เชื่อว่าหลายๆ คนในตอนนี้อาจจะประสบพบเจอกับปัญหาต่างๆ อยู่ไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะสถานการณ์บ้านเมืองของเราในปัจจุบัน ที่เต็มไปด้วยโลกแห่งระบบทุนนิยมที่มีการแข่งขันกันสูง ไหนจะโรคภัยร้ายที่เกิดขึ้นมาใหม่ๆ ก็เริ่มมีความรุนแรงมากขึ้น หรือปัญหานั้นอาจจะเกิดจากคนรอบตัวของเพื่อนๆ เช่น คนรัก ครอบครัว หรือเพื่อนร่วมงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็กหรือใหญ่ก็อาจทำให้เพื่อนๆ เกิดความเครียด ความกังวล และความรู้สึกกดดัน จนทำให้เสียสุขภาพจิตและสุขภาพกายได้ แต่อาการเหล่านั้นสามารถบรรเทาลงได้ด้วยหลักธรรมหนึ่งที่ชื่อว่า สัปปายะ ค่ะ และยังมีสัปปายะสถานที่ช่วยให้เราได้ฝึกจิตใจอีกด้วย วันนี้เราจึงชวนเพื่อนๆ มาทำความรู้จักว่า สัปปายะ แปลว่าอะไร สัปปายะสถาน แปลว่า อะไร และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันของเราอย่างไรได้บ้าง ปล่อยจิตใจให้ว่าง แล้วไปดูพร้อมกันเลยค่ะ
ปัญหารอบด้าน มีความเครียด ? สามารถแก้ไขได้ เริ่มที่จิตใจเรา
ความหมายของสัปปายะ และสัปปายะสถาน
โดยความหมายในทางพุทธศาสนาแล้ว สัปปายะ แปลว่า สิ่งที่จะอำนวยความสะดวกแก่การปฏิบัติธรรม หรือมีความหมายสั้นๆ คือ สบาย นั่นเอง มีทั้งหมด 7 ข้อ ได้แก่
- อาวาสสัปปายะ คือ ที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม
- โคจรสัปปายะ คือ ที่หาอาหาร ที่บิณฑบาตที่เหมาะสม
- ภัสสสัปปายะ คือ การพูดคุยที่เหมาะสม
- ปุคคลสัปปายะ คือ บุคคลที่ถูกกันเหมาะสม
- โภชนสัปปายะ คือ อาหารที่เหมาะสม
- อุตุสัปปายะ คือ ดินฟ้าอากาศธรรมชาติแวดล้อมที่เหมาะสม
- อิริยาปถสัปปายะ คือ อิริยาบถที่เหมาะสม
ส่วน สัปปายะสถาน แปลว่า สถานที่ประกอบกรรมดี สมัยก่อนหากประเทศเกิดวิกฤติ กษัตริย์จะสร้างสถานที่เพื่อปลุกขวัญกำลังใจประชาชน ดำเนินชีวิตโดยใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนา หากเมื่อใดที่บ้านเมืองเกิดวิกฤติความเสื่อมทางศีลธรรม จึงต้องฟื้นจิตใจคนในชาติ โดยนำสถาปัตยกรรมไทยแบบแผนไตรภูมิตามพุทธคติมาเป็นแรงบันดาลใจในการออกแบบ และมีเครื่องยอดสถาปัตยกรรมไทยอยู่ตรงกลางอาคาร แต่การจะหาสัปปายะสถานที่มีสัปปายะครบทั้ง 7 ข้อ ก็อาจจะทำได้ยากสำหรับบุคคลทั่วไป แต่มีหลักธรรม 4 ใน 7 ข้อที่เพื่อนๆ สามารถนำไปปฏบัติกันได้คือ สัปปายะ 4 ได้แก่
- อาวาสสัปปายะ คือ มีที่พักอาศัยสะดวก ที่อยู่เหมาะสม บรรยากาศดี
- บุคคลสัปปายะ คือ มีบุคคลแวดล้อมที่เหมาะสม ที่เกี่ยวข้องทำให้สบายใจ
- อาหารสัปปายะ คือ บริโภคอาหารที่พอเหมาะ มีอาหารการบริโภคสะดวก
- ธัมมสัปปายะ คือ มีหลักปฏิบัติที่ถูกต้องและเหมาะแก่จริตของผู้ปฏิบัติธรรม
การนำสัปปายะไปใช้ในชีวิตประจำวัน
สำหรับ สัปปายะสถาน แปลว่า สถานที่ที่มีความสบายหรือสัปปายะ ความหมายของคำว่าสบายในที่นี้ ไม่ได้หมายความว่าเพื่อนๆ จะต้องมีคฤหาสหรูหรา มีเตียงนอนที่นุ่มสบาย หรือมีทุกอย่างที่สุขสมบูรณ์ แต่ในความหมายของคำว่าสบายในสัปปายะ แปลว่า ความเหมาะสมมากกว่า เพราะคำว่า สัปปายะ มาจาก สภาวะ กับ ปายะ คือความเหมาะสมแก่ภาวะนั้นๆ ไม่ใช่เหมาะสมกับกิเลสของเรา แต่เหมาะกับมรรคหรือผลที่จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น สัปปายะนี้ไม่ได้หมายถึง สบายๆ ที่พักเหมือนรีสอร์ท อาหารอร่อยระดับห้าดาว ไม่ใช่แบบนั้น แต่หมายถึงในทำนองที่เป็นปัจจัยภายนอกที่จะช่วยให้จิตสงบลงได้ค่ะ แล้วสัปปายะสถาน แปลว่าอะไรในความหมายที่ไม่ใช่ความสบายได้บ้าง
- เพื่อนๆ ต้องหาอาวาสสัปปายะ หรือสถานที่พักพิงของตัวเองให้เจอในวันที่จิตใจต้องการการเยียวยา อาจจะเป็นสวนสาธารณะสักแห่งให้เราได้นั่งพักผ่อนหย่อนใจ หรือการไปวัดเพื่อนั่งวิปัสสนาภาวนา คือ การเจริญสติเพื่อให้รู้เท่าทันความจริง ว่าเป็นสิ่งไม่เที่ยงตรง หรือสถานที่อะไรก็ได้ที่ทำให้เรารู้สึกสบายใจ มีบรรยากาศร่มเย็น สะอาดสดชื่นค่ะ
- เมื่อมีสัปปายะสถาน แปลว่าต้องมี บุคคลสัปปายะด้วยค่ะ การที่เราได้มีกัลยาณมิตรที่ดี ที่เหมาะสม จะช่วยให้เราเจอสภาวะที่เหมาะสมของจิต บุคคลนั้นอาจจะเป็น เพื่อนสนิทของเรา คนที่เราไว้ใจและเชื่อใจได้ หรือคนที่เราอยู่ด้วยแล้วสบายใจ รู้สึกเป็นตัวของตัวเอง หากเราอยู่กับคนเหล่านั้น เราก็จะรู้สึกปลอดภัย เหมือนได้อยู่บ้านอีกหลังเลยค่ะ
- การมีสัปปายะแปลว่า ได้กินอาหารที่เหมาะสม กินอาหารครบ 5 หมู่ มีประโยชน์ต่อร่างกาย ไม่กินมากเกินไป ไม่กินน้อยเกินไป กินแบบพอดีๆ เพื่อให้ร่างกายรู้สึกตื่นพร้อม แข็งแรง และมีสุขภาพที่ดีค่ะ
- การมีหลักธรรมะหรือข้อปฏิบัติที่เหมาะสมและเหมาะกับจริตของเรา ก็จะช่วยให้เราเกิดความรู้สึกสบายใจมากขึ้น เพื่อนๆ สามารถเลือกข้อปฏิบัติที่ตนเองชื่นชอบได้เลยค่ะ เช่น อาจจะทำสมถกรรมฐาน หมายถึงการฝึกสมาธิเพื่อระงับจากกิเลสและความรู้สึกเศร้าหมองทั้งปวง เพื่อให้จิตใจสงบสุขไม่ฟุ้งซ่าน จากความเครียดต่างๆ ค่ะ
เพราะฉะนั้นหากเพื่อนๆ พบสัปปายะสถาน แปลว่า เพื่อนๆ ได้พบเจอสถานที่ที่เหมาะแก่ความสบายของภาวะจิตใจ จนทำให้คลายความเศร้าหมอง ความเครียด ความวิตกกังวลลงได้ค่ะ ซึ่งในโลกนี้เราอาจจะหาสัปปายะสถานครบทั้ง 4 อย่างได้ไม่ง่ายนัก เพราะบางทีเราอาจจะไปอยู่บริเวณที่ไม่มีข้อใดข้อหนึ่งเป็นสัปปายะ เช่น อาหารขาดแคลน ที่พักไม่ค่อยสบาย หรือต้องอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มีบุคคลที่เราไม่สบายใจจะอยู่ด้วย เป็นต้น แต่ข้อสำคัญที่เพื่อนๆ ควรมีคือ ธัมมสัปปายะค่ะ เพราะหากเรามีหลักคำสอนเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแล้ว ไม่ว่าจะอยู่สภาวะใดๆ เราก็จะมีจิตใจที่สงบสุขได้ค่ะ
ทิปส์เพิ่มเติม
- นั่งสมาธิ ฝึกจิตใจ
ลองสังเกตตัวเองว่าหากเมื่อไรก็ตามที่รู้สึกกังวลกับอะไรบางอย่าง เพื่อนๆ จะรู้สึกว่าสิ่งๆ นั้นวนเวียนอยู่ในหัวตลอดเวลาหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นเราควรจัดการแก้ปัญหานั้น เพราะการเครียดอยู่กับเรื่องเดิมซ้ำๆ จะทำให้เราไม่อยากทำอะไร เช่น มัวเครียดอยู่กับเรื่องงานจนไม่สามารถทำงานต่อได้ค่ะ วิธีแก้ง่ายๆ ก็คือ นั่งสมาธิค่ะ อาจจะทำตอนตื่นนอนตอนเช้า หรือก่อนเข้านอนก็ได้เช่นกัน โดยอาจจะหาบทสวดมนต์สั้นๆ ก่อนนอนมาท่องสัก 1-2 บทก็จะช่วยให้จิตใจผ่อนคลายได้
- ออกกำลังกาย
หากเพื่อนๆ รู้สึกหมดแพชชั่น เหนื่อยล้า จนอาจจะทำให้ร่างกายนั้นเฉื่อยชาลงได้ แนะนำให้เพื่อนๆ ลองขยับตัวสักนิด ยืดเส้นยืดสายสักหน่อย ออกไปวิ่งจ้อกกิ้งเบาๆ ก็จะทำให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขที่เรียกว่า สารเอ็นดอร์ฟิน ออกมา ยิ่งรู้สึกมีชีวิตชีวามากยิ่งขึ้นค่ะ และอย่าลืมนำวิธีการหาสัปปายะสถาน แปลว่าการหาที่ๆ เหมาะแก่การออกกำลังกายก็ได้นะคะ เช่น สวนสาธารณะที่ร่มเย็น มีอากาศสดชื่น ก็จะทำให้สมอง ร่างกาย และจิตใจผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นค่ะ
- การปรับความคิด หรือ Mindset
จะมีประโยชน์อะไรหากเรามัวจมอยู่กับความเครียดถูกไหมคะ เพราะความเครียดเป็นสิ่งที่สัมพันธ์กับสมองของเรา หากเราเครียดมากๆ ก็จะส่งผลไม่ดีต่อสมองของเราจนเป็นโรคต่างๆ ได้ ในทางวิทยาศาสตร์หากเราคิดอย่างหนึ่งก็จะทำให้สมองของเราตอบสนองไปทางนั้น เช่น ถ้าเราคิดบวก สมองของเราก็จะรับรู้อัตโนมัติว่าเรามีความสุข เมื่อพบเจอปัญหาอะไรก็จะสามารถแก้ไข และผ่านพ้นไปได้เสมอ เพราะเรามี Mindset ที่ดีนั่นเองค่ะ
Inspire Now ! : ภาวะความเครียด อาการหมดหวัง หรือสิ้นหวังที่จะทำอะไรสักอย่าง เป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนต้องเคยเจอ แต่เราสามารถข้ามผ่านสิ่งเหล่านี้ไปได้ค่ะ หากเราพบเจอสัปปายะสถานของเรา ได้แก่ ที่พักที่เหมาะสม คนที่เหมาะสม อาหารที่เหมาะสม และธรรมะที่เหมาะสมกับตัวเอง เราก็จะมีสภาวะของจิตใจที่สบาย และสามารถผ่านพ้นทุกปัญหาได้เสมอค่ะ ดังนั้นเพื่อนๆ ลองนำหลักธรรมนี้ไปปรับใช้กันดูนะคะ |
DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่าหรือเปล่า ? หากเพื่อนๆ ได้นำแนวคิดสัปปายะสถานไปปรับใช้ดูแล้ว มีข้อคิดคติธรรม หรือ ธัมปัสสายะ ข้อไหนที่ปฏิบัติแล้วได้ผล สามารถมาแชร์กับเราได้เลยนะคะ ♡
อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : library.parliament.go.th, paolohospital.com, thaihealth.or.th