“โอะกุริโมโนะ” นิทรรศการสุนทรียแห่ง การให้ของขวัญ และการคืนกลับ ที่แฝงด้วยคุณค่าและปรัชญาของชาวญี่ปุ่น

นอกจากญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ใครๆ ก็หลงรักและคิดถึงในนาทีนี้แล้ว อีกหนึ่งอย่างที่จะไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือปรัชญาชีวิตที่ใช้ได้จริง ซึ่งเป็นแนวคิดและวิธีพัฒนาตัวเองที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยและทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นแนวคิดของวงกลมที่ตัดกัน 4 วง อย่าง Ikigai ที่ทำให้เรามองเห็นคุณค่าและความหมายของการมีชีวิตอยู่, Kodawari ปรัชญาการทำงานที่เน้นเรื่องการรับผิดชอบต่อตัวเองและสังคม, Wabisabi ที่เน้นการพิจารณาคุณค่าและความสุขทางใจมากกว่าวัตถุ, Omotenashi หรือการบริการลูกค้าด้วยหัวใจ หรืออีกหลากหลายแนวคิดที่บอกให้เรารู้ว่า การใช้ชีวิตที่มีความสุขนั้นเริ่มต้นจากจิตใจและตัวเราเองทั้งสิ้น

การให้ของขวัญ กับวัฒนธรรมของญี่ปุ่นที่เต็มไปด้วยคุณค่าจากจิตวิญญาณ

การให้ของขวัญ และการคืนกลับของ “นิทรรศการโอะกุริโมโนะ สุนทรียะแห่งการให้และได้คืนกลับ (The Beauty of Exchanging Gifts in Japan: Giving Shapes to One’s Thoughts and Emotions) สอนฉันว่าหนึ่งในความสุขที่ไม่มีวันจบสิ้นนั้นก็มีพื้นฐานมาจากการมอบให้และการให้คืนกลับไปนั่นเอง

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

วันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคม 2021 คือวันที่ฉันเดินทางไปชมนิทรรศการญี่ปุ่นที่จัดโดย Japan Foundation กรุงเทพฯ ร่วมกับ TCDC กรุงเทพฯ และขอนแก่น เป็นนิทรรศการสัญจรจากญี่ปุ่นที่มาจัดแสดงที่กรุงเทพฯ และขอนแก่นเป็นที่แรกของโลก ถึงวันนี้ฉันจะอยู่ในปี 2021 แต่ห้องจัดแสดงนิทรรศการเล็กๆ ก็ได้พาฉันย้อนเวลากลับไปในปลายศตวรรษที่ 18 พาฉันไปรู้จักกับวิธีคิด วัฒนธรรม และปรัชญาที่สื่อสารผ่านสิ่งที่เรียกว่า การให้ของขวัญ ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน

  • ของขวัญต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานแต่งงาน

ฉันตื่นตาตื่นใจกับกิโมโนและเครื่องใช้ในงานพิธีการแต่งงานซึ่งมีอายุมากกว่า 300 ปี การปักลายผ้าด้วยฝีมือที่วิจิตรบรรจงและแฝงไปด้วยหลักคิดต่างๆ การสัญลักษณ์ทางธรรมชาติอย่างนกกระเรียน เต่า ต้นไม้ต่างๆ ที่แสดงออกถึงการมีอายุยืนยาว และรักกันไปตราบนานเท่านาน

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ของหมั้น

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ชุดเจ้าสาวสีขาวซึ่งมีความหมายว่าการเกิดใหม่ (แต่งงานแล้วเหมือนกับการได้ใช้ชีวิตใหม่)

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ตื่นเต้นกับกิโมโนตัวยาวนี้มาก น้อง staff ผู้ดูแลเล่าให้ฟังว่านี่คือชุดกิโมโนสมัยก่อนที่เค้าจะใช้เป็นผ้าห่มนอนด้วย เพราะฉะนั้นตัวก็จะใหญ่กว่าและใช้ผ้าที่หนากว่า

[affegg id=3167]

  • ฟุกุสะและการห่อของขวัญโดยฟุโรชิกิ

ผ้าห่อของฟุโรชิกิวัฒนธรรมของญี่ปุ่นในปัจจุบันมีที่มาจาก “ฟุกุสะ” หรือ ผ้าคลุมของในอดีตนั่นเอง ในอดีตชาวญี่ปุ่นจะใช้ฟุกุสะที่ปักลวดลายงดงามไว้คลุมสิ่งต่างๆ ในบ้านเพื่อไม่ให้มีฝุ่นปกคลุมของนั้นๆ และยังสร้างความสวยงาม เป็นศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา และส่งผ่านคุณค่า ปรัชญาและแนวคิดต่างๆ เข้าไปปลูก ไปฝัง ไว้ในใจ ซึ่งพอเวลาผ่านไปก็ได้ส่งผ่านคุณค่าเหล่านี้ออกไปยังคนที่เราปรารถนาดีด้วยการห่อส่งต่อให้ของขวัญด้วยจิตใจที่ปรารถนาที่จะให้ผู้รับมีความสุขและได้รับคุณค่าทางจิตวิญญาณที่แฝงไปกับผ้าผืนนั้นๆ ด้วยนั่นเอง “ฟุกุสะ” ที่หนาก็เลยถูกพัฒนาใหม่ให้กลายเป็นเนื้อผ้าที่บางกว่าเพื่อใช้ประโยชน์ในการห่อของขวัญ

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

นี่คือฟุกุสะ ที่เอาไว้คลุมของ

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

หินแต่งงาน Meoto Iwa จังหวัดมิเอะ

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 สีของชิ้นงานมีความประยุกต์เป็นสไตล์ญี่ปุ่นมากขึ้น (จากแต่เดิมที่ตามแบบจากจีน)

[affegg id=3168]

  • ของขวัญเพื่อลูกรัก จากพ่อและแม่

ทั้งกิโมโนตัวจิ๋ว หมวกคลุมหัว ผ้ากันเปื้อน ล้วนประดิษฐ์ประดอยจากงานฝีมือของผู้เป็นแม่ผสานกับแนวคิดปรัชญาการใช้ชีวิตจากผู้เป็นพ่อ ด้วยความรักและอวยพรให้ลูกของพวกเค้าเติบโตอย่างแข็งแรงและมีความสุข

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

สมบัติชิ้นแรกที่พ่อแม่เตรียมไว้ให้ลูก (เกิดมาพร้อมภาระหน้าที่ >W<)

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

หมวกและผ้ากันเปื้อน (มีความทรงหมวกแบบจีน)

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

เนื่องจากกี่ทอผ้าสมัยก่อนเป็นกี่ขนาดเล็กดังนั้นการทอผ้าทำกิโมโนจึงต้องมีการนำผ้ามาประกอบกันทำให้มีไหมเป็นปมที่ต่ออยู่ที่กลางหลัง ชาวญี่ปุ่นจึงนำไหมนี้เป็นเสมือนเครื่องรางป้องกันสิ่งชั่วร้ายให้กับลูกหลานของตัวเอง แม้ภายหลังกี่ทอผ้าจะใหญ่ขึ้นแล้วก็ยังยึดความเชื่อนี้และใช้เรื่อยมา…

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

สัญลักษณ์เหยี่ยวในชุดกิโมโนเด็กผู้ชาย มีความหมายถึงการอดทน ต่อสู้และเติบโตอย่างแข็งแรง

[affegg id=3169]

  • ของขวัญเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของเจ้านายลูกน้อง และคนบ้านใกล้เรือนเคียง

เสื้อคลุมเพื่องานสังสรรค์ของชาวประมงในหมู่บ้าน หรือชุดปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานดับเพลิงล้วนมีลวดลายที่ใส่จิตวิญญาณและความปรารถนาดีลงไปในชิ้นงานนั้นๆ ด้วย เพราะมนุษย์เรานั้นแค่กำลังกายอย่างเดียวอาจจะมีพลังไม่เพียงพอ ดังนั้นการสร้างพลังใจจึงเป็นเรื่องสำคัญ

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ชุดเพื่อการเฉลิมฉลองของชาวประมง

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

ชุดปฎิบัติหน้าที่ของนักดับเพลิง

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

น้อง staff เล่าว่าด้านนอกและด้านในจะไม่เหมือนกัน ตอนออกไปปฎิบัติหน้าที่จะเป็นแนวขึงขังทำงาน ส่วนกลับมาที่บ้านจะใส่กลับด้านในซึ่งแต่ละด้านจะมีความหมายที่ดี การอวยพร เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฎิบัติหน้าที่

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

สมัยใหม่ขึ้นมาหน่อยกับลวดลายกราฟิกแบบญี่ปุ่นที่คุ้นตา

เดินชมมาถึงส่วนสุดท้ายของนิทรรศการแล้วฉันคิดว่าการเป็นหนึ่งเดียวกับธรรมชาติและการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้คนนั้นเป็นหลักใหญ่ๆ ที่ก่อร่างสร้างวัฒนธรรมญี่ปุ่นขึ้นมา ซึ่งชาวญี่ปุ่นก็เองก็ใช้ชีวิตด้วยวิธีคิดที่ยึดธรรมชาติและผู้คนเป็นหลักจึงไม่น่าแปลกใจเลยที่ไม่ว่าคนในประเทศนี้สร้างนวัตกรรมต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับผู้คนไว้อย่างมากมาย นั่นอาจเป็นเพราะวิธีคิดที่ถูกปลูกฝังจากสภาพแวดล้อมการเลี้ยงดูตั้งแต่เด็กผ่านการให้ของขวัญและคำอวยพรจากพ่อแม่ การนำธรรมชาติมาสร้างสรรค์สิ่งรอบตัวในชีวิตประจำวัน การทิ้งแนวคิดและปรัชญาไว้กับการเย็บปักถักร้อย จึงเหมือนเป็นการถักทอวิธีคิดและใช้ชีวิตในแบบที่รู้จักให้และรู้จักรับได้อย่างมีคุณค่าและเป็นแบบอย่างให้กับเพื่อนบ้านประเทศอื่นๆ ได้นำไปทดลองใช้ได้นั่นเอง

การให้ของขวัญ, วัฒนธรรมของญี่ปุ่น

น้องเล่าว่าตอนปัก ถัก ทอ ว่ายากและใช้เวลาแล้ว แต่ตอนซักล้างนั้นเหนื่อยกว่าต้องใช้ช่างฝีมือเลาะทีละส่วนแล้วใช้แปรงปัดเพื่อทำความสะอาดทีละส่วน จากนั้นค่อยๆ บรรจงเย็บประกอบเข้าด้วยกันด้วยเส้นไหมจากกิโมโนชุดเดียวกัน

วันหยุดนี้ใครใช้เวลาดูซีรีย์ญี่ปุ่นแนะนำอยู่บ้านแล้วล่ะก็ฉันอยากชวนให้ทุกคนมาย้อนเวลาไปกับ 90 ชิ้นงาน มาดูของจริงที่มีคุณค่าหาชมได้ยาก มาดูของมีค่าที่ถูกเก็บรักษาอย่างดีตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 ที่นำมาจัดแสดงให้ได้ชมกันอย่างที่เรียกว่าใกล้ชิดมากๆ ดูไปขนลุกไปเลยทีเดียว >W<

ชมนิทรรศการวันนี้แล้ว ก็ต้องกลับมาคิดว่าหากเราหยิบวิธีคิดจากวัฒนธรรมของญี่ปุ่นมาสอดแทรกกับสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันแบบจริงจังดูบ้าง ก็คงจะเกิดประโยชน์มากมายเลยทีเดียว เห็นด้วยมั้ยหล่ะคะ ^^?

ขอบคุณน้อง Staff คนนั้นที่ให้ข้อมูลเป็นอย่างดี คุยกันสนุกมากค่า ยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งนะคะ 🙂

งานเริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 18 มีนาคม 2021 ที่ผ่านมา ไปจนถึงวันที่ 25 เมษายน 2021 (ปิดทุกวันจันทร์และช่วงสงกรานต์)

เวลา 10.30 – 19.00 น.​ ที่ TCDC กรุงเทพฯ (ไปรษณีย์กลางบางรัก)

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ : 02-105-7441 

สำหรับใครที่พลาดพิกัดกรุงเทพฯ สามารถรอเข้าชมได้อีกครั้งที่ TCDC ขอนแก่น ในช่วงวันที่ 5 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2021 ไม่เสียค่าใช้จ่ายเช่นกัน

สอบถามเพิ่มเติมที่ : 043-202-396

รายละเอียดนิทรรศการ : www.facebook.com/jfbangkok

ชมภาพนิทรรศการเพิ่มเติมได้อีกที่ : www.facebook.com/DIYInspireNow  | www.facebook.com/DIYLifestyleBlogs

Inspire Now ! : การให้และการคืนกลับเป็นพื้นฐานความสุขในการดำรงชีวิตในสังคม ยิ่งให้มาก ก็ยิ่งได้กลับมามาก การให้ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสิ่งของเท่านั้น แต่หมายรวมถึงการสอน ความรัก การปรารถนาที่ดี หากใครสนใจปรัชญาการใช้ชีวิตและจิตวิญญาณผ่านศิลปะ งานนิทรรศการนี้ถือเป็นขุมทรัพย์ล้ำค่าที่ควรค่าแก่การมาเยือนเลยล่ะค่ะ

DIY INSPIRE NOW ให้ฉันได้ไอเดียในการชาร์จพลังหรือเปล่า ? ใครชอบงานศิลปะ แนะนำให้ไปเดินเที่ยวกัน ส่วนใครที่ไปมาแล้วเหมือนฉัน มาคอมเมนต์พูดคุยกันได้นะคะ ♡

Facebook Comments

คนชอบเขียนที่ไม่ค่อยอยู่นิ่ง หลงรักดอกไม้ โดยเฉพาะไฮเดรนเยีย สนใจการพัฒนาตัวเองและใจเต้นทุกครั้งเมื่อได้ออกเดินทาง