ชวน วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน ทำยังไงบั้นปลาย ถึงจะปัง !

ชวน วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน ทำยังไงบั้นปลาย ถึงจะปัง !

การวางแผนเกษียณอายุเป็นส่วนสำคัญของความเป็นอยู่ที่ดีทางการเงิน เนื่องจากเป็นการกำหนดคุณภาพชีวิตหลังออกจากงาน และด้วยยุคสมัยปัจจุบัน ความก้าวหน้าด้านสุขภาพและเทคโนโลยีทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาวกว่าที่เคยเป็นมา เราต้องเตรียมเงินไว้เท่าใด ถึงจะเพียงพอต่อการดำรงชีพแม้ไม่มีรายได้ประจำเข้ามาและยังสามารถรักษามาตรฐานชีวิตให้คงเดิมตลอดไป มา วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน อย่างชาญฉลาดกันค่ะ

How To วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน ชวนทำความเข้าใจการวางแผนเกษียณให้มากขึ้น

วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน, วางแผนเกษียณ
Image Credit : freepik.com

การวางแผนเกษียณ คือสิ่งที่ต้องทำเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับชีวิตหลังจากหยุดทำงาน ซึ่งหมายรวมถึงการเตรียมความพร้อมทุกด้านของชีวิต ไม่ใช่เฉพาะด้านการเงินเท่านั้น สามารถแบ่งได้ง่ายๆ ดังนี้

  • ด้านที่ไม่เกี่ยวกับการเงิน ได้แก่ ทางเลือกในการดำเนินชีวิต เช่น จะใช้เวลาอย่างไรในวัยเกษียณ จะอาศัยอยู่ที่ไหน และเมื่อใดควรเลิกทำงาน หรือควรมีงานอดิเรกอะไรบ้าง ต้องมีอาชีพหลังเกษียณหรือไม่ เป็นต้น
  • ส่วนด้านการเงิน คือ การกำหนดเป้าหมายรายได้หลังเกษียณ และวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเหล่านั้น การวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือนที่ดีและรัดกุม ประกอบไปด้วย การระบุแหล่งที่มาของรายได้ การกำหนดค่าใช้จ่าย และการจัดการสินทรัพย์ – การบริหารความเสี่ยง

The Psychology of Money : จิตวิทยาว่าด้วยเงิน

วิธีกำหนดเป้าหมายการเกษียณ ทำได้อย่างไร

วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน, วางแผนเกษียณ
Image Credit : vecteezy.com

การกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการสำหรับการเกษียณอายุ อาจเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนและขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุปัจจุบัน การวางแผนในการดำเนินชีวิต และอายุขัย ลองใช้ขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือนดูค่ะ

  1. กำหนดอายุเกษียณ : ขั้นตอนแรกคือการตัดสินใจว่าจะเกษียณที่อายุเท่าไหร่ สิ่งนี้จะช่วยให้เรารู้ได้ว่าจะมีเวลาออมเงินกี่ปี และจะต้องออมปีละเท่าไหร่ถึงจะบรรลุเป้าหมายทางการเงินที่ได้กำหนดไว้ 
  2. ประมาณการค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ : ควรต้องมีแผนการคร่าวๆ ว่า เราจะต้องเตรียมเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่เพื่อเอาไว้ใช้ในช่วงเกษียณอายุ ชึ่งควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าสาธารณูปโภค ค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ท่องเที่ยว สันทนาการ และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ตามคุณภาพชีวิตและสไตล์เกษียณที่เราอยากได้ ตัวเลขจำนวนเงินที่ต้องการเพื่อการเกษียณอย่างสะดวกสบายของแต่ละคนมีความเฉพาะเจาะจงแตกต่างกันไป และมีวิธีการหลายวิธีเพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินสำหรับเกษียณได้ ซึ่งมีวิธีง่ายๆ มาแนะนำ ดังนี้
    • ใช้กฎ 80% ซึ่งกล่าวไว้ว่า จำนวนเงินที่เพียงพอสำหรับดำรงชีวิตหลังเกษียณจะใช้ประมาณ  80% ของรายได้ ดังนั้น หากเรารายได้ 1,000,000 บาท ต่อปี ควรจะต้องมีเงินออมและรายได้จากสินทรัพย์ที่สามารถให้เราถอนมาใช่จ่ายได้  800,000 บาทต่อปีจนกระทั่งเสียชีวิต  ซึ่งอาจยาวนานถึง 20 ปี หรือมากกว่า   
    • วิธีการคำนวณเงินเกษียณ เมื่อคำนึงถึง มูลค่าเงินตามเวลา และอัตราดอกเบี้ย สามารถใช้เครื่องมือคำนวณของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือเครื่องมือคำนวณออนไลน์อื่นๆ ได้ตามสะดวก
  1. คำนวณรายได้หลังเกษียณ : รวบรวมและกำหนดแหล่งที่มาของรายได้หลังเกษียณว่ามีอะไรบ้าง และเป็นมูลค่าประมาณเท่าไหร่ โดยแหล่งที่มาของรายได้การวางแผนเกษียณ สำหรับมนุษย์เงินเดือน ได้แก่ สวัสดิการประกันสังคม แผนเงินบำนาญของหน่วยงาน เงินได้จากบัญชีเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น กบข. PVD ประกันบำนาญ  มูลค่า RMF หรือกองทุนเกษียณอื่นๆ รวมทั้งรายได้จากแหล่งอื่นๆ ถ้ามี เช่น ค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ ค่าลิขสิทธิ์ เงินปันผลหุ้น เป็นต้น
  2. กำหนดเงินออมเพื่อการเกษียณอายุที่จำเป็น : เมื่อประเมินค่าใช้จ่ายและรายได้หลังเกษียณแล้ว ก็จะทราบจำนวนเงินที่ต้องออมเพื่อให้บรรลุเป้าหมายสำหรับวางแผนเกษียณ เมื่อพิจารณาร่วมกับระยะเวลาที่จะเกษียณอายุ ก็สามารถวางแผนการออมเงินรายปีของตัวเองได้ ดังนั้น การวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน จะเริ่มต้นเมื่อไหร่ก็ได้ แต่จะได้ผลดีที่สุดหากมีเวลานานเพียงพอก่อนที่จะเกษียณเพื่อสะสมเงินให้ได้มากที่สุด นอกจากจะมั่นใจได้ว่าการเกษียณอายุในอนาคตของเรามีความมั่นคงปลอดภัยแล้ว ยังลดความกดดัน ไม่ต้องทุ่มเงินจำนวนมากเพื่อพอร์ตเกษียณอีกด้วย

หนังสือใหม่ : Inside Candlestick แท่งเทียนบอกอะไรในการเทรด โดยผู้เขียน ลภัสรดา เพ็ญสุข สนพ. พราว

วิธีการเพื่อบรรลุเป้าหมายวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน

1. วัยหนุ่มสาว (อายุ 21–35 ปี)

ชีวิตในวัยเริ่มต้นทำงานแม้ไม่มีเงินจำนวนมากมายเพื่อใช้ลงทุน แต่ก็มีเวลาปล่อยให้เงินลงทุนได้เติบโตอย่างเต็มที่ เป็นช่วงเวลาทองของการออมเพื่อการเกษียณอายุที่สำคัญและมีค่า เพราะมีความมหัศจรรย์ที่เรียกว่าดอกเบี้ยทบต้น ยิ่งมีเวลามากเท่าใด ก็จะได้รับดอกเบี้ยมากขึ้นเท่านั้น  มูลค่าเงินสามารถเพิ่มขึ้นเป็นสามเท่าหากลงทุนตอนอายุ 25 ปี แทนที่จะรอเริ่มลงทุนตอนอายุ 45 ปี และแม้ว่าเราจะสามารถลงทุนด้วยเงินที่มากขึ้นได้ในอนาคต แต่เราก็ไม่สามารถชดเชยเวลาที่เสียไปได้เลย ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่า ยิ่งเริ่มต้นได้เร็ว ก็จะยิ่งมีโอกาสสำเร็จได้เร็วขึ้นนั่นเองค่ะ

ถ้ายังไม่รู้จะเริ่มอย่างไร วิธีที่ง่ายที่สุดคือสมัครแผนการออมเพื่อการเกษียณ ของหน่วยงาน หรือกลุ่มข้าราชการที่มีกองทุนบําเหน็จบํานาญข้าราชการ (กบข.) ส่วนภาคเอกชน ก็จะมีกองทุนประกันสังคม และกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ (Provident fund หรือ PVD) ข้อดีที่มีมากกว่าการออมทั่วไป คือ เงินจะถูกกันออกไปก่อนที่จะถูกจ่ายมาเป็นเงินได้รายเดือน ทำให้เป็นการบังคับออมเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้รับเงินสมทบจากนายจ้าง หรือบางกองทุนได้รับเงินสมทบจากภาครัฐมาเพิ่มอีกส่วนหนึ่งด้วย ทั้งยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ บางกองทุนให้เรามีส่วนร่วมในการเลือกพอร์ตลงทุน พร้อมมีมืออาชีพดูแลพอร์ตให้ ทำให้ได้รับอัตราผลตอบแทนที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ (แม้ว่าการลงทุนจะมีความเสี่ยงก็ตาม) นอกจากนี้ บัญชียังได้รับความคุ้มครอง ถ้าหากว่ามีการยกเลิกกองทุน กฎหมายกำหนดให้ชําระบัญชีเงินของเราแยกออกมาจากทรัพย์สินของนายจ้าง ทำให้เงินเก็บเราปลอดภัย นอกจากนี้ ควรมองหาการลงทุนอื่นๆ โดยอาจปรึกษามืออาชีพ เช่น นักวางแผนทางการเงิน หรือที่ปรึกษาทางการเงิน เพื่อเปิดโอกาสในการลงทุนให้มากขึ้น อย่างที่กล่าวไปว่า ยิ่งเริ่มเร็วเท่าไหร่ก็ยิ่งดีเท่านั้น

หนังสือ คัมภีร์การลงทุนแบบเน้นคุณค่า : The Intelligent Investor (ปรับปรุงใหม่)

2. ช่วงวัยทำงาน (อายุ 36–50 ปี)

วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน, วางแผนเกษียณ
Image Credit : vecteezy.com

ชีวิตวัยทำงานมีแนวโน้มที่จะมีความท้าทายทางการเงินหลายประการ รวมถึงหนี้สิน การจำนอง ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ภาระเลี้ยงดูครอบครัว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของการวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน คือต้องออมเงินในแผนเกษียณต่อไป เพราะมีข้อได้เปรียบทั้งรายได้ที่เพิ่มขึ้นและยังมีเวลาลงทุนเพื่อรับดอกเบี้ยอีกยาวนาน ทำให้ช่วงอายุนี้เป็นช่วงที่ดีที่สุดสำหรับการลงทุนเชิงรุก ในช่วงอายุนี้ ควรใช้ประโยชน์จากแผนเกษียณของหน่วยงานให้มากที่สุด และเพิ่มการมีส่วนร่วมในการออมให้มากขึ้น โดยอาจเพิ่มเปอร์เซ็นต์การหักนำส่งจากขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนด เพื่อที่จะได้รับผลประโยชน์มากขึ้น และมีโอกาสถึงเป้าหมายเร็วขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ ควรใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการลงทุนเพื่อการเกษียณให้เต็มที่ การลงทุนในกองทุน RMF/SSF เป็นจุดเริ่มต้นการลงทุนสำหรับมือใหม่ นอกจากจะให้ประโยชน์ด้านโอกาสการลงทุนในตลาดสินทรัพย์แล้ว ยังได้รับผลตอบแทนจากการเติบโตของเงินลงทุนรวมทั้งเงินปันผลอีกด้วย และยังได้รับการลดหย่อนภาษี สิ่งสำคัญคือ ต้องกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มผลตอบแทนสูงสุด พอร์ตโฟลิโอที่ประกอบไปด้วยหุ้น พันธบัตร และอสังหาริมทรัพย์เป็นวิธีหนึ่งในการสร้างความหลากหลาย อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องพิจารณาความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ขอบเขตเวลาในการลงทุน และเป้าหมายการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

จัดการทบทวน สามเหลี่ยมการเงิน ของตนเอง รวมทั้งบริหารงบประมาณในการจัดสรรเงินส่วนต่างๆ เพื่อปรับให้เหมาะกับรายได้ ในการวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน อาจเพิ่มพอร์ตเงินฝากบางส่วนกับบริษัทประกัน เช่น ประกันบำนาญ เพื่อเสริมฐานปิรามิดให้แข็งแรง และสุดท้าย อย่าลืมวางแผนค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล เมื่อมีอายุมากขึ้น ค่ารักษาพยาบาลอาจเพิ่มขึ้นอย่างมาก  แผนการเกษียณอายุควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ของปัญหาสุขภาพที่ไม่คาดคิดอีกด้วย

นายอินทร์ หนังสือ BLACK SWAN วันมืดมิดในชีวิตการลงทุน

3. วัยกลางคน (อายุ 50–65 ปี)

วางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือน, วางแผนเกษียณ
Image Credit : freepik.com

เมื่ออายุมากขึ้น จึงควรระมัดระวังในเรื่องของการลงทุนมากขึ้น เนื่องจากเวลาในการสะสมเงินจะลดลง แต่ก็มีข้อดีคือ การมีรายได้ที่สูงขึ้นและอาจมีภาระค่าใช้จ่ายที่ลดน้อยลง ทำให้มีความสามารถในการวางแผนเกษียณ สไตล์มนุษย์เงินเดือนเรื่องส่วนของการลงทุนมากขึ้น และยังไม่สายเกินไปที่จะเข้าร่วมกองทุนเพื่อการเกษียณ ไม่ว่าจะเป็น กบข. หรือ PVD ยิ่งในปัจจุบัน กบข.ขยายเงินฝากได้ถึง 30% ของรายได้ และสามารถลงทุนได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีพ เราสามารถใช้เป็นพอร์ตหลักในการเกษียณได้เลย อย่างไรก็ตาม อาจมีในเรื่องของผลประโยชน์ทางภาษีที่ทับซ้อนกับการซื้อหน่วยลงทุนผ่าน RMF SSF รวมทั้งประกันบำนาญด้วย จึงควรพิจารณาแบ่งสัดส่วนการลงทุนที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์ที่สุด

นอกจากนี้ ยังสามารถพิจารณารูปแบบการลงทุนอื่นๆ สำหรับการออมเพื่อการเกษียณได้ อย่างเช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นบลูชิป หรือการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์บางอย่าง (เช่น คอนโดให้เช่า) อาจเป็นวิธีที่ปลอดภัยพอสมควรในการเพิ่มแหล่งรายได้หลังเกษียณ นอกจากนี้ องค์ประกอบสำคัญของการวางแผนเกษียณคือการปกป้องทรัพย์สิน อย่าละเลยประกันชีวิต ประกันทุพลภาพ และประกันโรคร้ายแรง เพื่อให้มั่นใจได้ว่า ครอบครัวจะไม่เผชิญกับวิกฤตทางการเงิน และไม่ต้องถอนเงินออมเพื่อการเกษียณมาใช้หากเกิดเหตุที่ไม่คาดฝันขึ้น

ตีแตก : กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤต ให้ความรู้ที่ควรจะต้องศึกษาก่อนที่เข้าไปลงทุน

Inspire Now ! : ทุกคนใฝ่ฝันถึงวันเกษียณอย่างสำราญ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า วันแห่งความสำราญต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก นั่นคือที่มาของการวางแผนเกษียณ ไม่สำคัญว่าเราจะอายุเท่าไหร่ เราสามารถเริ่มต้นวางแผนเกษียณได้เสมอ ถึงแม้เรามีสวัสดิการทั้งเงินบำนาญ สวัสดิการรักษาพยาบาล แต่มันไม่เพียงพออย่างแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุ้นเคยกับรูปแบบการใช้ชีวิตในวันที่ยังมีรายได้ประจำ ยิ่งไปกว่านั้น คนเกษียณส่วนใหญ่ ไม่ได้มีเงินออมและสินทรัพย์มากพอขนาดนั้น บางคนเลยให้ความเห็นว่าผู้เกษียณอายุควรปรับวิถีชีวิตให้เท่ากับรายได้ที่ลดลงและเท่าที่สินทรัพย์ของตัวเองจะเอื้ออำนวย เห็นแบบนี้แล้ว เราจะเริ่มต้นสร้างพอร์ตเกษียณที่ต้องการตั้งแต่วันนี้ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต หรือค่อยไปลุ้นยอมรับสภาพเอาในภายภาคหน้า ขึ้นอยู่กับตัวเราเองค่ะ

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าเดิมใช่ไหม ? มาเริ่มต้นวางแผนเกษียณให้ตัวเองกัน เพื่อความมั่นคงและการมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : dol.gov, forbes.com, investopedia.com

Featured Image Credit : vecteezy.com/joeparin

Facebook Comments

แพทย์เวชศาสตร์ความงาม ผู้หลงไหลการพัฒนาตัวเอง ชอบแบ่งปันประสบการณ์ รักการอ่านและการท่องเที่ยว