สาย bts ทั้งหมด, สายรถไฟฟ้า bts

คู่มือ สาย BTS ทั้งหมด ดูง่าย เดินทางตามได้ ไม่งง ครบถ้วน อัปเดตล่าสุด

ชีวิตเมืองกรุงที่เต็มไปด้วยจำนวนคนมากมายมหาศาล ทำให้เกิดการจราจรติดขัดแทบจะตลอดเวลา โดยเฉพาะช่วง Rush Hour ที่แต่ละคนต่างรีบไปทำงาน ซึ่งคนที่เพิ่งหัดขับรถครั้งแรกนั้น อาจจะต้องขอยอมแพ้และเปลี่ยนไปใช้บริการขนส่งมวลชนกันเลยทีเดียว นอกเหนือจากการใช้รถบนท้องถนนแล้ว การเลือกขึ้นรถไฟฟ้า BTS ก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่มนุษย์เมืองกรุงนิยมใช้กัน โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา และคนวัยทำงาน เพราะเดินทางสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าน้ำมัน เรามาดูกันว่า สาย BTS ทั้งหมด นั้น จะมีสายไหนกันบ้าง และมีสถานีไหนบ้างที่เปิดให้บริการแล้วแต่ละสาย มีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่ไหน จะได้ไม่งงกันแล้วไม่ขึ้นรถผิดสาย และใช้รถไฟฟ้ากันได้อย่างสะดวกสบายใจค่ะ

อัพเดต ! สาย BTS ทั้งหมด มีสายไหนบ้าง ? รู้ไว้ ไม่ขึ้นผิดสายแน่นอน!

สาย bts ทั้งหมด, สายรถไฟฟ้า bts
Image Credit : www.bts.co.th

สายรถไฟฟ้า BTS โดยหลักๆ แล้วจะแบ่งเป็น 3 สายด้วยกันคือ สายสุขุมวิท หรือสายสีเขียวอ่อน สายสีลม หรือสายสีเขียวเข้ม และสายกรุงธนบุรี หรือสายสีทองนั่นเอง ซึ่งสาย BTS ทั้งหมด จะมีสถานีรวมทั้งสิ้น 63 สถานี และแต่ละสาย ก็จะมีการแบ่งเส้นทางที่แตกต่างกันออกไป เรามาเริ่มกันที่สายสีเขียวอ่อน หรือสายสุขุมวิทกันค่ะ ว่ามีจุดเริ่มต้นที่สถานีใด และไปสิ้นสุดที่สถานีใดบ้าง ตามนี้

[affegg id=4557]

1. สายสุขุมวิท หรือสายสีเขียวอ่อน (สถานีคูคต – สถานีเคหะสมุทรปราการ)

สาย BTS สายสีเขียวอ่อนจะเริ่มจากเคหะสมุทรปราการ (สถานีเคหะสมุทรปราการ 

) มาตามถนนสุขุมวิท ผ่านแยกบางนา เรื่อยมาจนถึงถนนเพลินจิต ถนนพระรามที่1 ถนนพญาไท อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เข้าสู่ถนนพหลโยธิน สนามเป้า สะพานควาย ผ่านจตุจักร ห้าแยกลาดพร้าว แยกรัชโยธิน แยกเกษตรศาสตร์ วงเวียนหลักสี่ สะพานใหม่ แยกคปอ.ไปจนถึงคูคต (สถานีคูคต) โดยเป็นสาย BTS ทั้งหมดที่ครอบคลุม 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี กรุงเทพมหานคร และจังหวัดสมุทรปราการ มีสถานีต่างๆ ดังนี้

  • N24 สถานีคูคต 
  • N23 สถานีแยก คปอ.
  • N22 สถานีพิพิธภัณฑ์กองทัพอากาศ 
  • N21 สถานีโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  • N20 สถานีสะพานใหม่ 
  • N19 สถานีสายหยุด
  • N18 สถานีพหลโยธิน 59
  • N17 สถานีวัดพระศรีมหาธาตุ
  • N16 สถานีกรมทหารราบที่ 11 
  • N15 สถานีบางบัว
  • N14 สถานีกรมป่าไม้ 
  • N13 สถานีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • N12 สถานีเสนานิคม
  • N11 สถานีรัชโยธิน
  • N10 สถานีพหลโยธิน 24
  • N9 สถานีห้าแยกลาดพร้าว (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป MRT พหลโยธินได้)
  • N8 สถานีหมอชิต (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป MRT สวนจตุจักรได้)
  • N7 สถานีสะพานควาย
  • N6 สถานีเสนาร่วม (ไม่เปิดให้บริการ)
  • N5 สถานีอารีย์
  • N4 สถานีสนามเป้า
  • N3 สถานีอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
  • N2 สถานีพญาไท (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป Airport Railink ได้)
  • N1 สถานีราชเทวี (สามารถไปที่ท่าเรือสะพานหัวช้างได้)
  • สถานีร่วม สถานีสยาม (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวเข้มได้)
  • E1 สถานีชิดลม 
  • E2 สถานีเพลินจิต
  • E3 สถานีนานา
  • E4 สถานนีอโศก (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป MRT สุขุมวิทได้)
  • E5 สถานีพร้อมพงษ์
  • E6 สถานีทองหล่อ
  • E7 สถานีเอกมัย
  • E8 สถานีพระโขนง
  • E9 สถานีอ่อนนุช 
  • E10 สถานีบางจาก 
  • E11 สถานีปุณณวิถี
  • E12 สถานีอุดมสุข
  • E13 สถานีบางนา
  • E14 สถานีแบริ่ง
  • E15 สถานีสำโรง
  • E16 สถานีปู่เจ้า
  • E17 สถานีช้างเอราวัณ
  • E18 สถานีโรงเรียนนายเรือ 
  • E19 สถานีปากน้ำ
  • E20 สถานีศรีนครินทร์
  • E21 สถานีแพรกษา
  • E22 สถานีสายลวด
  • E23 สถานีเคหะสมุทรปราการ

2. สายสีลม หรือสายสีเขียวเข้ม (สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ – สถานีบางหว้า)

สาย bts ทั้งหมด, สายรถไฟฟ้า bts
Image Credit : freepik.com

สำหรับสายรถไฟฟ้า BTS สีเขียวเข้ม เส้นทางจะเริ่มจากแยกถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนเพชรเกษม (สถานีบางหว้า) ไปตามถนนราชพฤกษ์ ผ่านแยกถนนราชพฤกษ์ตัดกับถนนวุฒากาศ ผ่านแยกรัชดา – ตลาดพลู ผ่านแยกตากสิน ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานตากสิน ไปตามถนนสาทร เลี้ยวซ้ายเข้าถนนช่องนนทรี ผ่านถนนสีลม สวนลุมพินี ถนนราชดำริ และเลี้ยวซ้ายเข้าถนนพระราม 1 ไปสิ้นสุดที่บริเวณหน้าสนามกีฬาแห่งชาติ ( สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ) โดยมีสถานีต่างๆ ดังนี้

  • W1 สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
  • สถานีร่วม สถานีสยาม (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปรถไฟฟ้า BTS สายสีเขียวอ่อนได้)
  • S1 สถานีราชดำริ
  • S2 สถานีศาลาแดง (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป MRT สีลมได้)
  • S3 สถานีช่องนนทรี
  • S4 สถานีเซนต์หลุยส์
  • S5 สถานีสุรศักดิ์
  • S6 สถานีสะพานตากสิน (สามารถไปยังท่าเรือสาธรได้)
  • S7 สถานีกรุงธนบุรี (สามารถเปลี่ยนเส้นทางไปรถไฟฟ้า BTS สายสีทองได้)
  • S8 สถานีวงเวียนใหญ่
  • S9 สถานีโพธิ์นิมิตร
  • S10 สถานีตลาดพลู
  • S11 สถานีวุฒากาศ
  • S12 สถานีบางหว้า ( สามารถเปลี่ยนเส้นทางไป MRT บางหว้า หรือไปยังท่าเรือบางหว้าได้)

3. สายสีทอง (สถานีกรุงธนบุรี – สถานีคลองสาน)

สาย BTS ทั้งหมดของสายสีทองนั้น จะมีอยู่ 3 สถานีด้วยกัน ซึ่งรถไฟฟ้าสายสีทอง เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนรองบนพื้นที่ฝั่งธนบุรี เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางมายังถนนเจริญนคร และเชื่อมต่อเข้ากับห้างดังในกรุงเทพอย่างศูนย์การค้าไอคอนสยาม วิ่งไปตามแนวถนนเจริญนคร ผ่านศูนย์การค้าไอคอนสยาม สำนักงานเขตคลองสาน สิ้นสุดในช่วงแรกที่บริเวณแยกวงเวียนเล็ก (สมเด็จเจ้าพระยา-ประชาธิปก) รวมระยะทาง 2.7 กิโลเมตร มีสถานีดังนี้

  • G1 สถานีกรุงธนบุรี
  • G2 สถานีเจริญนคร
  • G3 สถานีคลองสาน

สถานีรถไฟฟ้า BTS มีห้องน้ำให้บริการมั้ย ?

เป็นอีกเรื่องที่หลายๆ คนสงสัยกันว่า แต่ละสถานีของ BTS นั้น มีห้องน้ำให้บริการหรือเปล่า เพราะเราอาจปวดท้อง อยากเข้าห้องน้ำกะทันหันในระหว่างเดินทางได้ ซึ่งความจริงแล้ว ทุกสถานีรถไฟฟ้า BTS มีห้องน้ำพนักงานในชั้นออกบัตรโดยสารให้ผู้โดยสารสามารถเข้าได้ในยามฉุกเฉิน เพียงติดต่อเจ้าหน้าที่ของสถานีรถไฟฟ้า และพนักงานจะพาไปเข้าห้องน้ำที่มีในสถานีค่ะ สาเหตุที่ต้องแจ้งพนักงานก็เพราะว่า ห้องน้ำอยู่ใกล้ทางเข้าห้องระบบไฟฟ้าและเครื่องกล เพื่อความปลอดภัยของประชาชนที่มาใช้บริการ จึงต้องมีการแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน ทั้งนี้ บางสถานีที่เชื่อมต่อกับ MRT ก็มีห้องน้ำสาธารณะบริการ เช่น BTS หมอชิต ที่สามารถเข้าห้องน้ำใน Metro mall ของ MRT สวนจตุจักรได้ และมีบางสถานีที่มีมีห้องน้ำบริการเวลา 7.00 – 9.00 น. และ 17.00 – 20.00 น. ถ้านอกเหนือจากเวลานี้ ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ ได้แก่สถานี

สายสุขุมวิท (สีเขียวอ่อน)

  • สถานีอุดมสุข ระหว่างทางออกที่ 3 – 4 ใกล้ๆ กับเคาน์เตอร์สำนักงานเขตบางนา 
  • สถานีบางนา ทางออกที่ 2 ห้องน้ำอยู่ทางขวามือก่อนถึงทางออก
  • สถานีแบริ่ง อยู่ระหว่างทางออกที่ 3 และ 4
  • สถานีสำโรง อยู่ระหว่างทางออก 3 และ 4
  • สถานีปู่เจ้า  อยู่ระหว่างทางออก 3 และ 4
  • สถานีช้างเอราวัณ  อยู่ระหว่างทางออกที่ 1 กับ 2 อยู่ทางขวามือ
  • สถานีโรงเรียนนายเรือ อยู่ระหว่างทางออกที่ 1 กับ 2
  • สถานีปากน้ำ อยู่ระหว่างทางออกที่ 6 กับ 4
  • สถานีศรีนครินทร์ อยู่ระหว่างทางออกที่ 6 กับ 4
  • สถานีแพรกษา อยู่ระหว่างทางออกที่ 6 กับ 4 
  • สถานีสายลวด อยู่ระหว่างทางออกที่ 6 กับ 4 
  • สถานีเคหะสมุทรปราการ อยู่ระหว่างทางออกที่ 1 กับ 5

สายสีลม (สายสีเขียวเข้ม)

  • สถานีกรุงธนบุรี อยู่ทางออกที่ 4
  • สถานีวงเวียนใหญ่ ทางออกที่ 4 
  • สถานีบางหว้า ตรงทางออกที่ 4

[affegg id=4558]

บัตรโดยสารรถไฟฟ้า BTS มีกี่ประเภท ? แต่ละประเภทใช้ยังไง ?

สาย bts ทั้งหมด, สายรถไฟฟ้า bts
Image Credit : www.bts.co.th

บัตรโดยสารสายรถไฟฟ้า BTS มีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ บัตรโดยสารเที่ยวเดียว บัตรโดยสารประเภท 1 วัน และบัตรแรบบิท ดังนี้

1. บัตรโดยสารเที่ยวเดียว

ใช้เดินทางได้ 1 เที่ยวระหว่างสถานี ตามอัตราค่าโดยสารที่กำหนด (ปัจจุบันอัตราค่าโดยสารอยู่ที่ 16 – 44 บาท และราคาสูงสุดสำหรับการเดินทางไปยังส่วนต่อขยายจะอยู่ที่ 59 บาท สามารถคำนวณอัตราค่าโดยสารแต่ละเส้นทางได้ที่ (www.bts.co.th) และใช้เดินทางได้เฉพาะวันที่ซื้อเท่านั้น ซึ่งบัตรโดยสารสามารถซื้อได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสารอัตโนมัติ หรือซื้อที่ห้องบริการจำหน่ายตั๋ว และบัตรโดยสารจะถูกเก็บคืนที่ประตูอัตโนมัติฝั่งขาออก ทั้งนี้ ราคาค่าโดยสารจะปรับขึ้นเป็น 17 – 47 บาท ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป และสำหรับอัตราค่าโดยสารไปยังส่วนต่อขยาย อัตราค่าโดยสารจะเป็นไปตามประกาศของกรุงเทพมหานคร

2. บัตรโดยสารประเภท 1 วัน

บัตรโดยสารประเภท 1 วัน จำหน่ายที่ราคา 140 บาท ใช้เดินทางภายในวันที่ซื้อหรือวันที่ลงทะเบียนไว้ โดยสามารถใช้ได้ไม่จำกัดเที่ยวและระยะทาง ซึ่งมีจำหน่ายที่ห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารทุกสถานี สามารถติดต่อซื้อบัตรได้ที่พนักงานได้เลย ทั้งนี้ บัตรโดยสารประเภท 1 วัน ไม่สามารถแลกคืนเป็นเงินสดได้ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 เป็นต้นไป ราคาปรับจะปรับเพิ่มเป็น 150 บาท

3. บัตรแรบบิท

สาย bts ทั้งหมด, สายรถไฟฟ้า bts
Image Credit : www.facebook.com/RabbitCard

บัตรแรบบิท เป็นบัตรที่ใช้ชำระค่าบริการรถไฟฟ้า BTS และระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ ซึ่งใช้ระบบเติมเงินเข้าไปในบัตร เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถไฟฟ้าเป็นประจำ และไม่อยากเสียเวลาซื้อบัตรทุกรอบ สามารถซื้อบัตรแรบบิทมาใช้ได้ เพียงแตะบัตรแรบบิทที่เครื่องอ่านบัตรโดยสารแล้วรอสัญญาณดัง ค่าโดยสารก็จะถูกหักออกจากยอดเงินในบัตรแรบบิทโดยอัตโนมัติเมื่อออกจากสถานีปลายทาง ซึ่งบัตรแรบบิทแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ

  1. สำหรับนักเรียน – นักศึกษาที่อายุไม่เกิน 23 ปี 
  2. สำหรับบุคคลทั่วไป  
  3. สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งผู้สูงอายุที่ใช้บัตรแรบบิท จะได้รับส่วนลดตั๋วโดยสาร 50% จากอัตราค่าโดยสารปกติ

ทั้งนี้ สามารถซื้อบัตรแรบบิทได้ที่สถานีต่างๆ ตามห้องจำหน่ายตั๋วโดยสารได้เลยค่ะ โดยบัตรแรบบิทมาตรฐาน จำหน่ายราคา 200 บาท (ราคารวมค่าธรรมเนียมการออกบัตร 100 บาท และมูลค่าเริ่มต้นในบัตรแรบบิท 100 บาท พร้อมใช้งาน)

เวลาให้บริการรถไฟฟ้า BTS

สาย BTS ทั้งหมด จะเปิดให้บริการ 06.00 – 24.00 น ทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่

  • ศูนย์ข้อมูลนักท่องเที่ยว 02 617 7341
  • ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ บีทีเอส 02 617 6000

และนี่ก็เป็นสาย BTS ทั้งหมด 3 สายด้วยกัน คือ สายสีเขียวอ่อน (สายสุขุมวิท) สายสีเขียวเข้ม (สายสีลม) และสายสีทอง (สายกรุงธนบุรี) รวมทั้งหมด 63 สถานี ก็หวังว่าใครที่ไม่ค่อยชำนาญเส้นทางการใช้รถไฟฟ้า BTS เมื่อได้ศึกษาเส้นทางกันมากขึ้นแล้ว จะทำให้ใช้ BTS ได้คล่องตัวมากขึ้น ไม่ขึ้นรถไฟฟ้าผิดสายอีกต่อไป และเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย หายห่วง ไปถึงที่หมายโดยสวัสดิภาพนะคะ

[affegg id=4559]

Inspire Now ! : การสัญจรไปยังที่ต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ไม่ว่าจะด้วยพาหนะใดก็ตาม การศึกษาเส้นทางก่อนไป และศึกษากฎหมายจราจรใหม่ ก็จะทำให้เราไปถึงที่หมายได้ไวขึ้น ไม่หลงทาง ไม่ทำผิดกฎจราจร และสำหรับในกรุงเทพมหานคร การเดินทางด้วยรถไฟฟ้าก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่ต้องการเดินทางอย่างรวดเร็วและต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย เนื่องจากการเดินทางด้วย BTS มีค่าใช้จ่ายไม่สูงมาก เมื่อเทียบกับการใช้รถยนต์ส่วนตัว ไม่เสี่ยงรถติด ไม่เปลืองน้ำมัน และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และถ้ามีการศึกษาเส้นทางสาย BTS ทั้งหมดมาอย่างดีแล้ว และศึกษาวิธีซื้อบัตรมาอย่างครบถ้วน รับรองว่าขึ้นรถไฟฟ้าได้ง่ายๆ สบายๆ ไม่หลง แถมยังปลอดภัย ถึงที่หมายอย่างแน่นอนค่ะ

DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? รู้วิธีใช้รถไฟฟ้า BTS แล้ว การเดินทางในกรุงเทพ ฯ ครั้งต่อไป ก็ลองใช้รถไฟฟ้ากันดูนะคะ ทั้งสะดวกสบาย ปลอดภัย และถึงจุดหมายอย่างแน่นอนค่ะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : rabbit.co.th, th.wikipedia.org, thairath.co.th, bts.co.th

Featured Image Credit : freepik.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW