ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ ด้วยตัวเองยังไง ? แจกไอเดียทำตามง่าย ใช้ได้จริง !
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
Guest : คุณสุกัญญา สุระโส (สัน)
Creative Content & Planner
สวัสดีเดือนแห่งความรัก อยากชวนทุกคนนั่งอ่านประสบการณ์รักตัวเองกับเรื่อง ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ ไปกับคุณสัน สุกัญญา สุระโส สาวเก่งมากความสามารถที่เป็นทั้ง นักเขียน, บรรณาธิการฯ (บก.), บรรณาธิการบริหารฯ (บก. บห.) และทำงานด้านคอนเทนท์ มาร์เก็ตติ้งด้วย คุณสันมีประสบการณ์การทำงานซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องลิขสิทธิ์ที่น่าสนใจ และหลากหลาย ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์ เป็นไอเดียให้กับคนทำคอนเทนต์ในยุคปัจจุบันได้
คุณสันเล่าว่าเกิดที่กรุงเทพฯเป็นพี่สาวคนโตมีน้องสาว 1 คนเป็นครอบครัวเล็กๆที่อบอุ่น เริ่มเรียนระดับประถมฯ ครั้งแรกในกรุงเทพฯ แต่เปลี่ยนและย้ายโรงเรียนถึง 3 ครั้ง มีเหตุผลครั้งหนึ่งเพราะพ่อต้องไปทำงานต่างประเทศแม่เลยพาไปอยู่บ้านยายที่ร้อยเอ็ดและต้องย้ายโรงเรียนด้วยแต่ก็ได้ย้ายกลับมากรุงเทพฯเหมือนเดิม หลังจากพ่อกลับมาตอนนั้นถือได้ว่าเป็นเด็กเรียนดี กระตือรือร้น เคยเข้าแข่งขันทั้งทางด้านวิชาการและกิจกรรมหลายครั้ง คุณสันบอกว่าไม่ชอบวิชาภาษาอังกฤษแต่จะชอบเรียนพวกศิลปะ,สังคม,ภูมิศาสตร์,ภาษาไทยหรืออะไรทางนี้ พอจบประถมฯ ก็ได้ไปเรียนโรงเรียนมัธยมฯ หญิงล้วนทำให้ได้เรียนพวกวิชาคหกรรม,เย็บปักถักร้อย,ทำอาหารเพิ่มเติมด้วย ตอนนั้นก็รู้สึกชอบการทำอาหารและเคยมีโอกาสได้ไปประกวดก็ชนะตลอดจนได้รางวัลครกทองคำจากการแข่งตำส้มตำครั้งหนึ่งด้วย ตอนนั้นแม่จะย้ำเสมอว่าพ่อกับแม่ไม่มีอะไรให้มีแค่การศึกษาและขอให้ตั้งใจเรียนเก็บเกี่ยวตักตวงให้เต็มที่ ทำให้ค่อนข้างเรียนเก่ง ตั้งใจเรียนมาก
คุณสันเล่าว่า จุดเริ่มต้นของการเรียนดี ตั้งใจเรียนน่าจะมาจากการชอบอ่านของตัวเองด้วย เพราะหลังจากพ่อกลับมาจากต่างประเทศ และมาเปิดอู่ซ่อมรถ พ่อมีเลขาที่มาช่วยงาน จำได้ว่าพี่เลขาเป็นคนชอบอ่านหนังสือการ์ตูนญี่ปุ่นมาก คุณสันก็เลยชอบไปที่ออฟฟิศ ให้เค้าอ่านการ์ตูนนั้นให้ฟังและก็รู้สึกชอบมาก แต่ยุคนี้ถ้าใครอยากอ่านหรือดูการ์ตูนญี่ปุ่น ก็แนะนำเว็บดูอนิเมะ ที่สนุกไม่แพ้กันและเหมาะกับยุคสมัยด้วย คุณสันเล่าต่อว่า “บางครั้งพี่เค้ายังอ่านไม่จบ ก็ต้องไปทำงานแล้ว เราก็เลยอ่านต่อเอง ทำให้เราเป็นเด็กที่อ่านหนังสือได้คล่องมาก ก่อนที่จะเขียนหนังสือได้คล่องอีก”
“แล้วมันก็มีเรื่องผิดพลาดอีกอย่างนึง (แต่มีผลดีในเวลาต่อมา) คือเราฝากพ่อไปซื้อเฟรนด์ชิพตอนจะจบป.6 ซึ่งทุกคนต้องมีเพื่อให้เพื่อนเขียนความรู้สึกหรืออะไรต่างๆ ให้ก่อนเรียนจบ แต่พ่อหยิบผิดซื้อเป็นหนังสือกลอนของสำนักพิมพ์ใยไหมมาให้ พอเปิดอ่านดู ก็รู้ว่าเป็นกลอนรักหวานๆ เรารู้สึกว่ากลอนแบบนี้เราก็น่าจะเขียนได้ ตอนนั้นถึงจะอยู่ ป.6 แต่เราก็มีความแก่แดดนิดๆ (หัวเราะ) เพราะชอบอ่านการ์ตูนญี่ปุ่นอย่างที่เล่า แล้วพอได้เฟรนด์ชิฟที่พ่อซื้อผิดมาวันนั้นเลยกลายเป็นจุดเปลี่ยนของชีวิต เพราะเราก็ลงมือเขียนกลอนเลยทันทีแล้วก็จ้างน้องสาวให้ช่วยอ่าน น้องก็คอยชมว่าเพราะจังเลย ดีจังเลย จริงๆ น้องคงชมเพราะได้ค่าจ้างนั่นแหละ (หัวเราะ)”
จนมาถึงช่วง ม.ต้น มีนิตยสารชื่อ Sister ในเครือสำนักพิมพ์ใยไหมเหมือนกัน ประกาศเชิญชวนให้คนทางบ้านส่งผลงานแต่งกลอนเข้าไปลงนิตยสาร คุณสันก็ลองส่งไป ซึ่งส่งไปครั้งแรกก็ได้ลงเลย สำนักพิมพ์ก็ส่งนิตยสารเล่มที่กลอนได้ลงกลับมาให้ คุณสันดีใจมาก หลังจากนั้นก็เขียนและส่งไปอีกเรื่อยๆ ก็ได้ลงทุกครั้ง จนช่วง ม.4 บก.ของสำนักพิมพ์ ก็โทรมาชวนว่าอยากลองส่งกลอนมารวมเป็นเล่มไหม? คุณสันบอกว่า “ครั้งแรกก็ไม่คิดว่าตัวเองจะทำได้ แต่ก็มีกลอนที่เขียนสะสมไว้เยอะมากเป็นลายมือของเราเองด้วยนะ เพราะสมัยนั้นยังไม่มีคอมฯ จึงตัดสินใจลองส่งไปประมาณ 30-50 บท พ่อกับแม่ก็สนับสนุนเต็มที่ด้วยการให้พี่วินมอเตอร์ไซด์แถวบ้านเอาผลงานไปส่งที่สำนักพิมพ์เลย กลอนเราจึงได้รวมเล่มตีพิมพ์ แม่เราและแม่เพื่อนก็ช่วยกันซื้อโดยโทรไปซื้อที่สำนักพิมพ์เองเลย สำนักพิมพ์ก็บอกว่าหนังสือขายดีมากต้องบอกว่าพอเราได้ทำอะไรจริงจังครั้งแรกแล้วมีคนให้การสนับสนุน มันก็มีกำลังใจมากและนั่นก็เป็นครั้งแรกที่เราได้ค่าตอบแทนงานเขียนประมาณ 3,000 บาท และก็มีการเข้าไปเซ็นสัญญาว่าลิขสิทธิ์งานเขียนของเราเป็นของสำนักพิมพ์โดยสิทธิ์ขาด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่เราได้รู้จักกับคำว่าลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง แต่ตอนนั้นเรายังเด็กก็ไม่ได้สนใจหรือคิดอะไรมาก”
“ช่วง ม.ปลายเราย้ายมาเรียนที่โรงเรียน สห. ชื่อดังย่านลาดพร้าว ก็เริ่มคิดว่าอยากเป็นอะไร ตอนแรกคิดอยากเป็นมัณฑนากรแต่ลองวาดรูปแล้วไม่สวยเลยคิดว่าไม่น่าจะรอด ก็เริ่มเปลี่ยนความคิดว่าต้องเป็นนักเขียนนี่แหละ เพราะมีหนังสือเล่มแรกแล้ว และก็มีความอยากเขียนตลอดเวลาบวกกับเป็นคนชอบอ่านหนังสือมาก อ่านทุกประเภท พอมาช่วงปริญญาตรีก็เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวารสาร ช่วงปี 3 ที่ได้เลือกสาขาแล้วและได้เจออาจารย์พิเศษจึงได้รู้ว่าสาขาวารสารมันมีความหลากหลาย ทั้งหนังสือพิมพ์ นิตยสาร การเขียน ฯลฯ เราก็โฟกัสไปที่การทำนิตยสารเลย แต่ช่วงที่เรียนก็ยังเขียนกลอน,เรื่องสั้น,วรรณกรรมเยาวชนกับสำนักพิมพ์เดิมควบคู่ไปด้วย และก็ได้ขึ้นเวทีเปิดตัวหนังสือที่งานสัปดาห์หนังสือฯ ด้วย”
คุณสันเล่าว่าก่อนเรียนจบได้ไปฝึกงานที่นิตยสารชื่อดังเล่มหนึ่ง พอเรียนจบแล้วก็ได้มีโอกาสไปทำงานเป็นกองบรรณาธิการกับบริษัททำรายการทีวีระดับมหาชนแห่งนึง ที่เพิ่งเปิดธุรกิจสำนักพิมพ์ขึ้นมาใหม่ ทำงานอยู่ปีนึง ก็ได้รับโอกาสเป็นหัวหน้ากองฯ ทั้งที่อายุงานยังไม่มาก คุณสันถือว่าเป็นโอกาสในการเรียนรู้ เติบโต ได้ทำงานที่หลากหลาย ทั้งงานเขียน สัมภาษณ์ และการดูแลบริหารจัดการกองฯ ซึ่งตอนนั้นคุณสันก็ได้ดูแลนิตยสารเล่มหลักของบริษัทฯ ด้วย
“ต้องบอกว่าตอนนั้นเป็นครั้งแรกที่เราได้เรียนรู้เรื่องลิขสิทธิ์จริงจัง ซึ่งก็คือ เรื่องลิขสิทธิ์รูปภาพ ที่เอามาประกอบในหนังสือ สมัยนั้นอย่างแรกที่ทำกันเลย คือ ถ้าไปเอารูปของคนอื่นมาใช้ ก็ต้องใส่เครดิตทันที หรือต้องมีการขออนุญาตก่อน ไปจนถึงการตกลงแลกเปลี่ยนเป็นค่าตอบแทน แต่ส่วนใหญ่คนทำนิตยสารก็จะลดปัญหานี้ด้วยการให้ช่างภาพออกไปถ่ายใหม่เลย ส่วนด้านการเขียน เราเน้นใช้นักเขียนใน หรือนักเขียนนอกที่รู้จัก คุ้นเคยกันดี แน่นอนว่าทุกคนต้องรู้อยู่แล้วโดยจรรยาบรรณว่า ลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง สำคัญจำเป็นอย่างไร จึงเป็นการออกไปสัมภาษณ์เองและกลับมาเขียนเอง อ่อ!!! แต่สำหรับลิขสิทธิ์ของนักเขียนนอกก็อาจจะมีเงื่อนไขมากกว่านักเขียนในนิดหน่อยเช่น บทความที่ลงนิตยสารก็อาจจะถูกระบุว่าเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะการลงนิตยสาร 1 ครั้งเท่านั้น ถ้ามีการเอาไปรวมเล่มก็ต้องมีการดีลกันใหม่เพราะนักเขียนนอกบางคนก็อาจจะมีการรวมเล่มกับสำนักพิมพ์อื่นๆ ด้วย เราเองได้มีโอกาสเห็นสัญญาเหล่านี้ ก็เหมือนเป็นการเปิดโลกไปอีกขั้นที่เป็นความรู้ใหม่ เพราะสมัยเด็กๆ ที่เราทำหนังสือกลอนเราไม่เคยรู้ว่าเรามีทางเลือกเรื่องลิขสิทธิ์มากกว่า 1 ทางเช่น เลือกที่จะขายผลงานเป็นสิทธิ์ขาดให้กับสำนักพิมพ์เลยหรือการแบ่งเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดการขายหนังสือ หรือจะรับเงินค่าตอบงานเขียนแทนครึ่งนึงและได้รับส่วนแบ่งเปอร์เซ็นต์อีกครึ่งนึง ฯลฯ นั่นจึงเป็นครั้งแรกที่ได้เรียนรู้ว่าเราจะดูแลลิขสิทธิ์ผลงานยังไงและ ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง ดังนั้นในการทำงานทุกงานไม่ใช่แค่งานเขียนงานหนังสือทุกคนจึงควรมีความรู้เรื่องลิขสิทธิ์ไว้ด้วย”
“ตอนทำงานที่นี่ได้เจอเรื่องที่จำไม่ลืมเกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์อีกเรื่องคือ นิตยสารที่เราทำให้บริษัทฯ ค่อนข้างขายดีมีชื่อเสียง แต่อยู่ๆ วันนึงก็มีน้องฝาแฝดเกิดขึ้นซึ่งทำโดยบริษัทอื่น ถ้าว่าด้วยเรื่องของลิขสิทธิ์เค้าอาจไม่ผิดเพราะเค้าไม่ได้ Copy อะไรจากนิตยสารเราไป เค้าไปทำขึ้นมาใหม่ทุกอย่าง สัมภาษณ์เอง ถ่ายรูปเอง จัดวางใหม่ อาจจะมีหัวเรื่องคนให้สัมภาษณ์เป็นคนเดียวกันแต่เค้าจะทำออกมาตามหลังเรา 2-3 เล่ม และรูปร่างหน้าตาของนิตยสารเค้าที่คล้ายกับของเรามากไปหน่อยเท่านั้นเอง ตอนนั้นเราก็อึ้งและคิดขำๆ ว่าเค้าคงน่าจะใช้นิตยสารเราเป็น Reference มั้ง แต่ก็ทำให้รู้ว่าเรื่องแบบนี้ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณในการทำงานจริงๆ”
หลังจากนั้นคุณสันก็ได้ทำงานอีกหลากหลายแต่ก็ยังอยู่ในแวดวงหนังสือ นิตยสาร ไม่ว่าจะเป็นทำนิตยสารให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่เบอร์ต้นๆ ของประเทศ บริษัทข้ามชาติซึ่งได้ทำนิตยสารหัวนอกชื่อ Lisa โดยเขียนคอลัมน์หลักเรื่องจากปก ที่นี่คุณสันเล่าว่า “เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ เยอะมาก ที่แน่ๆ คือได้เจอหัวหน้างานที่ดีที่เราได้ใช้หลักการทำงานของเค้ามาเป็นต้นแบบนั่นคือการดูแลลูกน้อง เราจะไม่ดุหรือตำหนิโดยไม่มีทางออกให้ใคร แต่เราจะต้องดุและให้ข้อคิดกลับไปเพื่อให้ลูกน้องไปคิดต่อและแก้ไขปัญหาเองได้” ต่อจากที่นี่คุณสันก็ได้ไปเป็น บก.บห.ให้กับสำนักพิมพ์ของเพื่อนโดยยังรับงานฟรีแลนซ์ เขียนคอลัมน์หลักให้กับบริษัทฯ เดิมและทำ Pocket books อื่นๆ ควบคู่ไปด้วย คุณสันบอกว่า “ตอนมาทำสำนักพิมพ์ของเพื่อนก็ได้จับต้องเรื่องลิขสิทธิ์มากขึ้น เราต้องรู้มากขึ้นว่าประโยชน์ของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างเพราะที่นี่ต้องทำนิตยสารเกี่ยวกับเรื่องย่อละครโทรทัศน์ด้วย ซึ่งมีเรื่องลิขสิทธิ์ 2-3 ชั้นเลยตั้งแต่ลิขสิทธิ์คนเขียนนิยายต้นฉบับ คนเขียนบทโทรทัศน์และภาพถ่าย ช่วงนั้นเองเราก็ได้ทำ Magazine เกี่ยวกับอาหารที่แปลกใหม่อีกฉบับนึงชื่อ Meal me และคนค่อนข้างจำได้จากโปรไฟล์ตรงนี้ก็เป็นจุดเปลี่ยนสุดๆ ของเราเลย เพราะต่อมาเราได้ย้ายมาเป็น บก.บห. ให้กับนิตยสารท่องเที่ยวและอาหารชื่อว่า Weekend และ Eating out ซึ่งทำได้อยู่ปีกว่าก็ออกมาทำฟรีแลนซ์ แต่ด้วยความที่เราทำนิตยสารกิน เที่ยวมาระยะนึงแล้วก็เลยยังได้รับเชิญไปร่วมทริปร่วมงานของกิจกรรมการท่องเที่ยวต่างๆ ช่วงนี้เองก็เริ่มมีเว็บไซต์การท่องเที่ยวเกิดขึ้นและเราได้เขียนบทความให้กับเว็บไซต์ต่างๆ เหล่านี้ที่คุ้นๆ กันดี ก็เช่น sanook ดอท com ต้องบอกว่าตอนนั้นยังไม่ค่อยมีบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวจริงจังแบบทุกวันนี้ เราก็เหมือนเป็นบล็อกเกอร์ท่องเที่ยวรุ่นแรกๆ ก็ว่าได้”
จากนั้นคุณสันก็ผันตัวเองมาเป็น PR Manager ให้กับบริษัทที่ทำสื่อการเรียนการสอน แต่ก็ยังเกี่ยวข้องกับงานเขียน การทำคอนเท้นต์ท์ต่างๆ แต่เป็นเว็บไซต์เกี่ยวกับการสื่อสารองค์กรอย่างจริงจัง และได้เริ่มเรียนรู้เรื่องการทำคอนเทนต์บนโซเซียล จนไป Take course เองด้วย คุณสันทำงานที่นี่อยู่ปีกว่า แล้วก็ย้ายไปทำงานให้กับสินค้าแบรนด์นึงที่แบบเกี่ยวกับผู้หญิงและสุขภาพ คุณสันเล่าว่า “เค้าต้องการคนที่ทำคอนเทนต์เก่งๆ และมุ่งไปทางออนไลน์เต็มรูปแบบ นี่ก็คือจุดเปลี่ยนอีกครั้ง เพราะว่าเราได้ทำงานด้าน E-Commerce ดูแลด้านกลยุทธ์การตลาดโปรโมทสินค้าแบรนด์ Skin care ของผู้หญิงเอง ทุกขั้นตอน เต็มรูปแบบ ซึ่งมันทำให้เราสื่อสารบนโซเซียล มีเดียได้ดีมากขึ้น แน่นอนว่าเรื่องของลิขสิทธิ์มีอะไรบ้าง ก็ยิ่งสำคัญจำเป็นไม่น้อยกว่างานหนังสือ และจากงานนี้เราก็ได้ทำงานด้านการผลิตรายการโทรทัศน์ควบคู่ไปด้วย ทุกวันนี้เราก็เลยจับงานด้าน Content Marketing และเป็นแพลนเนอร์ วางแผนและผลิต Content ให้ทั้งหมดแบบครบวงจร”
พอเราโตขึ้น เป็น บก.บห.เอง และมีหนังสือที่ทำเอง หลักๆ รู้มากขึ้นแล้วว่า ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้าง เราก็ต้องเลือกนักเขียนที่เชื่อมั่นได้ เราคุยกันเรื่องจริยธรรมก่อนเลย และถ้าเป็นเรื่องลิขสิทธิ์ ก็จะย้ำว่าถ้าไปเอาผลงาน เอารูปของใครมาใช้ก็ต้องให้เครดิต ดีลขออนุญาต หรือ ดีลเรื่องค่าใช้จ่ายให้เรียบร้อยก่อนเอามาใช้ และโชคดีว่าส่วนตัวเป็นคนที่อ่านหนังสือผ่านตามาเยอะมาก เมื่อเห็นอะไรที่มันสะดุดใจ ก็จะเอาไปตรวจสอบเลย สมัยนี้มันมี Internet ก็ตรวจสอบไม่ยาก แค่ Copy ข้อความที่ เอ๊ะ!!! ไปเสิร์ชเลย แต่ที่ผ่านมาก็ค่อนข้างโชคดีที่ไม่เคยเจอปัญหาอะไรใหญ่ๆ กับน้องๆ นักเขียนที่ทำงานกับเรา ก็ไม่สร้างปัญหาเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์งานเขียน อาจจะเจอเรื่องภาพบ้าง เราก็ดีลแก้ไขกันไป เช่น น้องไปเสิร์ชภาพจากกูเกิ้ลมาใช้ เพราะคิดว่าใช้ได้ พอเจ้าของภาพเจอ เค้ามาตาม เราก็จะต้องเจรจาขอโทษ และขอซื้อภาพ หรือให้เครดิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาฟ้องร้องกัน ส่วนใหญ่ก็จะเจรจาได้ เพราะไม่ค่อยมีใครอยากเกิดปัญหาฟ้องร้องยืดเยื้อ ถ้าไม่ได้ผิดต่อกันแบบตั้งใจร้ายแรง และเรื่องภาพเราก็จะป้องกันโดยการจ้างช่างภาพไปถ่ายใหม่เลย หรือ อย่างพ็อคเกตบุกส์เล่มล่าสุดที่ได้ทำ Indy Market เราก็ถ่ายรูปเองเลย ในยุคนี้ถ้าต้องใช้รูปประกอบและไม่ได้ถ่ายเอง ก็จะเป็นการซื้อลิขสิทธิ์ภาพจากเว็บไซต์ต่างๆ ซึ่งราคาก็ไม่ได้แพง รวมถึงก็จะมีเว็บดาวน์โหลดรูปฟรีไม่ติดลิขสิทธิ์ ที่เป็นตัวเลือกที่ดีด้วย
ตอนนี้มาทำงานออนไลน์มากขึ้นแต่เพราะทำงานมานานเราก็จะพอดูออกว่าใครเขียนเอง ใคร Copy มา เราจะศึกษาสำนวนการเขียน สไตล์งานของคนที่ร่วมงานด้วยก่อน เราว่ายุคสมัยนี้คนส่วนใหญ่ก็หาข้อมูลจาก Internet แต่จะทำยังไงให้ไม่เป็นการละเมิดผลงานที่มีลิขสิทธิ์กับเด็กรุ่นใหม่ เราก็จะสอนและเรียบเรียงการทำงานใหม่ให้เค้ารู้จักเอาข้อมูลต่างๆ ที่หามาประมวลเรียบเรียงให้เป็นสำนวนของเค้าเองซึ่งก็คือการรีไรท์ที่แตกต่างจากการ Copy มาตัดแปะวางต่อกัน หรืออย่างข้อมูลท่องเที่ยวเนี่ยก็จะปัญหาเยอะหน่อย เพราะทุกคนก็หาข้อมูลจาก Internet อย่างตอนเราจะไปถ่ายรายการทีวีต่างประเทศที่ยังไม่เคยไป ก่อนจะไปเราก็ต้องเสิร์ชข้อมูลจาก Net หรือจากหนังสือท่องเที่ยวพอจะเอามาทำสคริปต์ให้พิธีกร เราก็ต้องเอามารีไรท์ใหม่ทั้งหมดเพราะไม่งั้นมันจะเกิดปัญหาได้ง่าย เป็นการสอนประโยชน์ของสิทธิ์มีอะไรบ้างให้กับน้องในทีมผ่านการทำงานจริง
ส่วนผลงานเราเองก็เคยโดนละเมิด มีอยู่ครั้งนึงยุคแรกๆ ที่เราเขียนบทความออนไลน์คนยังทำกันไม่เยอะ ที่เจอคือเค้าเอาบทความสุขภาพที่เราไปสัมภาษณ์หมอ 5 คนไปทำเป็นเพจใหม่เหมือนเป็นของตัวเองเลย โดยไม่ให้เครดิตไม่ให้อะไรเลย เราก็ทักไปในคอมเมนต์ของเค้า ว่าบทความนี้เอามาจากนิตยสารฉบับนี้ใช่ไหม ไม่ให้เครดิตหน่อยเหรอคะ แต่เค้าก็นิ่งเฉย เราก็ทักๆๆ ไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายเค้าก็ตัดสินใจคุยกับเรา แต่สมัยนั้นการคอมเม้นต์จะลบไม่ได้ มันทำให้ความน่าเชื่อถือของเค้าหายไปเอง สุดท้ายเค้าก็ตัดสินใจลบบทความนั้นทิ้งไป แต่จริงๆ ถ้าเขายอมใส่เครดิตให้ เราก็โอเคแล้วนะ
แล้วก็มีช่วงโควิดช่วงนึงที่เรามาทำงานเพจออนไลน์ชื่อดังแล้ว ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ทุกคนไปไหนไม่ได้ก็เกิดกระแสการทำคอนเทนน์อาหารกันเยอะ ซึ่งเพจที่เรารับผิดชอบอยู่ที่มียอดผู้ติดตามเป็นหลักหลายแสนคนยอดแชร์ก็เยอะ แล้วมีคอนเทนต์นึงเรื่องทอดกุนเชียงด้วยน้ำ ซึ่งทีมเราถ่ายทำขึ้นมาใหม่มีคนแชร์ต่อเยอะมากแต่ไม่ได้แชร์จากเพจเรานะ คนไปแชร์จากเพจอื่นที่ก๊อปปี้รูปเราไปใช้ทั้งหมดซึ่งเค้า Crop เครดิตโลโก้เล็กๆ ด้านล่างของเราออกหมดเลยและไม่ได้ Copy รูปภาพปกที่มีเครดิตไปด้วย ตอนนั้นก็ระดมทีมเข้าไปคอมเม้นต์ว่าช่วยให้เครดิตด้วยและก็รีพอร์ตๆ ไปเยอะมาก แต่เค้าก็ไม่ยอมลบและก็บอกว่าเค้าเอามาจากทวิตเตอร์ใครๆ ก็แชร์ได้เค้าไม่ได้ไปเอามาจากเพจเรานะ สุดท้ายเค้าก็บล็อคทุกคนแต่ก็มีทีมเราบางคนเข้าไปเป็นเพื่อนเค้าใหม่แล้วก็รีพอร์ตๆ ไปอีกจนสุดท้ายเค้าก็ลบออก แต่กว่าเค้าจะลบออกเค้าก็ได้ยอดผู้ติดตาม ยอดไลค์คอนเทนต์อื่นๆ ไปมากแล้ว ถามว่าทำไมไม่ฟ้องร้อง คือเรารู้ว่าประโยชน์ลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างก็จริงแต่ยึดหลักว่าเราจะจัดการด้วยวิธีประนีประนอมก่อน ถ้าเค้าให้เครดิต หรือยอมลบเราก็จะจบ คือการทำธุรกิจอ่ะเนอะ เราก็ไม่รู้ว่าวันข้างหน้าจะวนไปเจอกันไหมเป็นพาร์ทเนอร์กันหรือเปล่า ก็เลยเลือกเจรจาก่อนแต่ถ้าเค้าดื้อด้านก็ค่อยว่ากันด้วยกฎหมาย
ไม่ว่าจะรู้ว่าประโยชน์ลิขสิทธิ์มีอะไรบ้างหรือไม่ก็ตาม ถ้าในการทำงาน เราว่าจริยธรรม คือเรื่องที่ต้องฝังหัวก่อนเลย การให้เครดิตคือการให้เกียรติคนอื่น ถ้าเราไม่อยากให้ใครละเมิดงานเรา เราก็ต้องไม่ละเมิดงานคนอื่น
เคล็ดลับในการตรวจสอบงานง่ายๆ คือ ต้องอ่านเยอะๆ ผ่านตามากๆ และมีการทำงานแบบ Double Check คืออะไรที่สะดุดใจ เอ๊ะ! ก็ต้องเอาข้อความเหล่านั้นเข้าไปวางในกูเกิ้ล ถ้ามีคำซ้ำเกินห้าคำหรือสิบคำ มันก็รู้แล้ว และเดี๋ยวนี้เรื่องของงานที่ทำบนออนไลน์ มันไม่จำเป็นต้องจดลิขสิทธิ์เลย แค่เราโพส เผยแพร่ออกไปเป็นคนแรกก็รู้แล้วว่าลิขสิทธิ์เป็นของใคร ซึ่งดูได้จากเวลาที่ยืนยันได้ ตรวจสอบได้ มันบอกได้แล้วว่าใครทำก่อน ใครโพสก่อน มันมีหลักฐานแล้ว
สำหรับเด็กรุ่นใหม่ เราต้องสอนหลักการทำงานที่ถูกต้อง ที่ไม่ไปกระทบกับคนอื่น นั่นคือ การสร้างคอนเทนต์ขึ้นมาใหม่ ครีเอทใหม่ อาจดูเรฟเฟอร์เรนท์เอาไอเดียได้ แต่ต้องไม่ใช่การ Copy เพราะคอนเทนต์ที่มีคุณค่า คือ คอนเทนต์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง
ตอนนี้กำลังทำ Channel ออนไลน์ของตัวเองร่วมกับเพื่อนสนิทสาวโสด ตั้งชื่อช่องไว้แล้วเรียบร้อย ก็เป็นเรื่องราวต่างๆ สนุกๆ น่าสนใจ ของสาวๆ วัย 40+ ซึ่งเป็นประสบการณ์ของพวกเราเอง เป็นแรงบันดาลใจให้สาวๆ วัยนี้กลับมารักตัวเอง กลับมาหาเพื่อนมารวมตัวกัน เราว่าน่าจะสนุกและได้ประโยชน์กับทุกคนที่ได้ดู จริงๆ ก็เริ่มๆถ่ายทำไปบ้างแล้ว
สมัยนี้มีสื่อออกมาเยอะ หลากหลาย เด็กหลายคนอาจจะเริ่มรู้ว่าตัวเองอยากทำอะไร เป็นอะไร แต่ไม่มีจุดโฟกัสว่าอยากเป็นอะไรจริงๆ หลายคนอาจจะเป็นเป็ด เหมือนเราเองก็เคยเป็น แต่สุดท้ายเราก็รู้ว่าเรามี Passion อะไรและทำอะไรได้ดีที่สุด เราเลยอยากแนะนำว่า ให้ทุกคนลองมองหาให้เจอว่าตัวเองอยากจะทำอะไร อยากจะเป็นอะไร แล้วค่อยมุ่งไปให้ตรงไปเต็มที่น่าจะดีที่สุด แล้วก็สร้างผลงานอะไรที่เป็นของตัวเองไม่ไปก๊อปปี้ใคร ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใคร เพราะสุดท้ายถ้าผลงานนั้นมันเป็นของเราอย่างแท้จริง เราก็จะภูมิใจกับมันตลอดไป
Inspire Now ! : ประสบการณ์การทำงานของคุณสันที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของลิขสิทธิ์และ ประโยชน์ของลิขสิทธิ์ มีอะไรบ้างผ่านประสบการณ์ทำงาน รวมทั้งแนวคิดในการให้คุณค่ากับผลงานที่เราควรสร้างด้วยตัวเอง เพื่อให้เราได้ภูมิใจในตัวเองนั้น น่าจะเป็นไอเดีย และทำให้ทุกคนได้เข้าใจถึงคำว่าลิขสิทธิ์กันไม่มากก็น้อยนะคะ |
---|
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันอยากเป็นคนที่ดีกว่าใช่ไหม? ความมุ่งมั่นตั้งใจและไม่หยุดพัฒนาของคุณสันทำให้ได้แรงบันดาลใจมากน้อยแค่ไหน มาแบ่งปัน มาพูดคุยกับเราได้นะคะ ♡
ชวนมาดูไอเดีย ออกแบบปฏิทิน ตั้งโต๊ะ สวยๆ พร้อม how to ที่ทำตามได้ง่ายๆ ออกแบบเองได้ตามความคิดสร้างสรรค์ และการใช้งาน ใช้เองก็ได้ ให้คนอื่นก็ดี
เกษียณแล้ว ทำอะไรดี แนะนำ อาชีพหลังเกษียณ พร้อมคำแนะนำในการเลือก ให้คุณได้ใช้ชีวิตทุกวันอย่างมีความสุข และรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง
ชวนดูวิธี โสดอย่างมีความสุข เอาใจสาวโสดทั้งที่ตั้งใจ และไม่ได้ตั้งใจ พร้อมแชร์นิยาม โสด หมายถึง อะไร พร้อมวิธีพัฬฒนาตัวเองที่ทำได้จริง