กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเอง, รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้หรือไม่ ?! รักษายังไง รักษาเองได้มั้ย มารู้จักโรคนี้กัน !

หนึ่งในอาการของสุขภาพที่ชาวออฟฟิศทั้งหลายต้องระวัง คือออฟฟิศซินโดรม ที่จะส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยตามร่างกาย ทั้งบ่า คอ หลัง และไหล่ สาเหตุจากการปวดกล้ามเนื้อมัดที่ใช้งานซ้ำๆ เป็นเวลานาน รวมถึงอาการชาที่บริเวณแขนหรือมือ จากการที่เส้นประสาทส่วนปลายถูกกดทับอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาการเหล่านี้นั้น หากเกิดขึ้นเป็นประจำให้ระวังว่าอาจไม่ใช่แค่ออฟฟิศซินโดรม แต่เสี่ยงกับอาการที่ร้ายแรงกว่าคือ เป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งโรคนี้นั้นสามารถรักษาได้ และการ รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเองหรือไม่ เรามาหาคำตอบนี้ไปพร้อมๆ กันค่ะ

รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท รักษาได้ ไม่ต้องกังวล

กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเอง, รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

Image Credit : huffmanclinic.com

เราคงเคยได้ยินอาการที่ว่า ปวดหลังร้าวลงขา กันมาบ้างใช่ไหมคะ ซึ่งอาการที่ว่านี่หล่ะ ที่เสี่ยงต่อการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในบางคนอาจมีการปวดหลัง สะโพก และร้าวลงขาไปจนถึงน่องหรือหลังเท้าข้างใดข้างหนึ่ง และส่งผลให้เกิดอาการปวดอย่างรุนแรง ยิ่งหากว่ามีอาการชาบริเวณปลายเท้าร่วมด้วยนั้นควรรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการตรวจและวินิจฉัยต่อไป เนื่องจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น จะพบได้แน่ชัดจากการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ คือ MRI ร่วมกับการ X-ray กระดูกสันหลังในท่าทางต่างๆ เพื่อวินิจฉัยโรคให้ถูกต้องแม่นยำ และแพทย์จะได้วางแผนการรักษาที่ถูกต้อง เพราะการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น มีด้วยกันหลายวิธี

[affegg id=3661]

วิธีรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเอง, รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

Image Credit : docduben.com

การรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้น สามารถทำได้หลายวิธี ตามแต่อาการที่แพทย์วินิจฉัย หากมีอาการไม่มากและเพิ่งเริ่มเป็น กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเอง โดยแพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยการลดน้ำหนักก่อน และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการเพิ่มขึ้น เช่น การยกของหนัก การนั่งรถยนต์เป็นเวลานาน การนั่งทำงานด้วยท่าเดิมนานๆ เป็นต้น แต่หากว่ามีอาการมาระยะหนึ่งแล้วนั้น แพทย์จะพิจารณาการรักษาดังนี้

  1. รักษาด้วยการใช้ยาต้านการอักเสบ NSAIDS, ยาคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งมีโอกาสที่จะหายได้
  2. รักษาด้วยการทำกายภาพบำบัดในผู้ที่มีอาการไม่มาก และใช้เสื้อพยุงหลังเพื่อช่วยในการลดอาการปวด และทำให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติเร็วขึ้น เพราะการใส่เสื้อพยุงหลังนั้น จะทำให้หน้าท้องกระชับขึ้นและจะช่วยลดแรงดันในหมอนรองกระดูกสันหลังได้
  3. แต่หากการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาททั้งสองวิธียังไม่ได้ผล แพทย์จะใช้การฉีดยาประเภทสเตียรอยด์ร่วมกับยาชาเข้าโพรงไขสันหลัง หรือฉีดเข้าไปในตำแหน่งที่ใกล้กับเส้นประสาทสาเหตุของการปวด
  4. และหากอาการปวดหลังรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ แพทย์จะใช้วิธีการรักษาด้วยการผ่าตัด โดยมี 2 วิธี ดังนี้
      • การผ่าตัดผ่านกล้องขนาดเล็ก Endoscopic discectomy เหมาะสำหรับกรณีที่หมอนรองกระดูกยังไม่แตก และปูดออกมาทับเส้นประสาท โดยเป็นการตัดหมอนรองกระดูกส่วนที่ทับเส้นประสาทออกไป
      • การผ่าตัดผ่านกล้อง Microscope สำหรับกรณีที่มีการแตกของกระดูก โดยสามารถตัดหมอนรองกระดูกส่วนที่กดทับเส้นประสาทออกไป

ซึ่งการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัดนั้น จะใช้ในกรณีที่มีอาการปวดมากจนทนไม่ไหว ที่รักษาด้วยการกินยา หรือทำกายภาพบำบัดแล้วยังไม่ดีขึ้น ไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ รวมถึงคนที่มีอาการชา และอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ และมีปัญหาระบบขับถ่ายผิดปกติชัดเจน

[affegg id=3662]

สาเหตุของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

กระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเอง, รักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

Image Credit : advancedspineandpain.co

สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้นั้น หลักๆ เลยคือ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน และพบได้บ่อยที่สุดในกลุ่มวัยทำงาน รวมถึงในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีสาเหตุมาจากความเสื่อมของร่างกาย เพื่อการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่นำไปสู่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท และเป็นแนวทางการดูแลผู้สูงอายุได้นั้น ควรระวังดังต่อไปนี้

  1. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป จะส่งผลให้หลังต้องรับน้ำหนักมาก ทำให้กระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักตลอดเวลา และหมอนรองกระดูกมีโอกาสแตกหรือปลิ้นได้ ดังนั้น ไม่ควรปล่อยให้มีน้ำหนักตัวเยอะจนเกินไป ซึ่งการลดน้ำหนักนั้นจัดว่าเป็นแนวทางของกระดูกทับเส้นรักษาได้ด้วยตัวเองเช่นกัน
  2. แบกของหนักเป็นประจำ อาจทำให้หลังต้องใช้งานหนักเกินไป และเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุที่กล้ามเนื้อหลังได้ จนทำให้กระดูกบิดและเคลื่อน
  3. ไม่ออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยชะลอความเสื่อมของหมอนรองกระดูกบริเวณสันหลัง และยังช่วยให้กล้ามเนื้อหลังมีความแข็งแรง ควรออกกำลังกายเบาๆ ไม่หนักจนเกินไป จะได้ไม่เสี่ยงกับอาการบาดเจ็บ และหากขาดการออกกำลังกาย กล้ามเนื้อจะลีบ ฝ่อ และมีโอกาสที่หมอนรองกระดูจะบาดเจ็บได้
  4. ท่านั่งทำงานผิดท่า โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศที่ต้องนั่งทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน หรือนั่งแบบหลังงอไม่พิงพนัก ก้มคอบ่อยๆ อาจเสี่ยงต่อการเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้มากยิ่งขึ้น เพราะฉะนั้น ควรเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานบ้าง นั่งจัดท่าให้ถูกวิธี และควรพักผ่อนให้เพียงพอ
  5. ใส่รองเท้าส้นสูงเป็นประจำ สาวๆ คงคิดไม่ถึงว่ารองเท้าส้นสูงคู่สวยของคุณ หากใส่ที่สูงจนเกินไปเป็นประจำ อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังที่เกิดจากความผิดปกติของแนวกระดูกสันหลังได้

[affegg id=3663]

นอกจากนี้ ความเสื่อมตามวัยก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยง ด้วยเพราะอายุที่มากขึ้น อวัยวะต่างๆ ก็ย่อมเสื่อมลงตามกาลเวลา จึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้เช่นกัน ดังนั้น หากมีอาการที่น่าสงสัยควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัย และหาแนวทางในการรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้ถูกวิธีต่อไป สามารถเข้ารับการตรวจและรักษาได้เลยที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน โดยค่าใช้จ่ายในการรักษานั้น ขึ้นอยู่กับแนวทางการรักษาและแต่ละโรงพยาบาลอีกด้วย ซึ่งนอกจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทแล้วนั้น หากใครที่มีกระดูกสันหลังคด รักษาได้เช่นเดียวกันค่ะ

Inspire Now ! : สำหรับคนที่มีอาการปวดมาก และรักษาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยการผ่าตัด หลังจากทำการผ่าตัดแล้ว บางรายแพทย์อาจให้ใส่อุปกรณ์พยุงกระดูกสันหลังเอาไว้ก่อน ประมาณ 1-2 เดือนหลังการผ่าตัด และเพื่อให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แนะนำให้เดินออกกำลังกายจะช่วยยืดกล้ามเนื้อได้ โดยสวมรองเท้าที่มีส้นนุ่มรองรับการกระแทกขณะเดิน และหลีกเลี่ยงการก้มตัว หรือแอ่นหลังมากๆ ไม่ยกหรือแบกของที่หนักจนเกินไป ไม่เอื้อมหยิบของในที่สูง และงดเว้นการเล่นกีฬารวมถึงการขับรถยนต์ด้วยค่ะ เพื่อให้กระดูกสันหลังกลับมาฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นใช่ไหม ? สุขภาพร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ สาวๆ อย่าลืมดูแลตัวเองกันด้วยนะคะ

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : nonthavej.co.thphyathai.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW