ประกันสังคม มาตราต่างๆ, ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท

ประกันสังคม มาตราต่างๆ มีอะไรบ้าง ? มาเช็คกันเราเป็นผู้ประกันตนแบบไหน ?

ประกันสังคม มาตราต่างๆ มีอะไรบ้าง ? มาเช็คกันเราเป็นผู้ประกันตนแบบไหน ?

สำหรับวัยทำงาน พนักงานออฟฟิศ หรือคนทำงานประจำหลายคน น่าจะเข้าใจกันเป็นอย่างดีกับการโดนหักค่าประกันสังคมออกจากของค่าจ้างทุกๆ เดือน หลายเสียงก็บ่นกันยกใหญ่ว่าเสียดายเงินในส่วนนี้ แต่จริงๆ แล้วประกันสังคมไม่ได้มีไว้สำหรับพนักงานฟูลไทม์เท่านั้นนะ แต่ครอบคลุมในทุกประเภทของการทำงานเลยละค่ะ ว่าแต่ผู้ประกันตนมีกี่ประเภทกันแน่ ประกันสังคม มาตราต่างๆ นั้นรายละเอียดเป็นอย่างไร แล้วเงินที่เราจ่ายไปอยู่ทุกเดือนนั้นได้ประโยชน์อะไรกลับคืนมาบ้าง มาเคลียร์กันให้ชัดพร้อมๆ กันกับพวกเราทีมงาน DIY INSPRIE NOW

ประกันสังคม มาตราต่างๆ, ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท
Image Credit : freepik.com

มัดรวม ประกันสังคม มาตราต่างๆ ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท และที่จ่ายไปได้สวัสดิการอะไรบ้าง ?

การที่ประกันสังคมจะหัก 5% จากเงินเดือนเรา (สำหรับพนักงานเอกชน) คงเป็นเรื่องที่เราน่าจะรู้กันดีอยู่แล้ว แต่ละคนจึงส่งเงินสมทบในจำนวนเงินที่ต่างกันออกไปตามระดับเงินเดือนที่ได้รับ โดยมีฐานเงินขั้นต่ำอยู่ที่ 1,650 จนถึงไม่เกิน 15,000 บาท (ในมาตรา 33) รวมถึงประกันสังคม มาตราต่างๆ แบบอื่นอีกที่มีอัตราต่างกันออกไปอีกด้วย

อีกหนึ่งประเด็นที่อยากให้ทุกคนรู้ไว้คือ เงินในส่วนนี้ที่โดนหักไปทุกเดือนจะเข้าไปสู่ ‘กองทุนประกันสังคม’ และอีกส่วนจะมีรัฐที่ช่วยสมบทอีกแรง ซึ่งเงินในส่วนนี้คือสวัสดิการที่เราจะได้รับใน 7 กรณี ได้แก่

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 
  • คลอดบุตร 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิต
  • สงเคราะห์บุตร 
  • ชราภาพ 
  • ว่างงาน

[affegg id=4227]

และยังมีอีกกองทุนนึงที่ชื่อว่า ‘กองทุนเงินทดแทน’ ในส่วนนี้ลูกจ้างอย่างเราๆ ไม่ได้จ่ายให้กับประกันสังคม มาตราต่างๆ แต่เป็นนายจ้างส่งเงินเพื่อเป็นสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ที่เราจะได้รับ เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุการณ์ไม่คาดคิดอันเป็นผลจากการทำงานนั่นเองค่ะ กองทุนนี้จะครอบคลุมทั้งหมด 4 กรณี ได้แก่ 

  • ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย 
  • ทุพพลภาพ 
  • เสียชีวิตหรือสูญหาย
  • สูญเสียอวัยวะ

โดยสรุปแล้ว กองทุนทั้งสองประเภทนี้จะคุ้มครองให้กับคนทำงานหรือผู้ประกันตนที่อยู่ในทั้ง 3 มาตรานั่นเอง และนอกจากกองทุนประกันสังคมแล้ว ก็ยังมี กองทุนรวมฉบับมือใหม่ ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งสำหรับสร้างความมั่นคงได้ ว่าแต่ ประกันสังคม มาตราต่างๆ นั้นจะมีแบบใดบ้าง และคำถามที่ว่าผู้ประกันตนมีกี่ประเภทบ้างนั้น ไปดูกันเลย !

ประกันสังคมมาตรา 33 (พนักงานเอกชน)

ประกันสังคม มาตราต่างๆ, ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท
Image Credit : freepik.com

มาร่วมไขข้อสงสัยว่าผู้ประกันตนมีกี่ประเภท ด้วยประเภทแรกกันเลยกับ มาตรา 33 ลูกจ้างในทีนี้พูดง่ายๆ ก็คือพนักงานบริษัทเอกชนทั่วไป (มีลูกจ้างมากกว่า 1 คน) อายุตั้งแต่ 15 ปีจนถึงอายุไม่เกิน 60 ปีนั่นเอง 

สำหรับใครที่ส่งเงินสมทบอยู่ในมาตรา 33 จะครอบคลุมการคุ้มครองทั้งหมด 7 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

โดยอัตราที่เราจะต้องจ่ายเงินนั้นก็คือ 5% ส่วนนายจ้างออกให้อีก 5% รวมถึงรัฐบาลช่วยสมทบอีก 2.75% ซึ่งอัตราที่คิดนี้จะมีตั้งแต่เงินเดือน 1,650 บาท ไปจนถึง 15,000 บาท เป็นต้นไป (เรทการเสียสูงสุดจะสิ้นสุดที่เงินเดือน 15,000 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 750 บาท) 

[affegg id=4228]

ประกันสังคมมาตรา 39 (ลาออกจากงาน)

มาต่อกันที่มาตรา 39 กันเลยค่ะ สำหรับผู้ประกันตนที่เคยได้ส่งเงินในมาตรา 33 มาก่อน หมายความว่าเคยทำงานประจำและลาออกแล้ว ดังนั้นการส่งเงินสมทบจะเป็นความต้องการของเราเองเพื่อรักษาสิทธิประกันสังคมเอาไว้ แต่จะทำได้เฉพาะคนที่จ่ายเงินสมทบสะสมในมาตรา 33 มาไม่น้อยกว่า 12 เดือนและลาออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนเท่านั้น รวมถึงไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพด้วยเช่นกัน

ส่วนมาตรา 39 ก็คล้าย ๆ กับประกันสังคม มาตราต่างๆ ต่างที่จะครอบคลุมใน 6 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุอันตรายหรือเจ็บป่วย คลอดบุตร ทุพพลภาพ เสียชีวิต สงเคราะห์บุตร และชราภาพ อัตราที่ต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนประกันสังคมคือ 432 บาทต่อเดือน และส่วนที่เหลือจะเป็นทางรัฐบาลช่วยสมทบอีก 120 บาท

ประกันสังคมมาตรา 40 (ทำอาชีพอิสระ)

ประกันสังคม มาตราต่างๆ, ผู้ประกันตนมีกี่ประเภท
Image Credit : freepik.com

ผ่านไปแล้ว 2 แบบในประเด็นประกันสังคม มาตราต่างๆ เรามาปิดท้ายกันด้วยมาตรา 40 กันค่ะ มาตรา 40 นี้จะสำหรับคนที่ทำอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบเท่านั้น รวมถึงต้องไม่เคยสมัครในมาตรา 39 อีกด้วย ซึ่งจะครอบคลุมน้อยกว่าอีก 3 มาตรา ทั้งหมดถึง 5 กรณี ได้แก่ ประสบอุบัติเหตุอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร 

และในส่วนของอัตราการส่งเงินสมทบในมาตรานี้สามารถเลือกได้ทั้งหมด 2 รูปแบบ ได้แก่

  • 100 บาท ต่อเดือน (เราจ่าย 70 บาท และรัฐบาลช่วยสมทบอีก 30 บาท) ผู้ประกันตนในมาตรานี้จะได้สวัสดิการ 3 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิต
  • 150 บาท ต่อเดือน (เราจ่าย 100 บาท และรัฐบาลช่วยสมทบอีก 50 บาท)  ผู้ประกันตนในมาตรานี้จะได้สวัสดิการ 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต และชราภาพ

คราวนี้ทุกคนคงได้ทราบถึงประกันสังคม มาตราต่างๆ รวมถึงผู้ประกันตนมีกี่ประเภทกันไปแล้ว สำหรับใครที่กำลังตกงานหรือถูกเลิกจ้างอยู่ก็น่าจะรู้วิธีจัดการกับประกันสังคมของตัวเองมากขึ้น รวมถึงตอบข้อสงสัยว่ายังคงใช้สิทธิ์ได้หรือไม่ ส่วนอาชีพอิสระก็สามารถนำส่งเงินประกันสังคมได้เช่นกัน แถมยังเลือกได้อีกด้วยว่าจะจ่ายเท่าไหร่ และจะได้สิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

เรียกได้ว่า เรื่องของประกันสังคม มาตราต่างๆ รวมถึงผู้ประกันตนมีกี่ประเภทเป็นสิ่งสำคัญมากๆ ที่เราควรรู้ เพราะการที่เราทราบข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของตัวเองที่จะได้รับจากเงินที่เสียไปในทุกๆ เดือนนั้น ทำให้เราไม่เสียโอกาสในการใช้สิทธิประกันสังคมไป ซึ่งเป็นสวัสดิการที่เราพึงได้จากทางรัฐบาลนั่นเองค่ะ หากใครไม่มีประกันค่ารักษาพยาบาล ที่ซื้อเอาไว้จากบริษัทเอกชน อย่างน้อยๆ ก็ยังมีประกันสังคมที่จะแบ่งเบาค่าใช้จ่ายอันเนื่องมาจากการเจ็บป่วยได้

[affegg id=4229]

Inspire Now ! : ประกันสังคม เป็นเงินออมภาคบังคับซึ่งรัฐบาลสนับสนุนให้ประชาชนมีหลักประกันในการใช้ชีวิต ประกันสังคมไม่ได้มีแค่ในไทยเท่านั้น แต่เป็นสวัสดิการที่ทางรัฐมีให้ประชาชนแทบจะทุกประเทศ เพื่อเป็นเงินสำรองใช้จ่ายในกรณีฉุกเฉินต่างๆ อาทิ ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย สวัสดิการทำฟัน เกิดเหตุทุพพลภาพ  หรือตกงาน เป็นต้น โดยประกันสังคม มาตราต่างๆ ก็จะให้สวัสดิการแตกต่างกันไป

DIY INSPIRE NOW คือแรงบันดาลใจของฉันใช่ไหม ? หากรู้สิทธิ์และสวัสดิการประกันสังคมแบบนี้แล้ว ก็ลองไปใช้สิทธิ์กันดูบ้างนะคะ เพราะเป็นสิทธิ์ที่เราพึงได้อยู่แล้ว แล้วมาคอมเมนต์บอกเราด้วยนะคะว่าเป็นยังไง รออ่านอยู่นะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : bangkokbiznews.com, lb.mol.go.th, sso.go.th

Featured Image Credit : freepik.com/jcomp

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW