดยตัวเองไม่ได้มีการลงทุนลงแรง เป็นความหมายของสุภาษิตนิสัยคนที่แสดงให้เห็นถึงความเห็นแก่ตัวจากการนำผลงานหรือความคิดของผู้อื่นมาเป็นของตนเองโดยที่ไม่ได้ทำการขออนุญาตเจ้าของผลงานก่อนนั่นเองค่ะ
หมายถึง ต่างคนต่างอารมณ์ร้อน ไม่มีใครยอมใคร เป็นการว่าแต่คนอื่นไม่มองตัวเอง สุภาษิตนี้แสดงให้เห็นถึงข้อเสียของการใช้อารมณ์นำทาง มากกว่าที่จะใช้เหตุผล จนอาจทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดีค่ะ
หมายถึง ผู้ที่โลเล ไม่แน่นอน สำหรับการทำงานนิสัยโลเล ไม่มีความแน่นอนถือเป็นนิสัยที่ต้องแก้ไข เพราะในการทำงานต้องมีความจริงจัง กล้าคิด กล้าตัดสินใจที่แน่นอน
สุภาษิตนี้หมายถึง ผู้ที่มีความเพียรพยายาม ทำทุกสิ่งให้สุดความสามารถ จนกลายเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จ ซึ่งการพัฒนาตัวเองไปสู่ความสำเร็จได้ ต้องเริ่มจากการมีแรงบันดาลใจในชีวิต ผ่านการให้กำลังใจตัวเอง เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ พร้อมที่จะก้าวข้ามความกลัว เพียงเท่านี้เราก็สามารถพัฒนาตัวเองให้ไปสู่ความสำเร็จได้ไม่ยากค่ะ
Inspire Now ! : การเรียนรู้สุภาษิตนิสัยคนช่วยให้เรามองเห็นนิสัยของตัวเอง และได้เรียนรู้ที่จะเข้าใจนิสัยของผู้อื่นมากขึ้น หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้ทุกคนประสบความสำเร็จกับการสร้างทักษะทางสังคมในการทำงานนะคะ ยิ้มเยอะๆ คิดบวกเข้าไว้ เราเชื่อว่าทุกอย่างจะผ่านไปด้วยดีอย่างแน่นอนค่ะ |
---|
DIYINSPIRENOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าใช่ไหม ? ใครที่นำสุภาษิตนิสัยคนไปปรับใช้ในที่ทำงานแล้ว ได้ผลยังไงอย่าลืมมาคอมเมนต์บอกกันด้วยนะคะ ♡
ชวนรู้จัก self discipline ว่าคืออะไร พร้อมวิธีการฝึกให้มีระเบียบวินัยในตัวเอง ฝึกแล้วได้อะไร ฝึกแล้วดีกับชีวิตแค่ไหน มาเรียนรู้แล้วฝึกไปด้วยกัน
ชวนฟังเสียงในใจของคุณแล้ว เป็นตัวของตัวเอง กับ 10 วิธีช่วยให้คุณเป็นตัวเองได้มากขึ้น มาดูกันว่าปรับแล้วชีวิตของคุณจะมีความสุขเพิ่มขึ้นได้ยังไงกันบ้าง
ชวนเข้าใจ MBTI คืออะไร มีอะไรบ้าง บุคลิกภาพแบบเราทำงานยังไง เหมาะกับอาชีพแบบไหน มาเข้าใจตัวเรา และคนรอบข้างเพื่อความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นกัน