การ feedback อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback

6 เทคนิคการ feedback อย่างสร้างสรรค์ ใครฟังก็แฮปปี้ !

การ feedback อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback

การ feedback อย่างสร้างสรรค์เป็นทักษะที่สำคัญของหัวหน้างานและทีมงาน ไม่ว่าคุณจะให้ feedback เชิงบวกหรือ feedback เชิงลบกับทีมงาน คุณควรตั้งเป้าหมายของการ feedback เพื่อให้พวกเขารู้ถึงประเด็นที่ช่วยเกิดการพัฒนาการทำงานและทราบถึงวิธีพัฒนาตนเอง ด้วยเหตุผลนี้คุณจึงจำเป็นต้องแน่ใจว่า คุณมีทักษะในการสื่อสาร การ feedback อย่างสร้างสรรค์ในที่ทำงาน บทความนี้จะขอแนะนำแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของทักษะการ feedback อย่างสร้างสรรค์ และเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เพื่อนร่วมงานเกิดกลไกการป้องกันตัวและความรู้สึกด้อยค่าเมื่อได้รับคำติชมจากคุณ

การ feedback อย่างสร้างสรรค์สำคัญอย่างไร ?

การ feedback อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback

การ feedback อย่างสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกในสถานที่ทำงาน inward and outward mindset คือความเข้าใจพื้นฐานสำคัญที่ทำให้คุณรู้จักแนวทางการให้ feedback อย่างสร้างสรรค์โดยสิ่งสำคัญคือการ feedback ที่จำเพาะต่อบุคคลและมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงการทำงานเท่านั้น feedback ที่ให้ควรมีความชัดเจน สามารถนำไปพัฒนาการทำงานได้จริง นอกจากนี้คุณควรแสดงออกให้ผู้ฟังรับรู้ว่าคุณมีความจริงใจ คุณอยู่ข้างเดียวกับพวกเขา สิ่งนี้จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง และความเข้าใจผิดระหว่างกันได้

6 เทคนิคการให้ feedback อย่างสร้างสรรค์

การ_feedback_อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback

หากคุณต้องการให้เพื่อนร่วมงานบรรลุศักยภาพของตัวเอง เกิดการพัฒนางานที่กำลังดำเนินอยู่ และบรรลุเป้าหมายในงานนั้น นี่คือเทคนิคที่จะช่วยให้คุณสามารถให้การ feedback อย่างสร้างสรรค์ได้

  1. มุ่งเน้นเฉพาะประเด็นปัญหา

ไม่มีพ่อแม่คนไการ feedback อย่างสร้างสรรค์ ที่เหมาะสมควรเน้นที่สถานการณ์หรือปัญหาที่เกิดขึ้น ไม่ใช่ที่ลักษณะนิสัยส่วนบุคคล

  1. จริงใจ

ไม่ว่าคุณจะให้ feedback ในเชิงบวกหรือวิจารณ์เชิงลบ การ feedback อย่างสร้างสรรค์ มีประสิทธิภาพจะต้องมาจากความตั้งใจจริง แสดงออกให้ชัดว่าคุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับประเด็นนี้ นอกจากนี้ควรให้ความสนใจกับน้ำเสียงและภาษากายของคุณ เพื่อให้ผู้ฟังได้รับรู้ถึงความจริงใจ

  1. มุ่งไปที่ปัญหาอย่างเฉพาะเจาะจง

การให้ข้อเสนอแนะเฉพาะเจาะจงโดยเน้นที่ปัญหาที่สำคัญที่สุดก่อนแล้วค่อยๆ แก้ไขไปทีละประเด็นเป็นวิธีที่ดีกว่าการพยายามจัดการกับปัญหาหลายๆ เรื่องพร้อมกัน

  1. เปิดโอกาสให้ผู้รับได้แสดงออกบ้าง

การให้ feedback จะเกิดประสิทธิภาพเมื่อผู้รับเกิดความสบายใจและรู้ว่าตัวเองก็สามารถติชมคุณได้เช่นกัน ดังนั้นคุณควรเรียนรู้การตั้งคำถามแบบปลายเปิด เพื่อถามผู้ฟังว่ามีความคิดเห็นอย่างไรต่อสิ่งที่คุณได้พูดไป

  1. แนะนำวิธีการแก้ปัญหา

เมื่อเพื่อนร่วมงานของคุณได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นแล้ว คุณควรให้เขาเสนอแนวทางและขั้นตอนการแก้ไขปัญหาของตัวเอง แล้วคุณค่อยเสริมในประเด็นที่คุณต้องการในภายหลัง แต่อย่าลืมว่าแนวทางการแก้ปัญหานั้นจะต้องตรงประเด็นและสามารถวัดผลได้

  1. สรุปสิ่งที่ได้พูดคุยกัน

เมื่อคุณให้คำติชมและพูดคุยกันให้ประเด็นต่างๆ จนครบถ้วนแล้ว ให้สรุปสั้น ๆ ถึงสิ่งที่เป็นปัญหาและแนวทางการแก้ไข เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ฟังได้รับข้อความอย่างถูกต้อง และควรเปิดโอกาสให้ผู้ฟังสามารถกลับมาสอบถามได้ตลอดหากเกิดข้อสงสัยในภายหลัง

ตัวอย่างการให้ feedback ที่สร้างสรรค์

การนำแนวคิดเกี่ยวกับการ feedback อย่างสร้างสรรค์อาจดูเป็นเรื่องยาก แต่การนำแนวคิดไปทดลองใช้และฝึกฝนกระบวนการที่ได้แนะนำไปอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้คุณเกิดความคุ้นเคยมากขึ้น และนี่คือตัวอย่างการให้ feedback เชิงสร้างสรรค์

การ feedback อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback
  • สถานการณ์ : พนักงานมาประชุมทีม สายอย่างสม่ำเสมอ

จากที่คุณอาจพูดว่า “ทำไมคุณมาสายตลอดเลย เดี๋ยวฉันจะไล่คุณออก” 

ตัวอย่างการให้ feedback : ลองปรับเปลี่ยนคำพูดเป็น “ฉันสังเกตว่าคุณมาสายเป็นประจำ สิ่งนี้ทำให้ฉันรู้สึกไม่ดีเพราะมันทำให้การประชุมต้องล่าช้าหรือบางทีเราก็เริ่มประชุมไม่ได้เพราะเราจำเป็นต้องมีคุณเข้าร่วมประชุม คุณรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้? คุณมีค่าสำหรับทีมของเรา และในอนาคตฉันต้องการให้คุณตรงต่อเวลามากขึ้น ฉันขอแนะนำให้พยายามตั้งการแจ้งเตือนในโทรศัพท์เพื่อช่วยเตือนเมื่อถึงเวลาประชุม”

การ_feedback_อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback
  • สถานการณ์ : พนักงานไม่ได้เตรียมข้อมูลสำหรับการนำเสนองาน

จากที่คุณอาจพูดว่า “นี่คุณเตรียมการสำหรับนำเสนองานมาแค่นี้เองหรอ ทำไมถึงคิดได้แค่นี้”

ตัวอย่างการให้ feedback : ลองปรับเปลี่ยนคำพูดเป็น “จากการนำเสนอ 2 งานล่าสุดของคุณ เห็นได้ชัดว่าคุณไม่ได้เตรียมตัวมามากพอ สิ่งนี้ทำให้ฉันผิดหวังเพราะมันสะท้อนความไม่มีคุณภาพของบริษัท เมื่อลูกค้าเห็นการนำเสนอที่ไม่พร้อม คุณคิดอย่างไร? ฉันรู้ว่าคุณทำได้ดีกว่านี้ ดังนั้นจากนี้ไปฉันหวังว่าคุณจะใช้เวลามากขึ้นในการเตรียมข้อมูล ตรวจสอบการสะกดคำอีกครั้ง และการนำเสนออย่างมืออาชีพ”

การ_feedback_อย่างสร้างสรรค์, ตัวอย่างการให้ feedback
  • สถานการณ์ : พนักงานทำงานผิดพลาดเป็นประจำ

จากที่คุณอาจพูดว่า “นี่คุณทำงานยังไง ทำไมถึงได้ผิดซ้ำซากที่เดิม ฉันบอกตั้งหลายครั้งทำไมไม่จำ”

ตัวอย่างการให้ feedback : ลองปรับเปลี่ยนคำพูดเป็น “พักหลังฉันพบว่าคุณทำงานผิดที่เดิมเป็นประจำ คุณมีปัญหาอะไรหรือเปล่า สามารถปรึกษาฉันได้นะ คุณรู้ไหมเมื่อก่อนคุณรอบคอบกว่านี้มาก ฉันอยากให้คุณช่วยตรวจสอบงานมากขึ้นอีกนิดนะ เพื่อผลงานของคุณเอง ฉันเชื่อนะว่าคุณทำได้”

การ feedback อย่างสร้างสรรค์เป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานร่วมกัน เพราะนอกจากจะทำให้ผลงานออกมาดีแล้ว ยังสามารถทำให้บรรยากาศในการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ ให้เกียรติซึ่งกันและกัน เรารับฟังว่าเขาคิดเห็นอย่างไร และเราก็กล้าที่จะเสนอความคิดของเราไปด้วย เวลาสื่อสารกัน เราก็จะเข้าใจกันมากขึ้น ลดความขัดแย้ง และก็จะมีความสุขในการทำงาน รวมทั้งต่างคนต่างกล้าที่จะพูดความคิดเห็นของตัวเองออกมา

Inspire Now ! : สิ่งสำคัญในการทำงานอย่างมีความสุขคือ ความสัมพันธ์ที่ดี เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ในการทำงาน เพราะคนเราต้องสื่อสารและมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันตลอดเวลา หากเรามีความสัมพันธ์ที่ไม่ดีต่อกัน การทำงานก็จะยิ่งยากเข้าไปอีก ดังนั้นการที่เราฝึกฝนทักษะการ feedback อย่างสร้างสรรค์ เปิดใจรับฟัง จะช่วยทำให้เรามีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ชีวิตการทำงานของเราก็จะมีความสุขในทุกๆวัน

DIY INSPIRE NOW ทำให้ฉันเป็นคนใหม่ที่ดีกว่า ! เข้าใจแล้วใช่มั้ยว่าการ feedback ที่สร้างสรรค์สำคัญอย่างไร ? และเทคนิคการฝึกฝนก็ไม่ยาก อย่าลืมนำวิธีการทั้งหมดนี้ไปฝึกนะคะ ♡

อ้างอิงข้อมูลบางส่วนจาก : masterclass.com

Facebook Comments

หาข้อมูล-ลงมือเขียนและเรียบเรียงโดยทีมกองบรรณาธิการเว็บไซต์ DIY INSPIRE NOW