ทักษะการฟัง สำคัญแค่ไหน ? ฝึกยังไงให้ฟังได้อย่างมีคุณภาพ ?!
ทักษะการฟัง หมายถึง อะไร มีความสำคัญยังไง มีแล้วดียังไง ชวนฝึกฟัง ไม่ใช่แค่ได้ยิน ฟังเก่งแล้วชีวิตดีขึ้นได้ยังไง มาทำความเข้าใจ แล้วฝึกไปด้วยกัน
สวัสดีเดือนแห่งความสัมพันธ์ทั้งตรุษจีน และวาเลนไทน์ เดือนที่อยากจะชวนทุกคนเข้าใจตัวเอง และดูแลความสัมพันธ์ให้เก่งขึ้นด้วยการพูดคุยเรื่อง Outward Mindset กับอาจารย์ผู้สอน Outward Mindset แห่ง SEAC เรามีโอกาสได้เรียน Outward Mindset ที่นี่ตั้งแต่ปลายปี 2019 และทดลองฝึกใช้มาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ฝึกใช้แล้วรู้สึกเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิต และเรียกว่าการเรียน mindset ที่นี่เป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจให้เราได้จัดทำเว็บ DIYINSPIRENOW เพื่อแชร์วิธีคิด แรงบันดาลใจผ่านคอนเทนต์ในหลากหลายหมวดหมู่ค่ะ และเนื่องในเดือนแห่งความรัก ความสัมพันธ์แบบนี้ก็เลยได้รับโอกาสจาก อ.ภิญ มาช่วยขยายความเรื่อง Outward Mindset ด้วยความตั้งใจที่อยากให้ผู้อ่านได้นำไปปรับใช้ เพื่อให้ชีวิตได้มองเห็นความสุขมากขึ้นในทุกๆ วันค่ะ
ก่อนจะไปเข้าใจเรื่อง Outward Mindset ผ่านประสบการณ์ และการขยายความของอาจารย์ภิญ ขอเกริ่นเพื่อให้ทุกคนได้พอเข้าใจเรื่องวิธีคิดแบบ Inward กันก่อนค่ะ Inward Mindset คือ กรอบความคิดที่มุ่งเน้นแต่ผลลัพธ์ของ “ตัวฉัน” เองเป็นสำคัญ เป็นวิธีคิดที่มองว่าผู้อื่นเป็นตัวนำพาให้เราไปสู่ผลลัพธ์ที่เราตั้งเป้าหมายเอาไว้ หรือเป็นอุปสรรคที่ฉุดรั้งตัวเราเอาไว้นั่นเอง ซึ่งจะต่างจาก Outward Mindset ที่ไม่เพียงเน้นแต่ตัวเรา แต่ยังเน้นที่ตัวเค้าไปพร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดประโยชน์ที่ win-win กันทั้งสองฝ่ายอีกด้วย เอาหล่ะค่ะ พอจะเห็นภาพรวม เห็นคอนเซปต์ของทั้ง Inward และ Outward กันแล้ว ตามมาเข้าใจตัวเอง รู้จัก Outward Mindset ให้ชัดเจนขึ้นกว่าเดิมกับอาจารย์ภิญกันเลยดีกว่าค่ะ
“ภิญญาพัชญ์ เสรีวิริยะกุล ชื่อเล่นว่า ภิญ นะคะ ปัจจุบันเป็น Senior Expert Consultant ที่บริษัท SEAC ค่ะ”
“ย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2016 ค่ะ น่าจะประมาณ 8 ปีที่แล้ว ที่ภิญเข้ามาทำงานที่นี่ ได้รับการแจ้งว่าเราจะมีพาร์ทเนอร์ใหม่ชื่อ The Arbinger Institute เค้าทำเรื่องเกี่ยวกับ Mindset Outward Mindset ภิญถูกส่งไปเรียนที่สิงคโปร์ก่อน เพื่อไปดูว่าคืออะไร เพื่อไป certified กับ master หลังจากนั้นก็เชิญ master มาที่ไทย เพื่อเทรนให้กับพวกเรามากขึ้น แล้วก็ได้หนังสือมาอ่าน พออ่านเสร็จปุ๊ป สนุกมากเลยค่ะ เพราะว่าหนังสือเค้ามันเป็น story ทำให้ระหว่างที่เราอ่านมันเข้าใจสิ่งที่เราเรียนในคลาสมากขึ้น จริงๆ มันใกล้ตัวมากกว่าที่คิด เพราะจังหวะแรกที่ไปเรียนที่สิงคโปร์ ไม่ได้คิดถึงตัวเองนะคะ ว่าจะต้องเปลี่ยน คิดถึงทุกคนในชีวิตที่ผ่านมา ว่าแต่ละคนมีปัญหายังไง คือเราไม่เข้าใจเลยว่ามันคืออะไร คือภิญก็บอกคนในคลาสเสมอว่า ภิญไม่ได้เข้าใจ Outward Mindset ตั้งแต่ day 1 เข้าใจผิดด้วยซ้ำ แล้วก็ต้องเรียนถึง 5 รอบ กว่าจะเข้าใจมากขึ้น แต่การเข้าใจที่จะมาปรับใช้ได้จริงๆ ใช้เวลาหลายปีค่ะ”
อยากให้ช่วยนิยามคำว่า Outward Mindset แบบสั้นๆ ให้เราเข้าใจหน่อยค่ะ
“Outward Mindset ก็คือ ให้มองไกลกว่าตัวเอง แปลว่าเวลาที่เราปฏิสัมพันธ์กับใครก็ตาม ในความสัมพันธ์น่ะค่ะ เราให้คุณค่ามากกว่าตัวเราเองด้วยนะ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านกับครอบครัว ที่ทำงาน กับหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน หรือว่ากับลูกค้า หรือแม้กระทั่งในที่สาธารณะ เช่น เราขึ้นรถสาธารณะ ไปในร้านอาหารสาธารณะ หรือใช้ห้องน้ำสาธารณะ อย่างนี้ เป็นต้น เวลาที่เรามองไกลกว่าตัวเอง เราจะมองเห็นความสำคัญของเค้า พอๆ กับของเราด้วย ดังนั้น Outward Mindset จึงทำให้เราแคร์คน เอาใจเค้ามาใส่ใจเรา ถ้ายึดหลักธรรมะ มันก็เหมือนกับ มีพรหมวิหาร 4 เมตตาคนอื่นได้ด้วย ไม่ได้เห็นเฉพาะสิ่งที่เราต้องการเพียงฝ่ายเดียว”
อาจารย์ภิญเล่าว่า เธอมีพี่น้อง 3 คน เป็นลูกสาวคนโตในครอบครัวคนจีน ด้วยความเป็นครอบครัวใหญ่คุณพ่อ และคุณแม่ของอาจารย์จึงไม่ได้รับโอกาสในการศึกษาเท่าที่ควร “ฝั่งคุณพ่อเป็นครอบครัวใหญ่ คุณพ่อเป็นลูกคนที่ 6 ในบรรดาพี่น้อง 13 คน คุณแม่เป็นลูกคนเล็กสุดในบรรดาพี่น้อง 4 คน เป็นครอบครัวคนจึนทั้งคู่ ดังนั้น ฝั่งพ่อกับแม่ ไม่ได้โอกาสในการรับการศึกษา คือได้เข้าเรียนประถมแต่ถูกขอให้ออกกลางคันเพื่อมาช่วยที่บ้าน เนื่องจากว่าคุณพ่อเป็นลูกคนต้นๆ แต่ตั้งแต่น้องชายคุณพ่อลงไป ได้โอกาสเรียนจนจบจนรับปริญญา เป็นหมอเป็นทนายกันไป คุณแม่เป็นลูกสาวในครอบครัวคนจีน ยิ่งไม่ได้ถูกส่งเสริมเลย ก็เรียนแค่การเขียนพู่กันจีน พูดจีนได้ พูดไทยได้ ”
เธอเล่าต่อว่า ด้วยความที่สมัยคุณพ่อ คุณแม่ไม่ค่อยได้รับโอกาสทางการศึกษาเท่าที่ควรพอคลอดลูกคนแรกจึงตั้งความคาดหวังกับลูกสาวคนแรกไว้มาก “คือเป็น อาตั่วเจ้ ต้องช่วยงานบ้าน พ่อแม่ไม่ได้มีการศึกษาสูง คุณพ่อทำงานเป็นหลงจู๊ ก็คือช่วยเถ้าแก่โรงงานผ้า ตระเวณขายผ้าที่สำเพ็ง แล้วก็คุณแม่ก็เป็นแม่บ้านเลย พี่สาวกับพี่เขยมีกิจการค้าขายอยู่ที่สำเพ็ง เพราะฉะนั้นบ้านภิญก็จะอยู่โซนเยาวราช อยู่ไชน่าทาวน์มาตั้งแต่เกิด ใน 10 ขวบปีแรก ชีวิตภิญจะค่อนข้างดูแลตัวเองมาตั้งแต่เด็ก ตัดสินใจเอง เลือกเรียนเอง ทำการบ้านเอง ไปถึงโรงเรียนก็ไปช่วยคุณครู ครูก็เอ็นดู ด้วยความที่ตั้งใจเรียน ก็เลยเป็นที่จับตามองว่าจะต้องสอบได้ที่ 1 ที่บ้านก็เริ่มตั้งเงื่อนไข ว่าถ้าสอบได้ที่ 1 จะมีของรางวัลให้ เพราะงั้นเราก็เลยถูกเทรนให้แข่งกับตัวเองมาตลอดตั้งแต่เล็ก ต้องสอบได้ที่ 1 ต้องช่วยที่บ้าน ต้องดูแลน้อง แล้วก็ติดปัญหาอะไรปรึกษาพ่อแม่เรื่องเรียนไม่ได้ ก็ต้องเข้าหาครู ก็เลยเป็นที่รักของครู ช่วง 10 ขวบปีแรกยังไม่ได้มีความฝัน มีแต่การตั้งคำถาม เกิดมาทำไม รู้สึกว่าเหนื่อย”
“ภิญ ไม่ได้เรียน ม.ปลายนะคะ ภิญเรียน ACC Assumption Commercial College ก็คือสายคอมเมิร์ซเลย เรียนพิมพ์ดีด ชวเลข การตลาด บัญชี บริหาร พวกนี้น่ะค่ะ ก็เป็นสายที่สมัยก่อน ปวช. ปวส. ได้รับความนิยม แต่ ACC เค้าโดดเด่นทางด้าน ปวช. ที่เป็นภาษาอังกฤษ ทุกอย่างเรียนเป็นภาษาอังกฤษ มีวิชาภาษาอังกฤษหลายตัว เราก็สังเกตตัวเองว่าเราชอบ มันสนุกดี แล้วด้วยความที่อยู่เยาวราช ชุมชนที่อยู่ก็เรียกว่าเป็นแฟลต ข้างๆ ห้องจะมีครูพิเศษมาสอนภาษาอังกฤษทุกเย็น เราไม่ได้ไปเรียนนะ แต่เราอยู่ข้างๆ ดังนั้นเราจะได้ยินเด็กๆ ที่มาเรียนท่องกริยาสามช่องทุกวัน แล้วด้วยความที่เราอยู่ทุกวันก็คือซึมซับแล้วท่องไปได้เอง เราก็เลยไปโรงเรียนแล้วเราก็ทำได้ แล้วเราก็รู้สึกว่า ภูมิใจในตัวเอง และชอบวิชาภาษาอังกฤษมาตั้งแต่เด็ก ครูที่สอนก็สอนดี ใจดี เราก็รู้สึกว่าถ้าเรามีภาษาที่สอง มันจะช่วยให้เรามีโอกาส เพิ่มโอกาสในอาชีพเยอะขึ้น เรียนสายคอมเมิร์ซมา 3 ปี แล้วตามธรรมเนียม เด็ก ACC ต้องไปต่อ ABAC ก็เลยไปสอบ แล้วสอบติด ชีวิตของภิญ 10 ปี ที่สองก็คือจะเป็นสายคอมเมิร์ซ สายอาชีพ แล้วพอเข้า ABAC ปุ๊ปก็เข้าบริหารเลย แต่เป็นช่วงวัยรุ่นที่หลงทางเยอะมาก ก็คือเราไม่รู้ว่าเราเลือกถูกมั้ย เพราะเราไม่ได้เลือกด้วยตัวเราเอง เราได้รับคำแนะนำว่าเลือกแบบนี้สิ ถ้าชอบภาษาอังกฤษ แต่พอไปเรียนจริงๆ suffer เหมือนกัน เพราะเรียนเทอมนึง 18 วิชา แล้วเป็นภาษาอังกฤษหมด ต้องปรับตัวเยอะมาก แต่ก็เป็นช่วงที่ดี เพราะภิญได้ไปค่ายอาสาพัฒนาชนบท ได้พึ่งพาตัวเองเยอะขึ้น ได้รับโอกาสให้เป็นรองหัวหน้าห้อง เพราะงั้นเราก็เลยได้ develop ความเป็นผู้นำตัวเองขึ้นมา”
อาจารย์เล่าต่อว่า ตอนนั้นไม่รู้ว่าตัวเองชอบหรือไม่ชอบอะไร แต่ก็พยายามหาว่าชอบอะไรจริงๆ จนได้เจอกับครูสอนพิเศษวิชาบัญชี และการสอนของครูท่านนี้ได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนทางความคิด “การเรียนรู้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน การเรียนรู้อยู่ตรงไหนก็ได้ ดังนั้นพอภิญลองไปใช้เวลาช่วงเย็น เรียนวิชาที่ภิญไม่เก็ตเลย เรื่องยาก กลายเป็นเรื่องง่าย แค่เจอครูที่ใช่ เพราะครูคนนี้เปลี่ยนมุมมองของหลักการสอน แกเข้าใจว่าเด็กไม่เก็ตหรอก แต่แกใช้มือ เช่น เดบิตคือ แล้วแกก็อธิบายแบบภาษาง่ายมาก เครดิตคือ เงินออกจากบัญชี แล้วกลายเป็นว่าการสอนของแกมันทำให้เราจำว่าสองข้างต้องสมดุลกันนั่นเรียกว่า บาลานซ์ชีท แล้วเวลาเราไปทำข้อสอบ เราตีโจทย์ออก เราสอบได้ แล้วเราก็ได้ร้อยคะแนนเต็ม แล้วเราก็ไปบอกเพื่อนว่ามันง่ายนะ ไปเรียนสิ เพื่อนก็บอกว่าไม่ว่าง แกมาติวให้หน่อยสิ นั่นคือจุดเริ่มต้นของการเริ่มติวให้เพื่อน โดยไม่รู้เลยว่าอนาคตเราจะมีอาชีพนี้ แล้วพอภิญเปิดติวแบบติวเดี่ยวก็จะมีเพื่อนมาขอเรียนเพิ่มขึ้นกลายเป็นว่าบนโต๊ะติวเป็นกลุ่มใหญ่มาก มันก็เลยทำให้ภิญรู้สึกว่า จริงๆ แล้ว ไม่ใช่ว่าครูไม่เก่ง แต่ครูแต่ละคนมีวิธีการสอนที่ไม่เหมือนกัน แล้วนักเรียนแต่ละคนก็มีวิธีการเรียนรู้ที่ไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ได้มีคนที่ฉลาดหรือโง่กว่าใคร แต่กลายเป็นว่า มันทำให้เรารู้ว่าตัวเราเองอยากได้อะไร เราต้องพยายาม”
นอกจากจุดเปลี่ยนทางความคิดเมื่อตอนที่เรียนพิเศษแล้ว อาจารย์เล่าต่อว่า ยังมีช่วงที่หลงทางอีกช่วงหนึ่งตอนที่ต้องเลือกเมเจอร์ในมหาวิทยาลัย อาจารย์ภิญเล่าว่าตอนแรกเลือกเรียนการตลาดเพราะมีแต่คนบอกว่าจบมายังไงก็มีงานทำ และเห็นว่ารุ่นพี่ได้ทำงานบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ แต่สาขาการตลาดรายงานเยอะมากจนกลัวว่าจะทำเกรดได้ไม่ดี จึงปรึกษาเพื่อนและย้ายมาเรียนสาขาไฟแนนซ์แทน เนื่องจากคิดว่าเป็นยุคที่เรื่องของที่ดินรุ่งเรือง และส่วนตัวก็ชอบเรียนการเงิน แต่กลายเป็นว่าจบมาในปี 2544 ที่เค้าปิด 58 finances
“ช่วงวัยทีนมันเป็นอะไรที่แบบพลิกผันมากในหลายๆ ways เราต้องดีดตัวเองออกจาก comfort zone ขึ้นไปใน unknown ที่เราไม่รู้ว่าจะเจออะไร เช่น ไปค่ายพัฒนาชนบท ที่ต้องนั่งรถแบบดินแดงๆ แล้วก็ต้องไปอยู่ในอาคารเรียนที่ไม่มีแอร์ อยู่ในมุ้ง ซึ่งเราก็ไม่เคยนอนมุ้ง ต้องไปอยู่รอบกองไฟ ก่ออิฐฉาบปูนซึ่งไม่เคยทำ มันทำให้เราได้เรียนรู้โลกภายนอกในระดับนึง ซึ่งเป็นช่วงชีวิต 3 ปี ที่มีความสุขมาก ส่วนตอนมหาลัย 4 ปี ก็รู้สึกว่าเราแยกตัวเองออกมาจากบ้านไปอยู่หอ”
นอกจากเรื่องการเลือกสายเรียนในมหาวิทยาลัยแล้ว อาจารย์ภิญเล่าว่า เหตุการณ์สำคัญที่ทำให้อาจารย์โตขึ้นแบบก้าวกระโดดก็คือ คุณพ่อป่วย ทำให้คุณแม่ของอาจารย์เริ่มคิดหาช่องทางทำมาหากินเพื่อเลี้ยงลูกทั้งสามคน และด้วยความเป็นลูกสาวคนโต เธอจึงต้องช่วยแม่ทำซาลาเปาขายตั้งแต่อายุ 13 เรียนด้วย ช่วยงานบ้านด้วย ช่วยแม่ทำซาลาเปาขายด้วย “ ไม่ใช่แค่งานบ้าน ทอนเงิน หาเงิน อดหลับอดนอนบ้างในช่วงเทศกาล เคยเห็นแม่ไม่ได้นอน เพราะแม่มี commitment สูงมาก เพราะงั้นช่วงวัยทีนของภิญจะ form character หรือ mindset การทำงานจากแม่ ถ้ารับปากอะไรต้องทำให้ได้ อันที่สองความซื่อสัตย์ ซาลาเปาไม่สุก ซาลาเปาเปียกน้ำ แม่บอกทิ้งเลย อย่าให้ลูกค้ากินแล้วไม่อร่อย อย่าให้เค้ากลับมาว่าเราได้ มันเป็น mindset ว่า ทำอะไรต้องรับผิดชอบ ทำอะไรต้องรับปาก อันที่สองเรื่องคุณภาพ ต้องใส่ใจ ต้องซื่อสัตย์ อย่าโกงคนอื่น สามคือไม่ย่อท้อ อดทน สู้มาก”
“เราก็รู้สึกว่าช่วงวัยทีนเป็นวัยที่ฟอร์มคาร์แรกเตอร์หลักของเรา ที่เป็นเราในทุกวันนี้ เพราะงั้นมันทำให้ภิญได้เรียนรู้ว่า ใครที่ใกล้ชิดกับเราในช่วงนั้น เรามีแนวโน้มที่จะดึงคาร์แรกเตอร์ของคนนั้น วิธีคิด วิธีการทำงานของคนคนนั้น มาอยู่กับตัวเราค่อนข้างเยอะ”
อาจารย์เล่าว่าเรียนจบในปีที่คุณพ่อเสีย แต่ประสบการณ์ในช่วงที่ผ่านมาทำให้อาจารย์ได้สั่งสมมุมมองของคนทำงาน และนั่นทำให้กลายเป็น talent ของบริษัท
ในบทบาทของ Inside Sales ของบริษัทขนส่งสินค้าระหว่างประเทศที่ดีที่สุดในโลก คอยรับโทรศัพท์ลูกค้า อยู่ในออฟฟิศ คอยบอกราคา จองเรือ บันทึกข้อมูลเข้าระบบ คอยแก้ปัญหาให้ลูกค้า และทำให้ได้หยิบช่วงชีวิต 20 ปี นั้นมาใช้ในการสื่อสารกับคนโดยที่ไม่เคอะเขิน “เพราะว่าตอนที่ช่วยแม่ทำเปา มีลูกค้าเข้ามามากหน้าหลายตา เราก็จะเป็นคนรับสาย คอยดูเวลาที่แม่บอกลูกค้า เกิดข้อผิดพลาดขึ้นมาเค้าจัดการยังไง โดนลูกค้าด่ายังไง พอเรามาเจอกับตัวเองเราก็เลยว่า มันก็ไม่ได้ยากอะไร ดังนั้นภิญก็เลยโตไว ภิญอยู่ในตำแหน่ง Management Trainee 2 ปี พอจบสองปีปุ๊ปถูกโปรโมทไปเป็นผู้ช่วยผู้จัดการเลย แล้วก็ช่วงปี 2000 เป็นช่วง Y2K บริษัท MAERSK ไปควบรวมกิจการกับบริษัทยักษ์ใหญ่ของอเมริกาชื่อ SEALAND พอบริษัทสองยักษ์ใหญ่มารวมกัน ระบบคอมพิวเตอร์ มา integrate กันปั๊ป เจอปัญหา ดังนั้นฝั่งอเมริกาก็ต้องการคน ขอมาหลายประเทศในเอเชีย มีใครพอจะสื่อสารภาษาอังกฤษได้ แม่นเรื่องระบบ มีความสามารถที่จะไปช่วยเค้า และภิญเป็นหนี่งในสองคนที่ถูกเลือกไปทำงานที่อเมริกา 4 เดือน เพื่อที่จะไปช่วย critical moment ตรงนั้น เป็นการไปต่างประเทศครั้งแรกในชีวิต”
“ภิญรู้สึกว่าความลำบากในช่วงวัยทีน up and down ต่างๆ มันมาช่วยส่งผล ในช่วงวัย 30 ของภิญได้มาก การไปหลง ไปใช้ชีวิตคนเดียวที่นั่น ทำให้เห็นว่าโลกภายนอกเป็นยังไง เห็นสไตล์การทำงานของคนต่างชาติ มี morning break afternoon break ซึ่งออฟฟิศที่เมืองไทยไม่มี แล้วด้วยความที่เราทำงานเอกสารใช่มั้ยคะ ห้าโมงเย็นถ้าเอกสารไม่หมดถาด เราไม่เลิก จะเคลียร์จนหมดถาด ถ้าลูกค้ามีแฟกซ์เข้ามาเพิ่มเราจะวิ่งไปหยิบมาเคลียร์จนหมดแล้วเราค่อยกลับบ้าน ที่อเมริกาไม่ใช่ เหลือแค่ไหน แค่นั้น พรุ่งนี้ค่อยมาทำใหม่ เราก็เลยเห็น mindset ว่า คนที่อเมริกาเค้าเคารพสิทธิของตัวเองด้วย ภิญกับน้องสองคนที่มาจากเมืองไทยขยัน คนที่นั่นก็เลยรักพวกเรามาก และเป็นช่วงที่ทำให้ภิญได้ explore life 20-30 ได้มากเลย”
ภิญเชื่อว่าทุกสิ่งที่เราคิดเราทำ มันส่งผล คุณแม่ก็เช่นกัน แม่เชื่อในการทำดี
“พอกลับจากอเมริกา ภิญก็ได้ตำแหน่ง ย้ายแผนก มีลูกน้อง ด้วยความที่ไม่เคยถูกฝึก leadership มา ภิญก็เรียนรู้แค่ว่า ฉันต้องรับผิดชอบชีวิตที่เหลืออยู่ด้วย เพราะงั้นภิญก็เลยได้ mindset รับผิดชอบ ไม่ใช่แค่หน้าที่ของตน แต่ชีวิตและภาระกิจของคนอื่นด้วย มาในวัย 20 กลางๆ แล้วกลับมาได้ทำงานได้อีกปีสองปี เจ้านายก็ส่งไปใหม่ รอบนี้ส่งไปทำยาวเลย สัญญาปีนึงที่เกาหลี พอทำจบปุ๊ปเจ้านายที่โน่นให้ต่อสัญญาอยู่ต่ออีกปีนึง เพราะฉะนั้นในช่วงยี่สิบต้นๆ ถึงกลางๆ จะเป็นอะไรที่ภิญใส่เต็มร้อย ตั้งใจเกินร้อยในการทำงาน เพราะงั้นพอเจ้านายเห็นเราเป็น talent เจ้านายก็ให้โอกาส ซึ่งเราก็รู้สึกสำนึกบุญคุณ เพราะทำให้เรามีประสบการณ์ชีวิตที่ทำให้เราได้มาเล่าสู่กันฟัง ทำให้เราเห็นว่ามีทุกชาติแหละที่ทำให้เราได้ดั่งใจ และไม่ได้ดั่งใจ พอกลับจากเกาหลีปุ๊ป ปีเดียวภิญก็แต่งงานเลย มันก็เลยเป็นช่วง 20 – 30 ที่เอาตัวเองไปเจอโลกที่ไม่คุ้นเคย คือออกจากครอบครัวไปเลย เป็นช่วงที่ระหกระเหิน ที่ลองผิดลองถูกด้วยตัวเอง แม้กระทั่งแต่งงาน แม่ก็ตกใจ คบไม่ถึงปีแต่ง ภิญก็เรียนโท พร้อมแต่งงานในช่วงเวลาใกล้ๆ กัน เรียนโทจบปั๊ป ต้นสามสิบก็คือสามสิบเอ็ดคลอดลูกคนแรก”
“ย้อนกลับไปดูเลยค่ะ เพราะ Outward Mindset แกนของมันคือให้กลับมาพิจารณาตัวเอง พอเรากลับมาพิจารณาตัวเองในแต่ละช่วงของชีวิต มันเห็นเป็นฉากๆ เลย เช่น ตอนที่ภิญสอนเรื่องการทรยศตัวเอง มันเห็นเป็นภาพเลย ช่วงวัย 10 ขวบแรก ไม่ได้สอบได้ที่หนึ่ง หรือไม่ตั้งใจอ่านหนังสือก็มีข้ออ้างให้ตัวเอง วิชานี้ไม่ถนัด ครูสอนไม่รู้เรื่อง ปกป้องตัวเอง แล้วก็กล่าวโทษคนอื่น มันเห็นเป็นฉากเลย พอรู้จัก Outward Mindset และเชื่อมไปกับชีวิตตัวเอง มันเริ่มเห็น อ๋อ ฉันเข้าใจละ ที่ฉันหาข้ออ้างแบบนี้ เพราะว่าไม่อยากดูแย่ในสายตาพ่อกับแม่เพราะว่าไม่ได้ที่ 1 เรามีข้ออ้างให้กับตัวเอง ช่วง 10 – 20 ที่ต้องเรียน ต้องช่วยงานแม่ เป็นช่วงที่ อ๋อ เข้าใจละทำไมฉันถึงอึดอัด เช่น ตอนที่ไปค่ายอาสาพัฒนาชนบท ครูที่ไปค่ายด้วยกันบอกว่ามาอยู่กับชาวบ้านต้องกินอย่างชาวบ้าน แล้วคิดถึงคนที่โตมากับครอบครัวคนจีน ได้กินแต่อาหารที่ตั้งอยู่บนเตาร้อนๆ อาหารที่ไม่รสจัด แล้วพอไปค่าย อะไรก็ไม่รู้ ไม่คุ้นปากเราเลย แล้วครูก็เอาข้าวเหนียวจุ่มน้ำปลาร้าแล้วก็เอาใส่ปากเรา เราก็แบบวันนั้นก็นั่งร้องไห้ แล้วบอกตัวเองว่าเรามาทำอะไรที่ดี เห็นอารมณ์ worse than เลยค่ะ มองย้อนกลับไป คือแบบเข้าใจละ ตอนนั้นเรารู้สึกว่าเราตัวเล็กนิดเดียว เราหมดหนทางที่จะต่อกรกับครู ครูพูดเกริ่นนำมาแล้วว่ามาอยู่กับชาวบ้านต้องกินอย่างชาวบ้าน เราเป็นคนเลือกที่จะมาเอง โรงเรียนไม่ได้บังคับ แล้วเราก็อยู่ในสภาวะยอมจำนน ทำอะไรไม่ได้ นั่นแหละเราก็เลยย้อนกลับไป อ๋อ แบบนี้นี่เองที่เรียกว่า worse than อ๋อ แบบนี้นี่เองที่เรียกว่า better than เช่น พอภิญสอบติดตั้งแต่ตอนแรก เพื่อนก็ถามว่าจะไปสอบอีกมั้ย ภิญก็บอกไม่แล้ว ชิลล์ เพื่อนก็บอกอิจฉาอ่ะ แล้วความ better than ก็มา คือมันมาเป็นฉากๆ เลยค่ะ แล้วพอเข้าใจคอนเซปต์ของ Outward Mindset นะ มันทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น”
อาจารย์ภิญเสริมว่า “ภิญรู้สึกขอบคุณที่ภิญได้มาเรียน Outward Mindset ว่า อดีตแก้ไม่ได้ ดังนั้นเมื่ออดีตแก้ไม่ได้ เราแค่กลับไปยอมรับ แล้วก็ขอบคุณประสบการณ์ แล้วก็เรียนรู้จากมัน ซึ่งก่อนหน้านี้ไม่เคย ก่อนหน้านี้กลบมัน อันไหนที่เป็นอดีตที่ไม่น่าจำ ผิดหวัง เสียใจ ขมขื่น กลบๆ มัน เอาความสำเร็จของตัวเองเข้าไปกลบ Need to be seen as แต่พอเราโตขึ้น เรามารู้จักพวกนี้ เราก็รู้ว่า มนุษย์เราต่างก็มีบาดแผลกันทั้งนั้นแหละ มนุษย์เราต่างก็มีตำหนิในหลายๆ เรื่องทั้งนั้น มนุษย์เราต่างก็ไม่เพอร์เฟคทั้งนั้นแหละ เราเข้าใจแก่นของ Outward Mindset ที่ว่าเราก็ต่างเป็นมนุษย์ที่ก็มีประสบการณ์ตามเส้นทางของแต่ละคนขึ้นมาไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่แปลกเลยที่คนอื่นจะคิดไม่เหมือนเรา วิธีการไม่เหมือนเรา จริตไม่เหมือนเรา พอเราเข้าใจตรงนี้มันก็เลยทำให้เราวางได้ ไม่ต้องคาดหวังเยอะ แต่ก่อนหน้านั้นวางไม่ได้ค่ะ หงุดหงิด เห็นคนทำงานแล้วไม่ใส่ใจ ยกตัวอย่างเช่น ทำไมแค่ตรวจคำผิดแค่นี้ทำไม่ได้ ใส่ใจอีกนิดนึงไม่ได้หรอ แต่พอเราเข้าใจแล้วว่า อ๋อ คนเราโตมาไม่เหมือนกัน ความใส่ใจไม่เหมือนกัน เราก็เริ่มเข้าใจมากขึ้น จากการได้รู้จักกับคำว่า Outward Mindset นั่นหล่ะค่ะ เพราะมันสอนให้ภิญให้คุณค่ากับคน คำว่าคุณค่า ทั้งกับตัวเองและกับคนอื่นเสมอกัน เราก็เลยไม่ได้คาดหวัง วันไหนที่เรา failed เราก็แบบไม่เป็นไร พลาดไปละ เช่น ตอนที่เพิ่งเรียน Outward Mindset ใหม่ๆ มีคนมาขับรถชน หรือมีคนมาต่อว่า เราก็ทันทีเลยค่า I Deserve แรงมาก็แรงไป แล้วเราก็รู้สึกว่าเราสอน Outward Mindset ได้ยังไง ในเมื่อเรายังฝึกตัวเองไม่มากพอ ยังหลุด สติหลุด ทำไมยังหลุด มันจะมีคำว่า ไม่น่าเลย รู้งี้ ”
Inspire Tips ! : Arbinger Institute แบ่ง Inward Mindset ออกเป็น 4 แบบ ซึ่งเราสามารถสังเกตได้จากสัญญาณเหล่านี้ว่า เรากำลังอยู่กล่องของตัวเอง เรากำลังมี Inward Mindset อยู่ ดังนี้ 1) Better than : เรากำลังรู้สึกว่า ฉันดีกว่า ฉันเหนือกว่า 2) Deserve : เรากำลังรู้สึกว่า ฉันคู่ควรกว่า 3) Worse than : เรากำลังรู้สึกว่า ฉันไม่ดีพอ ฉันด้อยกว่า 4) Need to be seen as : เรากำลังรู้สึกว่า ฉันกำลังถูกจับผิดอยู่ ถูกตัดสินอยู่ |
---|
ครอบครัว : “โจทย์ครอบครัวเป็นโจทย์ที่ยากที่สุด เพราะว่าคนในครอบครัวเป็นคนที่เห็นเนื้อแท้เรา เห็นตัวตนที่ไม่น่ารักของเรา เห็นความขี้เกียจของเรา ความไม่สวย ไม่หล่อของเรา รู้เช่นเห็นชาติเรา ดังนั้นจู่ๆ วันนึงเราจะไปเปลี่ยน เช่น เราเคยเป็นมนุษย์แม่ขี้บ่น เป็นคนพูดจากระโชกโฮกฮาก แล้วจู่ๆ รู้จัก Outward Mindset ปุ๊ป จะเปลี่ยนเป็นคนละคน ไม่มีใครเชื่อค่ะ ส่วนใหญ่คนจะบอกว่า fake จะเอาอะไรเนี่ย เพราะงั้นภิญก็เลยเรียนรู้กับตัวเองว่า โจทย์ครอบครัวนี่แหละท้าทายที่สุด เพราะว่า We cannot quit on family but we can quit on our job. คือถ้าไม่ถูกใจเจ้านายก็ลาออก แต่ครอบครัว ลาออกไม่ได้ ถ้าถามภิญ ให้เริ่มจากพื้นที่ที่เราสบายใจที่สุด เพราะว่ามันเป็นโจทย์ใหญ่ อย่างที่บอก มันเข้าขั้น EGO หรืออัตตาตัวเองอย่างแรง ดังนั้นเอาจากโจทย์ที่ง่ายที่สุดก่อน เช่น จากเดิม เคยเห็นตัวเองทำพฤติกรรม Inward อะไร เช่น ถอดรองเท้าเรี่ยราด ทำไมลูกถอดรองเท้าเรี่ยราด จากเดิมลูกเข้าบ้านปุ๊ป บ่น ตั้งภารกิจให้ตัวเอง เรื่องบ่นลูก เรื่องถอดรองเท้าเรี่ยราด ไม่เก็บของเข้าที่ ตั้งมิชชั่นที่ 1 ภิญจะบ่นให้น้อยลง ฉันจะเปลี่ยนจากการบ่น เป็นการถาม เป็นการเชิญชวน เหมือนเล่นเกมตะลุยด่าน mission ที่ 2 เรื่องโกรธ โกรธเรื่องอะไรหล่ะ โกรธที่คะแนนสอบออกมาไม่ดี ก็ตั้งมิชชั่นไปเรื่อยๆ คีย์เวิร์ดของภิญอีกคำคือ at peace ก็คือความสงบสุข เราสงบสุขกับสถานการณ์นั้นเร็วแค่ไหน เพราะงั้นถ้าเราสงบสุขกับสถานการณ์ครอบครัวได้เร็ว เราจะ bring peace at home ค่ะ เราจะทำให้ครอบครัวเป็นที่ที่น่าอยู่ แล้วพอครอบครัวเป็นที่ที่น่าอยู่ เวลาคุยกันอะไรกัน มันก็จะง่ายขึ้น เมื่อไหร่ก็ตามที่เราฝึก Outward Mindset ที่บ้าน ด้วยตัวเราเองก่อนนะ ชีวิตของเราจะง่ายขึ้น และสบายขึ้น ที่เรารู้สึกเครียดเพราะเราคิดเองว่าเราต้องแบก แต่จริงๆ แล้วทุกคนมีความสำคัญเท่ากัน อย่าไปดูถูกว่าเค้าเป็นเด็ก ผู้ใหญ่คือหัวโบราณหรือไดโนเสาร์ ไม่ใช่หรอก ต่างฝ่ายต่างมีเกณฑ์ในการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน พอเราเห็นปุ๊ป เราก็จะเข้าใจ และคิดว่าจะทำยังไงให้อยู่ร่วมกันให้เข้าใจมากขึ้น คีย์เวิร์ดสำคัญคืออยู่ร่วมอย่างมีความสุขในครอบครัว”
การทำงาน : “ภิญรู้จัก Outward Mindset ในวัย 40 ช่วง 30-40 เป็นช่วงที่แต่งงานแล้ว อยู่บ้านพ่อแม่สามี เปลี่ยนที่ทำงานหลายที่ เป็นช่วงที่ midlife crisis มาก ต้องบอกว่าเผชิญทุกข์หนักในชีวิตหลายเรื่อง และเป็นช่วงที่เปลี่ยนอาชีพในวัย 35 พอดี มาสู่อาชีพวิทยากรนี่ค่ะ พอภิญรู้จักกับ Outward Mindset มันก็เลยทำให้ภิญมองย้อนชีวิตว่า มันเคยมีคำกล่าวคำนึงที่ภิญรู้จักก่อนที่จะได้เรียน Outward Mindset “We teach what we need to know more off.” เราจะมีโอกาสได้สอนในเรื่อง ที่เราต้องฝึกตัวเองมากที่สุด ภิญเห็นคำกล่าวคำนี้แล้วภิญก็กลับมานั่งทบทวนว่า ฉันรู้ละ ทำไมฉันต้องถูกฝึกด้วยวิชานี้ ดังนั้นตั้งแต่ปี 2016 ในวัย 40 ของภิญ ภิญเป็นคนที่ต้องมานั่งแกะ เอาหลักสูตรที่มาจากเมืองนอก มาแกะเป็นภาษาไทย แกะทั้งตำรา ทั้งวีดีโอ จนกระทั่งไปสอน ปีแรกอ่ะค่ะ failed ไม่เป็นชิ้นดีเลย จนกระทั่งภิญได้รับโปรเจคใหญ่มากที่ไปทำ Outward Mindset ให้คน 2,000 คน แล้วภิญจะต้องดีไซน์ไปสู่บริบทชีวิตเค้า จะเอาไปใช้กับชีวิตเค้ายังไง มันทำให้ภิญต้องไปกินนอนกับมัน เป็นหลายๆ เดือน ทำงาน 7 วัน 24 ชั่วโมง แล้วเราก็เริ่มเห็นมันลึกขึ้น จนกระทั่งปีที่ 3 ที่คุณอริญญา จะเอา Outward Mindset มาทำใน platform YourNextU เจ้านายก็มอบหมายให้เรามาทำ เหมือนจักรวาลเหวี่ยง Outward Mindset มาให้เรา เราต้องสอนในสิ่งที่เราต้องฝึกตนมากขึ้น พอปีที่ 3 ภิญก็คุ้นมากขึ้น ดังนั้นภิญก็เลยได้เป็น Course Leader ก็คือเอาก้อนที่มาจากเมืองนอกมาซอยย่อย มาทำกิจกรรมเพิ่ม ทำเอกสาร ดีไซน์ทุกอย่างสำหรับ YourNextU เพราะงั้นภิญก็ต้องอยู่กับมันอีก เพราะเมืองนอกเค้าก็ปรับเวอร์ชั่นมาเรื่อยๆ เราก็เป็นคนกลางที่แกะออกมา มันก็เลยทำให้เราได้ฝึกกับตัวเองทุกวันๆ โจทย์ชีวิตก็ยากขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็นลูก ครอบครัว โจทย์เจ้านาย ลูกค้า คือเจอหลายโจทย์มากเลยค่ะ จนกระทั่งเราเริ่มเห็นแล้วว่า สุดท้ายแล้วเริ่มที่ตัวเราเองนั่นแหละ”
“ภิญถึงให้กำลังใจคนเรียนอยู่เสมอว่า ใช้เวลานะ เข้าใจเลยว่าต้องต่อสู้กับ EGO ของตัวเองขนาดไหน เราต้องฝึกมากมายขนาดไหนที่เราจะนิ่งกับสถานการณ์เดิมได้ สมัยก่อน ถ้าโดนด่าปุ๊ป สวนกลับ ถ้าต่อกรกับผู้มีอำนาจไม่ได้ ลาออก เพราะฉะนั้นช่วง 20-30 โตมากับองค์กร แต่ช่วง 30-40 ชีวิตแบบ midlife crisis มากๆ คือเราหนี แต่ Outward Mindset บอกให้เราซื่อสัตย์ คืออะไร วันแรกจำได้มั้ย มาทำงานที่นี่เพราะอะไร พอเราฝึก Outward Mindset เยอะๆ แล้วเราก็รู้ว่ามันมีทางออก เราได้ทดลองทางออกเหล่านั้น มันช่วยได้จริงๆ ทั้งในหลายๆ มิติ 4 ปีแรก ภิญคลำอยู่กับ Outward Mindset ลองผิดลองถูก คิดว่า Outward Mindset คือ Being Nice แต่จริงๆ มันไม่ใช่นะ จนช่วงสี่ปีหลัง พอเราเข้าใจจริงๆ ว่า มันคือ เรามองเห็นคนอื่นๆ ที่ทำงานร่วมกับเราในเรื่องนั้นๆ เป็นยังไง แล้วเรายินดีที่จะจูงมือไปด้วยกัน ฝ่าอุปสรรคคลื่นลมไปด้วยกันจนบรรลุเป้ามั้ย หรือเราสละเรือทิ้ง แล้วปล่อยให้คนอื่นผจญ Outward แปลว่า ถ้าเราเจอเรื่องยากลำบาก มีวิธีไหนอีกได้บ้าง ใครช่วยได้บ้าง เพราะงั้นเราต้องยอมรับการเรียนรู้ และฝึกฝนจากคนอื่น เผชิญความจริง มันต้อง Hard Outward ต้องต่อสู้กับสิ่งที่เราไม่กล้าเผชิญ”
ฟังมาถึงตรงนี้ ก็มีคำถามต่อว่า แล้วมันต้องฝึกแค่ไหน ถึงเรียกว่าพยายามถึงที่สุด ? อาจารย์ก็เลยตอบว่า “ภิญเคยมีขีดคำว่าที่สุด ฉันทำดีที่สุดแล้วนะ แล้วมันกลายเป็นข้ออ้างให้ตัวเองค่ะ แล้วเราก็เข้าไปอยู่ใน safe zone ของตัวเอง จากประสบการณ์ภิญนะคะ ไม่รู้ว่าถูกหรือผิด แต่เราเอาโจทย์เป็นตัวตั้ง เรื่องนั้นคือเรื่องอะไร ใครเกี่ยวข้องบ้าง สิ่งที่ทำให้เราคิดได้เลยก็คือ เพราะเราต้องการทำทุกอย่างด้วยตัวเองหรือเปล่า เพราะเราคิดว่ามันคือสิ่งที่เราต้องรับผิดชอบ แต่ถ้าเรามองว่าไม่ใช่ YOU แต่เป็น WE เพราะฉะนั้นมีใครที่ YOU reach out ได้บ้าง มันเปลี่ยน mindset เลยนะ เรื่องยากมันจะง่ายขึ้น เพราะเราไม่ต้องแบกไว้คนเดียว เมื่อไหร่ที่เราเริ่มรับผิดชอบคนเดียว มันเหมือนการปั่นจักรยาน คำถามคือเมื่อไหร่ที่เราอยากจะพอ ก็ต้องถามกลับว่าเราอยากไปถึงเป้าหมายตรงนั้นมั้ย ถ้าคุณตกหล่ม คุณจะยังอยากไปที่เป้าหมายนั้นมั้ย หรือถอดใจเพราะว่าตกหล่ม ฉันทำเต็มที่แล้ว แต่ Outward Mindset สอนให้เรา commit มั้ย ถ้าเรารับผิดชอบที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นจริงๆ เราต้องไม่คิดว่าต้องเป็นเราคนเดียว เราอาจโทรไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ เราอาจจะเดินไป ใครจะช่วยเราได้บ้าง หรือเราอาจจะเสิร์ชหาข้อมูลเพื่อหาวิธีการที่จะเอาจักรยานเราขึ้นมาจากหล่ม ดังนั้น learning mindset จึงสำคัญ อะไรที่เราเคยรู้มาจากอดีตไม่ใช่ว่าคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด คนเราคือที่บอกว่าที่สุดแล้ว มันคือมาจากกรอบประสบการณ์ของตัวเองของชีวิตที่ผ่านมา แต่ Outward Mindset สอนให้เราไปหาที่สุดของคนอื่นด้วย จากประสบการณ์คุณน่ะ เจอปัญหานี้แก้ยังไงหรอ แก้ยังไงได้บ้าง แนะนำฉันหน่อยสิ เห็นมั้ยคะ collaboration จึงเกิดด้วย Outward Mindset มันเลยทำให้ภิญ unlock อ๋อ มันแปลว่าแบบนี้ ถ้าเรากัดไม่ปล่อยนะ เราจะไปถึงเป้าได้ แล้วเราไม่ได้ไปคนเดียวด้วยนะ เราจะทำให้คนอื่นใจฟูไปด้วย เพราะเค้าอยู่บนพื้นฐานของการช่วยให้ทีมสำเร็จไปด้วยกัน ดังนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่เราเจอคำว่าที่สุด ให้เรากลับมาเช็กตัวเองค่ะ”
“จำเป็นที่สุด ยิ่งได้ฝึกเร็วยิ่งดี เพราะ Mindset คือพื้นฐานของการดำเนินชีวิตในทุกมิติ อย่างที่เรารู้กัน ชอบมีคนมาถามภิญ Mindset / Attitude / Paradigm ต่างกันยังไง ภิญก็เลยถามกลับว่า แล้วคุณเข้าใจว่ายังไง ภิญญาพัชญ์ พี่ภิญ คุณภิญ ต่างกันยังไงคะ มันคือสิ่งเดียวกันค่ะ ไม่ว่าคุณจะเรียกมันว่าอะไร มันก็คือสิ่งที่หล่อหลอมเราในการดำเนินชีวิต คิด และตัดสินใจ ในทุกขณะไม่ว่าจะเป็นชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตการทำงานก็ตาม ยกตัวอย่างเช่น เราต้องมีเรื่องตัดสินใจในทุกวัน ขับรถมา มีคนข้ามถนน เรามีสองทางเลือก หยุดหรือไป นั่นแหละค่ะ Mindset ดังนั้น Arbinger ถึงบอกว่า Mindset เป็นตัวขับเคลื่อนทุกพฤติกรรมของมนุษย์ ดังนั้นตอบคำถามที่ว่ามันเป็นแค่คำสวยหรูมั้ย ถ้าเราจะอยากได้ชีวิตที่ดี อยากจะประสบความสำเร็จในอาชีพการงาน อยากจะมีความสุขในทุกความสัมพันธ์ คำแนะนำของภิญคือ กลับมาเรียนรู้ที่จะยกระดับ Mindset กันเถอะ “
“ตัววัดง่ายๆ สำหรับ ภิญ คือสภาวะ หรือ state เรามีแค่ 2 สภาวะ หรือบางคนอาจจะบอกว่า 3 สภาวะสุข สภาวะทุกข์ สภาวะเป็นกลาง check list ที่ 1 อยู่ในสภาวะสุขมั้ย คำว่าสภาวะสุข อาจจะไม่ได้ลั้นลา แฮปปี้ สำหรับภิญคือ เรารู้สึกใจฟู เบิกบาน สงบ อันนี้ภิญจะรู้ได้ทันทีเลยว่า เราอยู่ในสภาวะ Outward มีอีกหนึ่งคีย์เวิร์ดคือ Impact หรือผลกระทบ เราสุข เราใจฟู แต่ไปกระทบชาวบ้านในเชิงลบ อันนี้ก็ไม่ใช่ Outward Mindset
Check list ที่ 1 คือ สภาวะของเรา ที่ 2 คือ ผลพวงหรือผลกระทบที่ตามมา มันสร้างประโยชน์หรือสร้างภาระ ถ้าสร้างประโยชน์ ฉันก็สุข คนอื่นก็สุข อันนี้ win win อันนี้คือ outward ถ้าฉันสุข คนอื่นทุกข์ อันนี้ไม่ใช่ outward อันนี้เราหลอกตัวเองว่าเรา outward หรือภาษา Arbinger คือ outwardly nice inward คือเราหลอกตัวเองว่าเรา outward แต่เราไม่ได้ outward จริงๆ เรากำลัง inward กับชาวบ้านอยู่ ยกตัวอย่างภิญไปเทรนที่สิงคโปร์ Master Outward เค้าก็พาเรากินอาหารสิงคโปร์ มีอยู่วันนึงเค้าก็ถามเราอยากกินอะไร อยากกินต้มยำมั้ย มีร้านอร่อยอยู่ เราก็บอกไปสิๆ แล้วภิญก็บอกว่าเดี๋ยวมื้อนี้ ฉันเลี้ยงเอง เราก็สั่งของเราก่อน แล้วก็ถามเค้าว่าอยากกินอะไร สั่งเลย เค้าก็บอกว่า ไม่เป็นไร เราก็ถามว่าทำไมอ่ะ ฉันเลี้ยง เค้าก็บอกว่า I’m Vegetarian แล้วร้านนั้นขายแต่ซีฟู้ด ไม่มีเมนู vegetarian เราแบบ Inward มาก เราไม่แม้กระทั่งถาม หรือรู้จักตัวตนของเค้าเลย เค้าอยากกินอะไร เค้ากินอะไรได้บ้าง เพราะงั้น Outward ของแท้คือการทำให้เรา และคนอื่นได้ประโยชน์ แล้วคนอื่นในที่นี่ ไม่ได้มองแค่สองคนด้วยนะ ภิญมองในมุมกว้างด้วย ดังนั้นเวลาที่ภิญ apply Outward Mindset มาใช้ในการทำงาน ภิญจะคิดเสมอเลยว่า เรื่องนี้ ใครกระทบบ้าง มีใครบ้างที่เกี่ยวข้อง เป้าคืออะไร ใครเกี่ยวข้องบ้าง และมีอะไรที่ฉันต้องรู้บ้างเกี่ยวกับคนที่ฉันต้องเกี่ยวข้อง เสร็จแล้วก็จะพยายามคิดว่า แล้วฉันจะทำงานยังไงไม่ให้สร้างภาระให้ตัวเอง และไม่สร้างภาระให้คนอื่นด้วย ดังนั้น way of working ถ้าเรา apply Outward Mindset มาจริงๆ นะ เราจะมีคนอื่นอยู่ในสมการเสมอ
ถ้าเรามี Outward Mindset เราจะพัฒนาตัวเอง บนเป้าหมายนั้นๆ ว่าจะ Outward ยังไงได้อีก รอบนี้ฉัน Inward ไปแล้ว ไม่เป็นไร เราจะปรับปรุงแก้ไขตัวเองยังไง เพราะฉะนั้นเมื่อไหร่ก็ตามที่มนุษย์มี Mindset แบบนี้ได้ แปลว่าเรากำลังอยู่บนเส้นทาง Outward แล้วค่ะ เมื่อไหร่ก็ตามที่เรายัง บ่น โทษ อ้าง ใส่เกียร์ว่าง ไม่สนใจคนอื่น แปลว่าเรายังไม่ได้ออกจากกล่อง ยังมี Inward Mindset อยู่นั่นเอง อันนี้เป็นเทคนิคที่ภิญลองเอามาจับตัวเอง”
“ภิญรู้สึกขอบคุณครอบครัวแรกเลยนะ ตอนเด็กๆ เคยน้อยใจว่าทำไมเราเกิดมาในครอบครัวที่ไม่มีตังค์นะ แต่ถ้าเราไม่ได้เจอประสบการณ์แบบนั้น เราจะไม่ได้มีชีวิตครึ่งหลังที่เรามีความสุขแบบนี้ ทุกวันนี้ภิญรู้สึก fullfill นะคะ ภิญมีครอบครัวที่น่ารัก สามีที่เข้าใจ ลูกๆ แม้จะไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดแต่เราพยายามที่จะปรับปรุงตัวเองในการที่จะเลี้ยงดูเค้า มีงาน มีเพื่อน มีเจ้านายที่น่ารัก มีลูกค้าที่ให้การสนับสนุน คือภิญรู้สึกว่าชีวิตนี้ เราตายไป เราก็ไม่ได้เสียดาย และเราก็รู้สึกว่าพื้นฐานของครอบครัวที่มั่นคง ที่อาจจะไม่ได้สวยหรูหรือโรยด้วยกลีบกุหลาบนะ แต่มันสร้างตัวตนที่ทำให้เรา สร้างประโยชน์ให้กับชีวิตตัวเอง และคนอื่นได้ ภิญก็เลยมีความรู้สึกเลยว่าหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ช่วยได้จริงๆ ทั้งพรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรืออิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา อันนี้คือสิ่งที่ภิญเอามาใช้ล้อกันกับOutward Mindset ภิญรู้สึกว่าดีจัง ที่ชีวิตให้โอกาสเรามีชีวิตอยู่ต่อ เพื่อให้เราแก้ไขปรับปรุงตัวเองในครึ่งชีวิตแรกที่เราอาจจะทำไม่ดีกับตัวเอง และคนอื่นๆ แต่ครึ่งชีวิตหลังเราจะเอาบทเรียนชีวิตของตัวเองนี่แหละมาช่วยให้คนอื่นเริ่มได้เร็วที่สุด โดยที่ไม่ต้องบอกตัวเองว่า “รู้งี้” เหมือนที่ภิญเคยบอกตัวเองแล้ว “
Inspire Now ! : เป็น 1 ชั่วโมง 15 นาที ที่เรียกว่าเหมือนเข้าเรียน Outward Mindset เชิงลึกกับอาจารย์ภิญเลยจริงๆ เห็นด้วยมั้ยคะ ? ส่วนตัวคิดว่าการเรียน mindset นั้น ไม่ใช่แค่เข้าใจแต่ทฤษฎีเท่านั้น สิ่งสำคัญคือการนำไปใช้ และสังเกตตัวเอง ทบทวนตัวเองว่าเรานำไปใช้แล้วเกิดการเปลี่ยนแปลงยังไงบ้าง หวังว่าบทสัมภาษณ์นี้จะเป็นส่วนเล็กๆ ในการขับเคลื่อนในการทำความรู้จักตัวเองของทุกคนไม่มากก็น้อยนะคะ ขอบคุณอาจารย์ภิญที่ให้เวลาพูดคุยกับเรา เพื่อแบ่งปันให้กับผู้อ่านในครั้งนี้ค่ะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? Outward Mindsetและประสบการณ์ของอาจารย์ภิญทำให้คุณได้คิดอะไรบ้าง คอมเมนต์มาพูดคุยกับเรากันได้นะคะ ♡
ทักษะการฟัง หมายถึง อะไร มีความสำคัญยังไง มีแล้วดียังไง ชวนฝึกฟัง ไม่ใช่แค่ได้ยิน ฟังเก่งแล้วชีวิตดีขึ้นได้ยังไง มาทำความเข้าใจ แล้วฝึกไปด้วยกัน
แนะนำหนึ่งในคุณธรรมของคนดี ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี หมายถึง อะไร ดีต่อชีวิตของเราจริงมั้ย ต้องทำยังไง มาเรียนรู้ และปรับใช้ไปด้วยกัน
ชวนบริจาคหนังสือ รับถึงบ้าน หรือ ส่งไปรษณีย์ นอกจากหนังสือก็สามารถรวมอย่างอื่นได้ ใครมีของเหลือใช้ อยากส่งต่อ ลองดู 10 สถานที่ที่เราแนะนำได้เลย